ต้นหญ้าขมใบย่น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้

0
หญ้าขมใบย่น
ต้นหญ้าขมใบย่น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้ เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน ผลขนาดเล็กผิวย่นสีเหลืองน้ำตาล
หญ้าขมใบย่น
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน ผลขนาดเล็กผิวย่นสีเหลืองน้ำตาล

หญ้าขมใบย่น

ชื่อวิทยาศาสตร์: Teucrium viscidum Blume จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ชื่ออื่น ๆ ซัวคักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), ซานฮั่วเซียง โจ้วเมี่ยนขู่เฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นหญ้าขมใบย่น

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุกที่มีอายุนานหลายปี
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร
    – ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านที่บริเวณปลายกิ่ง ตามลำต้นและใบจะมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม[1]
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงคู่กัน
    – ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบมน ส่วนขอบใบมีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย
    – ผิวใบมีน้ำเมือกเหนียวติดอยู่ ด้านหลังใบย่นเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบมีสีเป็นสีเขียวอ่อน ใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจนและใบมีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุม
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.7-3 เซนติเมตร[1]
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อและเรียงกันเป็นคู่ โดยจะออกดอกบริเวณตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีเป็นสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน กลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ กลีบมีลักษณะเป็นรอยหยัก กลีบดอกจะเรียงตัวกันเป็นรูประฆังซ้อนทับกัน ด้านบนมี 2 กลีบ ส่วนด้านล่างมี 3 กลีบ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน เกสรมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย[1]
  • ผล
    – ผล เป็นรูปไข่มีขนาดเล็ก เป็นทรงกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร[1]
    – ผล มีสีเป็นสีเหลืองน้ำตาล และผลมีผิวย่น

สรรพคุณของต้นหญ้าขมใบย่น

1. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้าหรืองูกัดได้ (ทั้งต้น)[1]
2. ทั้งต้นมีฤทธิ์ช่วยแก้อาการบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว และปวดข้อเข่าได้ (ทั้งต้น)[1]
3. ทั้งต้นมีรสชาติเฝื่อน มีความขมและเผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และกระเพาะ จึงนำมาใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น ช่วยขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยกระจายเลือด (ทั้งต้น)[1]
4. ทั้งต้นนำมาใช้แก้อาการร้อนใน (ทั้งต้น)[1]
5. นำต้นสดปริมาณประมาณ 35 กรัม นำมาตำผสมกับเหล้าจากนั้นนำไปพอก จะช่วยแก้อาการเจ็บเต้านม (ทั้งต้น)[1]
6. นำต้นสดปริมาณประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำผึ้งใช้สำหรับรับประทาน รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด (ทั้งต้น)[1]
7. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาอาการริดสีดวงในลำไส้ได้ (ทั้งต้น)[1]
8. ทั้งต้นใช้ช่วยแก้อาการเลือดกำเดา และอาเจียนเป็นเลือดได้ (ทั้งต้น)[1]
9. นำต้นสดปริมาณประมาณ 30-50 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน ใช้เป็นยาสำหรับแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้ตัวร้อน (ทั้งต้น)[1]
10. ทั้งต้นนำมาใช้รักษาฝีหนองปวดบวมอักเสบ (ทั้งต้น)[1]
11. ทั้งต้นนำมาใช้ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรีได้ (ทั้งต้น)[1]
12. ทั้งต้นนำมาใช้เป็นยาสำหรับห้ามเลือดได้ (ทั้งต้น)[1]

วิธีการใช้สมุนไพรต้นหญ้าขมใบย่น

ใช้ต้นแห้งครั้งละ 20-35 กรัม ส่วนต้นสดใช้ครั้งละ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยา [1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

ต้นมีสารจำพวก Amino acid, Glucolin, Phenols, Carboxylic acid เป็นต้น[1]
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้า ขม ใบ ย่น”.  หน้า 578.

ต้นหญ้าลูกข้าว พืชสมุนไพรดอกขาว

0
ต้นหญ้าลูกข้าว พืชสมุนไพรดอกขาว ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวสีเขียว เส้นใบมีสีเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลเป็นรูปทรงกลม
หญ้าลูกข้าว
ไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวสีเขียว เส้นใบมีสีเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลเป็นรูปทรงกลม

หญ้าลูกข้าว

ต้นหญ้าลูกข้าว สามารถพบขึ้นได้ในพื้นที่เปิดโล่ง ตามพื้นที่มีน้ำขัง และพื้นที่ชื้นแฉะ[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Spermacoce ocymoides Burm.f.  ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Borreria laevicaulis (Miq.) Ridl.
จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

ลักษณะต้นหญ้าลูกข้าว

  • ต้น
    – เป็นไม้ประเภทล้มลุก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 15-40 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ
    – ใบ เป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ส่วนเส้นใบมีสีเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนขึ้นอยู่เล็กน้อยเป็นประปรายทั้งสองด้าน และมีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอก ออกเป็นช่อ โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม[1]
    – ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก เรียงตัวอัดแน่นกันเป็นช่อรูปครึ่งทรงกลม
    – ดอกย่อยมีใบรองรับอยู่ 2 ใบ ดอกย่อยมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีสีเป็นสีขาว โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ
  • ผล
    – ผลเป็นผลสดมีขนาดเล็ก ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงกลม และผลจะแตกตามขวาง[1]

สรรพคุณต้นหญ้าลูกข้าว

ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้น ในปริมาณประมาณ 2 กิโลกรัม มาผสมกับต้นผักเป็ดแดงทั้งต้นเป็นปริมาณ 2 กิโลกรัม, ต้นแก่นสลัดไดปริมาณ 0.5 กิโลกรัม, มะกรูดจำนวน 30 ผล, มะนาวจำนวน 30 ผล, และเกลือในปริมาณพอประมาณ จากนั้นนำวัตถุทั้งหมดดังที่กล่าวมาดองกับน้ำซาวข้าว ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้โรคผอมแห้ง (ทั้งต้น)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หญ้าลูกข้าว”.  หน้า 51.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Spermacoce_ocymoides
2.https://karakodan.blogspot.com/2014/11/spermacoce-ocymoides.html

ต้นหญ้าเหลี่ยม สรรพคุณ มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหูน้ำหนวก

0
ต้นหญ้าเหลี่ยม สรรพคุณ มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหูน้ำหนวก เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกมีสีเป็นสีขาวอมชมพูหรือเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน สีเข้มช่วงปลายกลีบ
ต้นหญ้าเหลี่ยม
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกมีสีเป็นสีขาวอมชมพูหรือเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน สีเข้มช่วงปลายกลีบ

หญ้าเหลี่ยม

ต้นหญ้าเหลี่ยม มีเขตการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยสามารถพบได้ตั้งแต่แถบอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยสามารถพบได้กระจายห่าง ๆ กันในทั่วทุกภาคของประเทศ โดยส่วนใหญ่มักจะพบขึ้นตามทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง ตามป่าสน และชายป่า จนไปถึงระดับความสูงประมาณ 900 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Exacum tetragonum Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Exacum bicolor Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ดอกหรีดเขา (GENTIANACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ หญ้าเหลี่ยม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), นางอั้วโคก (จังหวัดนครราชสีมา), ไส้ปลาไหล (จังหวัดนครพนม), หญ้าหูกระต่าย (จังหวัดเลย), แมลงหวี่ (จังหวัดเพชรบูรณ์), เทียนป่า (จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นหญ้าเหลี่ยม

  • ต้น
    – จัดเป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก ที่มีอายุเพียงหนึ่งฤดู
    – ต้นมีความสูงประมาณ 40-100 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามลำต้นมีสันเป็นสันสี่เหลี่ยม มองเห็นได้ชัดเจน[1]
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปใบหอก รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีขนาดความยาวอยู่ประมาณ 5 มิลลิเมตร หรือบางก้านก็สั้นมากกว่านั้น หรือบางใบก็ไม่มีก้าน[1],[2]
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อแยกแขนงชัดเจน โดยดอกจะออกที่บริเวณตามซอกและปลายกิ่ง
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงช่วงเดือนมกราคม
    – ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ 1 เซนติเมตร มีใบประดับที่มีลักษณะเป็นรูปใบหอกหรือรูปแถบ ซึ่งมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยมีขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะเป็นรูปแถบ มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ โดยกลีบเลี้ยงจะมีรูปร่างลักษณะเป็นรูปใบหอก มีความยาวได้อยู่ที่ประมาณ 6 มิลลิเมตร ปลายกลีบดอกเรียวแหลม มีครีบเป็นปีกกว้างอยู่ที่ประมาณ 1 มิลลิเมตร หลอดกลีบดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน มีความยาวอยู่ที่ 1.3 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกแหลมหรือเรียวแหลม กลีบดอกมีสีเป็นสีขาวอมชมพูหรือเป็นสีม่วงแกมน้ำเงิน และมีสีเข้มช่วงปลายกลีบ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน มีก้านชูอับเรณูที่มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ตรงอับเรณูโค้ง มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปทรงกลมมีขนาดเล็ก ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร และตรงปลายยอดเกสรมีลักษณะเป็นตุ่ม[1],[2]
  • ผล
    ผลแห้งและสามารถแตกได้ ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงไข่แกมกระสวยหรือเป็นรูปทรงรีเกือบกลม ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 3.5 มิลลิเมตร[1]

สรรพคุณต้นหญ้าเหลี่ยม

  • ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำใบมาขยี้ให้แหลก จากนั้นนำมาอุดหูเป็นเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหูน้ำหนวกในเด็กได้ (ใบ)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หญ้าเหลี่ยม”.  หน้า 110.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “หญ้าเหลี่ยม”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [02 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://ayurwiki.org/Ayurwiki/Exacum_bicolor_-_Akshipushpi

ต้นหนาดดอย พืชสมุนไพรใช้พอกรักษาอาการฝีหนอง

0
ต้นหนาดดอย พืชสมุนไพรใช้พอกรักษาอาการฝีหนอง ไม้ล้มลุก ก้านสีเขียวและมีขนละเอียด ใบออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นสีม่วง
ต้นหนาดดอย
ไม้ล้มลุก ก้านสีเขียวและมีขนละเอียด ใบออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นสีม่วง

หนาดดอย

หนาดดอย มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ บ้านเราพบมากที่ภาคเหนือ ชื่อสามัญ Winged Spermatowit[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Laggera pterodonta (DC.) Sch.Bip. ex Oliv. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Blumea pterodonta DC., Conyza ctenoptera Kunth, Laggera pterodonta (DC.) Benth. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่ออื่น ๆ หนาดดอย (จังหวัดเชียงใหม่), หนาดเหลี่ยม (จังหวัดน่าน) [1]

ลักษณะต้นหนาดดอย

  • ต้น
    – เป็นไม้ประเภทล้มลุก มีอายุเพียงหนึ่งฤดูกาล
    – ต้นมีความสูงประมาณ 2 เมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านเป็นสันรูปทรงสี่เหลี่ยมแผ่ออกเป็นปีกบาง ๆ กิ่งก้านจะมีสีเขียว และมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่[1]
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ
    – แผ่นใบมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน หลังใบมีสีเป็นสีเขียวหม่นถึงสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
    สัดส่วนขนาดของใบ: ใบที่บริเวณโคนต้นจะมีขนาดความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 14-26 เซนติเมตร
    – ใบที่บริเวณปลายกิ่งจะมีขนาดความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อกระจุกแน่นแยกแขนงหรือเชิงหลั่น โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
    – กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงเข้ม โดยจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว และดอกมีชั้นใบประดับ [1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะที่เป็นผลแห้ง ไม่แตก ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงเส้นยาว ตรงขอบผลเป็นสัน และผิวผลจะมีขนละเอียดขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วผล[1]

สรรพคุณต้นหนาดดอย

  • ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้นมาผสมกับต้นเหง้าไพล ต้นตำหมกไฟ ต้นเหง้าขมิ้น ใช้ทำเป็นยาสำหรับพอกรักษาอาการฝีหนอง และอาการปวดบวม (ทั้งต้น) [1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสกัดที่ได้จากทั้งต้นมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้ และอีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อไวรัสได้อีกด้วย (ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป) [1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนาดดอย”. หน้า 138.

ต้นหนามแน่ขาว สรรพคุณมีฤทธิ์ในการลดอาการชัก

0
ต้นหนามแน่ขาว
ต้นหนามแน่ขาว สรรพคุณมีฤทธิ์ในการลดอาการชัก ไม้ล้มลุกเลื้อยพันขนาดเล็ก ต้นมีขนสีขาวแกมเทาขึ้นปกคลุม ดอกสีขาวกลิ่นหอม ผลมีผิวเกลี้ยงไม่มีขนและผลมีสีดำ
ต้นหนามแน่ขาว
ไม้ล้มลุกเลื้อยพันขนาดเล็ก ต้นมีขนสีขาวแกมเทาขึ้นปกคลุม ดอกสีขาวกลิ่นหอม ผลมีผิวเกลี้ยงไม่มีขนและผลมีสีดำ

ต้นหนามแน่ขาว

ต้นหนามแน่ขาว สามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ป่าที่ค่อนข้างโปร่ง โดยสามารถพบได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700-1,500 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[2] เมื่อกล่าวถึงพืชสมุนไพรแล้วนั้น พืชสมุนไพรก็ต่างมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีสรรพคุณและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะเหมือนกันแต่การนำมาใช้ก็ย่อมจะแตกต่างกันไป ในบทความนี้ทางเราจะขอมานำเสนอข้อมูลของหนามแน่ขาว พืชสมุนไพรที่คนส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลของมันกันครับ ชื่อสามัญ Sweet clock vine[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia fragrans Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Meyenia longiflora Benth., Roxburghia rostrata Russell ex Nees, Thunbergia volubilis Pers. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ หนามแน่ขาว (ภาคเหนือ), ทองหูปากกา (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), จิงจ้อ จิงจ้อเขาตาแป้น (จังหวัดสระบุรี), ช่องหูปากกา หูปากกา (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), รางจืดดอกขาว เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะต้นหนามแน่ขาว

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุกเลื้อยพันที่มีขนาดเล็ก
    – ต้นมีความยาว: ประมาณ 1-3 เมตร
    – ลำต้นมักจะทอดเลื้อยหรือเลื้อยพันไปกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ลำต้นมีลักษณะรูปร่างเป็นเหลี่ยม และทุกส่วนของลำต้นจะมีขนสีขาวแกมเทาขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปใบหอกแคบหรือรูปรี
    – แผ่นใบมีผิวใบลักษณะคล้ายกระดาษ และผิวใบทั้งสองด้านจะมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.8 เซนติเมตร[1],[2]
  • ดอก
    – ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรืออาจจะออกกันเป็นกระจุก 2-3 ดอก โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ
    – ดอกมีสีเป็นสีขาว และดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
    – ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมีผิวบาง โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด ตรงปลายแยกออกเป็นกลีบอยู่ 5 กลีบ
    – ตรงบริเวณโคนดอกจะมีกลีบเลี้ยงแผ่เป็นประกับมีสีเป็นสีเขียวอ่อน
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 อัน โดยจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ และดอกมีรังไข่อยู่บริเวณเหนือวงกลีบ[1]
    – ออกดอกในช่วงเดือนกันยายนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลแห้งและแตกได้
    – ผลเป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม ปลายผลจะมีเป็นจะงอยแข็ง 1 คู่ ผลมีผิวเกลี้ยงไม่มีขนและผลมีสีดำ
    – ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด
    – ติดผลในช่วงเดือนกันยายนถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2]

สรรพคุณต้นหนามแน่ขาว

  • ทั้งต้นนำมาผสมกับต้นจันตาปะขาว นำเอามาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ (ทั้งต้น)[3],[4]
  • ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำรากมาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น อย่างเช่น รากของต้นพญาดง (Persicaria chinensis) จากนั้นก็นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยารักษาอาการปวดท้องน้อยของผู้ป่วยกามโรค (ราก)[1]

ประโยชน์ของต้นหนามแน่ขาว

  • ปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับตกแต่งบ้านทั่วไปได้ เนื่องจากดอกที่มีขาวสวยงาม มองแล้วเพลินตา และดอกยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกด้วย[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารสกัดจากบริเวณส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยแอลกอฮอล์ พบผลลัพธ์ว่าไม่มีฤทธิ์ในการแก้ปวด แต่มีฤทธิ์ในการลดอาการชัก หรือลดอาการบีบตัวของลำไส้ได้[4]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หนามแน่ขาว”.  หน้า 211.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “หูปากกา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [29 ก.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “หูปากกา”.  หน้า 193.
4. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หูปากกา”.  หน้า 210.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.flickr.com/

โหราบอน ใช้เป็นยารักษาอาการอัมพฤกษ์

0
โหราบอน ใช้เป็นยารักษาอาการอัมพฤกษ์ เป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายกับหัวเผือก ก้านใบยาวและอวบน้ำ ดอกเป็นดอกเดี่ยวกลมและยาว สีม่วง ผลอยู่ในดอกสุกแล้วเป็นสีแดง
โหราบอน
เป็นพรรณไม้จำพวกว่าน มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายกับหัวเผือก ก้านใบยาวและอวบน้ำ ดอกเป็นดอกเดี่ยวกลมและยาว สีม่วง ผลอยู่ในดอกสุกแล้วเป็นสีแดง

โหราบอน

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Sauromatum giganteum (Engl.) Cusimano & Hett. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Typhonium giganteum Engl. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)[1] มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ยวี่ไป๋ฟู่ ตู๋เจี่ยวเหลียน ไป๋ฟู่จื่อ (จีนกลาง)[1]

ลักษณะต้นโหราบอน

  • ลักษณะของต้น [1]
    – เป็นพรรณไม้จำพวกว่าน
    – มีอายุได้หลายปี
    – เป็นพืชที่ไม่มีลำต้น
    – มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกับหัวเผือก
    – เป็นรูปกลมรียาว แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวเผือก
    – มีขนาดใหญ่และเล็กไม่เท่ากัน
    – เปลือกหัวเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายคล้ายกับเกล็ดปลา
    – บริเวณโคนของลำต้นเหนือดินมีรากฝอยมาก
  • ลักษณะของใบ [1]
    – มีการแตกใบจากบริเวณโคนต้น
    – ก้านใบยาวและอวบน้ำ
    – ก้านใบตั้งตรงมีร่องโค้งคล้ายกับก้านกล้วย
    – ในต้นหนึ่งจะมีใบ 2-4 ใบ
    – ในระยะเวลา 1-2 ปี
    – มีการแตกใบ 1 ใบ
    – ใบอ่อนมักจะม้วนงอ
    – ใบที่โตเต็มที่แล้วจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมนรี
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบเป็นคลื่น
  • ลักษณะของดอก [1]
    – ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว
    – แทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน
    – ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน
    – ดอกจะกลมและยาวคล้ายรูปทรงกระบอก
    – มีเนื้อนิ่ม
    – ดอกเป็นสีม่วงมีแต้มเล็กน้อยและมีลายเส้นตรง
    – มีกาบใบสีม่วงอ่อนห่อหุ้มอยู่
    – ภายในดอกจะมีผล
  • ลักษณะของผล [1]
    – ผลจะอยู่ภายในดอก
    – ผลเมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดง

ข้อควรระวังในการใช้โหราบอน

  • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ได้[1]
  • ไม่ควรนำหัวสด ที่ยังไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการกำจัดพิษมารับประทานหรือใช้เป็นยา[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโหราบอน

หัวและทั้งต้นพบเมือก, Alkaloids (บางชนิดที่พบเป็นพิษ), Glucorin D, Glutamic acif, B-sitosteryl-D-glucoside, Saponin[1]

สรรพคุณของโหราบอน

  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคปากคอ คอตีบ เจ็บคอได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดตามข้อได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้บาดทะยัก[1]
  • หัว ช่วยแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นลมตะกัง[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้กล้ามเนื้อหดเกร็งเป็นก้อน แก้ตกใจง่าย แก้อัมพฤกษ์ อัมพาตได้[1]
  • หัว มีรสเบื่อเมา เผ็ดชุ่มเล็กน้อย มีพิษมาก เป็นยาร้อน[1]
  • หัว ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับลมชื้นได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองลำคอที่ติดเชื้อวัณโรคได้[1]
  • หัว สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ที่ทำให้ตาหรือปากเบี้ยวได้[1]

ขนาดและวิธีใช้โหราบอน

  • ให้ใช้ยาแห้งที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษแล้วเท่านั้น
  • ให้ใช้ครั้งละ 3-6 กรัม
  • นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
  • หากจะใช้ยาผง ก็ให้ใช้เพียงครั้งละ 3-5 กรัม

กรรมวิธีการกำจัดพิษโหราบอน[1]

  • ให้นำหัวมาล้างน้ำให้สะอาด
  • แล้วนำไปแช่ในน้ำประมาณ 1 สัปดาห์
  • ให้เปลี่ยนน้ำที่แช่ทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • แช่ครบ 1 สัปดาห์จึงนำหัวมาแช่กับน้ำสารส้ม ในอัตราส่วนหัว 50 กิโลกรัม ต่อสารส้ม 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 1 วัน
  • หลังจากนั้นให้เทน้ำสารส้มออก ใส่น้ำสะอาดลงไป
  • แช่จนกว่าน้ำจะไม่มีรสเบื่อเมาเผ็ด
  • แล้วจึงนำหัวที่ได้มานึ่งกับขิง ในอัตราส่วน 50 ต่อ 12
  • ในบางตำราจะนึ่งพร้อมกับชะเอมด้วย
  • หลังจากนึ่งจนสุกแล้วจึงนำหัวที่ได้มาหั่นเป็นแผ่น ๆ
  • นำไปตากให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้ประโยชน์ทางยา

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โหราบอน”. หน้า 638.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.etsy.com/
2.https://garden.org/

อวบดำ ลำต้นใช้แก้โรคระดูขาวของสตรีได้

0
อวบดำ ลำต้นใช้แก้โรคระดูขาวของสตรีได้ ไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก ใบเดี่ยวปลายใบแหลม ดอกเล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน ๆ ผลอ่อนสีเขียวเนื้อบาง ผลสุกสีม่วงดำ
อวบดำ
ไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก ใบเดี่ยวปลายใบแหลม ดอกเล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน ๆ ผลอ่อนสีเขียวเนื้อบาง ผลสุกสีม่วงดำ

อวบดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Chionanthus ramiflorus Roxb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Linociera ramiflora (Roxb.) Wall. ex G. Don จัดอยู่ในวงศ์มะลิ (OLEACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เกลื่อน (สุราษฎร์ธานี), ตาไชใบใหญ่ (ตรัง), อวบดํา (ชุมพร), พลู่มะลี (เขมร-สุรินทร์), โว่โพ้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), “ปริศนา”, “หว้าชั้น”[1],[2]

ลักษณะอวบดำ

  • ลักษณะของต้น
    – เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ขนาดเล็ก
    – ลำต้นตั้งตรง
    – ต้นมีความสูงได้ถึง 5-10 เมตร
    – เปลือกต้นเรียบเป็นสีขาวอมน้ำตาล
    – เกลี้ยงหรือแตกระแหงเล็กน้อย
    – กิ่งก้านเรียวเล็กและลู่ลงเล็กน้อย
    – กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาล
    – เขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย
    – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงออสเตรเลีย
    – ในประเทศไทยนั้นสามารถพบได้ทุกภาค
    – ตามป่าดิบและป่าผลัดใบ
    – พบได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 450-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล
  • ลักษณะของใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร และยาว 8-18 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเรียบเกลี้ยงทั้งหลังใบและท้องใบ
    – เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง
    – หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม
    – มีเส้นใบข้าง 8-12 คู่
    – ก้านใบเกลี้ยง มีความยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงหลวม ๆ
    – จะออกตามซอกใบหรือกิ่งก้าน
    – ช่อดอกยาวได้ถึง 3-15 เซนติเมตร
    – แขนงข้างของช่อด้านล่างยาวครึ่งหนึ่งของความยาวของช่อหลัก
    – ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
    – ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ๆ
    – มีดอกย่อย 40-100 ดอก
    – ดอกย่อยจะมีขนาด 0.3-0.7 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ เป็นรูปขอบขนาน
    – กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว มี 4 กลีบ มีขนาด 1-1.5 มิลลิเมตร
    – พูกลีบลึก
    – โคนกลีบติดกัน
    – ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน มีขนาดสั้นกว่าหลอดกลีบ
    – อับเรณูมีขนาด 1 มิลลิเมตร เป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน
    – ไม่มีก้านชู กลม มีติ่งที่ปลาย
    – ปลายเกสรเพศเมีย เป็น 2 พู จาง ๆ
    – ก้านชูสั้น
    – ก้านดอกย่อยนั้นยาว 1-2 มิลลิเมตร
  • ลักษณะของผล
    – ผลเป็นผลสด
    – ผลเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่กลับ
    – มีความกว้าง 0.5-2.2 เซนติเมตร และยาว 1.5-3 เซนติเมตร
    – ผิวผลเรียบ
    – มีชั้นกลีบเลี้ยงรองรับ
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – เนื้อผลบาง
    – เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ
    – ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง
    – ผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – ออกดอกและออกผลพร้อมกันในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม

สรรพคุณของอวบดำ

  • ราก สามารถนำมาต้มกับน้ำใช้บ้วนปาก จะช่วยทำให้ฟันแข็งแรงได้[1],[2]
  • ตำรับยาสมุนไพร โรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จะนำลำต้นมาผสมกับเนื้อไม้ตะแบกป่า ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็น
  • ลำต้น สามารถใช้แก้โรคระดูขาวของสตรีได้[2]
  • ลำต้น สามารถช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีเนื่องจากรอบเดือนผิดปกติได้[2]

ประโยชน์ของอวบดำ

  • ราก สามารถนำมาใช้เคี้ยวอมเพื่ออดบุหรี่ได้[1],[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างบ้านเรือนได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “อวบ ดำ (Aup Dam)”. หน้า 339.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พลู่มะลี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [22 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “อวบ ดำ”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [22 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.http://www.northqueenslandplants.com/

อ้อเล็ก รากช่วยดับไฟในปอดและกระเพาะ

0
อ้อเล็ก รากช่วยดับไฟในปอดและกระเพาะ ต้นคล้ายจำพวกไผ่ ใบเรียวยาวแหลม ดอกเป็นช่อที่ปลายต้น ก้านช่อมีขนขึ้นปกคลุม ดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง
อ้อเล็ก
ต้นคล้ายจำพวกไผ่ ใบเรียวยาวแหลม ดอกเป็นช่อที่ปลายต้น ก้านช่อมีขนขึ้นปกคลุม ดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง

อ้อเล็ก

เป็นพรรณไม้ล้มลุกหญ้ายืนต้นดอกขนขาว ชื่อสามัญ คือ Reed, Danube grass ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Phragmites australis (Cav.) Trin. ex Steud. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Phragmites communis Trin.) จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)[1] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ อ้อน้อย (เชียงใหม่), อ้อลาย อ้อเล็ก (ภาคกลาง), อ้อ (ทั่วไป), หลูเกิน หลูเหว่ย (จีนกลาง)[1]

ลักษณะต้นอ้อเล็ก

  • ลักษณะของต้น [1]
    – คล้ายจำพวกไผ่
    – ต้นมีความสูง 2-5 เมตร
    – ลำต้นเหนือดินเป็นสีเขียว
    – ผิวลำต้นเรียบมัน และเนื้อแข็ง
    – โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มอยู่
    – บริเวณกาบใบมีสีขาวปกคลุม
    – รากใต้ดินเจริญเติบโตขนานกับผิวดิน
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.6 เซนติเมตร
    – ถ้าอยู่ในดินทราย อาจจะยาวได้ถึง 10 เมตร
    – เปลือกรากเป็นสีเหลือง
    – เนื้อในรากเป็นสีขาว และภายในจะกลวง
  • ลักษณะของใบ [1]
    – ใบเป็นใบออกเรียงตรงข้าม
    – ใบเรียวยาว
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และยาว 30-60 เซนติเมตร
    – เนื้อใบสาก
  • ลักษณะของดอก [1]
    – ออกดอกเป็นช่อที่ปลายต้น
    – ช่อดอกยาวได้ 15-25 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุม
    – ในช่อหนึ่งจะมีดอก 3-7 ดอก
    – ดอกย่อยนั้นมีขนาดเล็ก มีความยาว 0.9-1.6 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปไข่ มี 5 กลีบ
    – โคนกลีบดอกเป็นหลอด
    – ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 3 อัน เป็นเส้นขนยาว 3-4 มิลลิเมตร
    – เกสรเพศเมียมี 1 อัน
    – กลีบดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง
  • ลักษณะของผล [1]
    – ผลเป็นรูปกลมรี

สรรพคุณของอ้อเล็ก

  • ราก ช่วยแก้อาการเจ็บคอ[1]
  • ราก ช่วยแก้อาการอาเจียน[1]
  • ราก ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล[1]
  • ราก ช่วยแก้เหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน[1]
  • ราก ช่วยแก้อาการใจคอหงุดหงิด[1]
  • ราก มีรสชุ่มและเป็นยาเย็น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำได้[1]
  • ราก ช่วยลดไข้ตัวร้อน ช่วยดับไฟในปอดและกระเพาะ[1]
  • ราก ช่วยแก้ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบได้ โดยใช้รากสด 60 กรัม, รากบวบ 60 กรัม, หญ้าคา 60 กรัม นำมาต้มรวมกับน้ำแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปอดอักเสบได้ โดยใช้รากแห้ง 30 กรัม, ดอกสายน้ำผึ้ง 30 กรัม, ลูกเดือย 15 กรัม, เมล็ดฟัก 12 กรัม, เห่งยิ้ง 10 กรัม, กิ๊กแก้ 10 กรัม นำมาต้มรวมกับน้ำรับประทาน[1]
  • ราก แก้ออกหัด โดยใช้รากสด 100 กรัม, ถั่วดำ 50 กรัม, ถั่วแดง 50 กรัม, ถั่วเขียว 50 กรัม นำมาต้มรวมกับน้ำจนถั่วเปื่อย ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาแบ่งรับประทานครั้งละ 30 ซีซี วันละ 1-2 ครั้ง โดยให้รับประทานติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์[1]

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีกระเพาะอาหารเย็นพร่องห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เด็ดขาด[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ในรากจะพบสารหลายชนิด เช่น Asparagin, Coixol, Glucorin, Taraxerol, Taraxerenone, Tricin, Vitamin B1, Vitamin B2, Vitamin C และยังพบแป้งและน้ำตาล เป็นต้น[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “อ้อน้อย”. หน้า 644.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/
2.https://plants.ces.ncsu.edu/

อัญชันป่า ตำพอกรักษาแผลสดและใช้เป็นยาห้ามเลือด

0
อัญชันป่า
อัญชันป่า ตำพอกรักษาแผลสดและใช้เป็นยาห้ามเลือด เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ดอกคล้ายกับดอกอัญชันแต่เป็นสีขาว ฝักกลมยาวนูนคล้ายฝักของถั่วเขียว
อัญชันป่า
เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ดอกคล้ายกับดอกอัญชันแต่เป็นสีขาว ฝักกลมยาวนูนคล้ายฝักของถั่วเขียว

อัญชันป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Clitoria macrophylla Benth. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Clitoria acuminata Wall., Clitoria grahamii Steud., Clitoria grahamii “Benth., p.p.”, Clitoria macrophylla Wall., Clitoria macrophylla var. macrophylla จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ หำพะยาว เอื้องชันป่า อัญชันป่า (เชียงใหม่), หมากแปบผี (เลย), ก่องข้าวเย็น (อุบลราชธานี)[1],[4] สามารถพบขึ้นได้ทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ตามพื้นที่ป่า ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าพลวง ป่าดิบแล้ง ป่าเขา และป่าโปร่ง

ลักษณะอัญชันป่า

  • ลักษณะของต้น[1],[3],[4]
    – เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก
    – เลื้อยไปตามหน้าดิน
    – ยอดตั้งไม่ตรง
    – มีความสูง 15-25 เซนติเมตร
    – เถาแข็ง
    – ลำต้นกลม
    – อีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – มีอายุได้หลายปี
    – ปลายยอดค่อนข้างอ่อน
    – ต้นมีความสูง 38.42-78.66 เซนติเมตร
    – ลำต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง
    – มีขนยาว 1-2 มิลลิเมตร
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น 2.54-3.94 มิลลิเมตร
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและแยกหน่อ
    – เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย
  • ลักษณะของใบ[1],[3],[4]
    – เป็นใบประกอบ
    – มีใบย่อย 3 ใบ
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบย่อยเป็นรูปหอก รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
    – ปลายใบแหลมแบบมีติ่งอ่อน
    – โคนใบแหลมหรือสอบเรียว
    – ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย
    – ใบกลางมีความกว้าง 3.47-4.75 เซนติเมตร และยาว 9.03-12.95 เซนติเมตร
    – ใบข้างมีความกว้าง 3.04-3.66 เซนติเมตร และยาว 6.4-9.1 เซนติเมตร
    – แผ่นใบหนาเหนียวและหยาบ
    – หลังใบเป็นสีเขียวถึงเขียวเข้ม
    – ท้องใบเป็นสีเทา
    – การเรียงตัวของเส้นใบเป็นแบบโค้งจรดกัน
    – ส่วนล่างของลำต้นมีใบเดี่ยวขึ้นปะปน
    – หูใบเป็นสีเขียวอ่อนเป็นเส้นเรียวปลายแหลม
  • ลักษณะของดอก[1],[3],[4]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – จะออกตามซอกใบและตามข้าง
    – ช่อดอกยาว 4-5.4 เซนติเมตร
    – ดอกจะมีคล้ายกับดอกอัญชัน แต่จะเป็นสีขาว
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่วสีขาวนวล
    – กลีบดอกที่อยู่นอกสุดมีขนาดกว้าง 1.8 เซนติเมตร และยาว 3.5 เซนติเมตร
    – จะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
  • ลักษณะของฝัก[1],[3],[4]
    – ผลเป็นฝักกลมยาว และจะนูนคล้ายฝักของถั่วเขียว
    – ฝักมีความกว้าง 0.61-0.71 เซนติเมตร และมีความยาว 4.38-4.94 เซนติเมตร
    – ฝักเมื่อแห้งแก่แล้วจะแตกออก
    – ฝักมีเมล็ดอยู่ 6-8 เมล็ด

สรรพคุณอัญชันป่า

  • ราก ช่วยเป็นยาถอนพิษ ใช้แก้พิษสุนัขบ้าได้[3]
  • ชาวเขาเผ่าอีก้อ จะนำทั้งต้นมาตำพอกใช้เป็นยาห้ามเลือด ใช้รักษาแผลสด แผลถลอก[1]

ประโยชน์ของอัญชันป่า

  • ราก สามารถนำมาทุบใส่ในไหปลาร้าหรือใช้ปิดปากไห จะช่วยป้องกันหนอนแมลงวัน ฆ่าหนอนได้[2],[3]
  • สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์แทะเล็มตามธรรมชาติของโค กระบือ สัตว์ป่า โดยจะให้คุณค่าทางอาหารที่ประกอบไปด้วย โปรตีน 11.63%, คาร์โบไฮเดรต (NFE) 50.47%, เส้นใยอาหาร 33%, เส้นใยส่วน ADF 38.36%, NDF 47.36%, ไขมัน 1.63%, เถ้า 3.27%, ลิกนิน 10.35%[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “อัญ ชัน ป่า”. หน้า 74.
2. หนังสือพรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. (สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). “อัญ ชัน ป่า”. หน้า 201.
3. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “อัญ ชัน ป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bedo.or.th. [21 ก.ย. 2014].
4. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “อัญ ชัน ป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [21 ก.ย. 2014].

อั้วข้าวตอก ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ

0
อั้วข้าวตอก ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ เป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ ใบเดี่ยวพับจีบ ดอกเป็นช่อกระจุก ดอกสีขาวขนสั้นละเอียด
อั้วข้าวตอก
เป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ ใบเดี่ยวพับจีบ ดอกเป็นช่อกระจุก ดอกสีขาวขนสั้นละเอียด

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก เป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Calanthe triplicata (Willemet) Ames ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Orchis triplicata Willemet จัดอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ข้าวตอกฤาษี, พุ่มข้าวตอก, อั้ว, อั้วดอกขาว, เอื้องข้าวตอก, เอื้องเหลี่ยมดอกขาว[1],[2] สามารถพบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น

ลักษณะต้นอั้วข้าวตอก

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ
    – รากหนา และยาว
    – มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย เป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ
    – มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง
    – ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคกลาง
    – มักจะขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา
    – สามารถพบได้ในที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร
    – ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1]
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ใบจะพับจีบ
    – ใบเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลมยาว
    – โคนใบสอบหรือเรียวแคบคล้ายก้านใบ
    – ใบมีความกว้าง 6-10 เซนติเมตร และยาว 30-40 เซนติเมตร
    – ผิวใบเป็นมัน
    – ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม
    – เส้นใบเป็นร่องจากโคนไปจรดรวมกันที่ปลายใบ
    – ก้านใบยาว 15 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุก
    – จะออกดอกตามซอกใบ
    – ก้านช่อยาว 25-100 เซนติเมตร
    – แกนช่อยาวประมาณ 6-25 เซนติเมตร
    – มีขนสั้นละเอียดขึ้นหนาแน่นหรืออาจจะเกือบเกลี้ยง
    – ใบประดับติดทน
    – เป็นรูปใบหอก มีความยาว 1-4 เซนติเมตร
    – ช่วงล่างของช่อดอกจะยาวกว่าช่วงบนช่อ
    – ต้นมีดอกสีขาวจำนวนมาก
    – ก้านดอกจะยาว 3-4 เซนติเมตร ก้านเรียวจรดรังไข่ มีความยาว 1-1.5 เซนติเมตร
    – กลีบปากมีสีแดงหรือสีเหลืองแต้มอยู่ที่โคน
    – มีขนสั้นนุ่มขึ้นประปรายอยู่ด้านนอก
    – กลีบเลี้ยงจะแยกจากกัน เป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร
    – กลีบดอก กลีบปีก จะคล้ายกับกลีบเลี้ยง แต่จะเรียวและแคบกว่า
    – กลีบปากโคนติดกลีบปีก ห่อหุ้มเกสร ส่วนปลายบานออก แยกเป็นพู 3 พู มียาว 2.5 เซนติเมตร
    – พูด้านข้างเป็นรูปขอบขนาน มีความยาว 1 เซนติเมตร
    – พูตรงกลางจะแยกเป็นแฉก 2 แฉก มีความยาว 1.5 เซนติเมตร
    – ที่โคนมีเดือยเรียวยาว มีความยาว 2-3.5 เซนติเมตร
    – เส้าเกสรสั้น มีความยาว 0.8 เซนติเมตร หนา
    – ยอดเกสรเพศเมียติดด้านข้าง เรณู 8 อัน
    – แยกออกเป็น 2 กลุ่ม มีเมือกเหนียว
    – จะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม หรืออาจจะออกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณ และประโยชน์ของอั้วข้าวตอก

  • รากเหง้าหรือหัว สามารถนำมาตากแห้งคั่วกับไฟ แล้วใช้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ และขับน้ำนิ่วในไตได้[1]
  • สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “อั้ ว ข้ า ว ต อ ก”. หน้า 152.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “อั้ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [21 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.biolib.cz/en/image/id195684/
2.https://www.plantsrescue.com/posts/calanthe-triplicata