ต้นสกุณี สรรพคุณใช้ทำเป็นยาแก้ตกเลือดได้

0
ต้นสกุณี
ต้นสกุณี สรรพคุณใช้ทำเป็นยาแก้ตกเลือดได้ เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นผลัดใบกลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อเชิงลดมีขนขึ้นปกคลุม ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวแกมเหลือง มีกลิ่นที่เหม็น ผลมีขนสีน้ำตาลอ่อน
ต้นสกุณี
เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นผลัดใบกลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อเชิงลดมีขนขึ้นปกคลุม ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวแกมเหลือง มีกลิ่นที่เหม็น ผลมีขนสีน้ำตาลอ่อน

สกุณี

ต้นสกุณี เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ขึ้นได้ทั่วไปในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงแถบฟิลิปปินส์และนิวกินี ประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ เจริญเติบโตในพื้นที่ระดับต่ำที่มีความสูงไม่เกิน 200 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล[1],[2],[3],[4] เจริญเติบโตได้ดีในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ชื่อสามัญ Philippine almond, Yellow terminalia[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia calamansanay Rolfe จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์สมอ (COMBRETACEAE)[1],[2],[4] ชื่ออื่น ๆ แหนแดง (ภาคเหนือ), ประคำขี้ควาย (ภาคใต้), ตาโหลน (จังหวัดสตูล), แฮ้น (จังหวัดนครสวรรค์และชุมพร), สัตคุณี (จังหวัดราชบุรี), ตีนนก (จังหวัดจันทบุรีและตราด), ขี้มอด (จังหวัดนครปฐม), เปียแคร้ (เขมร-จันทบุรี) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นสกุณี

  • ต้น
    – จัดให้เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางจนถึงไปขนาดใหญ่
    – ต้นมีความสูง: ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 8-30 เมตร
    – ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น โดยจะแผ่กิ่งเป็นวงกว้างแบนและมักจะมีพูพอนขนาดเล็กที่โคนต้น
    – เปลือกต้นภายนอกมีสีน้ำตาลอมเทา และมีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว ส่วนเปลือกต้นด้านในจะเป็นสีน้ำตาล
    – กิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนขึ้นปกคลุมหรือบางกิ่งอาจจะไม่มีขน และต้นจะทิ้งใบในช่วงเวลาสั้น ๆ
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนและการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับกันที่บริเวณตามข้อต้นอัดเรียงกันแน่นใกล้กับปลายกิ่ง
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม ตรงโคนใบสอบแคบ
    – แผ่นใบมีผิวค่อนข้างหนาคล้ายกับแผ่นหนัง มีขนนุ่มขึ้นปกคลุมผิวใบทั้งสองด้าน หลังใบด้านบนมีผิวเป็นมันเงาและมีตุ่มขนาดเล็กขึ้นอยู่บนผิวใบ ส่วนท้องใบด้านล่างผิวนวลมีสีน้ำตาลเทา
    – เส้นกลางใบจะนูนขึ้นด้านบน ใบมีเส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น โค้งจรดกันก่อนถึงขอบใบ ส่วนเส้นใบย่อยนั้นจะเป็นแบบขั้นบันได และมักจะมีต่อมหนึ่งคู่อยู่บริเวณที่ตรงกึ่งกลางก้านใบหรือบริเวณที่ใกล้กับโคนใบ
    – ก่อนที่ใบจะร่วงหล่นจากต้นจนหมด ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง[1],[2],[4]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 3-8 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 9-18 เซนติเมตร
    – ก้านใบเรียวมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-4 เซนติเมตร และต่อมมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นแกนช่อตามบริเวณที่ซอกใบและที่ปลายยอด โดยดอกจะออกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงช่วงเดือนธันวาคม[1],[2],[3],[4]
    – ช่อดอกเป็นลักษณะแบบช่อเชิงลด และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ด้วย มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 8-16 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวแกมเหลือง ดอกมีกลิ่นที่เหม็น ไม่มีกลีบดอก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงที่โคนจะเชื่อมติดกัน ส่วนปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ รูปร่างของกลีบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ด้านในมีขนยาวขึ้นอยู่ประปราย ปลายกลีบโค้งเข้าหาแกนกลาง ส่วนหลอดกลีบเลี้ยงมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5-0.8 มิลลิเมตร ไม่มีสันตามยาว
    – ดอกเพศผู้จะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายช่อ มีใบประดับรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร โดยใบประดับนี้สามารถหลุดร่วงได้ง่าย ภายในดอกเพศผู้จะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน มีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีอับเรณูติดอยู่ จานฐานดอกมีลักษณะแยกเป็นแฉก
    – รังไข่จะอยู่ใต้วงกลีบ มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปพีระมิด มี 1 ช่อง ภายในมีออวุล 2-3 เม็ด จานฐานรองดอกรวมรังไข่ มีความยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และก้านเกสรเพศเมียมีขนขึ้นปกคลุม มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร
  • ผล
    – ผลลักษณะรูปทรงเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผล  ผลมีขนสีน้ำตาลอ่อนขึ้นปกคลุมอยู่รอบนอก และผลแห้งจะไม่แตก
    – ผลจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-4 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-8 เซนติเมตร (ขนาดของผลนั้นอาจแตกต่างกันได้)
    – ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่หนึ่งเมล็ด และจะติดผลในช่วงเดือนธันวาคมถึงช่วงเดือนเมษายน[1],[2],[3]

สรรพคุณของต้นสกุณี

1. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ตกเลือดได้ (เปลือกต้น)[1]
2. เปลือกต้นนำมาใช้ทำเป็นยาบำรุงหัวใจได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
3. ตำรายาของไทยจะนำเปลือกต้นใช้ทำเป็นยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น)[1],[2]
4. เปลือกต้นนำมาใช้ผสมกับรากต้นรักดอกขาว นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้ตานซางในเด็ก (เปลือกต้น)[1]

ประโยชน์ของต้นสกุณี

เนื้อไม้ ไม่ค่อยทนทานมากนัก แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้สร้างทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆ หรือนำมาใช้ในการก่อสร้างภายในตัวอาคารหรือในพื้นที่ร่มที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก[3],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

สารในกลุ่ม ellagitannins ที่แยกมาจากต้น (Terminalia calamansanai (Blanco) Rolfe) ได้แก่ 1-α-O -galloylpunicalagin, 2-O -galloylpunicalin, punicalagin, sanguiin H-4 ความเข้มข้น 100 ไมโครโมล เมื่อนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็ง HL-60 ได้ผลลัพธ์พบว่าสารที่สกัดมาจากต้นมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 65.2, 74.8, 42.2, และ 38.0 ไมโครโมล ตามลำดับ และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งในรูปแบบ apoptosis โดยสารเหล่านี้จะเข้ามาทำให้เกิดการแตกหักของ DNA (DNA fragmentation) และเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ caspase 3 แต่จะไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ แสดงว่าสาร ellagitannins ในต้นอาจนำมาพัฒนาเป็นยาป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้[5]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “ส กุ ณี”.  หน้า 172.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ส กุ ณี”.  หน้า 739-740.
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “ส กุ ณี”.  อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [22 ต.ค. 2014].
4. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สกุณี”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [22 ต.ค. 2014].
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “ฤทธิ์เหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งของสาร ellagitannins จากต้นสกุณี”.  เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th.  [22 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.plantsofasia.com/

สนสามใบ ประโยชน์จากเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องดนตรี

0
สนสามใบ
สนสามใบ ประโยชน์จากเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องดนตรี ใบออกเป็นกระจุก ดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ผลเป็นก้อนแข็ง ปลายสอบโคนป้อม
สนสามใบ
ใบออกเป็นกระจุก3 ใบ ใบเล็กยาวเรียวเป็นรูปเข็ม ดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ผลเป็นก้อนแข็ง ปลายสอบโคนป้อม

สนสามใบ

ต้นสนสามใบ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ ต้นสูงประมาณ 10-30 เมตร วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 30-40 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียถึงอินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มักจะพบขึ้นเป็นกลุ่ม ตามบนเขา ตามเนินเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ประมาณ 1,000-1,600 เมตร สำหรับประเทศไทยสามารถเจอพบได้เป็นกลุ่มที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ที่ตามป่าสนเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,600 เมตร[3],[4] ชื่อสามัญ Khasiya Pine[7] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pinus kesiya Royle ex Gordon อยู่วงศ์สนเขา (PINACEAE)[1] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สนเขา (ภาคกลาง), เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), แปกลม (จังหวัดชัยภูมิ), เชียงบั้ง (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), เกี๊ยเปลือกบาง (จังหวัดเชียงใหม่), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), แปก (ฉานแม่ฮ่องสอน, จังหวัดเพชรบูรณ์) [1],[2],[4]

ลักษณะสนสามใบ

  • ลำต้น มีลักษณะเปลาตรง เรือนยอดจะแตกเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นแตกล่อนเป็นสะเก็ดตื้น เป็นรูปตาข่าย เป็นสีน้ำตาลแกมชมพู ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนปนทราย[1],[2],[3]
  • ลักษณะของใบ จะออกเป็นกระจุก มีกระจุกละ 3 ใบ ใบเล็กยาวเรียว เป็นรูปเข็ม ใบจะออกเรียงสลับ ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ที่ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด[1],[2]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก จะออกดอกใกล้ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกเพศเมียมีลักษณะเป็นเดี่ยวหรือจะออกไม่เกิน 3 ดอก ออกดอกที่ตามกิ่ง[1],[3] ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม[3]
  • ลักษณะของผล ผลเป็นโคน เป็นก้อนแข็ง ที่ปลายจะสอบ ส่วนที่โคนจะป้อม กว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผลแก่จะแยกเป็นกลีบแข็ง ที่โคนกลีบจะติดกับแกนกลางผล มีเมล็ดรูปรีอยู่ในผล และมีครีบบางอยู่ในผลด้วย ครีบมีความยาวกว่าเมล็ดถึงสี่เท่า ก้านผลมีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร[1],[2],[3] ติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม[3]

สรรพคุณสนสามใบ

1. น้ำมันสนจะมีรสเผ็ดร้อน สามารถนำมาใช้เป็นยาทาแก้อักเสบบวม และเคล็ดขัดยอกได้ (น้ำมันสน)[5],[6]
2. ยาง ผสมกับยาสามารถใช้ทานวดแก้ปวดเมื่อยได้ (ยาง)[4]
3. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนานำแก่นมาใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (แก่น)[2]
4. นำน้ำมันสนสามารถใบมาหยดในน้ำร้อนใช้ประคบท้องช่วยแก้มดลูกอักเสบ แก้ท้องบวม แก้ลำไส้พิการได้ (น้ำมันสน)[6]
5. ในตำรายาไทยนำแก่นของต้นต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องเดิน แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วงได้ (แก่น)[2],[5]
6. แก่นสามารถช่วยแก้เสมหะได้ (แก่น)[5]
7. แก่น ต้มหรือฝนใช้ทานเป็นยาแก้ไข้ได้ (แก่น)[5]
8. ชัน สามารถใช้เป็นยาปิดธาตุได้ (ชันสน)[5],[6]
9. ชาวเขาเผ่าแม้วนำแก่น ผสมใบสับปะรด ก้านและใบขี้เหล็กอเมริกัน ใบคว่ำตายหงายเป็น มาต้มอบไอน้ำ สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังสำหรับคนที่ติดฝิ่นได้ (แก่น)[2]
10. แก่น มีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงไขกระดูก บำรุงไขข้อได้ (แก่น)[5]
11. ยาง มีสรรพคุณที่เป็นยาสมานแผล (ยาง)[5]
12. สามารถนำเปลือกต้นกับใบ มาต้มกับน้ำใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันตามผิวหนังที่ตามร่างกายได้ (ใบ, เปลือก)[1]
13. สามารถใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ชันสน)[5],[6]
14. แก่นต้น ช่วยกระจายลมได้ (แก่น)[5]
15. แก่นต้น ช่วยแก้คลื่นเหียนอาเจียนได้ (แก่น)[5]
16. กระพี้จะมีรสขมเผ็ดและมัน สามารถนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ไข้สันนิบาตได้ (กระพี้)[4]
17. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนานำแก่นมาใช้เป็นยาแก้เหงือกบวม (แก่น)[2]
18. แก่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ (แก่น)[5]
19. แก่น มีสรรพคุณที่เป็นยาระงับประสาท แก้ฟุ้งซ่าน (แก่น)[5],[6]

ประโยชน์สนสามใบ

1. สามารถใช้ชันสนผสมกับยารักษาโรค หรือใช้ทำน้ำมันวานิช กาว ยางสังเคราะห์กระดาษ หรือจะใช้ถูคันชักเครื่องดนตรีบางชนิด อย่างเช่น ไวโอลิน ซออู้ ซอด้วง และสามารถใช้ทำน้ำมันชักเงา สีย้อมผ้าได้ ชันที่กลั่นจากน้ำมันสนดิบสามารถใช้ย้อมสีผ้า ผ้าดอกได้ [4]
2. เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อสร้างที่อาศัยใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในร่มได้ อย่างเช่น เสากระโดงเรือ ลังไว้ใส่ของ เครื่องเรือน กระดานดำ รอด ทำฝา โต๊ะ ทำเชื้อเพลิง จุดไฟ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ไม้บุผนัง ตู้ ตง พื้น เตียง และเนื้อไม้มีคุณสมบัติที่เหมาะใช้เยื่อหรือทำกระดาษ [3],[4]
3. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี [4]
4. มีประโยชน์เชิงอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
5. ยางสามารถนำมากลั่นทำเป็นน้ำมัน ชันสน น้ำมันผสมกับยาสามารถใช้ทำการบูรเทียม น้ำมันชักเงา ทำบู่ ใช้ผสมสีได้ [3],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่สกัดได้จากกิ่ง จะมีสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยจะมีศักยภาพที่ทำให้เซลล์มะเร็งสลายตัวจากการทำลายตัวเองจากด้านใน กระบวนการนี้เป็นผลดีมากกับการรักษาโรคมะเร็ง เพราะมีเพียงเซลล์มะเร็งอย่างเดียวที่ตาย จะไม่มีผลกับการทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง ทำให้ร่างกายไม่เกิดอาการอักเสบขึ้น ไม่มีผลข้างเคียงจากยา (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร หัวหน้าทีมวิจัย) (กิ่ง)[9]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “สน สาม ใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [05 มิ.ย. 2014].
2. หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. (สมพร ณ นคร). “สน สาม ใบ”.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “สน สาม ใบ”. หน้า 139.
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “สนสามใบ”. อ้างอิงใน: . หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [05 มิ.ย. 2014].
5. ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร). “แสงซินโครตรอนยืนยัน ติ้วขน-สนสามใบ ทำเซลล์มะเร็งทำลายตัวเองได้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [05 มิ.ย. 2014].
6. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สนสามใบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [05 มิ.ย. 2014].
7. “เครื่องยาไทย-น้ำกระสายยา”. (ผศ.ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร , ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต, ศ.ดร.วิเชียร จีรวงส์).
8. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สนสามใบ”. หน้า 166.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://writer.dek-d.com/
2.https://www.phakhaolao.la/
3.http://rspg.mfu.ac.th/

ต้นสร้อยทองทราย ดื่มเป็นยาอายุวัฒนะบำรุงร่างกาย

0
สร้อยทองทราย
ต้นสร้อยทองทราย ดื่มเป็นยาอายุวัฒนะบำรุงร่างกาย เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นตามริมทาง ดอกมีสีเงินมีขนขึ้นปกคลุมประปราย มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก
สร้อยทองทราย
เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นตามริมทาง ดอกมีสีเงินมีขนขึ้นปกคลุมประปราย มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก

สร้อยทองทราย

ต้นสร้อยทองทรายจัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มักจะขึ้นอยู่ตามริมสองข้างทาง ขึ้นตามไร่สวน และตามป่าเต็งรัง มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียเขตร้อน ออสเตรเลีย แอฟริกา และอเมริกา[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Polycarpaea corymbosa (L.) Lam. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ไม่ระบุ  จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ CARYOPHYLLACEAE[1] ชื่ออื่น ๆ สร้อยทองทราย (ภาคกลาง), หญ้าปุยขาว (จังหวัดขอนแก่น) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นสร้อยทองทราย

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก มีอายุหนึ่งปีโดยประมาณ
    – ต้นมีความสูงลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-30 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตรงโคนต้นมีรอยแตกแขนง ตามลำต้นจะแตกกิ่งก้านหลากหลายสาขา และกิ่งก้านจะมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวที่มีขนาดเล็กมาก ๆ โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกันหรือเรียงใบกันตรงบริเวณรอบข้อของลำต้น
    – ใบออกมาตามข้อของลำต้นรวมกันเป็นกระจุก
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปขอบขนานแคบหรือรูปแถบ ปลายใบแหลม
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว และมีผิวที่บางแห้ง[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยดอกจะออกที่บริเวณตรงส่วนยอดของลำต้น
    – ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ
    – ดอกจะอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดอกมีสีเงิน กลีบดอกมีเนื้อผิวเบาบาง และอาจจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่บ้างเป็นประปราย
    – ดอกมีกลีบดอกอยู่ทั้งสิ้น 5 กลีบ ปลายกลีบมีรูปร่างเป็นมนหรือเว้าเป็นแอ่ง และมีกลีบรองดอกอยู่ 5 กลีบห่อหุ้มเอาไว้อยู่
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน[1]
  • ผล
    – ผล เป็นผลแห้ง มีพูอยู่ 3 พู ผลมีเมล็ดอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก[1]

สรรพคุณของต้นสร้อยทองทราย

1. ทั้งต้น นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับทาภายนอกหรือนำมาใช้รับประทานเป็นยารักษาอาการเมื่อถูกงูพิษกัด [1]
2. ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้ไข้ [2]
3. ตำรายาพื้นบ้านของอีสานจะนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ และใช้ดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ทั้งต้น) [2]
1. ใบ นำมาตำใช้เป็นยาสำหรับพอกรักษาฝี แผลจากการถูกสัตว์กัด และใช้พอกแผลบรรเทาอาการอักเสบบวม [1]
2. ใบ นำมาผสมกับน้ำตาลใช้สำหรับทำเป็นยารักษาโรคดีซ่าน [1]
1. ดอก นำมาใช้ทำเป็นยาสมาน [1]
2. ดอก มีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการปวด และอาการบวมของร่างกาย [1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “สร้อยทองทราย”.  หน้า 758-759.
2. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1677 คอลัมน์ : สมุนไพร : สร้อยทองทราย Polycarpaea corymbosa (L.) Lam. CARYOPHYLLACEAE. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.northqueenslandplants.com/

สะแกแสง สรรพคุณทางยาใช้รักษาบาดแผลเรื้อรัง

0
สะแกแสง สรรพคุณทางยาใช้รักษาบาดแผลเรื้อรัง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งใบเดี่ยว ดอกอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ดอกบานจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลืองมีกลิ่นหอม
สะแกแสง
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งใบเดี่ยว ดอกอ่อนมีสีเป็นสีเขียว ดอกบานจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลืองมีกลิ่นหอม

สะแกแสง

ต้นสะแกแสง จะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นโดยทั่วไป เติบโตที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50-300 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเล พบได้ในประเทศไทย พม่า และแถบอินโดจีน[1],[2],[4],[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga latifolia (Hook.f. & Thomson) Finet & Gagnep. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Canangium latifolium (Hook.f. & Thomson) Pierre ex Ridl. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)[3] ชื่ออื่น ๆ เนา (ภาคเหนือ), สะแกแสง (ภาคกลาง), เก้าโป้ง งุ้นสะบันนา งุ้น สะบานงา (จังหวัดเชียงใหม่), แคแสง (จังหวัดจันทบุรี), ราบ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), แกนแซง (จังหวัดอุตรดิตถ์), เฝิง (จังหวัดเพชรบูรณ์), แตงแซง (จังหวัดขอนแก่น, ชัยภูมิ), ส้มกลีบ หำฮอก หำอาว (จังหวัดนครราชสีมา) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นสะแกแสง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบดินร่วนซุยที่มีความชื้นปานกลาง และเติบโตอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งได้เช่นกัน
    – ต้นมีความสูงลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 15-20 เมตร
    – ต้น มีเรือนยอดโปร่ง ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น
    – ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง เปลือกลำต้นมีผิวเรียบหรืออาจจะมีรอยแตกแบบรอยไถ เปลือกมีสีเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา ส่วนด้านในเปลือกนั้นจะมีสีเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นที่เหม็นเขียว
    – กิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม และตามกิ่งก้านจะมีรอยแผลของก้านใบที่ร่วงหลุดไปแล้ว ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกันไปตามข้อของลำต้น
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปมนหรือค่อนข้างกลม ปลายใบมนและมีติ่งแหลมสั้น ๆ ส่วนโคนใบเป็นมนหรือมีรอยหยัก หรือเว้าเป็นรูปหัวใจที่ไม่ค่อยสมมาตรกัน ส่วนขอบใบเรียบ
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ส่วนหลังใบมีสีที่เข้มกว่าท้องใบ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย แต่บริเวณท้องใบจะมีขนปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น
    – ใบมีเส้นกลางใบหลังใบเป็นร่องและท้องใบเป็นสัน ใบมีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณ 8-12 คู่ ปลายเส้นไม่จรดกัน และจะผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง[1],[2],[4]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 7-12 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-18 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อกระจุกที่บริเวณใต้โคนก้านใบ จะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม[1],[2],[4],[5]
    – ดอกมีลักษณะที่ห้อยลงมา ในหนึ่งช่อมีดอกอยู่ประมาณ 2-3 ดอก
    – ดอก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ ดอกอ่อนมีสีเป็นสีเขียว เมื่อดอกบานจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลือง ก้านดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2 เซนติเมตร
    – ใบประดับมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปรี มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 7 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะติดอยู่ที่โคนก้านดอก
    – กลีบดอกมีอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปหอก และแบ่งแยกออกเป็นอีก 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบดอกด้านนอก โคนกลีบคอดเรียงกันเป็น 2 ชั้น แต่ละกลีบดอกจะมีขนาดเท่ากัน โดยมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 4-5 เซนติเมตร กลีบดอกมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่นทั้งสองด้าน
    – กลีบเลี้ยงมีอยู่ด้วยกัน 3 กลีบ ลักษณะรูปร่างของกลีบเลี้ยงจะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดความกว้างและความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะที่กระดกขึ้น
    – ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเกสรเหล่านี้จะกระจุกตัวกันอยู่ที่กลางดอก
  • ผล
    – ออกผลในลักษณะที่เป็นกลุ่ม ๆ ก้านช่อผลมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3 เซนติเมตร
    – มีผลย่อยอยู่ที่ประมาณ 20-25 ผล ลักษณะรูปร่างของผลจะเป็นรูปกลมรี ผิวผลย่น
    – ผลอ่อนมีสีเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ
    – ผลจะเริ่มแก่ลงหลังจากที่ดอกบานได้เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน[1],[2],[4],[5]
    สัดส่วนของผล
    – ผลมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-1.3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 นิ้ว
  • เมล็ด
    – มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดมีรูปร่างเป็นทรงกลมแบนเรียงซ้อนกัน

สรรพคุณของต้นสะแกแสง

1. ทั้งต้นมาใช้ทำเป็นยาสำหรับแก้พิษไข้ (ทั้งต้น)[3]
2. ใบมีรสเบื่อเมา จะนำมาสุมกับไฟใช้รมฆ่าพยาธิผิวหนังเรื้อรัง (ใบ)[2]
3. ตำรายาของไทยจะนำใบมาสุมกับไฟจากนั้นเอาควันมาใช้รม มีฤทธิ์ในการรักษาบาดแผลเรื้อรัง (ใบ)[3]
4. เนื้อไม้และราก นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับรับประทานแก้โรคผิวหนังผื่นคัน กลากเกลื้อน โรคเรื้อน หูด และโรคน้ำเหลืองเสีย (เนื้อไม้และราก, แก่น)[2],[3]
5. เนื้อไม้และราก นำมาขูดให้เป็นฝอย จากนั้นนำมามวนรวมกับใบยาสูบ ใช้สำหรับสูบแก้โรคริดสีดวงทางจมูกได้ (เนื้อไม้และราก, แก่นและราก)[2],[3]
6. เนื้อไม้และราก มีพิษเบื่อเมาอยู่ จึงมักจะนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับแก้พิษทั้งปวง พิษกาฬต่าง ๆ และแก้พิษไข้เซื่องซึม (เนื้อไม้และราก)[1],[2]

ประโยชน์ของต้นสะแกแสง

1. ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปภายในบ้านเรือน หรือตามอาคารได้ โดยจุดเด่นของพรรณไม้ชนิดนี้ก็คือเป็นไม้ที่เติบโตได้เร็ว และดอกมีกลิ่นหอมเย็น[5]
2. เนื้อไม้ของต้นมีสีเป็นสีเทา มีเสี้ยนตรง เนื้อไม้มีความหยาบปานกลาง ไม้เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งได้ง่าย โดยมักจะนิยมนำมาทำเป็นหีบ ของเล่นไว้สำหรับเด็ก ลังใส่ของ รองเท้าไม้ เสาเข็ม ใช้สำหรับประกอบการก่อสร้างชั่วคราว ที่อยู่อาศัย เป็นแม่แบบเทคอนกรีต ใช้ทำเป็นกระดานแม่แบบ เครื่องประดับ เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอยต่าง ๆ เป็นต้น[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะแกแสง”. หน้า 763-764.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “สะ แก แสง”. หน้า 179.
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. “สะแกแสง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [17 ต.ค. 2014].
4. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “สะ แก แสง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [17 ต.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “สะ แก แสง”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [17 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.epharmacognosy.com/

สะอึกดอกขาว สรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ

0
สะอึกดอกขาว สรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยได้ เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อย ออกดอกเป็นช่อ สีชมพู สีม่วงอ่อน ๆ หรือม่วงเกือบขาว กลางดอกจะเป็นสีม่วงเข้ม
สะอึกดอกขาว
เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยได้ เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อย ออกดอกเป็นช่อ สีชมพู สีม่วงอ่อน ๆ หรือม่วงเกือบขาว กลางดอกจะเป็นสีม่วงเข้ม

สะอึกดอกขาว

สะอึกดอกขาว Ipomoea sagittifolia เป็นไม้ล้มลุกที่เลื้อยได้ถิ่นกำเนิดของสะอึกสายพันธุ์นี้พบได้ในแถบแอฟริกาเขตร้อน เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนและเติบโตในชีวนิเวศเขตร้อนที่แห้งแล้ง ซึ่งพืชสมุนไพรชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีสรรพคุณและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะเหมือนกันแต่การนำมาใช้ก็ย่อมจะแตกต่างกันไป ในบทความนี้ทางเราจะขอมานำเสนอข้อมูลของสะอึก พืชสมุนไพรที่คนส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลของมันกันครับ ชื่อสามัญ : Ipomoea sagittifolia ไม่ระบุชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea maxima Don ex Sweet ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์: ไม่ระบุ จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

หมายเหตุ
ต้นสะอึกสายพันธุ์นี้เป็นคนละสายพันธุ์กับสะอึกเกล็ดหอย (Merremia emarginata (Burm. f.) Hallier f.), เถาสะอึก (Merremia hederacea (Burm. f.) Hallier f.) และโตงวะ (Ipomoea obscura (L.) Ker Gawl.) เพียงแต่บางท้องถิ่นมีชื่อเรียกเฉพาะท้องถิ่นที่เหมือนกันว่า “สะอึก“

ลักษณะของต้นสะอึก

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ประเภทล้มลุก
    – เถามีความยาวประมาณ 1-2.5 เมตร
    – ลำต้นมีการเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ หรือเลื้อยนอนทอดไปตามพื้นดิน ตามลำต้นหรือลำเถาจะมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ ขนมีลักษณะค่อนข้างแข็ง และรากมีลักษณะแข็ง
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และต้นสะอึกจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย เช่น แถวชายทะเลหรือตามชายหาด[1]
  • ใบ
    – ใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงเวียนสลับกัน
    – ใบจะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบไร้ขนและมักจะมีสีม่วงหรือจุดเล็ก ๆ สีม่วง
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-3 นิ้ว
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกดอกบริเวณตามง่ามใบ
    – ภายในช่อหนึ่งช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-3 ดอก หรือบางดอกอาจมีมากกว่านี้
    – ลักษณะรูปร่างของดอกจะเป็นรูปแตร มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 นิ้ว ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก
    – ดอกมีสีชมพู สีม่วงอ่อน ๆ หรือม่วงเกือบขาว ส่วนตรงกลางดอกจะเป็นสีม่วงเข้ม[1]
  • ผล
    – ผลเป็นรูปทรงวงกลม แบน ผิวผลเกลี้ยงเกลาไม่มีขน และแบ่งออกเป็น 2 ช่อง
  • เมล็ด
    – มีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด ผิวเมล็ดมีขนสั้นสีเทาหรือสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น[1]

สรรพคุณและประโยชน์ของต้นสะอึก

  • ใบของต้นสะอึกนำมาตำผสมกับเมล็ดของต้นเทียนแดง (Nigella sativa Linn.) ใช้ทำเป็นยาสำหรับพอก มีฤทธิ์แก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)[1]
  • ยอดอ่อนของต้นสะอึกสามารถนำมารับประทานได้ [2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สะอึก”. หน้า 767-768.
2. ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. “สะอึก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : area-based.lpru.ac.th/veg/. [12 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:269715-1

สังกรณีดง พืชสมุนไพรดอกสีขาวแก้อาการจุกเสียดท้อง

0
สังกรณีดง พืชสมุนไพรดอกสีขาวแก้อาการจุกเสียดท้อง ไม้ล้มลุกมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น ดอกมีสีเป็นสีขาว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย
สังกรณีดง
ไม้ล้มลุกมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น ดอกมีสีเป็นสีขาว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย

สังกรณีดง

ไม้ล้มลุกทอดนอน ลำต้นตั้งตรง เป็นสี่เหลี่ยม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepidagathis fasciculata (Retz.) Nees ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ruellia fasciculata Retz. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1]

ลักษณะของต้นสังกรณีดง

  • ต้น
    – ถูกจัดให้เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร[1]
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น
  • ใบ
    – ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก
    – แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน[1]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกบริเวณตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – กลีบดอกมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีเป็นสีขาว และมีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย
    – ดอก มีใบประดับเป็นรูปไข่ มีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-12 มิลลิเมตร[1]
  • ผล
    – รูปร่างของผลเป็นรูปทรงขอบขนานแคบ ผลมีลักษณะเป็นผลแห้ง และผลสามารถแตกได้ [1]

สรรพคุณต้นสังกรณีดง

  • นำทั้งต้นมาผสมกับสมุนไพรชนิด ๆ อื่น ได้แก่ ต้นหรือรากของต้นหนาดคำ ต้นตรีชวาทั้งต้น ต้นหรือรากของต้นผักอีหลืน และหัวยาข้าวเย็น จากนั้นนำวัตถุดิบทั้งหมดมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)[1]
  • ตำรายาพื้นบ้านของทางล้านนาจะนำรากจำนวน 3 ราก มาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการจุกเสียดท้อง (ราก)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สังกรณีดง”. หน้า 143.

ต้นสายหยุด ใช้ดอกสดเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

0
ต้นสายหยุด
สายหยุด ใช้ดอกสดเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ เป็นไม้เถาเลื้อยหรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวสีเหลืองถึงส้มอ่อนมีกลิ่นหอม ผลย่อยคล้ายกับลูกปัดคอด
สายหยุด
เป็นไม้เถาเลื้อยหรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยว ดอกเดี่ยวสีเหลืองถึงส้มอ่อนมีกลิ่นหอม ผลย่อยคล้ายกับลูกปัดคอด

ต้นสายหยุด

ต้นสายหยุด Desmos, Chinese Desmos เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยทรงพุ่ม กิ่งก้านและเนื้อกิ่งก้านแข็งแรงสามารถเจริญเติบโตได้สูงถึง 4 เมตร ใบสีเขียวชอุ่มตลอดทั้งปีดอกสีเหลืองอมเขียวลักษณะคล้ายกับดอกกระดังงา จะมีถิ่นกำเนิดที่ทางประเทศจีนตอนใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และลงจนถึงแหลมมลายู รวมถึงในประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นกระจายทั่วประเทศ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Desmos chinensis Lour. อยู่วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เสลาเพชร (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เครือเขาแกลบ (จังหวัดเลย), สาวหยุด (ภาคกลาง, ภาคใต้), กล้วยเครือ (จังหวัดสระบุรี)

ลักษณะของต้นสายหยุด

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้เถาเลื้อยหรือเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สามารถสูงได้ถึงประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเถามีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ที่ตามกิ่งอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาลขึ้นหนา จะมีรูระบายอากาศอยู่ ถ้ากิ่งแก่เกลี้ยงจะเป็นสีดำ มีช่องอากาศเยอะ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด การตอนกิ่ง สามารถใช้ดินทั่วไปปลูกได้ จะเติบโตได้ดีในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ เก็บความชื้นดี และน้ำท่วมไม่ถึง ชอบความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน สามารถเจอได้ที่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 600 เมตร[1],[2],[3],[4]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปขอบขนาน ที่ปลายใบจะเรียวและแหลมหรืออาจเป็นติ่งแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนหรือจะเว้านิดหน่อย ขอบใบจะเรียบหรือจะเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร หลังใบมีลักษณะเรียบเกลี้ยงและเป็นมัน ท้องใบมีลักษณะเรียบและเป็นสีเขียวนวล เนื้อใบบางเหนียว จะมีขนขึ้นกระจายอยู่ทั้งหลังใบและท้องใบ จะเจอเยอะที่ใบอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ใบอ่อนจะเป็นสีแดง มีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณ 8-10 คู่ ก้านใบมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ลักษณะของดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกจะออกที่ด้านล่างตรงข้ามใบ ตอนที่เริ่มเป็นสีเขียวต่อดอกจะเป็นสีเหลืองถึงส้มอ่อน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ แบ่งเป็นชั้น 2 ชั้น กลีบดอกชั้นนอกจะแยกกันเป็น 3 กลีบ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปรี รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.3-1.8 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร กลีบจะบิดและงอ ที่โคนกลีบดอกจะมีรอยคอดใกล้ฐานดอก ที่ปลายจะแหลม ส่วนที่โคนจะตัด ที่ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น จะมีขนนุ่มขึ้นกระจายทั้งสองด้าน มีกลีบดอกด้านในอยู่ 3 กลีบ จะเรียงจรดและแยกกัน กลีบดอกด้านในเล็กและสั้นกว่าชั้นนอก เป็นรูปหอก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ที่ปลายจะแหลม ส่วนที่โคนจะตัด ที่เหนือโคนกลีบนิดนึงมักจะคอดเว้า ขอบเรียบ จะมีขนสั้นนุ่มขึ้นอยู่ทั้งสองด้าน มีเกสรเพศผู้ประมาณ 150-240 อัน เกสรเพศผู้เป็นรูปคล้ายกับทรงกระบอก มีความยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร อับเรณูมีลักษณะเกลี้ยงและเป็นสีเหลือง อาจจะมีขนขึ้นที่โคนนิดหน่อย เกสรเพศเมียจะแยกกันมีประมาณ 30-50 อัน แต่ละอันจะมี 5-7 ออวุล เป็นรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จะเป็นสีน้ำตาลหรือเหลือง มีขนขึ้นหนาที่ตามก้านเกสรเพศเมีย มีกลีบเลี้ยงเล็กเป็นสีเขียวมีลักษณะเรียงห่างกันนิดหน่อย มีอยู่ 3 กลีบ เป็นรูปค่อนข้างสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ที่ปลายกลีบกระดกขึ้น ที่ปลายจะแหลม ส่วนที่โคนจะตัด ขอบเรียบ มีขนขึ้นกระจายอยู่สองด้าน ดอกมีกลิ่นหอม บานนาน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร จะมีขนกระจายขึ้นอยู่ทั่วไป ออกดอกเยอะช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม[1],[2]
  • ลักษณะของผล ออกผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อยอยู่ประมาณ 5-35 ผล ผลย่อยคล้ายกับลูกปัดคอด จะคอดเป็นข้อระหว่างช่วงเมล็ด ได้ 7 ข้อ ผลกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะเรียบและเป็นมัน ผลสดจะเป็นสีเขียว ผลสุกแล้วเป็นสีดำและเป็นมัน จะห้อยลง ก้านผลย่อยมีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ก้านช่อผลมีความยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร จะมีขนกระจายที่ตามก้านผล ก้านผลย่อย มีเมล็ดอยู่ในผลย่อย 1 ผล ประมาณ 2-5 เมล็ด จะมีรอยคอดที่ระหว่างเมล็ดชัด เมล็ดเป็นรูปรี รูปทรงกลม ผิวเมล็ดมีลักษณะเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาล กว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตร ติดผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม[1],[2]

สรรพคุณสายหยุด

1. ในตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานนำรากมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อยได้ (ราก)[2]
2. รากมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ท้องเดิน (ราก)[2]
3. มีการใช้ดอกสดเข้ายาหอม บำรุงหัวใจ (ดอก)[1],[2],[3]
4. ราก ดอก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ (ราก,ดอก)[3]
5. มีการใช้ต้น ราก เข้ายาหอม หรือเข้ายาอาบอบ สามารถรักษาอาการติดยาเสพติดได้ (ต้นและราก)[1],[2]
6. รากสามารถใช้เป็นยาแก้บิดได้ (ราก)[3]
7. ในตำรายาไทยจะนำราก มาใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง (ราก)[2]
8. ดอก สามารถช่วยแก้ลมวิงเวียนได้ (ดอก)[3]

ประโยชน์สายหยุด

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ เหมาะกับการมาปลูกไว้ในสวนดอกไม้ ปลูกเป็นต้นเดี่ยวแต่งทรงพุ่ม ปลูกที่ริมทางเดิน ปลูกเป็นซุ้มบริเวณบ้าน หรือจะทำนั่งร้านให้ต้นเลื้อยไปปกคลุมด้านบน ปลูกง่ายและยังบำรุงง่ายอีกด้วย โตเร็ว เพาะกล้าโดยการตอนกิ่ง การใช้เมล็ด และการปักชำ ออกได้ตลอดปี ขึ้นอยู่ที่ดินฟ้าอากาศ ความสมบูรณ์ของต้น มักจะออกดอกเยอะช่วงฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ดอกจะเริ่มส่งกลิ่นหอมแรงขึ้นยามพลบค่ำ มีกลิ่นหอมมากที่สุดช่วงเช้ามืด แล้วกลิ่นของดอกก็จะจะค่อย ๆ จางลงตอนกลางวัน เป็นที่มาของชื่อ [5]
  • สามารถใช้ดอกมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้[2] ด้วยการนำดอกสดมากลั่นเอาน้ำมันหอมระเหย โดยการต้มกลั่นจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.005[3] อาจใช้น้ำมันหอมระเหยในทางสุคนธบำบัด (Aromatherapy) และสามารถใช้ทำเป็นน้ำหอมสำหรับเครื่องสำอางได้ [5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ในน้ำมันที่ได้จากดอกจะมีสาร Linalool เป็นสารหลัก โดยจะมีฤทธิ์ที่สามารถสงบประสาท ฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราได้[3]
  • สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากใบ จะมีฤทธิ์ที่สามารถต้านการชักในสัตว์ทดลองได้ดี และสามารถต้านเชื้อไวรัสเอดส์ได้อยู่บ้าง สารสกัดนี้จะมีพิษเฉียบพลันระดับปานกลาง (LD50 = 500 มก./กก.)[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลน้ำมันหอมระเหยไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “สายหยุด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th/essentialoils/. [12 มิ.ย. 2014].
2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 266 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. (เดชา ศิริภัทร). “สายหยุด เสน่ห์ยามเช้าของความหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [12 มิ.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สายหยุด (Sai Yud)”. หน้า 300.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สายหยุด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [12 มิ.ย. 2014].
5. ความเหมือนที่แตกต่างแห่งพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ส า ย ห ยุ ด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [12 มิ.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://www.picturethisai.com/

สำมะงา สรรพคุณรากช่วยแก้อาการบวมตามร่างกาย

0
สำมะงา
สำมะงา สรรพคุณรากช่วยแก้อาการบวมตามร่างกาย ไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลกลมยาว ผลสุกเป็นสีน้ำเงิน สีดำ
สำมะงา
ไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาว ผลกลมยาว ผลสุกเป็นสีน้ำเงิน สีดำ

สำมะงา

ชื่อสามัญของสำมะงา คือ Seaside Clerodendron, Garden Quinine, Petit Fever Leaves [3],[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสำมะงา คือ Volkameria inermis L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clerodendrum inerme (L.) Gaertn.)[1],[4] อยู่วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE) สำมะงา มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สุ่ยหูหม่าน (จีนกลาง), โฮวหลั่งเช่า (จีน), คากี (ภาคใต้), ลำมะลีงา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), สาบแร้งสาบกา (จังหวัดภูเก็ต), สักขรีย่าน (จังหวัดชุมพร), เขี้ยวงู (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), สามพันหว่า, ขู่เจี๋ยซู่ (จีนกลาง), จุยหู่มั้ว (จีน), สำมะนา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), สำลีงา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), สำปันงา (จังหวัดสตูล), สำมะลิงา (จังหวัดชัยภูมิ), สัมเนรา (จังหวัดระนอง) [1],[4],[5],[7]

ลักษณะของต้นสำมะงา

  • ลักษณะของต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา เลื้อยทอดลำต้นเกาะเกี่ยว ต้นสูงได้ถึงประมาณ 1-2 เมตร จะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ กิ่งก้านมีลักษณะเป็นสีเทา สีขาวมน ๆ ออกเป็นสีน้ำตาลนิดหน่อย เปลือกลำต้นสำมะงาจะเรียบ เป็นสีขาวอมน้ำตาล ที่ตามกิ่งอ่อนจะเป็นสีเขียวอมสีม่วง จะมีขนขึ้น ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นแฉะ ต้นสำมะงาจะชอบแสงแดดเต็มวัน มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ที่ตามชายป่าใกล้ลำห้วย ตามป่าชายหาด (ปัจจุบันเริ่มหายาก)[1],[2],[4],[6]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกันคู่ ใบเป็นรูปรี ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร พื้นใบจะมีลักษณะเป็นสีเขียว เป็นมัน ถ้าขยี้จะมีกลิ่นเหม็นเขียวออกมา ที่หลังใบจะเรียบ ส่วนที่ท้องใบก็เรียบเช่นกัน เนื้อใบมีลักษณะบางนิ่ม มีก้านใบสีม่วงแดง มีความยาวได้ถึงประมาณ 1-2 เซนติเมตร[1],[2],[4]
  • ลักษณะของดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามซอกใบที่ปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 3-7 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะมีขนาดที่เล็กเป็นสีขาว กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอดมีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ส่วนที่ปลายจะแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ เป็นสีขาว ดอกบานมีความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นสีเขียว เป็นรูปถ้วย มีเกสรเพศผู้มี ลักษณะเป็นเส้นยาวและเป็นสีม่วง มีอยู่ 5 เส้น ดอกจะร่วงกลายเป็นผล[1],[2],[4]
  • ลักษณะของผล เป็นรูปกลมยาว รูปทรงกลม เป็นรูปไข่กลับ ที่ก้นมีลักษณะตัด แบ่งเป็น 4 พู ผลมีขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีเนื้อที่นิ่ม ผิวผลมีลักษณะเรียบและเป็นมันลื่น ผลสุกเป็นสีน้ำเงิน สีดำ ผลเมื่อแก่จะแห้งและแตกเป็นซีก 4 ซีก มีเมล็ดอยู่ในผลแต่ละพูจะมี1 เมล็ด [1],[2],[4,[5]

สรรพคุณสำมะงา

1. ใบจะมีรสเย็นเฝื่อน ในตำรายาไทยนำใบเป็นยาทาภายนอก ด้วยการนำมาพอก ต้มกับน้ำ ใช้อาบหรือชะล้างที่ตามร่างกาย หรือจะนำไอน้ำอบมาร่างกายใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน ผดผื่นคันตามตัว แก้หัด แก้ฝี ผื่นคันมีน้ำเหลือง อีสุกอีใส ประดง (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5],[7]
2. รากสามารถช่วยรักษาไขข้ออักเสบที่เกิดจากลมชื้น แก้อาการปวดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ปวดเอว ปวดขา (ราก)[5]
3. ใบ สามารถช่วยรักษาแผลฟกช้ำดำเขียวบวม ที่เกิดจากการถูกกระทบกระแทก เอวเคล็ด เคล็ดขัดยอก โดยนำใบสดมาตำผสมเหล้า แล้วนำมาทาบริเวณที่ปวด (ใบ)[4],[5]
4. ราก มีสรรพคุณที่สามารถแก้อาการบวมตามร่างกายบางส่วน แผลบวมเจ็บที่อันเนื่องมาจากการกระทบกระแทกได้ (ราก)[4]
5. นำใบตากแห้งมาบดเป็นผงใช้โรยบนแผล ช่วยสมานแผลสด สามารถช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)[4],[5]
6. มีสรรพคุณที่เป็นยาฆ่าพยาธิได้ (ใบ)[4]
7. ราก มีรสขม เป็นยาเย็น จะมีสรรพคุณที่เป็นยาขับลมชื้น มีพิษ และมีกลิ่นที่เหม็น (ราก)[5]
8. ราก มีรสขม นำรากแห้ง 30-60 กรัม มาต้มกับน้ำทาน ด้วยไฟอ่อน สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดได้ (ราก)[4]
9. ราก สามารถช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดประสาทที่ก้นกบได้ โดยนำรากแห้ง 30-60 กรัม มาต้มกับน้ำทาน ด้วยไฟอ่อน (ราก)[4]
10. ทั้งต้นจะมีรสเย็นเฝื่อน นำมาสับเป็นชิ้นประมาณ 3-4 ชิ้น เอามาต้มกับน้ำใช้อาบหรือชะล้างแผล สามารถช่วยรักษาน้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนังพุพองได้ (ทั้งต้น)[1],[2]
11. ใบ ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยได้ โดยนำใบมาตำพอกหรือต้มกับน้ำชะล้าง หรือตากให้แห้งแล้วเอามาบดให้เป็นผงใช้ทา โรยในบริเวณที่เป็น (ใบ)[4]
13. ราก ช่วยแก้ตับโต แก้ม้ามโต แก้ตับอักเสบได้ (ราก)[4],[5]
14. ราก ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะได้ (ราก)[5]
15. ใบ มีรสขมเย็น มีพิษ สามารถใช้รักษาโรคมาลาเรียได้ (ใบ)[4]
16. ราก มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้ไข้หวัด ตัวร้อนได้ (ราก)[5]

วิธีใช้สำมะงา

  • การใช้ตาม [5] รากให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม มาต้มกับน้ำแช่จาหรือทำยาประคบ ไม่ควรนำใบกับก้านไม่มาต้มเป็นยาทาน เพราะมีพิษ ควรใช้เป็นยาภายนอกเท่านั้น ขนาดที่ใช้ให้กะตามความเหมาะสม[5]

ข้อควรระวังในการใช้

  • ที่ก้านกับใบจะมีพิษ ใบมีพิษมากกว่าราก ห้ามทานเด็ดขาด ควรใช้แบบระมัดระวัง[4],[5]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารที่สกัดจากใบที่มีรสขมด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่กำลังท้อง จากการที่สกัดแยกสารจำพวก Sterols ไม่พบฮอร์โมนเพศหญิง ไม่พบฮอร์โมนเพศชาย และไม่พบต่อมเพศอื่น[4],[5]
  • ใบมีสารที่ทำให้มีรสขมและละลายน้ำได้ เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ (Alkaloids) หลายชนิด ก็คือ higher fatty alcohols, unsaponified matters, pectolinarigenin, steroids, cholesterol, 4-methylscutellarein และยังมีพวก resin, gum สารสีน้ำตาล เถาจากใบจะมีเกลือแดง (Sodium chloride) 24.01% ของเถ้าทั้งหมด [4],[5]
  • น้ำที่สกัดได้จากใบ มีฤทธิ์ที่กระตุ้นมดลูกของหนูใหญ่ที่แยกออกจากตัว และยังมีฤทธิ์ที่เพิ่มความดันโลหิตของสุนัขที่จะทำให้สลบชั่วคราว ถ้าให้ปริมาณน้อยจะมีฤทธิ์ที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้[4],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สำ มะ งา”. หน้า 556.
2. สมุนไพรไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “สำ มะ งา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/49320567/. [12 มิ.ย. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “สำ มะ งา (Samma Nga)”. หน้า 302.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “สำมะงา Garden Quinine”. หน้า 87.
5. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. “สํามะงา”.
6. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สํามะงา”. หน้า 782-784.
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “สํามะงา”. หน้า 182.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://plantingman.com/volkameria-inermis/
2.https://identify.plantnet.org/

ว่านเสน่ห์จันทน์แดง หัวมีฤทธิ์ในการช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ

0
ว่านเสน่ห์จันทน์แดง
ว่านเสน่ห์จันทน์แดง หัวมีฤทธิ์ในการช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อที่บริเวณกลางต้น ผลขนาดเล็กผิวสัมผัสนุ่ม
ว่านเสน่ห์จันทน์แดง
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อที่บริเวณกลางต้น ผลขนาดเล็กผิวสัมผัสนุ่ม

ว่านเสน่ห์จันทน์แดง

ต้นเสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดงนี้ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีปเอเชียและอเมริกา ชื่อสามัญ King of Heart [2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena rubescens (Roxb.) Kunth ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calla rubescens Roxb., Chamaecladon rubescens (Roxb.) Schott, Zantedeschia rubens K.Koch จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์บอน (ARACEAE)[1]

ลักษณะต้นเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้น
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – ต้นมีความสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร
    – ลำต้นเกิดจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามลำต้นจะประกอบไปด้วยก้านใบอยู่หลาย ๆ ก้าน แต่ลำต้นจะไม่แตกกิ่งก้านสาขา
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว ต้นเสน่ห์จันทน์แดงเป็นพรรณไม้ที่อาศัยอยู่ในที่ร่มหรือพื้นที่แดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง[1],[2]
  • ใบ
    – เป็นใบเดี่ยว โดยจะแตกใบออกที่ตรงบริเวณส่วนยอดของลำต้น มีก้านใบเป็นสีแดง โดยก้านจะยาวมากกว่าแผ่นใบ โคนของก้านใบจะมีลักษณะเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น
    – ลักษณะ เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ตรงโคนใบเว้าลึก ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียวสด เส้นใบมีสีแดง (หากใบต้นเสน่ห์จันทน์แดงโดนแสงแดดมากเกินไปจะทำให้ใบเปลี่ยนสีได้) และก้านใบมีลักษณะที่กลมยาว มีสีเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมแดง หากเลี้ยงดูได้อย่างสมบูรณ์ก้านใบอาจเป็นสีแดงปนดำหรือเป็นสีแดงเลือดหมูไปตลอดทั้งก้านใบ[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว และมีความยาวประมาณ 6-12 นิ้ว
  • ดอก
    – ดอกเป็นช่อที่บริเวณกลางต้น
    – ดอกจะเป็นแท่งกลมยาว ช่อดอกมีลักษณะอวบและจะมีกาบสีแดงห่อหุ้มช่อดอกเอาไว้ ช่อดอกมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-4 นิ้ว [1]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นผลสดที่มีขนาดเล็ก เมื่อจับผลจะมีผิวสัมผัสที่นุ่ม [1]

สรรพคุณต้นเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้นเสน่ห์จันทน์ทั้งต้นมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ จึงสามารถนำมาใช้ทำเป็นยาพิษได้ (ทั้งต้น)[1]
  • หัวหรือเหง้าของต้นเสน่ห์จันทน์นำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับทาเฉพาะภายนอกได้ โดยจะมีฤทธิ์ในการช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ (หัว)[1]
  • ใบเสน่ห์จันทน์นำมาทำเป็นยาสำหรับใช้ภายนอก โดยมีสรรพคุณเป็นยารักษาแผล (ใบ)[1]

ประโยชน์ต้นเสน่ห์จันทน์แดง

1. ในด้านของความเชื่อ จัดเป็นไม้มงคลในเรื่องมหานิยม หากทำการปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จะส่งผลเป็นศรีมีเสน่ห์แก่ครอบครัว และหากผู้ใดคิดเข้ามาทำร้าย ก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะจะทำให้คนที่คิดร้ายผู้นั้นกลับมีจิตใจที่มีเมตตาขึ้นมาแทน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันอีกด้วยว่าหากปลูกไว้แล้วจะมีความโชคดี ถ้านำมาตั้งในร้านค้าจะช่วยให้ค้าขายดีมีกำไร เป็นพรรณไม้เมตตามหานิยมแก่คนทั่วไป[2] และหัวของต้นสามารถนำมาใช้แกะสลักเป็นรูปนางกวักได้เช่นเดียวกันกับต้นว่านเสน่ห์จันทน์เขียว วิธีการปลูกให้นำอิฐมาทุบให้แหลกละเอียดตากน้ำค้างเอาไว้เป็นเวลา 1 คืน จากนั้นให้เอามาปนกับดินที่ปลูกด้วยหัวว่าน โดยให้ทำการปลูกในวันจันทร์ และเวลารดน้ำให้ท่องด้วยคาถานะโม พุทธายะ 3 จบ (ว่านเสน่ห์จันทน์แดงนี้เป็นว่านคู่กันกับว่านเสน่ห์จันทน์เขียว หากนำมาปลูกไว้คู่กันจะทำให้เกิดความขลังมากล้นเลยทีเดียว)[3]

2. ต้นเสน่ห์จันทน์แดงจัดเป็นไม้ประดับที่นอกจากจะมีสีสันสวยงามแล้ว ยังมีความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศได้ในปริมาณปานกลางอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารพิษจำพวกแอมโมเนีย[2]

3. ต้นเสน่ห์จันทน์แดงมักจะนำมาใช้ปลูกเป็นไม้กระถางไว้สำหรับประดับภายในบริเวณบ้าน หรือจะนำไปปลูกตามแนวต้นไม้ใหญ่ก็ได้เช่นกัน โดยเสน่ห์จันทน์แดงถือว่าเป็นไม้ประดับที่มีรูปทรงสวยงาม เนื่องจากมีแผ่นใบที่เป็นรูปหัวใจ และใบมีสีเขียวเข้มตัดกับสีแดงเข้มของก้านใบจึงทำให้มีความโดดเด่น และว่านชนิดนี้เป็นว่านชนิดที่เจริญเติบโตได้ในพื้นที่ร่มและในพื้นที่มีแสงแดดจัด แต่เป็นพืชที่ไม่ค่อยทนทานนัก จึงต้องการการดูแลรักษาอยู่พอสมควร โดยควรจะปลูกต้นเสน่ห์จันทน์แดงไว้ในดินร่วนหรือดินทราย และควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาทั้งเช้าและเย็น[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • เมื่อใช้ไอน้ำกลั่นต้นเสน่ห์จันทน์แดงจะได้น้ำมันหอมระเหย ที่มีสารประกอบจำพวก linalyl acetate, -terpineol-l-linalool 60%[1]
    3.4)ข้อควรระวัง
  • ต้นเสน่ห์จันทน์แดงทั้งต้นรวมทั้งใบ จะมีสารพิษชนิดหนึ่งอยู่ ถ้าจะนำมาใช้เป็นยาควรใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ห้ามนำมารับประทาน เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เสน่ห์จันทน์แดง (เสน่ห์จันทร์แดง)”. หน้า 786-787.
2. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ว่าน เสน่ห์ จันทน์ แดง”., “เสน่ห์จันทน์แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.panmai.com. [07 ต.ค. 2014].
3. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “ความเชื่อเกี่ยวกับว่านเสน่ห์จันทน์แดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.m-culture.in.th. [07 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/

ต้นเสี้ยวป่า สรรพคุณใช้ใบต้มดื่มเป็นยาฟอกเลือด

0
ต้นเสี้ยวป่า สรรพคุณใช้ใบต้มดื่มเป็นยาฟอกเลือด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อกระจะ สีขาว สีขาวแกมชมพู หรือสีชมพูอ่อน ฝักรูปดาบผิวเรียบไม่มีขน เมล็ดแบน
ต้นเสี้ยวป่า
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อกระจะ สีขาว สีขาวแกมชมพู หรือสีชมพูอ่อน ฝักรูปดาบผิวเรียบไม่มีขน เมล็ดแบน

ต้นเสี้ยวป่า

ต้นเสี้ยวป่า เป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ในทุกสภาพดิน โดยต้นจะมีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคแถบอินโดจีนประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่โล่งแจ้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งหญ้า ป่าเต็งรัง และตามป่าผลัดใบผสมเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยต้นจะเจริญเติบโตที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 800 เมตร[2],[4] ชื่อสามัญ Orchid Tree, Purple Bauhinia[4] ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia saccocalyx Pierre จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ชงโค (จังหวัดนครราชสีมา, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี, จันทบุรี), ส้มเสี้ยว (จังหวัดนครสวรรค์, อุดรธานี), ส้มเสี้ยวโพะ เสี้ยวดอกขาว (จังหวัดเลย), คิงโค (จังหวัดนครราชสีมา), ชงโคป่า เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นเสี้ยวป่า

  • ลำต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – ต้นมีความสูง ประมาณ 10 เมตร
    – ลำต้นจะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย ผิวลำต้นขรุขระ เปลือกลำต้นมีสีเป็นสีเทาปนสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งก็พบว่าร่อนเป็นแผ่นบาง[1]
    – กิ่งก้านจะมีลักษณะคดงอ โดยกิ่งก้านจะแตกออกจากลำต้นในรูปแบบที่ไม่เป็นระเบียบมากนัก เนื้อไม้มีความเปราะบางและสามารถทำการหักได้ง่าย ลายไม้ไม่เป็นระเบียบ
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีงอกต้นใหม่ขึ้นจากรากที่กระจายไปตามบริเวณพื้นดินรอบ ๆ ต้นมากกว่าการงอกจากเมล็ด โดยมีรากแก้วหยั่งลึกลงไปใต้ดินและมีรากแขนงแตกออกไปโดยรอบแผ่กว้างออกไปตามพื้นดิน จึงมักขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ มากกว่าพบเห็นเป็นต้นเดี่ยว ๆ
  • ใบ
    – ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
    – ลักษณะรูปร่างของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบเว้าลึกถึงครึ่งใบ เป็นพู 2 พู ตรงปลายแตกเป็นแฉกแหลม ส่วนโคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ
    – แผ่นใบมีผิวใบบางคล้ายกระดาษ ด้านหลังของใบเกลี้ยงไม่มีขน แต่บริเวณท้องใบจะมีขนและต่อมน้ำมันสีน้ำตาลขึ้นอยู่เป็นประปราย เส้นแขนงใบจะออกมาจากกลางโคนใบ 9-11 เส้น และใบมีหูใบขนาดเล็กที่หลุดร่วงได้ง่าย[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 5-9 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 6-10 เซนติเมตร
    – ก้านใบมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอก เป็นช่อแบบกระจะ โดยจะออกดอกบริเวณตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง
    – ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนพฤษภาคม[1],[2]
    – ดอกเป็นดอกแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้นกัน มีดอกย่อยกระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นเป็นพวง มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7 เซนติเมตร เมื่อดอกย่อยบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-1.4 เซนติเมตร
    – ดอก สีเป็นสีขาว สีขาวแกมชมพู หรือสีชมพูอ่อน มีกลีบดอกอยู่ทั้งหมด 5 กลีบ กลีบดอกลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบมน
    – กลีบเลี้ยงมีลักษณะคล้ายกาบ ตรงปลายแยกออกเป็น 2 แฉก
    – ดอกเพศผู้ที่ไม่เป็นหมันจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน ยื่นออกมาจากภายนอกของดอก 5 อัน และอีก 5 อันที่เหลือนั้นจะอยู่ภายในดอก ดอกไม่มีเกสรเพศเมีย และดอกเพศเมียจะมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมีลักษณะคล้ายเส้นด้าย 10 อัน และมีเกสรเพศเมียอยู่ 1 อัน อยู่บริเวณเหนือวงกลีบ ส่วนรังไข่มีขนขึ้นปกคลุม
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปดาบ ผิวผลเรียบไม่มีขน ตรงบริเวณช่วงปลายจะกว้างและโค้งงอ ปลายผลแหลม ฝักมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 7-14 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่เต็มที่แล้วฝักจะแตกออก
    – ติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม[1],[2]
  • เมล็ด
    – ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-5 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรูปร่างที่แบน

สรรพคุณ และประโยชน์ของต้นเสี้ยวป่า

  • ใบ นำมาผสมกับลำต้นของต้นกำแพงเจ็ดชั้น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาฟอกโลหิต ดื่มวันละ 3 ครั้ง (ใบ)[1]
  • ลำต้นหรือกิ่งของต้น นำมาใช้ทำเป็นเสาค้ำยันให้แก่บางส่วนของบ้านได้ แต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก หรืออาจจะนำมาใช้ทำเป็นเสาสำหรับพืชผักที่เป็นไม้รอเลื้อย หรือจะนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงก็ได้เช่นกัน[3],[4]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมทางได้ โดยจะออกดอกได้ดกดีมาก ดอกมีสีขาวดูสวยงามและดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกด้วย สามารถนำต้นมาตัดแต่งหรือให้เลื้อยขึ้นค้างได้ แต่ยังไม่ค่อยนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านมากเท่าไรนัก[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “เสี้ยว ป่า”. หน้า 184.
2. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7. “เสี้ยว ป่า”.
3. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “เสี้ยวป่า, ชงโคป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.goldenjubilee-king50.com. [07 ต.ค. 2014].
4. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม. “เสี้ยวป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.ndk.ac.th. [07 ต.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/
2.https://commons.wikimedia.org/