แร่ธาตุโมลิบดินัมสำคัญอย่างไร? (Molybdenum)
โมลิบดินัมในร่างกายจะถูกดูดซึมในรูปของเกลือโซเดียมและแอมโมเนียโมลิบเดต พบในตับ ไต และกระดูก

แร่ธาตุโมลิบดินัม  คืออะไร ?

โมลิบดินัม ( Molybdenum ) คือ แร่ธาตุที่สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ ส่วนในคนจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน พบได้ในผักใบเขียวเข้ม ธัญพืชไม่ขัดสี พืชผักตระกูลถั่ว นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ ซึ่งถ้าร่างกายขาดแร่ธาตุโมลิบดีนัม อาจทำให้สมองถูกทำลายได้ง่าย จิตใจสับสนมึนงง

หน้าที่ของโมลิบดินัม

เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ 2 ชนิดคือ

1. เอนไซม์แซนทีนออกซิเดส ( Xanthine Oxidase ) ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำธาตุเหล็กออกจากตับและช่วยในการสร้างกรดยูริค พิวรีน ( Purine ) แซนทีน ( Xanthine ) ให้กับร่างกาย

2. เอนไซม์อัลดีไฮด์ ออกซิเดส ( Aldehyde Oxidase ) ซึ่งมีความสำคัญกับปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน ทำให้มีการสลายไขมันได้ดี

การดูดซึมโมลิบดินัมในร่างกาย

โมลิบดินัมในร่างกายจะถูกดูดซึมในรูปของเกลือโซเดียมและแอมโมเนียโมลิบเดต ซึ่งปริมาณที่ถูกดูดซึมและขับถ่ายจะมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนนั้น นั่นก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปริมาณของซัลเฟตที่มีอยู่ในอาหาร เนื่องจากซัลเฟตจะมีส่วนช่วยในการการขับถ่ายปัสสาวะพวกโมลิบดินัมเป็นอย่างมาก

โมลิบดินัม Molybdenum คือ แร่ธาตุที่สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อของพืชและสัตว์ ส่วนในคนจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย

การเก็บโมลิบดินัมในร่างกาย

Molybdenum คือ คืออะไร? โมลิบดินัมจะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกายในรูปของตับ ไต และกระดูก

แหล่งที่พบโมลิบดินัม

สำหรับแหล่งที่พบลิบดินัมได้มาก มักพบในถั่วที่มีฝัก ธัญพืชต่าง ๆ ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ตับ ไต และเนื้อสัตว์

ปริมาณโมลิบดินัมอ้างอิงที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทยในวัยต่าง ๆ
เพศ อายุ ปริมาณ หน่วย
เด็ก 1-3 ปี 17 ไมโครกรัม/วัน
4-8 ปี 22 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-12 ปี 34 ไมโครกรัม/วัน
13-18 ปี 43 ไมโครกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19 – ≥ 71 ปี 45 ไมโครกรัม/วัน
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน
ผู้หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเพิ่มอีก 5 ไมโครกรัม/วัน

หากขาดโมลิบดินัมจะมีผลอย่างไร

ยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดเนื่องจากยังไม่เคยมีปรากฏว่ามีผู้ขาดธาตุนี้มาก่อน แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าหากขาดจะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

อาการเป็นพิษจากโมลิบดินัม

ผู้ที่มีอาการเป็นพิษจากโมลิบดินัมจะมีอาการท้องเดิน โลหิตจาง อัตราการเจริญเติบโตช้า และถ้าได้รับเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจะมีผลทำให้ขาดธาตุทองแดง ปริมาณของโมลิบดินัม ที่จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายได้ คือ 5-10 ส่วนต่อล้าน ดังนั้นจึงควรระวังไม่ให้ปริมาณโมลิบดินัมในร่างกายสูงเกินไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Lindemann, A.; Blumm, J. (2009). Measurement of the Thermophysical Properties of Pure Molybdenum. 3. 17th Plansee Seminar.

Lide, D. R., ed. (2005). “Magnetic susceptibility of the elements and inorganic compounds”. CRC Handbook of Chemistry and Physics (PDF) (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. ISBN 0-8493-0486-5.