วิตามินบี 5
วิตามินบี 5 นั้นมีหลายชื่อเรียก เช่น กรดแพนโทเธนิค, กรดแพนโทเทนิก, วิตามินบี5, Calcium Pantothenate, Vitamin B5 , Pantothenic Acid API ซึ่งก็คือวิตามินที่เริ่มมีการค้นพบขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ.1938 โดย ดร.วิเลียม ( Dr.R.R.William ) ซึ่งได้ค้นพบจากการแยกกรดชนิดนี้ออกมาจากตับและยีสต์ พร้อมกับตั้งชื่อกรดชนิดนี้ตามคำ ภาษากรีกว่า Panthos และเรียกโดยทั่วไปว่ากรดแพนโทเธนิค โดยต่อมาในปี ค.ศ.1950 ลิปแมน (Lipmann) ก็ได้ค้นพบเพิ่มเติมอีกว่า กรดแพนโทเธนิคก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของโคเอนไซม์เอ ( Coenzyme A,CoA ) เช่นกัน
อะไรคือแคลเซียม แพนโทธิเนต
Calcium Pantothenate หรือ Vitamin B5 เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์เอ Coenzyme A ( CoA ) และส่วนหนึ่งของ วิตามินบี 2 แคลเซียม แพนโทธิเนต Calcium Pantothenate หรือ Vitamin B5 ยังช่วยปกป้องเซลล์ต่อความเสียหายต่อการเกิดสารเปอร์ออกไซด์โดยการผลิตกลูตาไธโอนเพิ่มขึ้น แคลเซียม แพนโทธิเนต เป็น เกลือแคลเซียมของวิตามินB5 ที่ละลายได้ในน้ำ เป็นที่พบแพร่หลายในพืชและเนื้อเยื่อสัตว์ กรดแพนโทเธนิค, กรดแพนโทเทนิก, วิตามินบี5, มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เป็นปัจจัยสำคัญในการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และกรดไขมัน วิตามินบี 5 มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินฮอร์โมนเตียรอยด์ คอเลสเตอรอล และไขมัน เป็นต้น
กรดแพนโทเธนิคหรือ Vitamin B5 มีสรรพคุณอะไร
กรดแพนโทเธนิค หรือ วิตามินบี 5 จะมีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน ซึ่งจะเสียได้ง่ายเมื่อโดนกับความร้อนและสภาพความเป็นกรดด่าง และที่สำคัญก็จะถูกดูดซึมได้ง่ายเมื่ออยู่ในสภาพของแอลกอฮอล์ที่เรียกว่าแพนโทธีนอลอีกด้วย โดยเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะเปลี่ยนเป็นกรดแพนโทเธนิคอย่างรวดเร็วมาก นอกจากนี้ก็สามารถละลายน้ำได้ และมักจะพบอยู่ในรูปของเกลือโซเดียมในทางการค้านั่นเอง
หน้าที่ของกรดแพนโทเธนิคหรือ วิตามินบี5
วิตามินบี 5 ช่วยอะไร ? วิตามินบี5 หรือกรดชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลักของเอนไซม์เอ ซึ่งจะคอยดักจับและทำลายหมู่ซิทิลจากสารประกอบต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายและยังสามารถพบได้ในเนื้อเยื่อทุกชนิดอีกด้วย นอกจากนี้ก็มีหน้าที่อื่นๆ เช่น
1. วิตามิน บี 5 ช่วยในการสังเคราะห์สาระสำคัญชนิดหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาทโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ อะซีทิลโคลีน
2. ทำหน้าที่ในการเป็นตัวร่วมในการสร้างอะซีทิลโคเอนไซม์เอ โดยเป็นสารที่จะช่วยในการผลิตพลังงานให้กับร่างกาย ซึ่งผลิตจากไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง
3. ช่วยสังเคราะห์กรดไขมัน สเทอรอลและคอเลสเตอรอล รวมถึงฟอร์ไฟริน ที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเฮโมโกลบินโดยเฉพาะ
4. ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารที่มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งได้แก่ สารพอร์ไฟริน
5. ช่วยสังเคราะห์กรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
6. ช่วยรักษาอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
วิตามินบี 5 หรือ กรดแพนโทเทนิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ การเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง
การดูดซึมของกรดแพนโทเธนิค
การดูดซึมกรดแพนโทเธนิค จะสามารถดูดซึมได้ดีบริเวณลำไส้เล็ก ซึ่งจะดูดซึมเข้าไปในร่างกายและเนื้อเยื่อต่างๆ จากนั้นก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์เอ และขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ โดยอาจจะมีการขับถ่ายทางเหงื่อบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในเด็กแรกเกิดจะมีระดับของกรดแพนโทเธนิคในเลือดสูงมากกว่าแม่ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว
แหล่งอาหารที่พบกรดแพนโทเธนิค
วิตามินบี5 แหล่งอาหารที่สามารถพบกรดแพนโทเธนิค หรือ วิตามินบี5ได้สูงก็คือในเนื้อเยื่อของสัตว์ เช่น ตับ ไข่แดง หัวใจ สมอง และอาจพบได้ในนม ถั่ว ยีสต์และผักผลไม้อีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะพบในรูปของโคเอนไซม์เอ Coenzyme A ( CoA ) มากกว่าในรูปแบบอื่นๆ
ปริมาณกรดแพนโทเธนิกที่พอเพียงในแต่ละวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ | |||
ทารก | 6-11 เดือน | 1.8 | มิลลิกรัม/วัน |
เด็ก | 1-3 ปี | 2 | มิลลิกรัม/วัน |
เด็ก | 4-8 ปี | 3 | มิลลิกรัม/วัน |
วัยรุ่น | 9-12 ปี | 4 | มิลลิกรัม/วัน |
วัยรุ่น | 13-18 ปี | 5 | มิลลิกรัม/วัน |
ผู้ใหญ่ | 19 –≥ 71 ปี | 5 | มิลลิกรัม/วัน |
หญิงตั้งครรภ์ | ควรเพิ่มอีก | 1 | มิลลิกรัม/วัน |
หญิงให้นมบุตร | ควรเพิ่มอีก | 2 | มิลลิกรัม/วัน |
ผลของการขาดวิตามินบี5 หรือกรดแพนโทเธนิค
จากการทดลองกับสัตว์ พบว่าเมื่อขาดกรดแพนโทเธนิคจะมีอาการดังต่อไปนี้
ลูกไก่ จะมีอาการขนร่วงและขึ้นช้ากว่าปกติ เบื่ออาหาร มีการเจริญเติบโตต่ำ และมีอาการผิดปกติตั้งแต่กระดูกสันหลังจนถึงประสาทที่อยู่ในสันหลัง
หมู สังเกตความผิดปกติได้จากขนที่เปลี่ยนไปเป็นสีเทา ระบบทางเดินอาหารและลำไส้เล็กตอนต้นอาจมีแผล มีความผิดปกติของต่อมหมวกไตและอาจมีเลือดไหลซึมออกมาได้ง่าย
สุนัข ระบบประสาทและไตมีความผิดปกติ ซึ่งอาจตายได้เลยทีเดียว และยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากอีกด้วย
คน มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย เป็นตะคริวได้ง่ายโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง มีอาการคลื่นไส้อาเจียนและแสบร้อนตามผิวหนัง และอาจมีปัญหาการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงระบบประสาทไม่สม่ำเสมอ จนเป็นผลให้รู้สึกเหนื่อยง่าย หงุดหงิด และมีภาวะตึงเครียด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
“MSDS of D-pantothenic acid”. http://www.hmdb.ca. Human Metabolome Database. สืบค้นเมื่อ 2014-09-05.
Scientific Opinion on the safety and efficacy of pantothenic acid (calcium D-pantothenate and D-panthenol) as a feed additive for all animal species based on a dossier submitted by Lohmann Animal Health”. http://www.efsa.europa.eu. Parma, Italy: European Food Safety Authority. 2011. สืบค้นเมื่อ 2014-09-05.