ต้นกำจัดหน่วย
ชื่อสามัญ คือ Shiny-Leaf Prickly Ash ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zanthoxylum nitidum (Roxb.) DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)[1],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กำจัดเถา, กำจัดเครือ, สรรพลังวน, งูเห่า (อุดรธานี), กำจัดหน่วย (ภาคใต้เรียก), ยิบตี่กิมงู้ เหลี่ยงหมิ่งจำ (จีนแต้จิ๋ว), ลู่ตี้จินหนิว เหย่เชียนหนิว เหลี่ยงเมี่ยนเจิน (จีนกลาง)[1],[3]
ลักษณะของต้นกำจัดหน่วย
- ต้น
– เป็นพรรณไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยอายุหลายปี
– มีความสูงได้ถึง 2-3 เมตร
– ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ
– ในประเทศไทยนั้นจะพบขึ้นได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
– ในต่างประเทศนั้นจะพบได้ในจีน อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และในญี่ปุ่น
– จะพบได้ในพื้นที่ระดับต่ำจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร - ใบ
– เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
– ออกเรียงสลับกัน
– มีความยาว 40 เซนติเมตร
– ก้านใบและแกนใบมีหนามแหลม
– มีใบย่อย 2-4 คู่ เป็นรูปรีหรือรูปไข่
– ปลายใบและโคนใบแหลมหรือมน
– ขอบใบหยักห่าง ๆ และจะมีต่อมกลม ๆ อยู่ใกล้กับขอบใบ
– ใบมีความกว้าง 2.5-6 เซนติเมตร และยาว 5-12 เซนติเมตร
– มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-12 เส้น
– มีหนามเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นกลางใบด้านล่าง - ดอก
– ออกดอกเป็นช่อที่ง่ามใบและปลายยอด
– มีความยาว 15 เซนติเมตร
– ก้านช่อดอกมีขนละเอียด
– ดอกมีขนาดเล็ก
– ดอกเป็นแบบแยกเพศ
– ดอกเพศผู้จะยาว 4-5 มิลลิเมตร
– ก้านดอกจะสั้น
– มีกลีบดอก 4 กลีบ เป็นสีเหลืองอมเขียว เป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความยาว 2-3 มิลลิเมตร
– กลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็ก มี 4 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยม
– โคนกลีบเชื่อมติดกันเล็กน้อย
– มีเกสรเพศผู้ 4 อัน
– ก้านชูอับเรณูมีความยาว 4-6 มิลลิเมตร
– มีชูอับเรณูที่โผล่พ้นกลีบดอก
– อับเรณูจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก
– ดอกเพศเมียจะมีดอกที่เล็กกว่าดอกเพศผู้
– มีรังไข่ที่ค่อนข้างใหญ่เห็นได้ชัด
– จะมีรังไข่ 4 ช่อง
– ก้านเกสรเพศเมียจะสั้น
– ยอดเกสรเพศเมียเล็ก
– จะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน - ผล
– ผลมี 4 พู
– ผลจะติดกันเฉพาะตรงโคน
– พูค่อนข้างกลม
– มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 มิลลิเมตร
– ผลเมื่อแก่จะแตกออกตามยาวกลางพู
– ในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด
– เมล็ดค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
– เมล็ดจะออกในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม - เมล็ด
– ผิวเมล็ดเกลี้ยงและเป็นมัน
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกำจัดหน่วย
- สารที่พบ คือสารจำพวก อัลคาลอยด์ ,Nitidne, Oxynitidine, Diosmin และในเมล็ดพบน้ำมันระเหย[3]
- สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 2 ซีซี หรือใช้กำจัดแห้งประมาณ 3 กรัม ต้มกับน้ำแล้วนำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของคนวันละ 1-2 ครั้ง พบว่าสามารถรักษาอาการปวดศีรษะ และแก้ปวดมวนกระเพาะลำไส้ได้ โดยปกติใช้ยาประมาณ 5-10 นาที ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้แล้ว[3]
- กำจัดหน่วย 2 กรัม และหนุมานประสานกาย 4 กรัม (ในปริมาณนี้เมื่อนำมาสกัดแล้วจะได้กำจัดเถา 1 กรัม และหนุมานประสานกาย 2 กรัม) เมื่อสกัดเป็นน้ำยาแล้ว ได้นำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อคน โดยฉีดครั้งละ 2 ซีซี พบว่ามีประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดได้ถึง 95% ใช้ยาประมาณ 3-10 นาที และจะเห็นผลฤทธิ์ยาแก้ปวดนี้อยู่ได้นานประมาณ 3-8 ชั่วโมง[3]
- สกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือคลอโรฟอร์ม เมื่อนำน้ำยาที่สกัดได้มาพ่นใส่เหงือกฟัน พบว่าจะทำให้เหงือกชา จึงใช้ในการถอนฟันได้[3]
- สารสกัดหยาบที่สกัดโดยคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) และเชื้อมาลาเรียชนิดขึ้นสมอง (Plasmodium falciparum)[2]
ข้อควรระวังและคำแนะนำ[3]
- ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้พร้อมกับของเปรี้ยวหรือของจำพวกที่มีกรด
- สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานเด็ดขาด
- วิธีแก้พิษ ให้ชงน้ำตาลรับประทานหรือให้ฉีดน้ำเกลือเข้าในร่างกาย
สรรพคุณของกำจัดหน่วย
- ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หวัดแดดได้[3]
- ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้คอตีบอักเสบได้[3]
- ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ปวดกระเพาะได้[3]
- ทั้งต้น มีรสเผ็ดและขม มีพิษเล็กน้อย สามารถนำมาใช้เป็นยาช่วยไล่ลม ขับลมชื้นในร่างกายได้[3]
- ผล สามารถนำมาใช้เป็นยาฝาดสมานได้[1]
- ผล ในภูมิภาคอินโดจีนจะนำมาใช้ปรุงเป็นยาขับลม ขับพยาธิ[1]
- เปลือกต้น สามารถนำมาใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้
- เปลือกต้น สามารถนำมาใช้แก้พิษจากงูกัด และใช้แก้พิษต่าง ๆ หรือถอนพิษผิดสำแดง[3]
- เปลือกต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามข้อ ฟกช้ำ ปวดบวมได้[3]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดท้องได้[2]
- ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียจะนำมาใช้เป็นยาลดไข้[2]
- สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ฝีหนอง แก้ไขข้ออักเสบ[2]
ขนาดและวิธีใช้[3]
- สำหรับการต้มหรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ นั้น ให้ใช้ครั้งละประมาณ 6-12 กรัม
- การใช้ภายนอก เช่น ล้างแผล, แก้พิษงู, พิษต่าง ๆ จะใช้ได้ตามต้องการ และนำมาฝนแล้วผสมกับเหล้า ใช้ทาแก้พิษหรือไหม้น้ำร้อนลวกได้
ประโยชน์ของกำจัดหน่วย
- สามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงและยากำจัดศัตรูพืชได้[2]
- ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียจะนำมาใช้ในการทำยาสีฟัน[2]
- เปลือกผล สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสในแกง ยำ ลาบ มีรสเผ็ด
- กลิ่นหอม ช่วยดับความคาว และทำให้อยากอาหารมากขึ้น[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กำ จัด หน่วย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [16 มิ.ย. 2015].
2. มูลนิธิสุขภาพไทย. “มะแขว่น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaihof.org. [16 มิ.ย. 2015].
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กำจัดเถา”. หน้า 76.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.zhiwutong.com/