ว่านแร้งคอดำ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
ว่านแร้งคอดำ
ว่านแร้งคอดำ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ ไม้ล้มลุก ปลายใบแหลม ดอกตูมรูปหอก สีขาวและแต้มด้วยสีแดงตรงกลาง ผลค่อนข้างกลม
ว่านแร้งคอดำ
ไม้ล้มลุก ปลายใบแหลม ดอกตูมรูปหอก สีขาวและแต้มด้วยสีแดงตรงกลาง ผลค่อนข้างกลม

ว่านแร้งคอดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum latifolium L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ หว้านคอแดง หว้านแร้งคอดำ (กรุงเทพฯ), ว่านแร้งคอดำ (ภาคกลาง), ว่านคอแดง (ภาคใต้), ว้านกระทู้, ว่านพระยาแร้ง, ว่านพระยาแร้งคอดำ[1],[2] ชื่อเรียกอื่นว่า “พระยาแร้งคอดำ” หรือ “พระยาแร้งคอแดง” ถ้าเป็นว่านตัวผู้ คอใบและก้านใบจะมีสีแดงอยู่ 2 นิ้ว ถ้าดึงกาบออกจะเป็นใยบัว หัวมีลักษณะคล้ายกับหัวหอมผิวแดงและเนื้อเป็นสีขาว ใบมีความแบนและยาว แตกออกจากหัวกลายเป็นกาบ ร่องกลางใบห่อเล็กน้อยไม่มีก้าน ลักษณะเหมือนว่านรางนาก หรือว่านรางทอง แต่ใบจะมีขนาดเล็กและยาวกว่า[3]

ลักษณะของต้นว่านแร้งคอดำ

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีหัวอยู่ใต้ดิน
    – หัวจะกลมคล้ายกับหัวหอมใหญ่
    – ผิวหัวเป็นสีแดง
    – เนื้อในสีขาว
    – ลำต้นที่โผล่พ้นดินขึ้นมามีลายวงเป็นวงสีน้ำตาลแก่ ตั้งแต่กาบโคนต้นจนถึงกาบคอต้น
    – กาบคอต้นลายจะเป็นวงขนาดใหญ่กว่าโคนต้น เป็นสีม่วงอมแดง
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
    – เติบโตได้ดีในดินทราย ที่สามารถระบายน้ำและเก็บความชื้นได้ดี
    – ชอบแสงแดดแบบรำไร
    – ขึ้นตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ใบเป็นรูปขอบขนานยาวเรียว คล้ายกับใบของต้นพลับพลึงขนาดเล็ก
    – ใบจะออกซ้อนกันเป็นกาบ
    – เป็นใบรีรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบเรียว
    – ขอบใบเป็นคลื่นบาง ๆ
    – กว้างประมาณ 7-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
    – แผ่นใบบาง
    – เส้นกลางใบจะเป็นร่องลึก
    – แตกใบอ่อนตรงส่วนยอดของลำต้นใต้ดิน
    – เมื่อดึงกาบใบออกจะมีใยคล้ายใยบัว
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม
    – ดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปหอก
    – มีกาบหุ้มยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร
    – ปลายดอกเป็นกระจุกประมาณ 10-20 ดอก อยู่บนก้านสั้น ๆ
    – ก้านดอกมีลักษณะอวบหนา มีความยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
    – กลีบดอกมี 6 กลีบ มีความกว้างกว่าดอกพลับพลึง
    – ก้านดอกสั้น
    – ดอกเป็นสีขาวและแต้มด้วยสีแดงตรงกลางหรือทางด้านหลังของกลีบ
    – มีเกสรเพศผู้ 6 อันอยู่ด้วย
    – มีอับเรณูลักษณะเป็นรูปโค้ง
  • ลักษณะของผล[1]
    – ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม

สรรพคุณว่านแร้งคอดำ

  • หัว เป็นยาแก้กษัย[2]
  • หัว รักษาอาการปวดหู[2]
  • หัว แก้ไตพิการ[2]
  • หัว เป็นยารักษาฝี[1],[2]
  • หัว ใช้รักษาอาการเคล็ดขัดยอก บวม[1]
  • หัว เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับอาการปวดในข้อ[1]
  • หัว ใช้รักษาริดสีดวงทวาร[1],[2]
  • หัว เป็นยาชักมดลูก ช่วยแก้อาการมดลูกหย่อน ปีกมดลูกอักเสบ เหมาะสำหรับสตรีที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ ๆ[1],[2]
  • ใบ ใช้รักษาอาการปวดหูได้[1]

ประโยชน์ของว่านแร้งคอดำ

  • ว่านชนิดนี้เชื่อกันว่าเป็นว่านที่คงกระพัน โดยจะใช้หัวพกติดตัวหรือกินหัวว่าน
  • ควรใช้กระถางใบเขื่องกว่าใบธรรมดาในการปลูก และควรใช้อิฐมอญหักรองก้นกระถาง เพราะว่านชนิดนี้จะขยายพันธุ์ได้ดี
  • เมื่อเอาหัวว่านลงกระถางแล้วให้ใช้ดินร่วนปนทรายกลบดินพอให้มิดหัวว่าน แล้วรดด้วยน้ำที่เสกด้วยคาถา “นะโม พุทธายะ” ทุกครั้ง
  • ถ้าจะนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี ก่อนจะกินหัวว่านก็ให้เสกคาถา “นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ” ตามกำลังวัน[2],[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านแร้งคอดำ”. หน้า 729-730.
2. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่านแร้งคอดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [20 ส.ค. 2014].
3. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “ความเชื่อเกี่ยวกับว่านแร้งคอดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : m-culture.in.th. [20 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiagardening.com/
2.https://commons.wikimedia.org/

ต้นหัน กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
ต้นหัน
ต้นหัน กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ เป็นไม้ยืนต้น ดอกเป็นช่อสั้น ๆ สีม่วงแดง ผลสีเขียวเป็นรูปทรงกลมถึงกลมรี เปลือกมีขนสั้นสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวและมียางใส
ต้นหัน
ดอกเป็นช่อสั้น ๆ สีม่วงแดง ผลสีเขียวเป็นรูปทรงกลมถึงกลมรี เปลือกมีขนสั้นสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวและมียางใส

ต้นหัน

ต้นหัน Wild Mutmeg เป็นพรรณไม้ที่ให้ร่มเงาใบเนาเป็นพุ่ม ลักษณะใบสีเขียวเข้มเป็นมันและผลไม้สีเขียวอมเหลืองเมล็ดด้านในมีสีแดงสด ซึ่งสมุนไพรชนิดนี้สามารถนำเมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังและหิด ชื่อวิทยาศาสตร์  Knema globularia (Lam.) Warb. จัดอยู่ในวงศ์จันทน์เทศ (MYRISTICACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กระเบาเลือด สมิงคำราม เหมือดคน (ภาคเหนือ), ตีนตัง มะเลือด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สีซวง (ภาคกลาง), กาฮั้น กระฮั้น ลาหัน เลือดม้า เลือดแรด หัน หันลัด (ภาคใต้), ชิงชอง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), ตูโมะยอ (มลายู-นราธิวาส), ฮ้วงจือ

ลักษณะของต้นหัน

  • ลักษณะของต้น
    – เป็นไม้ยืนต้น
    – มีความสูงประมาณ 10-25 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร
    – เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง ค่อนข้างกลม
    – เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ด
    – เปลือกด้านนอกเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม
    – เปลือกด้านในเป็นสีชมพู
    – ยอดอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีสะเก็ดเป็นขุยสีน้ำตาล
    – เขตการกระจายพันธุ์จะอยู่ที่ลำธารในป่าดิบชื้น ป่าพรุ ป่าชายหาก และที่ลุ่มน้ำขังทั่วทุกภาคของประเทศไทย
    – ในต่างประเทศจะพบได้ที่ประเทศจีนทางตอนใต้ มาเลเซีย พม่าตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน สุมาตรา
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบแหลมหรือมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร และความยาว 10-16 เซนติเมตร
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน
    – ผิวใบด้านล่างเป็นสีขาวนวล
    – เนื้อใบบาง
    – มีเส้นแขนงใบประมาณ 13-20 คู่ ลักษณะค่อนข้างตรงและขนานกัน
    – มีขนสีน้ำตาลโดยเฉพาะตามใบอ่อนและตามกิ่ง
    – ก้านใบยาว 1 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[3]
    – ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ
    – ออกเป็นกระจุกตามซอกใบหรือตามกิ่ง
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีเหลืองนวลหรือสีเหลืองแกมสีน้ำตาล
    – ด้านในดอกเป็นสีม่วงแดง
    – จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
    – ดอกเพศผู้เป็นรูปหลอดยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร
    – ส่วนดอกเพศเมียจะเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3]
    – ผลเป็นผลสด
    – ผลเป็นรูปทรงกลมถึงกลมรี
    – ผลมีความกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร และความยาว 1.5-2 เซนติเมตร
    – มีสันนูนตามความยาวของผล
    – ผิวเปลือกมีขนสั้นสีน้ำตาล
    – ผลเป็นสีเขียว
    – ผลเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม และแตกออกเป็นซีก 2 ซีก
    – เนื้อในผลชั้นในเป็นสีขาวและมียางใส
    – ผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – เมล็ดเป็นสีดำเกลี้ยงปกคลุมไปด้วยเยื่อสีแดงหุ้มอยู่
    – ผลจะแก่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของหัน

  • เปลือก เป็นยาชูกำลัง โดยการนำมาดองกับเหล้า[3]
  • เมล็ด เป็นยารักษาโรคผิวหนังและหิด โดยจะใช้น้ำมันที่บีบได้ โดยสารที่ออกฤทธิ์คือสาร benzyl benzoate[1],[2]

ประโยชน์ของหัน

  • ผล สามารถใช้เป็นอาหารของสัตว์ป่าได้ (สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง (มัณฑนา นวลเจริญ))
  • น้ำมันจากเมล็ด สามารถใช้ทำเป็นสบู่ยาได้[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างภายในอาคารของบ้านได้[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
– หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หัน Wild Nutmeg”. หน้า 130.
– สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “หันลัด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/pattani_botany/. [17 ก.ค. 2014].
– โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เลือดแรด”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [17 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.wikiwand.com/
2.https://toptropicals.com/

ว่านตีนตะขาบ สมุนไพลมงคลสารพัดประโยชน์

0
ว่านตีนตะขาบ
ว่านตีนตะขาบ สมุนไพลมงคลสารพัดประโยชน์ เป็นพืชสมุนไพรไม้เลื้อย ต้นกลมเป็นปล้อง ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง ดูคล้ายกับตะขาบ มียางสีขาวขุ่น
ว่านตีนตะขาบ
เป็นพืชสมุนไพรไม้เลื้อย ต้นกลมเป็นปล้อง ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง ดูคล้ายกับตะขาบ มียางสีขาวขุ่น

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ Pedilanthus tithymaloides เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งลักษณะเป็นต้นกลมเป็นปล้องๆ ในลำต้นและใบมียางสีขาวขุ่น จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ POLYGONACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), เพว (กรุงเทพฯ), ตะขาบปีนกล้วย ต้นตีนตะขาบ (ไทย)

  • ลักษณะของต้น
    – เป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก
    – ลำต้นเป็นปล้อง
    – มีลักษณะกลมโตเหมือนหางหนูมะพร้าวอ่อน
    – แต่เมื่อลำต้นสูงขึ้นจะกลายเป็นไม้เลื้อย
    – ต้นหนึ่งจะยาวได้ 7-10 ฟุต
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ
  • ลักษณะของใบ
    – ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง
    – ออกจากโคนต้นจนถึงยอด จนดูคล้ายกับตะขาบ

สรรพคุณ และประโยชน์ของว่านตะขาบ

  • ต้นและใบสด เมื่อนำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้าแล้ว สามารถนำไปใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูเป็นน้ำหนวกได้ ซึ่งได้ผลดีมาก ใช้แค่เพียง 2-3 ครั้ง ก็จะหาย[1]
  • ต้นและใบสด เมื่อนำมาตำผสมกับเหล้าแล้ว สามารถนำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำหรือเคล็ดขัดยอกได้[1]
  • ส่วนที่เหลือจากการนำไปใช้แก้ฟกช้ำแล้ว สามารถนำมาพอกถอนพิษตะขาบและพิษแมงป่องได้[1]
  • น้ำยาง เมื่อนำมาใช้ทาบริเวณบาดแผลที่ถูกกัด พอรู้สึกว่ายางเริ่มแห้งแล้ว ก็ให้ทาซ้ำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 30 นาที จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการบวมได้

ประโยชน์ของต้นว่านตะขาบ

  • คนจีนนิยมนำมาปลูกในกระถางไว้ดูเพื่อความสวยงามตามบ้าน หรือตามสวนยาจีนทั่วไป[1]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่าน ตีน ตะ ขาบ”. หน้า 712-713.
2. ไทยโพสต์. “ว่าน ตีน ตะ ขาบ-ตะขาบหิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net. [20 ส.ค. 2014].

ว่านคันทมาลา สรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
ว่านคันทมาลา
ว่านคันทมาลา สรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ เป็นพรรณไม้ลงหัวล้มลุกลำต้นและดอกคล้ายกระเจียวกาบ ดอกมีสีเขียว ดอกบานเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมขาว
ว่านคันทมาลา
เป็นพรรณไม้ลงหัวล้มลุกลำต้นและดอกคล้ายกระเจียวกาบ ดอกมีสีเขียว ดอกบานเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมขาว

ว่านคันทมาลา

ว่านคันทมาลา เป็นพรรณไม้ลงหัวล้มลุกลำต้นและดอกคล้ายกระเจียวกาบ ดอกมีสีเขียวเมื่อเริ่มบานสะพรั่งจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมขาว มักใช้เพื่อแต่งกลิ่นหรือแต่งสีเป็นส่วนประกอบในอาหารหลายชนิดของชาวเอเชีย โดยสมุนไพรชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น และไทยทางทางจังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma Sp. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ คันฑมาลา, ว่านขาว, ว่านนางคำขาว, ว่านคันทมาลาน้อย

ลักษณะของว่านคันทมาลา

  • ลักษณะของต้น
    – ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัว
    – มีลำต้นเทียมสูงกว่า 1 เมตร
    – ลำต้นใต้ดินเป็นหัวหรือเหง้าขนาดใหญ่
    – หัวหลักมีลักษณะเป็นรูปไข่แคบ
    – เนื้อในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
    – ส่วนชั้นนอกจะเป็นสีม่วงดำ
    – ส่วนชั้นในจะเป็นสีขาวอมเหลือง
    – หัวมีกลิ่นเผ็ดร้อนคล้ายว่านพระตะบะ
    – แตกแขนงย่อยทั้งสองข้าง
    – มีข้อและปล้องชัดเจน
    – สามารถขยายพันธุ์โดยใช้หัวว่านลงดิน
    – ดินที่นำมาใช้ปลูกคือดินปนทราย
    – กลบดินให้พอมิดหัวว่าน แต่อย่ากดจนแน่นเกินไป รดน้ำให้ดินชุ่มพอกัน ๆ
    – เติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน พอถึงช่วงฤดูหนาวใบจะตาย
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – มีรูปร่างคล้ายกับใบว่านมหาเมฆ
    – ขนาดของใบมีขนาดเท่ากับใบพุทธรักษา
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน
    – มีเส้นกลางใบเป็นสีแดงเข้ม
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อที่ปลายลำต้นเทียม
    – มีใบประดับตอนล่างเป็นสีเขียวอ่อน
    – ปลายใบเป็นสีม่วงแดง
    – ใบประดับตอนบนเป็นสีม่วงอมแดงทั้งใบ
    – ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน
    – มีแถบกลางเป็นสีเหลืองอ่อน
    – กลีบดอกที่แลบออกมาจากซอกกลีบประดับจะเป็นสีเหลืองสด เป็นรูปกรวยยาว
    – ดอกคล้ายกับลูกสับปะรด
    – มีกลีบดอกเป็นชั้น ๆ

สรรพคุณของว่านคันทมาลา

  • หัว นำมาฝนและผสมกับเหล้า ใช้ทาแก้อาการเจ็บคอ[3]
  • หัว นำมาฝนและผสมกับน้ำปูนใส ใช้ทาท้อง แก้อาการปวดท้องในเด็ก[3]
  • หัว นำมาฝน ใช้ทารักษาอาการเคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ และอาการบวมได้ดีมาก[1]
  • หัว นำมาต้มหรือดองผสมกับเหล้าขาว ใช้กินเป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่เร็ว[3]
  • หัว นำมาโขลกและห่อด้วยผ้าขาวและดองกับเหล้าขาว ใช้กินเป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนักและลำไส้[3]
  • หัว นำมาฝนกับเกลือสินเทา ผสมกับน้ำร้อนหรือน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องขึ้น ท้องร่วง [3]
  • หัว นำมาฝนและผสมกับเหล้าหรือน้ำส้มสายชู แล้วชุบด้วยสำลี ใช้อมไว้ข้าง ๆ แก้ม แล้วค่อย ๆ กลืนเอาแต่น้ำทีละน้อย เป็นยารักษาต่อมทอนซิลอักเสบ และรักษาฝีในคอ[1]

ประโยชน์ของว่านคันทมาลา

  • เมื่อนำมาปลูกไว้ในบ้าน แล้วนำหัวมาเสกด้วยคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ คือ “นะโมพุทธายะ” 3 จบ แล้วนำมากิน จะช่วยให้คงกระพันชาตรี[1]
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากดอกมีกลีบดอกเรียงเป็นชั้น ๆ ดูสวยงามแปลกตา[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์ (สกัดด้วยน้ำร้อนและตามด้วยการตกตะกอนโดยเอทานอล แล้วนำมาทำให้แห้ง) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยมี 1,1-diphenyl-2 picrylhydrazyl (DPPH) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระ โดยผสมสารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์กับน้ำกลั่นที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5, 1, 2, 3, และ 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบค่าเปอร์เซ็นต์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH มีค่าเท่ากับ 72.13, 54,89, 38.62, 18.94 และ 13.51 ตามลำดับ และมีค่า EC50 เท่ากับ 2.67 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร[4]
  • นอกจากนี้ยังนำมาทดสอบฤทธิ์การเพิ่มจำนวนเซลล์ของเซลล์สร้างเส้นใยที่มาจากเนื้อเยื่อเหงือก โดยใช้ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันของสารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์ แล้วจึงทดสอบด้วยสาร MTT assay พบว่า สารสกัดที่ระดับความเข้ม 0.01, 0.1, 1 และ 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ โดยที่ระดับความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ได้สูงสุด[4]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านคันทมาลา (คันฑมาลา)”. หน้า 711-712.
2. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ.
3. สรรพคุณสมุนไพร. “สรรพคุณว่านคันทมาลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : samumpri-thai.blogspot.com. [21 ส.ค. 2014].
4. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 วันที่ 17-20 มี.ค. 2552. (พลอยพัฒณ์ นิยมพลอย, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, พลกฤษณ์ แสงวณิช, อภิชาติ กาญจนทัต). “ฤทธิ์การต้านออกซิเดชันและการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ของส่วนสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์จากเหง้าของว่านคันทมาลา Curcuma aromatica Salisb”. หน้า 154-161.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://monsterblooms.com/

ลักษณะและสรรพคุณของมะนาวผี

0
ลักษณะและสรรพคุณของมะนาวผี เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อซี่ร่ม กลิ่นหอม ผลเป็นรูปทรงกลม สีเขียวอ่อน ผิวผลหนาขรุขระมีกลิ่นคล้ายใบมะกรูดหรือใบมะนาว
มะนาวผี
เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อซี่ร่ม กลิ่นหอม ผลเป็นรูปทรงกลม สีเขียวอ่อน ผิวผลหนาขรุขระมีกลิ่นคล้ายใบมะกรูดหรือใบมะนาว

มะนาวผี

มะนาวผี เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นมีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2-3 เมตร ลักษณะภายนอกของผลผิวขรุขระมีกลิ่นคล้ายใบมะกรูดหรือใบมะนาว เป็นสมุนไพรทางตำรายาไทย น้ำมันจากเปลือกผลใช้ทาภายนอก แก้โรคไขข้ออักเสบ ใบแก้โรคทางเดินหายใจ แก้จุกเสียด แก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง และผลยังใช้ในการรักษาโรคทางเดินหายใจได้อีกด้วย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Atalantia monophylla DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Trichilia spinosa Willd.) อยู่วงศ์ส้ม (RUTACEAE)[1],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กะนางพลี (ภาคใต้)[1], มะนาวพลี (ภาคใต้)[2], กะนาวพลี (ภาคใต้)[3], ขี้ติ้ว (ภาคเหนือ), นางกาน (จังหวัดขอนแก่น), มะลิว (จังหวัดเชียงใหม่), จ๊าลิ้ว (ภาคเหนือ), กรูดผี (จังหวัดสุราษฎร์ธานี), กรูดเปรย (จันทบุรี) [1],[2],[3]

ลักษณะมะนาวผี

  • ต้น มีเขตการกระจายพันธุ์ที่ในประเทศเวียดนาม พม่า ไทย อินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว ศรีลังกา ลำต้นกับกิ่งจะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล จะมีรอยแตกตื้นตามยาวของลำต้น มีหนามยาวอยู่หนึ่งอันที่ตามซอกใบ หนามมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง สำหรับประเทศไทยพบได้ทุกภาค สามารถพบเจอได้ที่ตามป่าดิบแล้ง ชายฝั่ง บนเขาหิน ป่าชายหาก ป่าเต็งรัง ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลถึงประมาณ 800 เมตร[1],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียน ใบเป็นรูปรี รูปไข่ ที่ปลายใบจะป้านเป็นติ่ง ส่วนที่โคนใบจะเป็นรูปลิ่มกว้าง ที่ขอบใบจะเรียบหรือเป็นคลื่นนิดหน่อย ใบกว้างประมาณ 1.8-4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4.8-8 เซนติเมตร แผ่นใบมี
    ลักษณะแผ่เรียบ หนาคล้ายกับแผ่นหนัง เป็นมัน ด้านบนใบจะเป็นสีเขียวเข้มและเกลี้ยง ท้องใบจะเป็นสีเขียวอ่อนและเกลี้ยง หรือจะมีขนกระจายที่ตามเส้นกลางใบ มีเส้นข้างใบอยู่ประมาณ 5-7 คู่ ใบย่อยเป็นรูปแบบร่างแห ชัดเจนที่ทางด้านล่าง ก้านใบมีความยาวประมาณ 4-8 มิลลิเมตร[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ออกดอกที่ตามซอกใบ มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอกกับก้านดอกจะเกลี้ยงถึงมีขนละเอียด ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยเป็นรูปใบหอก ร่วงได้ง่าย มีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีขนอยู่ กลีบเลี้ยงจะไม่สมมาตร แยกออกถึงฐานแค่หนึ่งด้านเท่านั้น มักจะมีแฉก 2 แฉก มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร จะเกลี้ยงถึงมีขนละเอียด มีกลีบดอกอยู่ประมาณ 4-5 กลีบ จะแยกจากกันอย่างอิสระ กลีบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปรี มีความยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร จะเกลี้ยง มีเกสรเพศผู้ประมาณ 8-10 ก้าน มีความยาวไม่เท่ากัน จะสลับกันระหว่างสั้นและยาว ที่โคนจะเชื่อมกันเป็นหลอด จะเกลี้ยง รังไข่อยู่ที่เหนือวงกลีบ มีความยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร มีช่องอยู่ประมาณ 3-4 ช่อง ในแต่ละช่องมีออวุลอยู่ประมาณ 1-2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียมีความยาวเท่ารังไข่ ยอดเกสรเพศเมียมีแฉก 3-4 แฉก มีขนาดไม่เท่ากัน จานฐานดอกมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน มีพูประมาณ 8-10 พู [3]
  • ผล เป็นรูปทรงกลม รี มีขนาดเล็ก ผิวผลมีลักษณะเรียบและเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเทา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวผลหนาคล้ายกับหนัง จะมีต่อมน้ำมันเป็นจุดหนา ปลายผลจะมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ เนื้อผลด้านในจะเป็นกลีบ มีเมล็ดอยู่ด้านในผล เมล็ดเป็นรูปรี เป็นสีขาว ออกดอกและเป็นผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน[3]

สรรพคุณมะนาวผี

1. ใบสามารถช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ใบ)[3]
2. น้ำมันที่ได้จากเปลือกผลสามารถใช้ทาภายนอก เป็นยาแก้โรคไขข้ออักเสบได้ (น้ำมันจากเปลือกผล)[3]
3. สามารถช่วยแก้โรคทางเดินหายใจได้ (ใบ)[1],[2],[3]
4. ผลมีสรรพคุณที่สามารถช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจได้ (ผล)[3]
5. สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้ (ใบ)[3]
6. ใบ จะมีกลิ่นคล้ายใบมะนาว ใบมะกรูด สามารถช่วยแก้อาการจุกเสียดได้ (ใบ)[3]

ประโยชน์มะนาวผี

  • สามารถนำเนื้อไม้มาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักสาน เครื่องมือใช้สอยภายในบ้านได้[5]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับ[4]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะ นาว ผี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [16 พ.ค. 2014].
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “มะ นาว ผี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [16 พ.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “มะ นาว ผี (Manao Phi)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 225.
4. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะ นาว ผี”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 156.
5. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะนาวผี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [16 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/

ลักษณะและสรรพคุณของมะค่าแต้

0
ลักษณะและสรรพคุณของมะค่าแต้ ดอกออกเป็นช่อสีเหลืองแกมสีเขียว ฝักแบนค่อนกลมรูปโล่ มีหนามแหลม โคนผลเบี้ยวมีติ่งแหลม เมล็ดมีรสชาติเบื่อขม
มะค่าแต้
ดอกออกเป็นช่อสีเหลืองแกมสีเขียว ฝักแบนค่อนกลมรูปโล่ มีหนามแหลม โคนผลเบี้ยวมีติ่งแหลม เมล็ดมีรสชาติเบื่อขม

มะค่าแต้

ไม้มะค่าแต้ Ma kha num เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ให้ร่มเงาดี ผลทรงแบนสีเขียวมีหนามแหลมคมเมื่อผลเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีเมล็ดสีดำใหญ่อยู่ด้านใน มีเขตการกระจายพันธุ์จากที่ภูมิภาคอินโดจีนถึงมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบเจอได้ที่ตามป่าโคกข่าว ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณแล้ง และก็ป่าชายหาดที่มีระดับใกล้น้ำทะเลถึงที่มีความสูง 400 เมตร ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Miq. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Galedupa cochinchinensis (Baill.) Prain, Galedupa siamensis (Teijsm.) Prain, Sindora cochinchinensis Baill., Sindora siamensis var. siamensis, Sindora wallichii var. siamensis (Teijsm.) Baker อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง), กอกก้อ (ชาวบน, จังหวัดนครราชสีมา), มะค่าแต้ (ภาคกลาง), มะค่าหนาม (ภาคเหนือ), แต้หนาม, ก้าเกาะ (เขมร, จังหวัดสุรินทร์), มะค่าหนาม (ภาคกลาง), มะค่าหยุม, แต้ (ภาคอีสาน), กอเก๊าะ (เขมร, จังหวัดสุรินทร์), มะค่าลิง (ภาคกลาง) [1],[3],[7]

ลักษณะมะค่าแต้

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-15 เมตร จะแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เรือนยอดมีลักษณะเป็นรูปร่มหรือทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งอ่อนกับยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลอยู่ เปลือกต้นจะเรียบเป็นสีเทาคล้ำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง[1],[4]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ใบย่อยมีอยู่ประมาณ 3-4 ใบ แกนช่อใบมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบเป็นรูปรี รูปไข่ ที่ปลายใบจะเว้าตื้น ส่วนที่โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเป็นคลื่น ใบกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร ใบหนา แผ่นใบด้านบนจะมีขนหยาบ ท้องใบจะมีขนนุ่ม[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามซอกใบและที่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองแกมสีเขียว มีกลีบเลี้ยงหนารูปไข่กว้างอยู่ 4 กลีบ ที่ปลายกลีบจะมีหนามขนาดเล็กอยู่ กลีบดอกมีความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้อยู่ 10 ก้าน และจะมี 2 ก้านที่ใหญ่กว่าก้านอื่น ที่ด้านนอกของดอกจะมีขนสีน้ำตาลอยู่ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม[1],[2]
  • ผล เป็นฝักเดี่ยว มีลักษณะแบนค่อนข้างที่จะกลม ผิวเปลือกมีหนามแหลมอยู่ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง เป็นรูปโล่ ที่โคนเบี้ยว โคนมักจะมีติ่งแหลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร เมื่อแห้งก็จะจะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดสีดำอยู่ในฝักประมาณ 1-3 เมล็ด ผลจะแก่ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน[1],[2]

สรรพคุณมะค่าแต้

1. สามารถนำปุ่มที่เปลือกมาต้มรมให้หัวริดสีดวงที่ทวารหนักฝ่อได้ (ปุ่มเปลือก[4], ผล[6])
2. เมล็ดจะมีรสชาติเบื่อขม สามารถทำให้ริดสีดวงทวารแห้งได้ (เมล็ด)[6]
3. เมล็ด ผล ปุ่มเปลือก สามารถใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังได้ (เมล็ด, ผล, ปุ่มเปลือก)[4],[6]
4. สามารถนำเปลือกมาต้ม ใช้แก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้าได้ (เปลือก)[5]
5. นำเปลือกต้นมาผสมเปลือกต้นยางยา เปลือกต้นมะกอกเหลี่ยม รากถั่วแปบช้าง เปลือกต้นหนามทันมาต้มกับน้ำดื่ม สามารถใช้เป็นยาแก้อีสุกอีใสได้ (เปลือกต้น)[1]
6. ปุ่มเปลือกจะมีรสเมาเบื่อ สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มใช้เป็นยาแก้พยาธิได้ เมล็ดจะมีรสเมาเบื่อสุขุม สามารถใช้เป็นยาขับพยาธิได้ (ปุ่มเปลือก, เมล็ด)[4]

ประโยชน์มะค่าแต้

  • ใช้ทำเป็นถ่านได้ สามารถให้ความร้อนได้ถึง 7,347 แคลอรีต่อกรัม[4]
  • สามารถนำเมล็ดแก่มาเผาไฟและกะเทาะเปลือกออก นำแต่เนื้อด้านในมาทานเป็นอาหารว่างได้ เนื้อจะแข็งมีรสมัน[4]
  • เนื้อไม้มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลแก่ ถ้าทิ้งเอาไว้นานจะมีสีเข้มขึ้น มีเส้นสีเข้มกว่าสลับกับเนื้อไม้ เสี้ยนสนแต่สม่ำเสมอ แข็งแรง ทนทาน ทนปลวกได้ เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่งยาก ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ แต่มีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก สามารถใช้ทำกระดูกเรือ หมอนรองรางรถไฟ เครื่องเกวียน เครื่องบน พื้นรอง ตง เสา โครงเรือใบเดินทะเล ลูกกลิ้งนาเกลือ เครื่องไถนา เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องเรือน พื้น และรอดได้[2],[3],[4]
  • เปลือก ฝัก จะให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol กับ Catechol ที่ใช้ฟอกหนัง [4]
  • นิยมนำเปลือกต้นมาใช้ย้อมสีเส้นไหม และย้อมแหสีแดง[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก), งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.hinsorn.ac.th/botanyhinsorn. [12 พ.ค. 2014].
2. ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน เพื่อลดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม. “มะค่าแต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: onep-intranet.onep.go.th/plant/. [12 พ.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะค่าแต้”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 150.
4. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/. [12 พ.ค. 2014].
5. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: rspg.dusit.ac.th. [12 พ.ค. 2014].
6. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [12 พ.ค. 2014].
7. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/eddingrid/38295273631
2.https://flora.pao-sisaket.go.th/flora-info/6

มะเกลือ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
มะเกลือ
มะเกลือ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ แก่นมีสีดำสนิท ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ผลแก่สีดำและแห้ง
มะเกลือ
แก่นมีสีดำสนิท ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ผลแก่สีดำและแห้ง

มะเกลือ

มะเกลือ Ebony tree เป็นพืชที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานมักพบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เนื่องจากสมัยก่อนชาวบ้านนิยมนำเปลือกแก่นมีสีดำสนิทจากลำต้น และผลนำมาต้มย้อมผ้า ย้อมแห เพราะผลสุกจัดเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Diospyros mollis Griff. จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (EBENACEAE)
นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มักเกลือ (เขมร-ตราด), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), ผีเผา ผีผา (ฉาน-ภาคเหนือ), มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้), มะเกลื้อ (ทั่วไป)

  • ลักษณะของต้น
    – มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    – มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร
    – มีเรือนยอดเป็นพุ่ม
    – ลำต้นเปลา
    – ที่โคนต้นขึ้นเป็นพูพอน
    – ผิวเปลือกแตกเป็นรอยสะเก็ดเล็ก ๆ ตามยาว
    – สีดำ
    – เปลือกด้านในสีเหลือง
    – กระพี้มีสีขาว
    – แก่นมีสีดำสนิท
    – เนื้อละเอียดและมีความเป็นมันสวยงาม
    – กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ๆ ขึ้น
    – สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด
    – สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
    – ยกเว้นภาคใต้
    – พบได้มากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี
    – นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
  • ลักษณะของใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก
    – ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรี
    – โคนใบกลมหรือมน
    – ปลายใบสอบเข้าหากัน
    – ผิวใบเกลี้ยง
    – ใบกว้าง 3.5-4 เซนติเมตรและยาว 9-10 เซนติเมตร
    – ใบอ่อนมีขนปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน
  • ลักษณะของดอก
    – ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศต่างต้นกัน
    – ดอกตัวผู้จะมีขนาดเล็ก
    – สีเหลืองอ่อน
    – ในหนึ่งช่อจะมีอยู่ 3 ดอก
    – ดอกตัวเมียจะเป็นดอกเดี่ยว
    – กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 เซนติเมตร
    – โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
    – ปลายกลีบดอกจะแยกเป็น 4 กลีบ
    – เรียงเวียนซ้อนทับกัน
    – ตรงกลางดอกจะมีเกสร
  • ลักษณะของผล
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร
    – ผิวเรียบเกลี้ยง
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลสุกเป็นสีเหลือง
    – ผลแก่เป็นสีดำและแห้ง
    – ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่บนผล 4 กลีบ
    – ผลจะแก่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
    – ในผลมีเมล็ดแบนสีเหลืองอยู่ประมาณ 4-5 เมล็ด
    – มีขนาดกว้าง 0.5-0.7 เซนติเมตรและยาว 1-2 เซนติเมตร

สรรพคุณในด้านการแพทย์

  • สาร Diospyrol diglucoside ช่วยพยาธิสามัญทุกชนิด พยาธิเส้นด้าย (Threadworm) พยาธิตัวกลม (Roundworm) พยาธิตัวตืด (Tapeworm) พยาธิปากขอ (Hookworm) พยาธิแส้ม้า (Whipworm)
    สารชนิดนี้จะไม่ถูกดูดซึมผ่านลำไส้ เพราะเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี แต่จะถูกพยาธิกินเข้าไปแทน และทำให้พยาธิตาย แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้นิยมใช้กันแล้ว และยังมีราคาถูกหาได้ทั่วไปตามชนบท
  • ช่วยถ่ายตานซาง
  • ถ่ายกระษัย

วิธีการใช้สมุนไพรมะเกลือขับพยาธิ

– ให้เลือกใช้ผลสดที่โตเต็มที่และเขียวจัด
– ใช้จำนวนผลเท่ากับอายุแต่ไม่เกิน 20-25 ผล เช่น หากอายุ 30 ปี ก็ให้ใช้เพียง 25 ผล
– นำผลสดมาล้างให้สะอาดแล้วมาโขลกพอแหลก
– คั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับหัวกะทิสด
– นำมาดื่มขณะท้องว่างก่อนอาหารเช้าทันที
– ห้ามทิ้งไว้เพราะจะทำให้น้ำมีพิษ และฤทธิ์ในการถ่ายพยาธิลดน้อยลง
– หลังรับประทานไป 3 ชั่วโมงแล้ว หากยังไม่ถ่ายให้ใช้ยาถ่ายตาม

สรรพคุณของมะเกลือ

– ใบ ใช้แก้อาการตกเลือดภายหลังการคลอดบุตรของสตรี
– เปลือกต้น ช่วยแก้พิษ
– เปลือกต้น ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร
– เปลือกต้น ช่วยขับเสมหะ
– เปลือกต้นกับราก ช่วยแก้พิษตานซาง
– ลำต้น ช่วยแก้ตานซางขโมย
– ราก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
– ราก ใช้แก้ลม แก้อาเจียน
– แก่น ช่วยแก้ฝีในท้อง
– ลำต้น เปลือกต้น และราก ช่วยแก้กระษัย
– ลำต้น แก่น เปลือกต้น ราก และเมล็ด ช่วยขับพยาธิ

ประโยชน์ของมะเกลือ

  • เปลือกต้น ใช้ทำเป็นยากันบูดได้
  • เปลือก สามารถนำไปปิ้งไฟให้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง นำมาผสมกับน้ำตาล แล้วนำไปหมักไว้ ก็จะได้แอลกอฮอล์ที่เรียกว่า น้ำเมา
  • ไม้ มีความละเอียดและแข็งแรงทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเครื่องเรือนได้ดี หรือจะใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี หรือเครื่องประดับมุก
  • ผลสุก สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าหรือย้อมแห สีที่ได้จะเป็นสีดำเข้มและติดทนนาน
  • ผล สามารถนำมาใช้ทาไม้ให้มีสีดำ ในการฝังมุกโต๊ะและเก้าอี้ ช่วยทำให้มีลวดลายสวยสดงดงามมากขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้มะเกลือขับพยาธิ

  • ผลมีสาร “ไดออสไพรรอล” (Diospyrol) เป็นสารจำพวก “แนฟทาลีน” (Naphthalene) ที่เป็นพิษต่อประสาทตา หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปจะทำให้สารดังกล่าวถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจนทำให้เกิดอาการอักเสบของเรตินาได้ โดยจะเกิดภายหลังจากการได้รับสารชนิดนี้เข้าไป 1-2 วัน จะทำให้การมองเห็นแย่ลง แม้จะใส่แว่นตาก็ไม่ดีขึ้น จนกระทั่งมองไม่เห็นเลย
  • ควรบดยาด้วยการใช้ครกหินจะดีที่สุด
  • ห้ามใช้น้ำปูนใสในการผสมยา
  • สำหรับบางคนนั้นอาจจะเกิดอาการแพ้ ทำให้เกิดอาการท้องเดินบ่อย ๆ มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก มีอาการวิงเวียนศีรษะและอาเจียน มีอาการตามัว หากรุนแรงมากอาจถึงขั้นทำให้ตาบอดได้
  • ผู้ที่รับประทานบางคนนั้นอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและท้องเสียได้ เพราะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
  • การใช้ผิดวิธีหรือแม้แต่ใช้อย่างถูกต้องก็อาจจะเกิดอันตรายได้ เนื่องจากบางคนมีความไวและการตอบสนองต่อฤทธิ์ยา
  • ห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์หรือสตรีหลังคลอดใหม่ ๆ หรือในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ รวมไปถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น ๆ
  • ไม่ควรรับประทานผลสุกสีดำในการถ่ายพยาธิโดยเด็ดขาด เพราะมีพิษอันตรายมาก อาจทำให้ตาบอดได้
  • การเตรียมยาแต่ละครั้งไม่ควรเตรียมไว้ในปริมาณมากเกินกว่าที่จะรับประทาน ควรเตรียมแบบสดใหม่และใช้กินทันทีเท่านั้น
  • ในปัจจุบันไม่มีการแนะนำให้ใช้ผลในการถ่ายพยาธิแล้ว เนื่องจากมีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีการศึกษาวิจัยอย่างแน่นอนว่ามันจะแปรสภาพไปเป็นสารที่ทำให้ตาบอดได้มากน้อยเพียงใด และที่สำคัญโรคพยาธิต่าง ๆ ในปัจจุบันก็ลดน้อยลงอย่างมากหากเปรียบเทียบกับสมัยก่อน แถมกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่แนะนำให้นำมาใช้เป็นยาถ่ายอีกด้วย

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, นิตยสารหมอชาวบ้าน (นพ.ประเสริฐศักดิ์ ตู้จินดา), เว็บไซต์โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.disthai.com/

ลักษณะและสรรพคุณของเฟิร์นใบเงิน

0
เฟิร์นใบเงิน
ลักษณะและสรรพคุณของเฟิร์นใบเงิน เลี้ยงง่าย ชอบที่ร่มแสงรำไร พบตามพื้นที่ ๆ มีความชื้นสูง เช่นตามลำห้วย หน้าผาน้ำตกในป่าดิบชื้น ใบมีสปอร์เป็นตุ่มติดที่ขอบใบ
เฟิร์นใบเงิน
ใบประกอบแบบขนนกซ้อนกัน มีสปอร์เป็นตุ่มติดที่ขอบใบ ใบตรงกลางมีสีขาวอมเหลืองส่วนขอบใบมีสีเขียว ขอบหยักฟันเลื่อย

เฟิร์นใบเงิน

เฟิร์นใบเงิน เป็นพรรณไม้ท้องถิ่นของนิวซีแลนด์ไม้มลคลชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มไม้ประดับ เฟิร์นชนิดนี้มีใบที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะสังเกตุได้ง่ายใบตรงกลางมีสีขาวอมเหลืองส่วนขอบใบมีสีเขียวพบได้ในป่าร้อนชื้นใกล้แหล่งน้ำ ไม่ชอบแดดจัด ชื่อสามัญ Slender brake fern, Silver lace fern, Sword brake fern[3]
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pteris ensiformis Burm. f. อยู่วงศ์ PTERIDACEAE และอยู่วงศ์ย่อย PTERIDOIDEAE[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เฟิ่งกวนเฉ่า (จีนกลาง), เฟินแซ่เงิน (ไทย), เฟิงเหว่ยเฉ่า (จีนกลาง), เฟิร์นเงินใบเขียว (ไทย), เฟินเงิน (ไทย)[1],[2]

ลักษณะเฟิร์นใบเงิน

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี สูงประมาณ 15-60 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีความยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร แทงขึ้นจากรากใต้ดิน มีรากที่กลมสั้น จะมีเกล็ด[1] โตได้ดีในที่ที่มีความชื้นสูง มีแสงแดดพอประมาณ และที่สภาพดินโปร่ง[2]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกซ้อนกัน จะมีประมาณ 3-5 คู่ จะแตกแฉกออกอีกประมาณ 1-3 คู่ ใบย่อยรียาว เรียวแคบ ใบกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ที่ขอบใบจะแบนเรียบแต่ใบที่เติบโตไม่สมบูรณ์ขอบจะหยักฟันเลื่อย ใบมีสปอร์เป็นตุ่มติดที่ขอบใบ แต่ใบเล็กไม่มีรังไข่ของสปอร์[1]

สรรพคุณเฟิร์นใบเงิน

1. ทั้งต้นสามารถช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรีได้ (ทั้งต้น)[1]
2. สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังผดผื่นคันได้ (ทั้งต้น)[1]
3. สามารถช่วยแก้บิดมูกเลือดได้ (ทั้งต้น)[1]
4. ในตำรับยาแก้บิด ใช้เฟิร์นเงิน 20 กรัม เอี่ยบ๊วย 20 กรัม อึ่งแปะ 20 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ทั้งต้น)[1]
5. ทั้งต้นสามารถช่วยขับน้ำชื้นในร่างกายได้ (ทั้งต้น)[1]
6. ต้นเฟิร์นเงินจะมีรสชาติขมเล็กน้อย เป็นยาเย็น จะมีพิษนิดหน่อย ออกฤทธิ์กับลำไส้ ตับ กระเพาะ สามารถใช้เป็นยาแก้พิษ ทำให้เลือดเย็น แก้อาการร้อนในได้ (ทั้งต้น)[1]
7. ต้นเฟิร์นเงินสามารถใช้รักษาตับอักเสบแบบดีซ่านได้ (ทั้งต้น)[1]
8. ทั้งต้นสามารถใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ขับปัสสาวะได้ (ทั้งต้น)[1]
9. ทั้งต้นสามารถช่วยรักษาเต้านมอักเสบได้ (ทั้งต้น)[1]
10. ทั้งต้นสามารถช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบได้ (ทั้งต้น)

วิธีใช้ : ต้นแห้งให้ใช้ครั้งละประมาณ 20-35 กรัม มาต้มกับน้ำทาน หรือใช้กับยาตัวอื่นในตำรับยา

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • ทางคลินิกรายงานว่า การแก้บิดติดเชื้อให้ใช้ยาแห้ง 500 กรัมมาต้มกับน้ำ 5,000 ซีซีเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วก็ให้นำกากออก นำน้ำที่ต้มมาสกัดให้เข้มข้นประมาณ 60 ซีซีต่อยาแห้ง 35 กรัม ให้คนไข้ทานครั้งละ 60 ซีซี วันละ 2 ครั้ง ให้ทานติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 3-4 วัน จากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 85 ราย ปรากฏว่า มีผู้ป่วยหายเป็นปกติ คิดเป็น 57% ถ้าหากทานติดต่อกันเป็นเวลา 6 วันขึ้นไปจะสามารถช่วยให้ถ่ายได้เป็นปกติ พบว่าขณะทำการรักษาไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยา หรืออาการเป็นพิษ[1]
  • สารที่ได้จากต้นเฟิร์นเงินนั่นก็คือสารจำพวก Phenols, Flavonoid glycoside, Amino acid [1]
  • จากการทดลองนำน้ำที่ต้มได้มาทดลองกับเชื้อบิดอะมีบา ปรากฏว่ามีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งเชื้อบิดอะมีบาได้[1]

ประโยชน์เฟิร์นใบเงิน

  • สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป จัดสวน ประดับอาคาร[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Pteris ensiformis”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org/wiki/Pteris_ensiformis. [10 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เฟิร์นเงิน”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 410.
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “เฟิร์นเงินใบเขียว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [10 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.gardensonline.com.au/
2.https://www.bomagardencentre.co.uk/

เพชรสังฆาต กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน เป็นไม้เถาสี่เหลี่ยมมีข้อต่อกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อนเป็นช่อ ผลกลมเรียบเป็นมัน ผลสุกสีแดงออกดำ
เพชรสังฆาต
เป็นไม้เถาสี่เหลี่ยมมีข้อต่อกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อนเป็นช่อ ผลกลมเรียบเป็นมัน ผลสุกสีแดงออกดำ

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นพืชเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และแอฟริกาและมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปตามประเทศเขตร้อนของทวีป มักพบตามบริเวณป่าหรือที่ชื้น ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cissus quadrangularis L. จัดอยู่ในวงศ์องุ่น (VITACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ สันชะควด (กรุงเทพ), ขั่นข้อ (ราชบุรี), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)

ลักษณะของต้นเพชรสังฆาต

  • ลักษณะของต้น
    – เป็นไม้เถา
    – เถาอ่อนเป็นสีเขียว
    – เป็นสี่เหลี่ยม
    – เป็นข้อต่อกัน
  • ลักษณะของใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยว รูปสามเหลี่ยม
    – แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน
    – ออกเรียงสลับกันตามข้อต้น
    – ปลายใบมน
    – โคนใบเว้า
    – ขอบใบหยักมนห่าง ๆ
    – ก้านยาว 2-3 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก
    – ดอกเป็นสีเขียวอ่อน
    – ออกเป็นช่อ
    – ออกตามข้อตรงข้ามกับใบ
    – กลีบดอกมี 4 กลีบ
    – โคนด้านนอกสีแดง
    – โคนด้านในเขียวอ่อน
    – เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน
  • ลักษณะของผล
    – ผลเป็นรูปทรงกลม
    – ผิวเรียบเป็นมัน
    – ผลอ่อนสีเขียว
    – ผลสุกสีแดงออกดำ
    – มีเมล็ดกลมสีน้ำตาล 1 เมล็ด
    – ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร คือ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

สรรพคุณของเพชรสังฆาต

  • ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงได้
  • ต้น สามารถช่วยขับน้ำเหลืองเสียได้
  • เถา สามารถใช้แก้กระดูกแตก หัก ซ้นได้
  • เถา สามารถช่วยขับลมในลำไส้ได้
  • ใบยอดอ่อน สามารถช่วยรักษาโรคลำไส้ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อยได้
  • น้ำจากต้น สามารถใช้ปรุงเป็นยาธาตุ ช่วยให้เจริญอาหารได้
  • น้ำจากต้น สามารถนำมาใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหลได้
  • น้ำจากต้น สามารถนำมาใช้หยอดจมูก แก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติได้
  • ใบกับราก สามารถใช้เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหักได้
  • เถากับน้ำจากต้น สามารถใช้แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้
  • เถากับน้ำจากต้น สามารถนำมาใช้แก้โรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้

ประโยชน์ของเพชรสังฆาต ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ

  • การใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยมีงานวิจัยของ พญ. ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะ ได้ประเมินประสิทธิภาพของสมุนไพรกับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำนวน 121 คน เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันอย่างดาฟลอน (Daflon)
  • ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับยาดาฟลอนไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  • ที่สำคัญยังพบว่าค่าใช้จ่ายของยาแคปซูลเพชรสังฆาตถูกกว่ายาดาฟลอนถึง 20 เท่าอีกด้วย
  • ผลการวิจัยนี้จึงมีการสรุปว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทนยาดาฟลอนในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้อย่างดี

วิธีการทำยารักษาริดสีดวง

วิธีที่ 1

  • ใช้เถาสด ๆ ประมาณ 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้ออาหาร
  • นำมารับประทานด้วยการสอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขามเปียก หรือใบผักกาดดองแล้วกลืนลงไป ห้ามเคี้ยว
  • เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีผลึก Calcium Oxalate รูปเข็มเป็นจำนวนมาก การรับประทานสด ๆ อาจทำให้ระคายต่อเยื่อบุในปากและในลำคอได้
  • การรับประทานจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน อาการของโรคริดสีดวงก็จะดีขึ้น

วิธีที่ 2

  • นำเถาแห้งนำมาบดเป็นผง ใส่แคปซูลเบอร์ 2 ขนาด 250 มิลลิกรัม
  • รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและช่วงก่อนนอน
  • รับประทานไปสัก 1 อาทิตย์ก็จะเห็นผล

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.malawiflora.com/
2.https://www.indiamart.com/

ลักษณะและสรรพคุณของพญาไร้ใบ

0
พญาไร้ใบ
ลักษณะและสรรพคุณของพญาไร้ใบ กิ่งอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล กิ่งกลม อวบน้ำ มียางขาว ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอดสีขาวอมเหลือง มีขน
พญาไร้ใบ
กิ่งอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล กิ่งกลม อวบน้ำ มียางขาว ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอดสีขาวอมเหลือง มีขน

พญาไร้ใบ

ชื่อสามัญ Moon creeper, Moon plant [2]ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sarcostemma acidum (Roxb.) Voigt อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เถาวัลย์ยอดด้วน (ราชบุรี), เถาหูด้วน (สุพรรณบุรี), เถาวัลย์ด้วน (ภาคกลาง), เถาติดต่อ (นครราชสีมา), เอื้องเถา (กาญจนบุรี)[1]

หมายเหตุ : พืชวงศ์เดียวกันยังมีพืชอีกชนิดก็คือ เถาวัลย์ด้วน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarcostemma viminale subsp. brunonianum (Wight & Arn.) P.I. Forst. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Sarcostemma brunonianum Wight & Arn. มีชื่อท้องถิ่นเหมือนกัน ลักษณะต้นคล้ายกัน แต่ชนิดนี้มีสรรพคุณที่เป็นยาดับพิษไข้ร้อน ขับน้ำเหลืองเสีย ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เถา) อีกข้อมูลระบุไว้ว่าใช้หัวใต้ดินเป็นยาบำรุงปอด บำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงหัวใจ[4] (ไม่มั่นใจว่าน้ำยางมีพิษเหมือน ชนิด Euphorbia tirucalli L. หรือไม่ใช่)

ลักษณะพญาไร้ใบ

  • ต้นเป็นพรรณไม้เถาไม่มีใบ มีกิ่งก้านเป็นข้อ ๆ ข้อต้นมีลักษณะเป็นสีเขียว ข้อแต่ละข้อยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ทั้งลำต้นจะมีน้ำยางสีขาวอยู่ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มักพบขึ้นที่ตามขึ้นตามหินปูน ป่าราบทั่วไป[1]
  • ดอก ออกเป็นกระจุก ดอกมีลักษณะเป็นสีขาวอมสีเขียว ออกดอกที่ข้อกับปลายกิ่ง มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ติดอยู่บริเวณโคนกลีบ กลีบดอกจะเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนาน ที่ปลายกลีบจะมน เวลาดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบรองดอกมีขนาดที่เล็ก เกสร Corona ติดกับเกสรเพศผู้ ที่เชื่อมติดกันอยู่ ปลายอับเรณูจะงอเข้าหากัน[1]
  • ผล จะออกผลเป็นฝัก ฝักยาวประมาณ 10-12.5 เซนติเมตร มีปลายฝักจะเรียวแหลมและตรง มีเมล็ดอยู่ในฝัก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่แบน ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร[1]

สรรพคุณพญาไร้ใบ

1. สามารถใช้รากทานเป็นยาบำรุงตับได้ (ราก)[1]
2. สามารถใช้ลำต้นแห้งมาทำเป็นยาทำให้อาเจียนได้ (ลำต้นแห้ง)[1]
3. รากจะมีรสชาติหวานมันนิดหน่อย สามารถทานเป็นยาบำรุงกำลังได้ (ราก)[1]
4. ทั้งต้นสามารถใช้เป็นยาเย็น ยาขับน้ำเหลืองเสีย ยาขมได้(ทั้งต้น)[1]
5. สามารถช่วยบำรุงปอดได้ (ราก)[1]
6. สามารถทานเป็นยาบำรุงหัวใจได้ (ราก)[1]
7. ต้น เป็นพิษใช้เบื่อปลา กัดหูด
8. ยาง ใช้กัดหูต แก้ปวดข้อ หากเข้าตาจะตาบอดได้
9. ใบและราก แก้ริดสีตวงทวาร ยาระบายอ่อนๆ

ประโยชน์พญาไร้ใบ

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “เถาวัลย์ด้วน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com. [30 เม.ย. 2014].
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “พญา ไร้ ใบ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 527-528.
3. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “เถาวัลย์ด้วน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [30 เม.ย. 2014].
4. Digital Flora Karnataka. “Sarcostemma acidum (Roxb.) Voigt”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: florakarnataka.ces.iisc.ernet.in/hjcb2/. [30 เม.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/