ผักเค็ด
ผักเค็ด (Senna sophera) หรือเรียกกันว่า “ขี้เหล็กเทศ” มีดอกสีเหลืองสดและมีผลเป็นฝักยาวอยู่บนต้น มักจะพบตามที่รกร้างทั่วไปในประเทศไทย เป็นต้นที่นำดอกอ่อนและยอดอ่อนมารับประทานได้ ผักเค็ดมีใบและรากเป็นรสขม อีกทั้งยังเป็นยาเย็นที่มีสรรพคุณช่วยดับร้อนในร่างกาย นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณอื่น ๆ มากมายจากส่วนต่าง ๆ ของต้น หากเดินผ่านที่รกร้างแล้วพบเจอก็สามารถเก็บมาลองทานได้
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักเค็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna sophera (L.) Roxb.
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ขี้เหล็กเทศ” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ผักเค็ด ผักเคล็ด” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ขี้เหล็กน้อย ขี้เหล็กเทศ ขี้เหล็กผี ผักเห็ด”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Cassia sophera L.
ลักษณะของผักเค็ด
ผักเค็ด เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ในประเทศไทยเป็นไม้กลางแจ้งที่พบทั่วไปตามที่รกร้างต่าง ๆ
กิ่งก้าน : แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น กิ่งก้านมีขนาดไม่ใหญ่นัก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีคล้ายกับใบมะยมหรือใบแสมสาร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน แผ่นใบมีสีเขียวเป็นมัน
ดอก : ออกเป็นช่อโดยจะออกตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลืองคล้ายกับดอกขี้เหล็ก
ผล : ออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบ่งออกเป็นข้อ ๆ คล้ายกับฝักถั่วเขียว
สรรพคุณของผักเค็ด
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร และอาหารไม่ย่อย
- ช่วยรักษาลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาการท้องผูก
- ช่วยรักษาโรคหนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด
- ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
- บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
- สรรพคุณจากราก ดับพิษร้อนภายในร่างกาย ช่วยดับพิษทั้งปวง ถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
- สรรพคุณจากใบ นำเข้ายาเขียวช่วยแก้ไข้ รักษาบาดแผล
– แก้ผื่นคัน ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำแล้วอาบ
– ใบสดใช้รักษาแมลงสัตว์กันต่อย ลดการอักเสบ - สรรพคุณจากเมล็ด
เมล็ดใช้รักษาโรคไข้มาลาเรีย โดยนำเมล็ดมาคั่วให้เกรียมจนมีกลิ่นหอม แล้วบดเป็นผงให้ละเอียด ใช้กินครั้งละ 6-10 กรัม วันละ 2 เวลา
ประโยชน์ของผักเค็ด
- เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อนนำมารับประทานได้
ผักเค็ด เป็นผักที่นำดอกอ่อนและยอดอ่อนมารับประทาน เป็นยาเย็นที่ช่วยปรับอุณหภูมิที่ร้อนเกินไปในร่างกายได้ และยังเป็นส่วนผสมในยาเขียวอีกด้วย มีดอกสีเหลืองคล้ายกับดอกขี้เหล็กที่มักจะพบตามที่รกร้าง สามารถตามไปเก็บได้ทั่วไปในประเทศไทย ผักเค็ดมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของราก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ถอนพิษไข้ ดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนในและแก้ผื่นคันได้
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักเค็ด”. หน้า 485.
หนังสือสยามไภษัชยพฤกษ์. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ผักหวานบ้าน”. หน้า 61.
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ผักหวานบ้าน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [04 ก.ค. 2017].