วิตามินบี6
วิตามินบี6 ( Vitamin B6 ) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ มีความสำคัญในการผลิตโปรตีนชนิดต่างๆ และการผลิตสารสื่อนำประสาทในสมองและระบบประสาท มีความจำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง และเพื่อควบคุมสมดุลของฮอร์โมน รวมไปถึงปรับสมดุลฮอร์โมนของภูมิคุ้มกันให้เหมาะสม มีโครงสร้างที่ ประกอบไปด้วยวงแหวนไพริดีน Pyridine ดังนั้น จึงมีการตั้งชื่อโดยยึดส่วนประกอบสำคัญเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ชนิดคือ ไพริดอกซีน Pyridoxine ไพริดอกซาล Pyridoxamine และไพริดีน Pyridine
คุณสมบัติของวิตามินบี6 ( Vitamin B6 )
วิตามินบี6 มีสูตรทั่วไป คือ C8H11NO2 ซึ่งประกอบไปด้วยสาระสำคัญ 3 ชนิดที่มีคุณสมบัติทางชีววิทยาคล้ายๆ กัน นั่นคือ ไพริดอกซีน Pyridoxine, ไพรีดอกซาล Pyridoxal และ ไพริดอกซามีน Pyridoxamine และเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นจึงเรียกสารเหล่านี้แบบรวมๆ ว่า ไพริดอกซีน Pyridoxine หรือวิตามินบี 6 นอกจากนี้หากทำให้วิตามินบี6 เป็นผลึกจะได้ผลึกที่มีสีขาวละลายน้ำได้มีรสเค็มและไม่มีกลิ่น และสามารถละลายในสารละลายที่เป็นกรดด่างปานกลางได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้เมื่อโดนแสงแดดก็จะสลายตัวได้ง่ายเช่นกัน
วิตามินบี 6 จะไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟต ส่วนวิตามินบี6 ที่เหลือก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมงโดยจะไม่มีการเก็บไว้ที่ตับเหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ ดังนั้นในปัสสาวะจึงมักจะมีวิตามินบี 6 อยู่เสมอ
หน้าที่สำคัญของวิตามินบี 6 ( Vitamin B6 )
เป็นโคเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาของการเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและกรดไขมันในร่างกาย รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ ไพริดอกซาลฟอสเฟต ( Pyridoxal Phosphate, PLP ) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ช่วยสร้างเซโรโทนิน Serotonin โดยเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวดีขึ้น และช่วยควบคุมการทานของสมองและเนื้อเยื่อให้ทำงานเป็นปกติมากขึ้น
- ทำหน้าที่ในการสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อะลานีน กรดแอสพาร์ทิก และกรดลูทามิก
- ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทริปโทเฟนหรือกรดอะมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
- ช่วยสร้างสารภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น และสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนฟอร์ไฟริน Porphyrin Ring โดยเป็นสารที่มีความสำคัญในการสร้างเฮโมโกลบิน
- ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
- ทำหน้าที่สังเคราะห์สารที่มีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนกรดไลโนเลอิกให้เป็นกรดอะราซิโดนิก
- ช่วยในการสลายไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส
การดูดซึมของวิตามินบี 6 ( Vitamin B6 )
โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมวิตามินบี6 ได้ดีที่สุดบริเวณลำไส้เล็กตอนต้น โดยจะเข้าไปเปลี่ยนเป็นโคเอนไซม์ในรูปของไพริดอกซาลฟอสเฟต ส่วนวิตามินบี6 ที่เหลือก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมงโดยจะไม่มีการเก็บไว้ที่ตับเหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ ดังนั้นในปัสสาวะจึงมักจะมี วิตามินบี 6 อยู่เสมอ หากไม่พบวิตามินบี 6 ก็อาจแสดงได้ว่าได้รับวิตามินบี 6 ไม่เพียงพอนั่นเอง
วิตามินบี 6 ( Vitamin B6 ) อยู่ในอาหารประเภทใด
วิตามินบี 6 สามารถพบได้ทั้งในผักผลไม้และเนื้อสัตว์ ซึ่งในผักผลไม้จะพบในรูปของไพริดอกซีน และในเนื้อสัตว์จะพบในรูปของไพริดอกซานและไพรริดอกซามีน โดยอาหารที่พบวิตามินบี 6 ได้มากที่สุด ได้แก่ปลา ไข่ไก่ ตับสัตว์ ข้าวไม่ขัดสี นม เนื้อปลา ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ผลวอลนัท รำข้าว ยีสต์ แคนตาลูป กากน้ำตาล กะหล่ำปลี เป็นต้น นอกจากนี้แบคทีเรียที่ลำไส้ก็สามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ออกมาได้เองอีกด้วย แต่มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงต้องเสริมวิตามินบี6 จากอาหารอื่นๆ
ปริมาณวิตามินบี 6 ที่ควรได้รับในแต่ละวัน ( มิลลิกรัม/วัน ) | ||
เด็ก | 1-3 ปี | 0.5 |
เด็ก | 4-8 ปี | 0.6 |
วัยรุ่น ผู้ชาย | 9-12 ปี | 1.0 |
วัยรุ่น ผู้ชาย | 13-18 ปี | 1.3 |
วัยรุ่น ผู้หญิง | 9-12 ปี | 1.0 |
วัยรุ่น ผู้หญิง | 13-18 ปี | 1.2 |
ผู้ใหญ่ ผู้ชาย | 19 –≥ 50 ปี | 1.3 |
ผู้ใหญ่ ผู้ชาย | 51 –≥ 71 ปี | 1.7 |
ผู้ใหญ่ ผู้หญิง | 19 –≥ 50 ปี | 1.3 |
ผู้ใหญ่ ผู้หญิง | 51 –≥ 71 ปี | 1.5 |
วิตามินบี 6 สำหรับคนท้อง | ควรเพิ่มอีก | 0.6 |
วิตามินบี 6 สำหรับหญิงให้นมบุตร | ควรเพิ่มอีก | 0.7 |
วิตามินบี 6 ส่วนใหญ่แล้วจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเมแทบอลิซึมของโปรตีน ดังนั้นผู้ที่ทานโปรตีนมากก็ต้องทานวิตามินบี6 ให้มากขึ้นไปด้วย
ปริมาณที่เหมาะสมของการทานวิตามินบี 6 ต่อโปรตีน |
วิตามินบี 6 ปริมาณ 2 มิลลิกรัม ต่อโปรตีนจากอาหาร 100 กรัม |
ผลของการขาดวิตามินบี6 ( Vitamin B6 )
ปกติแล้วเรามักจะไม่ค่อยพบคนที่ขาดวิตามินบี6 สักเท่าไหร่ เพราะอาหารส่วนใหญ่มักจะมีวิตามินบี6 ในปริมาณที่เพียงพออยู่แล้ว การขาดวิตามินบี6 จึงมักจะพบในบุคคลที่
1. มีความผิดปกติในการดูดซึม จึงทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 6 ได้น้อยกว่าปกติ
2. การได้รับยาบางชนิด ที่มีฤทธิ์ตรงกันข้ามกับวิตามินบี6 จึงทำให้ได้รับวิตามินบี6 น้อยมาก
3. ในเด็กที่กินอาหารสำเร็จรูปที่มีวิตามินบี 6 น้อยมาก หรือกินนมที่ถูกความร้อนนานเกินไปจนทำให้วิตามินบี 6 สลายไปนั่นเอง
4. ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง เพราะยาคุมมีฤทธิ์ที่จะทำให้ร่างกายต้องการวิตามินบี 6 มากกว่าคนปกติ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี6 ได้ถึงแม้ว่าจะกินอาหารตามปกติก็ตาม
สำหรับอาการขาดวิตามินบี 6 ที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ ในปัสสาวะจะพบกรดแซนทูรินิกมากกว่าปกติ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยๆ และอาจเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย นอกจากนี้ในบางคนก็อาจมีริมฝีปากแห้งแตก ปากอักเสบ ซึมเศร้า สับสน มีอาการทางประสาท และอาจมีอาการโลหิตจางได้
ส่วนความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็ก ก็อาจจะมีอาการชัก ประสาทเกิดการอักเสบได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะพบในเด็กที่ขาดวิตามินบี 6 ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ นอกจากนี้สำหรับคนท้อง หากขาดวิตามินบี6 ก็อาจเสี่ยงต่อการชักแล้วแท้งได้อีกด้วย
ผลที่เกิดจากการได้รับวิตามินบี6 ( Vitamin B6 ) มากเกินไป
จากการศึกษา เมื่อฉีดวิตามินบี6 เข้าเส้นในปริมาณ 200 มิลลิกรัม และได้รับวิตามินบี6 ทางปากในปริมาณ 100 -300 มิลลิกรัมต่อวัน จะไม่เกิดพิษหรือความผิดปกติใดๆ แต่หากได้รับในปริมาณเป็นกรัมต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ก็จะส่งผลเสียต่อระบบประสาทได้ มีอาการนอนไม่หลับ ฝันบ่อย หรือฝันเหมือนจริงมาก และทำให้มือเท้าชาหรือกระตุกบ่อย เดินเซ และประสาทรับรู้ความรู้สึกหรือการรับรู้ตำแหน่งอาจด้อยประสิทธิภาพลง แต่ทั้งนี้อาการจะเริ่มดีขึ้นหลังจากหยุดกินวิตามินบี6 ต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
คำแนะนำเพิ่มเติม
1. หากรับประทานยาคุมกำเนิดอาจมีความต้องการวิตามินบี6 เพิ่ม
2. ผู้รับประทานอาหารประเภทกลุ่มโปรตีนสูงจะต้องการวิตามิน6 มากเป็นพิเศษ
3. ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลันเพิ่มการรับประทานบี6 และกรดโฟลิก วิตามินบี6
4. ลดความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานและหากไม่ปรับขนาดยาอาจส่งผลให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้
5. ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและผู้ที่กำลังรักษาด้วยยาคูพริมิน ( เพนิซิลลามีน ) ควรรับประทานวิตามินบี6 เสริมวิตามินบี 6 จะทำงานได้ดีที่สุดด้วยการรับประทานร่วมกับบีหนึ่งบีสองโกรธแพนโทรเทนนิสวิตามินซีและแมกนิเซียม
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2550
วิตามินบี6, วันที่สืบค้น 19 เมษายน 2559 จาก www.frynn.com
National Nutrient Database for Standard Reference, Release 27. United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service. Retrieved 27 June 2015.
Bredesen, D. E. (1985). “Sensory neuropathy with low-dose pyridoxine”. Neurology. 35 (10): 1466–1468.
McCormick, D. B. (2006). “Vitamin B6”. In Bowman, B. A.; Russell, R. M. Present Knowledge in Nutrition. 2 (9th ed.). Washington, DC: International Life Sciences Institute. p. 270.