ประทัดใหญ่ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
ประทัดใหญ่
ประทัดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดจาก อเมริกาเขตร้อน และ ประเทศซูรินัม ดอกดกสีสันสวยงาม เป็นไม้ที่ชอบดินร่วนมีความสมบูรณ์สูง ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและที่รำไร ผลกลมเมื่อแก่เป็นสีแดงคล้ำ
ประทัดใหญ่
ดอกดกสีสันสวยงาม เป็นไม้ที่ชอบดินร่วนมีความสมบูรณ์สูง ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและที่รำไร ผลกลมเมื่อแก่เป็นสีแดงคล้ำ

ประทัดใหญ่

ประทัดใหญ่ Quassia เป็นไม้พุ่มมีลำต้นสั้นดอกทรงยาวแดงสีสด มีถิ่นกำเนิดจาก อเมริกาเขตร้อน และ ประเทศซูรินัม ดอกดกสีสันสวยงาม เป็นไม้ที่ชอบดินร่วนมีความสมบูรณ์สูง ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและที่รำไร ผลกลมเมื่อแก่เป็นสีแดงคล้ำ ชื่อสามัญ Stave-wood, Sironum wood[2], Surinam quassia, Bitter wood[4], Bitter-ash, Amargo ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Quassia amara L. จัดอยู่ในวงศ์ปลาไหลเผือก (SIMAROUBACEAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า ปิง ประทัด (ภาคกลาง), ประทัดจีน เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะประทัดใหญ่

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[4]
    – ต้นเป็นไม้พุ่มเตี้ย ๆ
    – มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร
    – แตกกิ่งก้านมาก
    – เปลือกลำต้นเรียบและเป็นสีน้ำตาล
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง
    – มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนและประเทศซูรินัม
    – นิยมนำมาปลูกตามสวนสมุนไพรหรือสวนพฤกษชาติ[4]
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[4]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน
    – มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ
    – ใบเป็นรูปไข่กลับ รูปวงรี หรือรูปใบหอก
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบเป็นรูปสอบหรือเกือบมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีขนาดกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 3-5 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียวสด
    – เส้นใบเป็นสีแดง
    – ก้านใบและแกนใบเป็นสีแดง แผ่ออกเป็นครีบทั้งสองด้าน
    – ใบอ่อนมีสีแดง[1],[2],[4]
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[4]
    – ดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
    – ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกเป็นสีแดง
    – กลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็ก มี 5 แฉก และเป็นสีแดง
    – กลีบดอกเป็นสีแดงสด มี 5 กลีบ ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
    – โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด
    – กลีบดอกจะไม่บานและจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวย โดยเกสรเพศผู้มี 10 อัน
    – ดอกออกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ลักษณะของผลประทัดใหญ่[1],[2]

  • ออกผลเป็นกลุ่ม
  • ผลย่อยเป็นรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ

สรรพคุณของประทัดใหญ่

  • ใบ ใช้เป็นยาทาผิวหนังแก้อาการคัน[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็กได้ โดยการใช้เนื้อไม้ประมาณ 0.5 กรัม ประมาณ 4-5 ชิ้น และนำมาชงกับน้ำเดือดครึ่งถ้วยแก้ว[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้เนื้อไม้ 4 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็นครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง[2]
  • ราก มีสรรพคุณในการช่วยย่อย[1]
  • ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ดี[1],[2]
  • รากและเนื้อไม้ เป็นยาขมช่วยเจริญอาหารเช่นกัน[1],[2]
  • เปลือกต้นและเนื้อไม้ เป็นยาบำรุงน้ำย่อย ทำให้เกิดอยากรับประทานอาหาร[2]

ประโยชน์ของประทัดใหญ่

  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป[4]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาสกัดให้เป็นน้ำ และสามารถนำมาใช้เป็นสารฆ่าแมลงได้ ซึ่งสารสำคัญที่พบได้แก่สารที่มีรสขมจัด ชื่อว่า Amaroid และ Quassia[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา จากการศึกษาฤทธิ์การต้านเบาหวานของต้นในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงด้วย nicotinamide-streptozotocin ด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลจากประทัดใหญ่ในขนาดวันละ 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยทำการเปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทั้งสองกลุ่มเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาล, ไขมันเลว (LDL-C), ไขมันดี (HDL-C) และไตรกลีเซอไรด์ ผลการทดลองพบว่าหนูทั้งสองกลุ่มมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันเลวลดลง อย่างไรก็ตามการป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่จะไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ยา glibenclamide มีผลเพิ่มปริมาณของ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากต้นมีฤทธิ์ต้านเบาหวานและช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ประทัดใหญ่ Quassia”. หน้า 174.
2. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ประทัดใหญ่ ประทัดจีน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [01 ก.ย. 2014].
3. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (Quassia amara)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [01 ก.ย. 2014].
4. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ประทัดใหญ่ สวยมีสรรพคุณ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [01 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/

ประทัดจีน กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
ประทัดจีน
ประทัดจีน กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ ประทัดจีน เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวหรือเหง้า ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อกระจุก มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา ผลเป็นแบบแคปซูล ลักษณะกลม
ประทัดจีน
ไม้ล้มลุกที่มีหัวหรือเหง้า ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อกระจุก มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา ผลเป็นแบบแคปซูล ลักษณะกลม

ประทัดจีน

ชื่อสามัญ คือ Fountain Plant, Coral fountain, Coral plant, Coralblow, Firecracker plant[1],[2],[3]ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Russelia equisetiformis Schltdl. & Cham. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Russelia juncea Zucc.)[2] จัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ประทัดเล็ก, ประทัดฝรั่ง[3],[4], ประทัดทอง, ประทัดใหญ่ (กรุงเทพฯ) เป็นต้น[1]

ลักษณะต้นประทัดจีน

  • ลักษณะต้น[1],[2],[3]
    – มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีหัวหรือเหง้า
    – แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นกอพุ่มแน่น
    – มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร
    – ตามลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทั่วไป
    – เติบโตเร็ว
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
    – ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน
  • ลักษณะใบ[1],[2],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงเป็นวง
    – ใบเป็นรูปเรียวยาวหรือเป็นรูปเข็มเส้นเล็ก ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร
    – ปลายใบแหลมเป็นติ่ง
    – โคนใบแหลม
    – แผ่นใบเป็นสีเขียวสดมีขนาดเล็ก ออกเรียงต่อกันตามข้อ โดยจะออกรอบ ๆ ลำต้น
    – ก้านใบสั้น ร่วงได้ง่าย
  • ลักษณะดอก[1],[3],[4]
    – ดอกจะเป็นหลอดสีแดงเข้มหรือสีส้มเป็นมัน ขนาดเล็ก
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกยาว 3 เซนติเมตร
    – หนึ่งช่อจะมีดอกย่อย 2-4 ดอก
    – กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยสั้น ๆ
    – ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉกตื้น ๆ ติดทน
    – ดอกติดกันเป็นหลอด ยาวได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร
    – โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ
    – ปลายกลีบดอกแยกออกเป็น 5 แฉกเล็ก ๆ
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 4 อัน มีความยาวไม่เท่ากัน
    – ยื่นพ้นออกมาจากปากหลอดกลีบเล็กน้อย
    – เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 1 อัน รังไข่มี 2 ช่อง
    – ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน ติดทน
    – ยังมีอีกชนิดหนึ่งที่ดอกเป็นสีชมพูอมส้ม
  • ลักษณะผล[4]
    – ผลเป็นแบบแคปซูล
    – มีลักษณะกลม
    – ผิวด้านในมีขน
    – เมล็ดมีจำนวนมากและมีขนาดเล็ก
    – ผิวมีขนและเป็นเส้นคล้ายกับรังนก

สรรพคุณของประทัดจีน

  • ราก ช่วยในการย่อยอาหาร[1]
  • ราก มีสรรพคุณช่วยขับน้ำลาย[1]
  • ราก มีรสขม ใช้เป็นยาแก้ไข้ ไข้จับสั่น[1]
  • เนื้อไม้ นำมาดองกับเหล้า ใช้กินเป็นยาเพื่อช่วยทำให้เจริญอาหาร[1]

ประโยชน์ของประทัดจีน

  • ราก ช่วยทำให้อาหารมีรสชาติดี[1]
  • ปลูกเป็นไม้ประดับในเขตร้อน ให้ความรู้สึกไหวพลิ้วเบาสบาย[3],[4] ดอกขาว จะให้รู้สึกนุ่มนวลทางสายตา[3],[4] ส่วนดอกแดง จะให้ความรู้สึกรื่นเริง[3],[4]
  • นิยมนำมาปลูกประดับตามมุมอาคารหรือขอบแนวอาคาร หรือปลูกตามสวนหิน ริมน้ำตก ริมทะเล หรือจะนำมาปลูกประดับสนามที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวันก็ได้ แต่ควรตัดแต่งกิ่งหลังจากการออกดอกพร้อมกันจำนวนมากทุกครั้ง [3],[4]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ประ ทัด จีน”. หน้า 448.
2. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Russelia equisetiformis”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : en.wikipedia.org/wiki/Russelia_equisetiformis. [01 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ประ ทัด จีน” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [01 ก.ย. 2014].
4. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ประทัดฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [01 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.baanlaesuan.com/

ลักษณะและสรรพคุณของน้ำเต้าน้อย

0
น้ำเต้าน้อย
ลักษณะและสรรพคุณของน้ำเต้าน้อย ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว สีน้ำตาลแกมสีเหลือง สีเหลืองอ่อน ผิวผลมีขนปกคลุมเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดอยู่ในผล
น้ำเต้าน้อย
ดอกสีเหลืองแกมสีเขียว สีน้ำตาลแกมสีเหลือง สีเหลืองอ่อน ผิวผลมีขนปกคลุมเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดอยู่ในผล

น้ำเต้าน้อย

น้ำเต้าน้อย เป็นไม้พุ่มแกมไม้เถาเนื้อแข็งจะเลื้อยพาดอาศัยต้นไม้อื่นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cyathostemma micranthum (A.DC.) J.Sinclair อยู่วงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) สามารถพยุงตัวเองขึ้นไปได้ถึงประมาณ 10-15 เมตร มีเปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ที่ตามกิ่งอ่อนและตามยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลขึ้น มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า หมู่เกาะอันดามันถึงประเทศฟิลิปปินส์ นิวกินี มาเลเซีย และที่ทางเหนือของออสเตรเลีย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด พบขึ้นได้ในป่าดิบแล้ง ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นทั่วไป ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น พญามีฤทธิ์, ผสมแก้ว (สุราษฎร์ธานี), นมแมว (ประจวบคีรีขันธ์), น้ำเต้าน้อย (ปราจีนบุรี), นมแมวน้อย, ฤๅษี(สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะน้ำเต้าน้อย

  • ต้น อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะมน ใบกว้างประมาณ 2.3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-14 เซนติเมตร ที่หลังใบเรียบและเป็นมัน ท้องใบเรียบ ใบมีลักษณะค่อนข้างที่จะหนาและเหนียว ก้านใบมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร[1],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามกิ่ง ในช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-5 ดอก มีดอกเป็นสีเหลืองแกมสีเขียว สีน้ำตาลแกมสีเหลือง สีเหลืองอ่อน ก้านดอกมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียวอยู่ 3 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมมีขน ดอกบานออกกลีบกางออก ที่ปลายจะโค้งเข้าหากัน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม[1],[2],[3]
  • ผล ออกเป็นกลุ่ม ก้านช่อผลมีความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีผลย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ผล ก้านผลยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ผลย่อยเป็นรูปทรงกลมเรียว มีความยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร ผิวผลจะมีขนปกคลุม มีผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดอยู่ในผล 1 เมล็ด เมล็ดกลม ติดผลช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม[1],[3]

สรรพคุณของราก

1. รากของจะมีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณที่เป็นยาแก้กาฬผอมแห้งของสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้ [1]
2. สามารถนำรากมาฝนกับน้ำ ใช้ทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (ราก)[1],[2]

สรรพคุณของเนื้อไม้

  • เนื้อไม้มีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณที่เป็นยา แก้ไข้ทับระดู แก้ไข้หวัด แก้ไข้กลับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ (เนื้อไม้)[1]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพรรณไม้และพันธุ์สัตว์ในหุบเขาลำพญา ฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา). “น้ำ เต้า น้อย”. หน้า 80.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “นมแมว (Nom Maeo)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 150.
3. พืชอาหารของหนอนผีเสื้อกลางวัน, ส่วนประสานงานโครงการพระราชดำริ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา). “นมแมวน้อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th. [26 มี.ค. 2014].
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “นมแมว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [26 มี.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://apps.lucidcentral.org/

เต่าเกียด ไม้มงคลในด้านการค้าและเมตตามหาเสน่ห์

0
เต่าเกียด
เต่าเกียด ไม้มงคลในด้านการค้าและเมตตามหาเสน่ห์ เป็นยาสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกความคล้ายกับดอกบอน สีเขียวอมเหลือง
เต่าเกียด
ไม้มงคลในด้านการค้าและเมตตามหาเสน่ห์ เป็นยาสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกความคล้ายกับดอกบอน สีเขียวอมเหลือง

เต่าเกียด

เต่าเกียด เป็นยาสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมใช้กระตุ้นและมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น บำรุงตับ ขับเสมหะ ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง รวมถึงลำต้นยังนำมาสกัดเป็นน้ำหอมได้อีกด้วย ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena aromatica (Spreng.) Schott (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calla aromatica (Spreng.) Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)[1]
ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ โหรา (ชุมพร), เต่าเขียด ว่านเต่าเขียด (ภาคกลาง)[1],[2]

ลักษณะของต้นเต่าเกียด

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – ลำต้นเป็นเหง้าหรือหัวที่อยู่ใต้ดิน
    – ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินจะมีแค่ก้านใบและใบเท่านั้น
    – จะมีความสูงได้ 16-36 นิ้ว
    – ก้านใบมีความกลมเรียว และมีสีเขียวอมแดง
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
    – ชอบอยู่ในที่ชื้น เป็นพืชเมืองร้อน
    – ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าชื้นทั่ว ๆ ไป
  • ลักษณะของใบ[1]
    – ใบเป็นรูปสามเหลี่ยม
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 5-6 นิ้ว และยาว 4-8 นิ้ว
    – แผ่นใบเป็นสีเขียว
    – ก้านใบยาว
    – จะชูใบแตกขึ้นมาบนผิวดิน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ไม่มีก้านช่อดอก
    – ดอกเป็นสีเขียวอมเหลือง
    – ดอกจะมีความคล้ายกับดอกบอน แต่จะมีความเล็กกว่า

สรรพคุณของเต่าเกียด

  • ทั้งต้น สามารถนำมาตำแล้วใช้เป็นยาทาแก้โรคผิวหนังได้[1],[2]

ประโยชน์ของเต่าเกียด

  • เหง้า สามารถนำมาใช้ผสมกับเครื่องเทศใส่แกงทำให้มีรสหอมได้[1],[2]
  • เหง้า สามารถนำมาบดให้เป็นผง และใช้ผสมกับใบยาสูบและยานัตถุ์ได้ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำแล้วจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้น (Stimulant)[1],[2]
  • ถูกจัดเป็นไม้มงคลในด้านการค้าและเมตตามหาเสน่ห์ ที่จะช่วยพัดโบกเงินทองและสิ่งอันเป็นมงคลให้เข้ามาอยู่ภายในบ้าน สิ่งที่ไม่ดีไปจนถึงโรคภัยไข้เจ็บก็ให้ห่างไกลออกไป โดยวิธีการปลูกก็คือ ใช้ส่วนผสมของดินร่วน 5 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน เปลือกถั่ว 1 ส่วน และอิฐก้อนเล็ก ๆ อีก 1 ส่วน[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เต่าเกียด”. หน้า 319.
2. ๑๐๘ พรรณไม้ไทย. “ว่านเต่าเกียด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.panmai.com. [15 ก.ค. 2015].

ลักษณะและสรรพคุณของว่านตาลเดี่ยว

0
ว่านตาลเดี่ยว
ลักษณะและสรรพคุณของว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชอายุสั้น ตระกูลกล้วยไม้ ใบรูปหอกแคบ ดอกสีเหลือง ผลแห้งเป็นรูปขอบขนาน สามารถแตกตามยาว
ว่านตาลเดี่ยว
กล้วยไม้ดดิน ดอกสีเหลือง ใบรูปหอกแคบ ผลแห้งเป็นรูปขอบขนาน สามารถแตกตามยาว

ว่านตาลเดี่ยว

ว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชอายุสั้นอยู่ในตระกูลกล้วยไม้พบได้ในป่ากึ่งผลัดใบและป่าผลัดใบ ชอบแสงแดดส่องถึงและชอบความชื้นสูงเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ซึ่งหลายประเทศตั้งแต่อินโดจีน เวียดนาม ไทย ลาว และพม่า ว่านชนิดนี้มีดอกสีเหลืองสวยงามนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Spathoglottis affinis de Vriese ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ก็คือ Spathoglottis regneri Rchb.f., Spathoglottis lobbii Rchb.f. อยู่วงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)[1],[2],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หัวข้าวเหนียว เอื้องหัวข้าวเหนียว เหลืองพิศมร [2],[3]

ลักษณะว่านตาลเดี่ยว

  • ต้นว่าน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในหมู่เกาะแปซิฟิกบางเกาะ ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ และมีการแพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนเหนือของอินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะแปซิฟิก ไปถึงทางตอนใต้ของจีน สำหรับประเทศไทยสามารถพบขึ้นได้ที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ทางภาคตะวันตก ที่ตามชายป่าตามลานหินที่มีน้ำซับ ทุ่งโล่งที่ชื้นแฉะ ป่าโปร่ง ต้นตาลเดี่ยวเป็นกล้วยไม้ดิน สูงประมาณ 25-50 เซนติเมตร หัวจะมีขนาดเล็ก มีลักษณะค่อนข้างแบน เป็นรูปทรงแป้นหรือกลมรี จะมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ผิวของตาลเดี่ยวจะเรียบและมีเยื่อบางใสคลุมอยู่ ตาลเดี่ยวเป็นกล้วยไม้ชนิดที่จะทิ้งใบหมด ตอนฤดูแล้งจะเหลือแต่หัว ฤดูฝนจะสร้างใบกับดอก [1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับเวียนเป็นวงรัศมี แผ่นใบจะพับย่นคล้ายกับพัดจีนตามความยาวใบ ใบเป็นรูปใบหอกแคบ ที่ปลายใบจะเรียวแหลม สามารถกว้างได้ถึง 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร มีใบประมาณ 2-4 ใบต่อต้น[1],[2],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามซอกใบ ในหนึ่งช่อดอกมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ก้านช่อมีความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ก้านช่อมีลักษณะกลมผอมแต่มีความแข็งแรง จะมีใบประดับเล็กติดอยู่เป็นระยะ ๆ ดอกด้านในช่อโปร่งจะเกิดจากกลางช่อขึ้นไป ก้านดอกตาลเดี่ยวมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงกับกลีบดอกมีลักษณะเป็นสีเหลือง สีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงรอยขีดตามยาวเป็นสีน้ำตาล กลีบปากจะเป็นสีเหลืองเข้ม โคนกลีบจะมีประสีน้ำตาลหรือสีม่วง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม[1],[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง ผลเป็นรูปขอบขนาน สามารถแตกได้ตามยาว[1]

สรรพคุณว่านตาลเดี่ยว

  • ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำหัวมาตำผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาทาแก้ฝีได้ (หัว)[1]

ประโยชน์ว่านตาลเดี่ยว

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ตาลเดี่ยว”. หน้า 202.
3. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 6. “เอื้องหัวข้าวเหนียว”.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://toptropicals.com/

ต้นตะลุมพุก สมุนไพรพื้นบ้านใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

0
ต้นตะลุมพุก
ต้นตะลุมพุก สมุนไพรพื้นบ้านใช้เป็นยาบำรุงกำลัง รากและแก่นไม้ตามตำรายาไทยใช้รักษาอาการท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด ผลสีเขียวเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาดสุขุม
ต้นตะลุมพุก
สมุนไพรพื้นบ้าน ใช้รักษาอาการท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ผลสีเขียวเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาดสุขุม

ต้นตะลุมพุก

ต้นตะลุมพุก เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากหลายประเทศทั้งบังคลาเทศ เวียดนาม ศรีลังกา อินเดียรวมถึงในประเทศไทยเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านใช้ประโยชน์ได้ทั้งผล รากและแก่นไม้ตำรายาไทยใช้สมุนไพรชนิดนี้รักษาอาการท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเลือด เป็นต้นชื่อทางวิทยาศาสตร์ Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre[1] ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Solena uliginosa (Retz.) D.Dietr., Posoqueria uliginosa (Retz.) Roxb., Gardenia pomifera Wall., Xeromphis uliginosa (Retz.) Maheshw., Randia uliginosa (Retz.) Poir., Catunaregam uliginosa (Retz.) Sivar., Gardenia uliginosa Retz. อยู่วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1],[2],[4] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ลุมปุ๊ก[2] ลุบปุ๊ก[1] (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ลุมพุก ( จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดนครราชสีมา), หนามแท่ง (ตาก), มะข้าว (ภาคเหนือ), มะคัง (อุตรดิตถ์), มอกน้ำข้าว (ภาคเหนือ), โรคขาว, กระลำพุก (ภาคกลาง, ภาคตะวันตกเฉียงใต้, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดสุโขทัย), มุยขาว, มะคังขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันตกเฉียงใต้, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดสุโขทัย) [1],[2]

ลักษณะต้นตะลุมพุก

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร ที่ตามลำต้นและที่ตามปลายกิ่งก้านจะมีหนามแหลมยาว หนามจะพัฒนาเป็นกิ่งเล็ก จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ เป็นปมขรุขระ กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้เป็นสีขาวปนน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้จะมีความละเอียดและสม่ำเสมอมาก ๆ ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด มักจะพบเจอขึ้นที่ตามริมน้ำ ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ[1],[2],[5] ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร[4] ต้นมีความทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่มีโรคและแมลงมากวน ต้นมีรูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นไม่ตรง สามารถดัดตัดแต่งได้ไม่ยาก[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่กลับ ที่ปลายใบจะเรียบ ส่วนโคนใบจะสอบแหลม ที่ขอบใบเรียบ กว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน ผิวเรียบ หลังใบจะเรียบลื่นและเป็นมัน ท้องใบจะเรียบ เนื้อใบบาง ขาดง่าย ที่แผ่นใบจะมีขนประปรายคลุมอยู่ที่ด้านล่าง ก้านใบมีความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีหูใบขนาดเล็กอยู่ที่ระหว่างก้านใบ[2]
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว ดอกจะออกที่ตามซอกใบใกล้ปลายยอด เส้นผ่านศูนย์กลางดอกมีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีขาวมีกลิ่นหอม กลีบดอกกลมใหญ่มีอยู่ 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน ส่วนที่ปลายกลีบดอกจะมน กลีบดอกมีลักษณะค่อนข้างหนา หลอดกลีบจะมีความยาวกว่ากลีบดอก มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 ก้าน มีอับเรณูสีเหลือง มีเกสรเพศเมียอยู่ 1 ก้าน ก้านเกสรจะเป็นสีขาว ที่ยอดเกสรเพศเมียจะแยกเป็น 2 แฉก ที่ปลายของเกสรเพศเมียจะเป็นรูปถ้วย ยอดเกสรเพศเมียนั้นจะมีน้ำเมือกค่อนข้างเยอะ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีขาวมีอยู่ 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ที่ปลายแยกเป็น 5 แฉก[2]
  • ผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปไข่ กลมรี ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร เนื้อจะแน่น แข็ง ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลสดนั้นจะเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง ที่ปลายผลจะมีกลีบเลี้ยงอยู่ มีเมล็ดอยู่ในผลเป็นจำนวนมาก เมล็ดจะมักฝ่อ[2] ติดผลช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม[3]

สรรพคุณต้นตะลุมพุก

1. ผลสามารถช่วยแก้อติสารได้ (ผล[1], [2])
2. สามารถนำแก่นมาผสมแก่นตะลุมพุกแดง แล้วต้มดื่มเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (แก่น)[1],[2]
3. ใช้รากกับแก่นมาต้มดื่ม แก้ปวดเมื่อย (ราก, แก่น)[2]
4. ผลกับรากจะมีรสฝาดสุขุม สามารถช่วยแก้บิดมูกเลือด แก้ท้องเสีย (ผล, ราก)[1],[2],[4]
5. สามารถนำรากกับแก่นมาต้ม ใช้ดื่มช่วยบำรุงเลือดได้ (ราก, แก่น)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • พบสารเคมี คือ (-arabinopyranosyl (1-3))-( -D-galactopyranosyl(1-4))-(-D-glucuronopynosyl (1-3)) -3-(-hydroxy: ; olean-12-en-28-oic acid, olean-12-en-28-oic acid, 3-(-hydroxy; methylester)), (-L-arabinopyranosyl(1-3)-)-(-D-galactopyranosyl (1-6))-(-D-galactopyranosyl (1-3))-3-(-hydroxy : methyl ester; olean-12-en-28-oic acid [6]

ประโยชน์ตะลุมพุก

1. ปัจจุบันเห็นได้ว่ามีการปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นสามารถดัดตัดแต่งได้ไม่ยากนัก ขยายพันธุ์ง่าย ปลูกเลี้ยงดูแลง่าย ดอกสวยมีกลิ่นหอม ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ เมื่อเติบโตสามารถให้ร่มเงาได้ดีเพราะเป็นต้นไม้ที่มีใบเยอะ[5]
2. คนโบราณนำผลมาทุบให้แหลก เอาไว้ใช้เป็นส่วนผสมสีย้อมผ้าทำให้สีติดทน เช่น จีวรพระ[5]
3. เนื้อไม้เป็นสีขาวปนสีน้ำตาลอ่อน ละเอียดและสม่ำเสมอ นิยมใช้ในงานแกะสลักทั่วไป[1] หรือทำกระสวย ใช้ทำเครื่องใช้สอย ใช้สำหรับงานกลึง ใช้ทำด้ามเครื่องมือ [4],[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. แมกโนเลีย ไทยแลนด์. “ตะลุกพุก”. (ririka). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.magnoliathailand.com. [10 มี.ค. 2014].
2. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ตะ ลุม พุก”. (นพพล เกตุประสาท). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [10 มี.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ตะลุมพุก (Talum Phuk)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 127.
4. เว็บไซต์ท่องไทยแลนด์ดอทคอม. “ตะลุกพุก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thongthailand.com. [10 มี.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตะลุมพุก”. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [10 มี.ค. 2014].
6. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ตะลุกพุก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [10 มี.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/tgerus/26794075712
2.https://efloraofindia.com/2011/04/01/tamilnadia-uliginosa/

ตะขาบหิน ใช้ทาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย

0
ตะขาบหิน
ตะขาบหิน ใช้ทาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย ไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อกระจุกเล็กสีขาวอมสีเขียว ผลกลมฉ่ำน้ำ ผลสุกสีแดงมีรสหวาน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชอบความชื้น
ตะขาบหิน
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อกระจุกเล็กสีขาวอมสีเขียว ผลกลมฉ่ำน้ำ ผลสุกสีแดงมีรสหวาน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชอบความชื้น

ตะขาบหิน

ตะขาบหิน เป็นพืชพื้นเมืองพบในหมู่เกาะโซไลมอน และปาปัวนิวกินี นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ชอบความชื้น มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรสามารถใช้ได้ทั้งแบบสดหรือนำไปตากแดดให้แห้งใช้ทาแผลจากการหกล้ม หรือใช้ทาบริเวณมดแมลงสัตว์กัดต่อยเป็นต้น ซึ่งใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Homalocladium platycladum (F.Muell.) L.H.Bailey (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Muehlenbeckia platyclada (F.J. Müll.) Meisn.)[4] จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือว่านตะขาบ (เชียงใหม่), ตะขาบหิน (คนเมือง), เพว เฟอ (กรุงเทพฯ), ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ตะขาบปีนกล้วย (ภาคกลาง), ว่านจะเข็บ (ไทลื้อ), ตะขาบบิน ตะขาบทะยานฟ้า ผักเปลว (ไทย), แงกังเช่า (จีน)[2],[3],[6]

ลักษณะของตะขาบหิน

  • ต้น[1],[2],[3]
    – มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
    – เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก
    – แตกกิ่งก้านจำนวนมาก
    – มีความสูง 1-2 เมตร
    – เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล
    – ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว
    – เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ
    – พบขึ้นได้ตามพื้นที่ป่าทั่วไปของประเทศไทย
  • ใบ[1]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – หลุดร่วงได้ง่าย
    – ใบเป็นรูปรีหรือรูปใบหอก
    – มีขนาดเล็ก
    – ออกใบน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร และยาว 2-5 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม
    – เนื้อใบอ่อนนิ่ม
    – หลังใบและท้องใบเรียบ
    – ไม่มีก้านใบ
  • ดอก[1]
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น
    – ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ เป็นช่อกระจุกเล็ก
    – ออกตามข้อของลำต้น
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก มีสีเขียวอ่อน
    – กลีบดอกรวมเป็นสีขาวอมสีเขียว มี 5 กลีบ เป็นรูปไข่
    – ก้านดอกสั้น
    – โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
    – ก้านชูดอกสั้น
    – เกสรเพศผู้จะล้อมรอบเกสรเพศเมียอยู่จำนวน 7-8 อัน
  • ผล[1]
    – ผลมีเป็นรูปทรงกลม
    – ผิวเรียบ ฉ่ำน้ำ
    – เป็นพู 5 พู
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
    – มีรสหวาน
    – ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร
    – มีเมล็ดเดี่ยว มีสีเหลือง เป็นสัน 3 สัน

สรรพคุณของตะขาบหิน

สรรพคุณของใบ

  • ใบ สามารถนำมาทุบแล้วใช้ทาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้[2]
  • ใบ เมื่อนำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้าข้าวหอม แล้วคั้นเอาน้ำเพื่อใช้หยอดหู สามารถรักษาหูเป็นน้ำหนวกได้[4]

สรรพคุณของต้นและใบ

  • ต้นและใบ นำมาตำผสมกับเหล้า และนำมาพอกหรือคั้นเอาน้ำใช้เป็นยาทาถอนพิษตะขาบและแมงป่องได้[1]
  • ต้นและใบ นำมาตำผสมกับเหล้า และนำมาพอกหรือคั้นเอาน้ำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำหรือเคล็ดขัดยอกได้ดี[1]

สรรพคุณของทั้งต้น

  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาระงับอาการปวดได้[1]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้อาการเนื่องจากปอด แก้อาการเจ็บคอ และเจ็บอกได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้ร้อนใน หรือดับพิษต่าง ๆ พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี และพิษฝีในปอดได้[1]

ประโยชน์ของ

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากเลี้ยงได้ง่ายและเจริญเติบโตได้เร็ว[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ตะ ขาบ หิน (Ta Khap Hin)”. หน้า 120.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ตะ ขาบ หิน”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [20 ส.ค. 2014].
3. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. “ตะ ขาบ หิน”.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ตะ ขาบ หิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [20 ส.ค. 2014].
5. ไทยโพสต์. “ว่านตีนตะขาบ-ตะ ขาบ หิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net. [20 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://botany.cz/

ต้อยติ่ง ดอกทรงแตรสีม่วงสรรพคุณแก้ผดผื่นคัน

0
ต้อยติ่ง ดอกทรงแตรสีม่วงสรรพคุณแก้ผดผื่นคัน ดอกเป็นสีม่วงรูปกรวย ผลเป็นฝักยาว เมื่อรับความชื้นมากฝักจะแตกเป็น 2 ซีก
ต้อยติ่ง
ดอกทรงแตรสีม่วงสรรพคุณแก้ผดผื่นคัน ดอกเป็นสีม่วงรูปกรวย ผลเป็นฝักยาว เมื่อรับความชื้นมากฝักจะแตกเป็น 2 ซีก

ต้อยติ่ง

ชื่อสามัญ คือ Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Cracker plant, Trai-no, Toi ting จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Ruellia tuberosa L. ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ต้อยติ่งเทศ, ต้อยติ่งน้ำ, ต้นอังกาบ, อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ ชื่อวิทยาศาสตร์  Hygrophila erecta (Burm.f.) Hochr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila phlomoides var. roxburghii C.B. Clarke) ส่วนอีกข้อมูลระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hygrophila ringens var. ringens (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila quadrivalvis (Buch.-Ham.) Nees) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ต้อยติ่งนา (กรุงเทพ), น้ำดับไฟ (ประจวบคีรีขันธ์)

ชนิดของต้อยติ่ง

  • ต้อยติ่งไทย เป็นชนิดดั้งเดิมของบ้านเรา ซึ่งในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยลง
  • ต้อยติ่งฝรั่ง เป็นชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝน ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน

โดยทั้งสองชนิดนั้นจะมีลักษณะของดอกที่คล้ายกัน จะมีความต่างกันตรงส่วนของใบ โดยใบของต้นต้อยติ่งฝรั่งนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าใบของต้อยติ่งไทย และต้อยติ่งฝรั่งจะโตเร็วกว่าต้อยติ่งไทย

ลักษณะของต้อยติ่ง

ต้น

  • จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก
  • มีลำต้นสูง 20-30 เซนติเมตร
  • ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุม
  • สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
  • เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป
  • สามารถเพาะปลูกได้ง่าย

ใบ

  • ใบเป็นใบเดี่ยว
  • ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น
  • แผ่นใบมีสีเขียว
  • ใบเป็นรูปมนรี
  • ปลายใบมน
  • โคนใบแหลม
  • ขอบใบเรียบ ไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย
  • บมีความกว้าง 1-1.5 นิ้ว และความยาว 2.5-3 นิ้ว

ดอก

  • ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ
  • ออกตามง่ามใบบริเวณส่วนยอดของต้น
  • ดอกเป็นสีม่วง
  • ดอกเป็นรูปกรวย
  • ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ
  • กลางดอกมีเกสร 4 ก้าน แบ่งออกเป็นก้านสั้น 2 ก้านและก้านยาว 2 ก้าน

ผล

  • ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว
  • มีความยาวได้ประมาณ 1 นิ้วกว่า
  • ถ้าฝักได้รับความชื้นมากก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก
  • ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ 8 เมล็ด

ใบ

  • ใบ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ใบ ใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

เมล็ด

  • เมล็ด ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน
  • เมล็ด มีสรรพคุณช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
  • เมล็ด ใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ
  • เมล็ด ใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ

ราก

  • ราก ช่วยทำให้อาเจียน
  • ราก ใช้เป็นยาขับเลือด
  • ราก ช่วยดับพิษในร่างกาย
  • ราก ใช้เป็นยารักษาโรคไอกรน
  • ราก ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
  • ราก ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ
  • ราก สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไตได้
  • ราก ใช้ผสมเป็นยาแก้พิษ ดับพิษ และทำเป็นยาเบื่อ
  • ราก หากนำมาใช้ในปริมาณที่เจือจางสามารถช่วยกำจัดสารพิษในเลือดได้

ประโยชน์ของต้อยติ่ง

  • ฝักใช้เป็นของเล่นของเด็ก ๆ ได้โดยการสะสมฝักแก่จัด แล้วนำน้ำมาหยด สักพักหนึ่งฝักก็จะแตกตัวออกดังเปาะแปะ พร้อมกับดีดเมล็ดออกโดยรอบ ทำให้มีความเจ็บ ๆ คัน ๆ

ในตอนเด็ก ๆ เรามักจะใช้เมล็ดแก่ ๆ มาใส่น้ำแล้วจะมีเสียงดังเปาะแปะ แต่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร), หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2516, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

อ้างอิงรูปจาก
1.https://inaturalist.ala.org.au/
2.https://keyserver.lucidcentral.org/

ต้นกระวานป่า สรรพคุณเมล็ดใช้เป็นยาขับลม

0
ต้นกระวานป่า สรรพคุณเมล็ดใช้เป็นยาขับลม ไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะบริเวณโคนของลำต้นเหนือดิน ผลสุกเป็นสีแดง
ต้นกระวานป่า
ไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะบริเวณโคนของลำต้นเหนือดิน ผลสุกเป็นสีแดง

ต้นกระวานป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Amomum uliginosum J.Koenig ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Amomum ovoideum Pierre ex Gagnep., Amomum robustum K.Schum., Amomum uliginosum Koenig, Cardamomum uliginosum (J.Koenig) Kuntze, Wurfbainia uliginosa (J.Koenig) Giseke
จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า เร่ว (ภาคใต้ฝั่งตะวันออก) ส่วนที่จังหวัดปัตตานีจะเรียกชื่อว่า “กระวานป่า“[1]

ลักษณะของต้นกระวานป่า

  • ต้น[1]
    – จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
    – ลำต้นที่อยู่เหนือดินมีความสูงได้ 2.5-4 เมตร
  • ใบ[1]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ
    – เจริญจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน
    – มีใบประมาณ 16-24 ใบ
    – ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก
    – ปลายใบแหลมมีติ่งแหลม ห้อยย้อยลง
    – โคนใบเป็นรูปลิ่ม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีขนาดยาวกว้าง 7-10 เซนติเมตร และยาว 40-60 เซนติเมตร
    – ผิวใบด้านบนเกลี้ยง
    – ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาล
  • ดอก[1]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ
    – ดอกจะเกิดจากตาเหง้าบริเวณโคนของลำต้นเหนือดิน
    – มีดอกย่อย 15 ดอก
    – กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีขาวปนสีชมพูอ่อน
    – กลีบดอกเป็นสีขาว
    – มีเกสรเพศผู้สีขาว มีสีชมพูอ่อนที่โคน
    – เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน
    – เกสรเพศเมียมีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
  • ผล[1][2]
    – ผลเป็นแบบแคปซูล
    – เป็นผลแห้ง
    – ผลสุกเป็นสีแดง
    – ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล รวมกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม
    – มีกลิ่นคล้ายการบูร

สรรพคุณของกระวานป่า

ประโยชน์ของกระวานป่า

  • เมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศ[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระวานป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 ก.ย. 2015].
2. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กระวานป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [03 ก.ย. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.researchgate.net/figure/Young-plant-of-Zingiber-zerumbet_fig10_275637389

ข้าวสารหลวง ไม้ดอกขาวรับประทานแก้ปวดลดบวม

0
ข้าวสารหลวง ไม้ดอกขาวรับประทานแก้ปวดลดบวม เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แกมใบหอก ท้องใบจะมีต่อมยาวสีเข้ม
ข้าวสารหลวง
เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แกมใบหอก ท้องใบจะมีต่อมยาวสีเข้ม

ข้าวสารหลวง

ข้าวสารหลวง เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น พบเจอขึ้นได้ทั่วไปในป่าที่ชุ่มชื้น ป่าที่ไร่ร้าง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Maesa ramentacea (Roxb.) A. DC. อยู่วงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)  ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ลวย (จังหวัดตรัง), กะผ้าสะลาย (จังหวัดชุมพร), กระดูกไก่ (จังหวัดจันทบุรี), ไคร้ยอย (จังหวัดเชียงใหม่), ตุ๊ดเงย (ขมุ), ปัน (จังหวัดนครศรีธรรมราช), เสียดนก (จังหวัดชุมพร), เม้าหมด (จังหวัดจันทบุรี), ขี้หนอน (จังหวัดตราด), หลอดเขา (จังหวัดเชียงใหม่) [1],[4]

ลักษณะข้าวสารหลวง

  • ต้นมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีรูปทรงโปร่ง สามารถสูงได้ถึงประมาณ 5-10 เมตร จะแตกกิ่งแขนงแผ่เป็นพุ่ม กิ่งก้านมีลักษณะโปร่งและจะห้อยลง ที่เปลือกต้นด้านนอกนั้นจะมีรูอากาศหนาแน่น ที่เปลือกด้านในเป็นสีครีมถึงสีชมพู ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พบเจอขึ้นได้ทั่วไปในป่าที่ชุ่มชื้น ป่าที่ไร่ร้าง ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคกลาง ส่วนในต่างประเทศพบเจอขึ้นได้ที่ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย คาบสมุทรอินโดจีน มาเลเซีย พม่า
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แกมใบหอก รูปรี ที่ปลายใบจะแหลมเรียว ส่วนโคนใบจะมน ที่ขอบใบจะเรียบหรือจะหยักเกือบเรียบ ใบกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-14 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณ 6-9 คู่ จะโค้งจรดขอบใบ แผ่นใบมีลักษณะเป็นหยัก ลอนหยาบ ๆ ที่หลังใบมน ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.6-1.3 เซนติเมตร ใบแก่ไม่มีขน ท้องใบจะมีต่อมยาวสีเข้มอยู่[1],[2],[3],[5],[6]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่บริเวณซอกใบ ช่อดอกจะแตกแขนงมาก มีความยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก มีขนาดเล็กและเป็นสีขาว มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ มีลักษณะเป็นรูประฆัง ที่ปลายจะแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ ที่ปลายกลีบมน ที่โคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น มีกลีบเลี้ยงดอกอยู่ 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เป็นสีเขียว มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้จะยาวเท่ากับอับเรณู ก้านเกสรเพศเมียจะแยกเป็นพู 2 พู รังไข่ส่วนหนึ่งจะฝังอยู่ในฐานรองดอก ดอกออกช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม[1],[2],[5],[6]
  • ผล เป็นรูปทรงกลมและฉ่ำน้ำ เป็นสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลอ่อน ผลแก่เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ผลมีขนาดประมาณ 0.2-0.6 เซนติเมตร มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ในผลหลายเมล็ด ผลแก่ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[1],[2],[5],[6]

สรรพคุณข้าวสารหลวง

1. สามารถนำรากมาเป็นยารักษาบาดแผลได้ ด้วยการเอามาบดแล้วใช้โรยแผลจะช่วยทำให้แผลแห้ง (ราก)[2]
2. สามารถนำใบมาตำพอกปิดบาดแผล แก้อาการปวดบวมได้ (ใบ)[2]
3. ชาวเขาเผ่าเย้าจะนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ สามารถใช้ล้างแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ (ทั้งต้น)[1],[3]

ประโยชน์ข้าวสารหลวง

  • ต้นเป็นไม้ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก เป็นทรงพุ่มเรือนยอดสวย ครั้นออกดอกจะเป็นดอกสีขาวโพลนหนาแน่น ถ้าปลูกในพื้นที่จำกัด กว้าง 3 เมตร มีความยาวประมาณ 3 เมตร จะสามารถช่วยเพิ่มความสวยให้มากขึ้นได้ แต่ควรปลูกในที่ชุ่มชื้นหรือที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร[6]
  • สามารถทานดอกกับใบได้เหมือนผักสด [6]
  • ชาวขมุจะนำลำต้นมาทำฟืน ใช้เป็นเชื้อเพลิง[4],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ข้าวสารหลวง (Maesa ramentacea)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [14 มี.ค. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ข้าว สาร หลวง”. หน้า 146.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “ข้าว สาร หลวง”. หน้า 79.
4. ทองไทยแลนด์. “ข้าว สาร หลวง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : thongthailand.igetweb.com. [14 มี.ค. 2015].
5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ข้าว สาร หลวง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [14 มี.ค. 2015].
6. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ข้าว สาร หลวง”. หน้า 97.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/13289250785
2.https://www.natureloveyou.sg/Maesa%20ramentacea/Main.html