โรคหัวใจในผู้หญิง
จากสถิติการเสียชีวิตของผู้หญิงด้วยโรคหัวใจในแต่ละปี พบว่ามีไม่ต่ำกว่า 500,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งก็พบว่ามากกว่าการตายจากโรคมะเร็งทุกประเภทรวมกันซะอีก ดังนั้นจึงต้องให้ความใส่ใจกับโรคหัวใจในผู้หญิงมากขึ้น โดย ในปัจจุบันก็พบว่ามีผู้หญิงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจโดยตรงไม่ต่ำกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ และหลายคนก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายประเด็นอีกด้วย
ความจริงคืออะไร ?
- ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจในผู้หญิง มีจำนวนมากกว่าผู้ชายเสมอ
- หลายคนเข้าใจว่าโรคหัวใจในผู้หญิง จะเป็นเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินและปัญหาหลอดเลือดแดงตีบ
- จากการสำรวจพบว่ามีผู้หญิงน้อยมากที่ได้รับคำแนะนำในเรื่องโรคหัวใจในผู้หญิงจากแพทย์ ส่วนใหญ่จึงมักจะไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก
สาเหตุของการป่วยด้วยโรคหัวใจในผู้หญิง
โรคหัวใจในผู้หญิงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และมีโอกาสป่วยด้วยโรคหัวใจได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย โดยสาเหตุสำคัญที่พบได้มากที่สุด ก็คือภาวะเส้นเลือดแดงตีบ ซึ่งสามารถวัดความเสี่ยงโรคหัวใจพื้นฐานได้จากระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์นั่นเอง แต่ที่ได้รับความนิยมและสามารถชี้วัดได้ดีที่สุด ก็คือ ระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือด
ซึ่งภาวะเส้นเลือดตีบนั้น เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงเป็นแผล และมีเกล็ดเลือดมาเกาะ จากนั้นก็จะทำลายหลอดเลือดแดงด้วยการปล่อยสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารทรอมบ็อกแซน ( Thromboxane ) ออกมา เป็นผลให้หลอดเลือดเกิดการบีบรัดตัวผิดปกติมากขึ้น นอกจากนี้ก็จะมีคอเลสเตอรอลเข้ามาฝังตัวในส่วนนี้ จนทำให้หลอดเลือดตีบได้ในที่สุดและนำไปสู่โรคหัวใจในผู้หญิง
อาการของโรคหัวใจในผู้หญิง
สำหรับอาการของโรคหัวใจในผู้หญิงจะมีความแตกต่างจากผู้ชายอยู่บ้าง และเนื่องจากเป็นโรคที่ค่อยเป็นค่อยไปจึงมักจะไม่ค่อยมีการแสดงอาการออกมาให้เห็น จนกว่าจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาการจึงจะแสดงออกมาอย่างเด่นชัด หลายคนจึงมีความเข้าใจผิดๆ ว่า โรคหัวใจจะเกิดเฉพาะในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนนั่นเอง
โดยอาการที่มักจะพบในผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคหัวใจในผู้หญิง ได้แก่
- โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการเจ็บหน้าอกและเจ็บร้าวไปตามแขนข้างซ้าย
- โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการปวดตามคอ ไหล่ แผ่นหลังและขากรรไกร ซึ่งมักจะเป็นๆ หายๆ แบบเรื้อรัง
- โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการอ่อนเพลียและวิงเวียนศีรษะบ่อยๆ รวมถึงอาจมีอาการปวดท้อง ไม่สบายท้องคล้ายกับอาหารไม่ย่อยไอ้อีกด้วย
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ พร้อมกับอาการหายใจติดขัด
ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการบางอย่างที่แสดงออกมาก็จะคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดและอาการไม่สบายทั่วไป ทำให้หลายคนชะล่าใจและรักษาไม่ถูกวิธีจนเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในที่สุด โดยสำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจก็มีหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูงและอายุ ซึ่งพบว่าผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงมากกว่าวัยก่อนหมดประจำเดือน เนื่องจากมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ โดยเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยปกป้องผู้หญิงจากโรคหัวใจนั่นเอง
การตรวจเลือด เพื่อบอกความเสี่ยงโรคหัวใจ
โรคหัวใจ พบว่าจะมีความเสี่ยงสูงมากในผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปี โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน เพราะมีระดับของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งในขณะเดียวกัน เอชดีแอล ไขมันชนิดดีก็จะลดลงอย่างรวดเร็วด้วย
ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยผู้ตรวจจะต้องงดอาหารประมาณ 8 – 12 ชั่วโมงก่อนตรวจ และสามารถพิจารณาความเสี่ยงได้ตามตารางดังนี้
ระดับคอเลสเตอรอลรวม ( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ) |
ความเสี่ยง |
<170 ( อายุ < 20 ปี ) | ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง |
< 200 ( อายุ > 20 ปี ) | ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง |
200 – 239 | สูงปานกลาง |
> 240 | สูง |
ระดับแอลดีแอล ( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ) |
ความเสี่ยง |
< 110 (อายุ < 20 ปี ) | ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง |
> 130 (อายุ < 20 ปี ) | สูง |
< 100 (อายุ > 20 ปี ) | ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง |
100 – 129 | เสี่ยงเพิ่มขึ้น |
130 – 159 | สูงปานกลาง |
160 – 189 | สูง |
> 190 | สูงมาก |
ระดับเอสดีแอล ( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ) |
ความเสี่ยง |
ชาย > 40 | ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง |
หญิง > 50 | ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง |
ระดับไตรกลีเซอไรด์ ( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ) |
ความเสี่ยง |
<150 | ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง |
150 – 199 | สูงปานกลาง |
200 – 499 | สูง |
> 500 | สูงมาก |
อัตราส่วนระดับคอเลสเตอรอลรวม และเอชดีแอล |
ความเสี่ยง |
< 3.5 | ต่ำ |
4.5 – 6.5 | ปานกลาง |
> 6.6 | สูง |
และจากการศึกษาจากคลินิกวิจัยไขมันในสหรัฐอเมริกา ก็พบว่าผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 50-69 ปี มักจะไม่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจหากมีระดับของเอชดีแอลที่สูงมากพอ แต่จะพบเสียชีวิตได้มากในผู้หญิงที่มีระดับเอชดีแอลต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งก็พบว่ามีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจสูงถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
จากการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ระดับเอชดีแอลมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้หญิงเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรเพิ่มระดับของเอชดีแอลให้สูงขึ้นอยู่เสมอ ที่สำคัญควรหมั่นตรวจระดับไขมันในเลือดเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทราบความเสี่ยงและเตรียมตัวรับมือได้ทัน โดยในการตรวจนอกจากจะดูค่าของคอเลสเตอรอลในเลือดเป็นหลักแล้ว ก็ควรดูค่าอื่นๆ ที่สำคัญด้วย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองใหม่ ก็สารถลดความเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจได้เช่นกัน โดยสามารถทำได้ดังนี้
1. ลดการทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนย กะทิ มาร์การีนและนมชนิดที่มีไขมันเต็ม เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้นด้วยนั่นเอง
2. เลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียมหรือเนยขาว เพราะไขมันทรานส์ จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้น และเพิ่มโอกาสเป็นโรคหัวใจให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
3. ทานน้ำมันปลาและกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวให้มากขึ้น ซึ่งพบได้จาก ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันปลา และน้ำมันมะกอก โดยอาหารเหล่านี้จะช่วยปกป้องหัวใจและลดคอเลสเตอรอลให้ต่ำลง นอกจากนี้น้ำมันปลายังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันได้อีกด้วย
4. เน้นการทานถั่วเหลืองหรือนมถั่วเหลือง เพราะถั่วหลืองมีสารที่จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลหลายชนิด พร้อมทั้งมีใยอาหารสูง ไขมันต่ำและมีสารซาโปนิน ที่จะช่วยขจัดคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็กออกนอกร่างกายอย่างรวดเร็ว จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ถั่วเหลืองก็มีสารชนิดหนึ่ง เรียกว่าสารพฤกษเคมีที่จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ดีอีกด้วย
5. เพิ่มผักผลไม้ ในทุกมื้ออาหาร เพราะผักผลไม้อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะสารแอนติออกซิแดนท์ที่จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ดี แถมยังมีสารสำคัญอย่างสารฟลาโวนอยด์และใยอาหารสูงอีกด้วย
6. เน้นทานเมล็ดพืชไม่ขัดสีและอาหารที่มีใยอาหารเป็นหลัก เพราะจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล แอลดีแอลในร่างกายให้ต่ำลงและสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ดีอีกด้วย โดยอาหารประเภทนี้ได้แก่ ซิลเลียม ข้าวโอ๊ต ผักผลไม้บางชนิด ถั่วเมล็ดแห้งและเมล็ดแฟลกซ์ เป็นต้น
7. ทานอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์ เพราะสารตัวนี้จะช่วยกำจัดอนมูลอิสระ ที่ทำลายผนังเซลล์หลอดเลือดแดง และลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจได้ดี
8. เสริมวิตามินบีให้เพียงพอต่อร่างกายอยู่เสมอ เพราะวิตามินบีจะมีส่วนช่วยในการบำรุงและเสริมสร้างสมองได้ดี รวมถึงกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและป้องกันโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี และเนื่องจากวิตามินบีแต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกันไป จึงควรทานวิตามินบีให้ครบถ้วนด้วย
วิตามินบี กุญแจสำคัญป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
วิตามินบี เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดี ดังนั้นจึงต้องทานวิตามินบีทุกตัวให้เกิดความสมดุลที่สุด ซึ่งจากการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่า
- การทานโฟเลต วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้โฮโมซิสในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงควรทานวิตามินเหล่านี้ให้เพียงพออยู่เสมอและให้เกิดความสมดุลกันมากที่สุด
- ในผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่ทางมังสวิรัติ จะได้รับวิตามินบีที่น้อยกว่าปกติและอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรทานวิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินบี 12 และวิตามินบี 2 หรือจะทานเป็นวิตามินรวมวันละ 1 เม็ดก็ได้
- ในคนที่มีความเครียดและมีปัญหานอนไม่หลับเป็นประจำ ควรทานวิตามินบีเสริมในปริมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ ของข้อแนะนำที่กำหนด ซึ่งอาจทานในรูปของวิตามินบีรวมหรือมีการเสริมเดี่ยวๆ เข้าไปด้วยก็ได้ แต่กรณีที่เป็นวิตามินบี 6 ไม่ควรทานเดี่ยวๆ เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับมากเกินไปจนทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาท ซึ่งหากต้องการเสริมจริงๆ ก็แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่าส่วนอาหารที่มักจะพบวิตามินบีได้สูง ได้แก่ นม ถั่ว ผัก เนยแข็ง ผลไม้และเนื้อสัตว์ เป็นต้น
9. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติเสมอ เพราะพบว่าผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วน โดยเฉพาะเมื่อมีไขมันสะสมอยู่บริเวณหน้าท้องเป็นจำนวนมาก จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้สูงกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากถึง 46 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจให้ต่ำลงตามไปด้วย
ข้อแนะนำอื่นๆเพื่อลดภาวะโรคหัวใจในผู้หญิง
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมข้างต้นเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจแล้ว ก็มีข้อแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจดังนี้
1. ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงและป้องกันโรคหัวใจเป็นหลัก โดยทานให้หลากหลาย ซึ่งก็มีทั้งผัก ผลไม้ โปรตีน ถั่วชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เป็นต้น
2. ทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดี โดยอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูงได้แก่ ถั่วเหลือง สาหร่ายทะเลและวอลนัท เป็นต้น
3. ทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวให้น้อยลง โดยจะต้องไม่เกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานทั้งหมด และควรงดอาหารที่มีไขมันทรานส์ด้วย
4. พยายามทานอาหารที่มีน้ำตาลให้น้อยที่สุด รวมถึงอาหารที่ใช้สารให้ความหวานแทนด้วย
5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที
6. งดการสูบบุหรี่และการอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่
7. เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุด หรือดื่มได้ไม่เกินวันละ 1 ดริ๊งค์
8. ลดการทานอาหารที่มีรสเค็ม รวมถึงจำกัดปริมาณโซเดียมและเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมแฝงด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Mozaffarian D, Willett WC, Hu FB (23 June 2011). “Changes in Diet and Lifestyle and Long-Term Weight Gain in Women and Men”. The New England Journal of Medicine (Meta-analysis). 364
Caballero B (2007). “The global epidemic of obesity: An overview”. Epidemiol Rev. 29: 1–5. PMID 17569676.