ภูมิคุ้มกันในร่างกายคืออะไร

0
5564
ภูมิคุ้มกันคืออะไร?
ภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเรา
ภูมิคุ้มกันคืออะไร?
ภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเรา

ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ?

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมี ภูมิคุ้มกัน อยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจำเพาะ โดยระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ จะมีการทำงานอย่างเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อใดที่ทำไม่ไหวหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ไม่เพียงพอ ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ก็จะเข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากเปรียบเทียบ ระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติก็เป็นเหมือนกองทหารในแนวหน้า และภูมิคุ้มกันจำเพาะก็จะเป็นเหมือนกองหนุนที่จะคอยช่วยเหลือในยามฉุกเฉินนั่นเอง

ส่วนสารต่างๆ จะเป็นสารที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งได้แก่ ไลโซไซม์ ( Lysozyme ) คอมพลีเมนต์ ( Complement ) อินเตอร์เฟียรอน ( Interferon ) โดยเป็นเสมือนอาวุธของระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และยังมีพวกเซลล์ต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเซลล์ที่มีบทบาทมากที่สุด ก็คือเซลล์เอ็นเค ( NK Cell ) นั่นเอง โดยเซลล์เอ็นเคจะลาดตระเวนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อค้นหาเซลล์ที่มีความผิดปกติอย่างมะเร็ง และเข้าทำการจู่โจ้มเพื่อทำลายทันที ดังนั้นหากร่างกายมีเซลล์เอ็นเคน้อยลง หรือด้อยประสิทธิภาพลงไป ก็จะทำให้ไม่สามารถต้านมะเร็งได้ และป่วยด้วยโรคมะเร็งในที่สุด

ภูมิคุ้มกันอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจำเพาะ

โดยทั้งนี้มีการค้นพบว่าเซลล์เอ็นเคที่อยู่ในร่างกายของคนเราจะมีอยู่ไม่น้อยกว่า 5 พันล้านเซลล์เลยทีเดียว แต่เซลล์ชนิดนี้จะมีความอ่อนไหวในเรื่องของความเครียดและอาหารเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากจิตใจเกิดความเครียดหรือได้รับอาหารที่มีประโยชน์น้อย ก็จะทำให้เซลล์เอ็นเคเกิดความอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้นั่นเอง

ส่วนภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราก็จะทำหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะ จึงได้มีการนำหลักการดังกล่าวนี้มาใช้ผลิตวัคซีนขึ้นมา ซึ่งก็ได้ผลดีและน่าพอใจมากทีเดียว เพราะเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาและจดจำโรคนั้นๆ เอาไว้ ทีนี้เมื่อมีเชื้อโรคที่จะก่อให้เกิดโรคดังกล่าวเมื่อไหร่ แอนติบอดีก็จะกำจัดออกไปในทันทีเช่นกัน นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะก็ถูกแบ่งออกได้เป็น 2 แบบย่อยๆ คือ แบบเซลล์ ( Cellular Immunity ) และแบบฮิวมอรัล ( Humoral Immunity )

ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะมี 2 แบบ

ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่มีการสร้างขึ้นมาเองในภายหลังจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือแบบฮิวมอรัลและแบบเซลล์ โดยหน้าที่ของภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ ก็คือจะจู่โจมไวรัสและทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป โดยมีเซลล์ทีชนิด Th-1 เป็นตัวทำหน้าที่นี้นั่นเอง ทั้งนี้เมื่อลิมโฟไซต์มีการสร้างขึ้นมาที่ไขกระดูก ก็จะถูกเคลื่อนย้ายต่อไปยังต่อมไทมัสและค่อยๆ เติบโตจนกลายเป็นเซลล์ทีที่โตเต็มวัย ซึ่งทั้งนี้ก็จะมีการพัฒนาเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีแอนติเจน CD4   และชนิดที่มีแอนติเจน CD8 โดย CD4 ก็ยังสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ Th- 1 และ Th- 2 ได้อีกด้วย โดย Th- 1 จะช่วยเร่งการทำงานของเซลล์ทีเพชฌฆาตและแมคโครฟาจ ส่วนเซลล์ที CD4 ก็จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ 
โดยเหตุผลที่เซลล์ Th- 1 สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ดีนั้นก็เพราะที่เซลล์จะมีเรดาร์ตรวจจับสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ทำให้ทราบทันทีว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามานั้นเป็นมิตรหรือศัตรู หากพบว่าเป็นศัตรูก็จะเข้าจัดการทันที พร้อมกับเร่งแมคโครฟาจให้ปลดปล่อยตัวทำลายไวรัสออกมาอย่างรวดเร็วกว่าเดิม จึงทำให้ร่างกายปลอดภัยจากอันตรายของเชื้อไวรัส

สำหรับเซลล์มะเร็ง รู้หรือไม่ว่าร่างกายของคนเรานั้นจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นทุกวัน แต่เนื่องจากถูกจับได้และกำจัดทิ้งไปซะก่อน จึงทำให้เราปลอดภัยจากมะเร็งได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อร่างกายตรวจพบเซลล์มะเร็ง เซลล์เอ็นเคก็จะเข้าเล่นงานเซลล์มะเร็งในทันที พร้อมกับเซลล์ทีเพชฌฆาตจู่โจมเซลล์มะเร็งโดยตรง ประกอบกับเร่งให้แมคโครฟาตปล่อยอินเตอร์เฟียรอน และรวมกับทูเมอร์เนโครซิสแฟกเตอร์เพื่อจัดการมะเร็ง เท่านี้เซลล์มะเร็งก็ถูกกำจัดไปแล้ว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Gherardi E. The Concept of Immunity. History and Applications. Archived 2007-01-02 at the Wayback Machine. Immunology Course Medical School, University of Pavia.

Lindquester, Gary J. (2006) Introduction to the History of disease. Archived 2006-07-21 at the Wayback Machine. Disease and Immunity, Rhodes College.

Silverstein, Arthur M. (1989) History of Immunology (Hardcover) Academic Press. Note: The first six pages of this text are available online at: (Amazon.com easy reader).