ต้นกระดาด สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก

0
ต้นกระดาด
ต้นกระดาด สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นไม้ล้มลุก เหง้าอยู่ตามพื้นดิน ใบรูปไข่แกมรูปหัวใจ ก้านใบขนาดใหญ่สีม่วงปนสีน้ำตาล ดอกมีกาบสีเหลืองอมสีเขียว
ต้นกระดาด
เป็นไม้ล้มลุก เหง้าอยู่ตามพื้นดิน ใบรูปไข่แกมรูปหัวใจ ก้านใบขนาดใหญ่สีม่วงปนสีน้ำตาล ดอกมีกาบสีเหลืองอมสีเขียว

ต้นกระดาด

ชื่อสามัญของต้นกระดาด คือ Giant alocasia, Ape, Elephant ear, Giant taro, Pai, Ear elephant ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นกระดาด คือ Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don[1] อยู่วงศ์บอน (ARACEAE)[1],[3],[4] ต้นกระดาด มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มันโทป้าด (เงี้ยว, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), คือ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เอาะลาย (จังหวัดยะลา), บึมบื้อ (จังหวัดเชียงใหม่), กระดาดดำ (จังหวัดกาญจนบุรี), กลาดีบูเก๊าะ (มลายู,จังหวัดยะลา), เผือกกะลา (เงี้ยว, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), โทป๊ะ (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), โหรา (จังหวัดสงขลา), บอนกาวี (จังหวัดยะลา), กระดาดแดง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร) [1] (มีข้อมูลอื่นระบุไว้ว่ามีชื่อ บอนเขียว, กระดาดเขียว, กระดาดขาว [3],[4])

ลักษณะกระดาด

  • ต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุก จะมีเหง้าทอดอยู่ที่ตามพื้นดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นจะสั้น สามารถสูงได้ถึงประมาณ 1-2 เมตร เป็นสีม่วงปนสีน้ำตาล มีหัวอยู่ที่ใต้ดิน ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อและไหล การเพาะเมล็ด มักจะขึ้นที่มีอากาศชื้น และมีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ ที่ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ส่วนที่โคนใบจะเว้าลึก ที่ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นแบบห่าง ใบกว้างประมาณ 25-60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร ที่หลังใบจะเรียบเป็นสีเขียวและเป็นมันลื่น ที่ท้องใบจะเรียบ จะมีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 5-7 เส้น มีก้านใบขนาดใหญ่สีม่วงปนสีน้ำตาล มีความยาวประมาณ 1.2-1.5 เมตร[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อ ช่อเป็นแท่งยาวที่ปลายช่อจะแหลม ออกดอกที่บริเวณกลางต้น ยาวประมาณ 11-23 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร ดอกมีกาบสีเหลืองอมสีเขียวหุ้ม ที่โคนของกาบจะโอบรอบโคนช่อ ช่อดอกประกอบด้วยดอกเพศเมียอยู่ที่ตรงโคนช่อ ดอกเพศผู้ที่ตรงส่วนด้านบน ดอกเพศผู้ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศเมียยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เป็นดอกแยกเพศแบบอยู่ช่อเดียวกัน จะมีดอกเพศผู้เยอะกว่าดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้กับดอกเพศเมียคอดมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ที่ปลายจะไม่มีดอก มีความยาวประมาณ 6.7-13 เซนติเมตร ที่ปลายจะมน ดอกเพศเมียมีรังไข่อยู่ 1 ช่อง จะมีออวุลอยู่ประมาณ 3-5 เม็ด ที่ยอดเกสรเพศเมียเป็นรูปหกเหลี่ยมตัด กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้มีขนาดที่สั้นกว่าดอกเพศเมียและกว้างกว่าดอกเพศเมีย ที่ด้านข้าค่อนข้างแบน[1],[2]
  • ผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร เนื้อด้านในผลมีผิวสัมผัสนุ่มและเป็นสีแดง มีเมล็ดแข็งอยู่ในผล 1 เมล็ด เมล็ดมีรูปทรงกลมเป็นสีดำ[1],[2],[4]

พิษของต้นกระดาด

  • มีสารจำพวกเรซินกับ Protoanemonine ที่เป็นพิษ และมีแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) เยอะ ที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังบวมแดง[2]

สรรพคุณต้นกระดาด

1. ใบมีรสเย็น สามารถช่วยแก้อาการอักเสบที่ข้อทำให้บวมแดงได้ (ใบ)[1]
2. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)[2]
3. สามารถนำไหลมาทานเป็นยาขับพยาธิได้ (ไหล)[2]
4. สามารถนำรากกับเหง้ามาใช้เป็นยาถ่ายชนิดอุจจาระเป็นพรรดึกได้ (รากหรือเหง้า)[2]
5. น้ำที่ได้จากก้านใบจะมีรสเย็น สามารถทานแก้อาการไอได้ (น้ำจากก้านใบ)[1]
6. สามารถนำรากมาใช้ทาแก้พิษของแมงป่องได้ (ราก)[1]
7. หัวจะมีรสเมาเย็น สามารถเอาหัวมาโขลกใช้พอกรักษาแผลหนองได้ (หัว)[1]
8. รากกับเหง้าจะมีรสเย็นจืด สามารถนำมาต้มทานเป็นยาขับปัสสาวะได้ (รากหรือเหง้า)[1],[2],[4]
9. ยาที่ต้มจากใบสามารถทานแก้อาการท้องผูกชนิดพรรดึกได้ (ใบ)[2]
10. สามารถใช้ต้น ราก และเหง้าเป็นยาระบายแบบอ่อน ๆ ได้ ด้วยการนำต้น ราก และเหง้ามาต้มทานเป็นยา (ราก, ต้น)[1],[2],[4]

ประโยชน์ต้นกระดาด

1. สามารถทานเหง้าที่ต้มสุกแล้วได้[2]
2. เหง้าสามารถนำมาใส่ในแกงได้[2]
3. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง ช่วยดูดซับความชื้นได้ดี และยังเป็นพืชที่ทำให้เกิดแหล่งน้ำ อย่างเช่น น้ำตก [2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “กระ ดาด เขียว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [28 ม.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “กระ ดาด (Kra Dad)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 23.
3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กระดาด”. (ไพร มัทธวรัตน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [28 ม.ค. 2014].
4. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. “ก ร ะ ด า ด”.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.floraofbangladesh.com/

กรวย สรรพคุณช่วยรักษาอาการเจ็บคอ

0
กรวย
กรวย สรรพคุณช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ผลกลมออกเป็นพวง ผลสุกสีส้มหรือสีแดงอมส้ม
กรวย
ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ผลกลมออกเป็นพวง ผลสุกสีส้มหรือสีแดงอมส้ม

กรวย

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. จัดอยู่ในวงศ์จันทน์เทศ (MYRISTICACEAE)[1]
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กรวย กรวยน้ำ กรวยสวน (กรุงเทพฯ), กะเพราพระ เพราพระ (ชุมพร), จุมพร้า ตุมพระ (นครศรีธรรมราช), ตุมพระ (สตูล), ยางู (สตูล), ตือระแฮ ระหัน หัน (ปัตตานี)[1]

ลักษณะของต้นกรวย

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง
    – มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เมตร
    – โคนต้นเป็นพอน
    – มีรากค้ำยันบริเวณโคนต้น
    – เรือนยอดมีความแคบยาวหรือเป็นรูปกรวยคว่ำ
    – กิ่งแตกเกือบตั้งฉากกับลำต้น
    – ปลายกิ่งห้อยลู่ลง
    – เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ
    – เป็นสีน้ำตาลหรือเทา
    – เมื่อสับเปลือกจะมียางใสสีแดงไหลออกมา
    – ตามเปลือกและกิ่งจะมีช่องอากาศทั่วไป
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง
    – มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
    – ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายพันธุ์ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
    – จะขึ้นตามป่าดิบชื้นริมน้ำหรือบนที่ราบตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองตอนที่ติดต่อกับทะเล
  • ลักษณะของใบ[1]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับ
    – ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมนหรือแหลม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 4-8 เซนติเมตร และยาว 15-25 เซนติเมตร
    – เส้นแขนงใบมีข้างละ 10-18 เส้น
    – เป็นเส้นตรงขนานกัน
    – ปลายเส้นโค้งขึ้นเลียบขอบใบ
    – แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม
    – แผ่นใบด้านล่างเป็นสีนวล
    – ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – ดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน
    – จะออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบ
    – มีความยาว 10-16 เซนติเมตร
    – ช่อดอกเพศผู้จะแตกแขนงแผ่กว้างกว่าช่อดอกเพศเมีย
    – ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก
    – ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม
    – ออกชิดกันแน่นเป็นกลุ่ม ๆ
    – ตามแขนงช่อดอก
    – วงกลีบรวมติดกัน
    – ส่วนบนแยกเป็น 2 กลีบ
    – ดอกเพศผู้จะมีเกสรเพศผู้ 6-10 อัน
    – ดอกเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้
    – ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
  • ลักษณะของผล[1],[2]
    – ผลมีความกลมเป็นผลแบบมีเนื้อ
    – ออกเป็นพวง
    – พวงละประมาณ 2-5 ผล
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร
    – เปลือกผลหนา
    – เมื่อสุกผลจะเป็นสีส้มหรือสีแดงอมส้ม
    – ก้านผลมีความยาว 0.8-1.1 เซนติเมตร
    – มีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นรูปไข่ สีน้ำตาล แข็ง และมีขนาดใหญ่
    – เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงอมส้ม
    – ออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของกรวย

  • เปลือกต้น สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต[3]
  • ชาวมาเลเซียนั้นจะใช้เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำเดือด ใช้เป็นยากลั้วปากและคอ เพื่อช่วยบำบัดอาการเจ็บคอ

ประโยชน์ของกรวย

  • ผล สามารถใช้เป็นอาหารของสัตว์ป่าได้[4]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือนได้[4]
  • สามารถนำมาปลูกเพื่อให้ร่มเงาริมน้ำได้ เนื่องจากมีรากช่วยยึดตลิ่งได้ดี[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กรวย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [10 ส.ค. 2015].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กรวย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [10 ส.ค. 2015].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb.”. อ้างอิงใน : หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน หน้า 139. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [10 ส.ค. 2015].
4. ไทยเกษตรศาสตร์. “กรวย (Kruai)”. อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [10 ส.ค. 2015].

กรวยป่า สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงตับ

0
กรวยป่า
กรวยป่า สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงตับ พรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ดอกเป็นกระจุก มีขนสั้นนุ่ม สีขาวหรือสีเหลืองแกมเขียว เปลือกผลหนามีเนื้อ
กรวยป่า
ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ดอกเป็นกระจุก มีขนสั้นนุ่ม สีขาวหรือสีเหลืองแกมเขียว เปลือกผลหนามีเนื้อ

กรวยป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Casearia grewiaefolia Vent.[2],[3] ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Casearia kerri Craib, Casearia oblonga Craib[4] ปัจจุบันได้ถูกย้ายมาอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ตวย (เพชรบูรณ์), ตวยใหญ่ ตานเสี้ยน (พิษณุโลก), คอแลน (นครราชสีมา), ขุนเหยิง บุนเหยิง (สกลนคร), ผ่าสาม หมากผ่าสาม (นครปฐม, อุดรธานี), ก้วย ผีเสื้อหลวง สีเสื้อหลวง (ภาคเหนือ), คอแลน ผ่าสามตวย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สีเสื้อ, หมูหัน[1],[3],[4],[6]

ลักษณะของกรวยป่า

  • ลักษณะของต้น[2],[3],[4]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กถึงกลาง
    – มีความสูงได้ 5-15 เมตร
    – รูปทรงโปร่ง
    – ออกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น
    – ลำต้นเปลาตรง มีลายสีขาวปนดำ
    – คล้ายตัวแลนหรือตะกวด
    – บางท้องที่จึงเรียกว่า “คอแลน”
    – เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีเทา สีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลเข้ม
    – มีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป
    – กิ่งอ่อนมีขนสั้น หนานุ่ม สีน้ำตาลแดง
    – มีน้ำยางสีขาวใส
    – เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว
    – ต้นที่มีอายุมาก โคนต้นจะมีพูพอน
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย จนถึงหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย
    – ในประเทศไทยพบขึ้นทุกภาคของประเทศ
    – มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าทุ่งทั่วไป
  • ลักษณะของใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปรียาว ขอบขนาน
    – ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม
    – โคนใบมนกว้าง
    – เว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ
    – ขอบใบหยักเป็นถี่ตื้น ๆ
    – แผ่นใบมีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาว 8-13 เซนติเมตร
    – เนื้อใบหนา
    – แผ่นใบเรียบ
    – หลังใบเรียบเกลี้ยงเป็นมันหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ
    – ท้องใบมีขนสั้นขึ้นปกคลุมทั่วไป
    – เส้นกลางใบเรียบหรือเป็นร่องทางด้านบน
    – ด้านล่างนูนเห็นได้ชัด
    – เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-14 เส้น
    – แผ่นใบมีต่อมเป็นจุดและขีดสั้น ๆ
    – กระจัดกระจายทั่วไป
    – เมื่อส่องดูกับแสงสว่างจะโปร่งแสงก้านใบสั้น
    – ยาวได้ 0.6-1.2 เซนติเมตร
    – มีขนสั้นนุ่มหรือเกือบเกลี้ยง
    – หูใบมีขนาดเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยม[2],[3],[4]
  • ลักษณะของดอก[2],[3],[4]
    – ออกดอกเป็นกระจุก
    – กระจุกละ 2-8 ดอก
    – จะออกตามซอกใบที่หลุดร่วงไปแล้ว
    – ก้านดอกยาว 5-6 มิลลิเมตร
    – มีขนสั้นนุ่ม
    – ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศสีขาวหรือสีเหลืองแกมเขียว
    – ใบประดับมีจำนวนมาก
    – มีขนสั้นนุ่ม ไม่มีกลีบดอก
    – กลีบเลี้ยงดอกขนาดเล็ก มี 5 กลีบ
    – กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว
    – แต่ละกลีบจะไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขนแน่น ด้านในเกลี้ยง
    – ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 8-10 อัน
    – ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่มเล็กน้อยหรือเกลี้ยง
    – ตรงกลางมีแกนเป็นรูปเจดีย์คว่ำ
    – เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน
    – เป็นรูปขอบขนาน
    – มีขนหนาแน่น
    – รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ เป็นรูปกลมเกลี้ยง
    – ก้านเกสรเพศเมียสั้น
    – ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ลักษณะของผล[2],[3],[4]
    – ผลเป็นผลแบบมีเนื้อ
    – เมื่อแห้งจะแตกออก
    – ผลเป็นรูปทรงกลมรีหรือรูปไข่
    – มีความกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร และยาว 2.5-5 เซนติเมตร
    – ผิวผลทั้งมันและเรียบ
    – เปลือกผลหนา
    – เมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลืองและจะแตกออกเป็น 3 ซีก
    – บางท้องถิ่นจึงเรียกว่า “ผ่าสาม”
  • ลักษณะของเมล็ด[2],[3],[4]
    – ผลมีเมล็ดจำนวนมาก
    – เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงสด
    – เมล็ดเป็นรูปเหลี่ยม
    – มีขนาด 1 เซนติเมตร
    – รูปร่างดูคล้ายผีเสื้อ
    – หัวท้ายมน
    – ผิวเมล็ดแข็งและเรียบเป็นมัน
    – ออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของกรวยป่า

  • ราก สามารถใช้เป็นยาบำรุงธาตุเช่นเดียวกับเปลือก[4]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด[4]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาบำรุงตับ แก้ตับพิการ[1],[2],[4],[5]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ผื่นคันเช่นเดียวกับใบ[1],[2],[4]
  • ผล สามารถใช้เป็นยาฟอกโลหิต[4]
  • ผล สามารถใช้เป็นยาแก้น้ำลายเหนียว แก้เสมหะเป็นพิษ แก้เลือดออกตามไรฟัน [4]
  • ผล สามารถใช้เป็นยาแก้บิดปวดเบ่ง แก้ลงท้อง[4]
  • เมล็ด มีรสเมาเบื่อ สามารถใช้เป็นยาแก้พยาธิผิวหนัง[4]
  • เปลือก สามารถใช้เป็นยาสมานแผล[4]
  • เปลือก สามารถใช้เป็นยาขับผายลม[4]
  • เปลือก มีรสเมาขื่น ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต เป็นยาคุมธาตุ[1],[2],[4],[5]
  • ดอกและใบ มีรสเมาเบื่อ สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้พิษหรือพิษไข้ตัวร้อน[1],[2],[4]
  • ราก ใบ และดอก สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ พิษกาฬ พิษอักเสบจากหัวกาฬ[1],[2],[4]
  • รากและเปลือก มีรสเมาขื่น สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง[1],[2],[4],[5]
  • ใบและราก สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง[4]
  • รากและเมล็ด สามารถใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร[1],[2],[4],[5]
  • ใบและดอก สามารถใช้เป็นยาแก้พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ[5]

ประโยชน์ของกรวยป่า

  • น้ำมันจากเมล็ด สามารถใช้เป็นยาเบื่อปลาได้[4],[5]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้สอย และเฟอร์นิเจอร์ได้[6]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “กรวยป่า (Kruai Pa)”. หน้า 17.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กรวยป่า”. หน้า 55.
3. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กรวยป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [09 ก.ค. 2015].
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ผ่าสาม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [09 ก.ค. 2015].
5. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กรวยป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [09 ก.ค. 2015].
6. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กรวย ป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [09 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/2011/02/13/casearia/

กกลังกา สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

0
กกลังกา สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นไม้ล้มลุกยืนต้น ลำต้นเหนือดินสร้างช่อดอกและแตกเป็นกอ ใบเดี่ยวยาว ใต้ท้องใบสาก ดอกเป็นช่อซี่ร่ม
กกลังกา
ไม้ล้มลุกยืนต้น ลำต้นเหนือดินสร้างช่อดอกและแตกเป็นกอ ใบเดี่ยวยาว ใต้ท้องใบสาก ดอกเป็นช่อซี่ร่ม

กกลังกา

กกลังกา Umbrella plant, Flatsedge เป็นไม้ล้มลุกยืนต้นที่สามารถเติบโตได้สูงถึง 2 เมตร มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก มาดากัสการ์ และคาบสมุทรอาหรับ แต่ปัจจุบันพบได้ทั่วโลก ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cyperus alternifolius L.[1],[2] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า เป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คือ Cyperus involucratus Rottb. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cyperus alternifolius subsp. flabelliformis Kük., Cyperus flabelliformis Rottb.)[4] โดยจัดอยู่ในวงศ์กก (CYPERACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กกขนาก, กกต้นกลม, หญ้าสเล็บ, หญ้าลังกา, กกดอกแดง (พระนครศรีอยุธยา),[1], กกรังกา หญ้ากก หญ้ารังกา (กรุงเทพฯ)[4], จิ่วหลงทู่จู (จีนกลาง), เฟิงเชอเฉ่า (จีนแต้จิ๋ว)[3]

ลักษณะของกกลังกา

  • ลักษณะของต้น[1],[5]
    – จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – อายุหลายปี
    – ลำต้นเหนือดินสร้างช่อดอกและแตกเป็นกอ
    – มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าแข็งสั้น ๆ คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว
    – ลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน
    – มีความสูงได้ 100-150 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมค่อนข้างกลมมน มีสีเขียว
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
    – เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวที่ชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูง
    – ชอบความชื้นสูงและแสงแดดแบบเต็มวัน
    – มักขึ้นตามบริเวณที่ที่เป็นโคลนหรือน้ำ เช่น ข้างแม่น้ำ สระ ลำคลอง หรือบ่อน้ำ
  • ลักษณะของใบ[1]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – แผ่นใบบาง
    – ออกแผ่ซ้อน ๆ กันอยู่ที่ปลายยอดของลำต้น
    – ใบเป็นรูปยาว
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1 เซนติเมตร และยาว 18-19 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเป็นสีเขียว
    – ใต้ท้องใบสาก
    – ในต้นหนึ่ง ๆ จะมีใบ 18-25 ใบ
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[4]
    – ออกดอกเป็นช่อซี่ร่มย่อยที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกแตกแขนงย่อย 20-25 แขนง
    – มีขนาดกว้าง 12-20 เซนติเมตร
    – มีใบประดับรองรับช่อดอก 4-10 ใบ
    – มีขนาดกว้าง 6-10 มิลลิเมตร และยาว 15-25 เซนติเมตร
    – แต่ละแขนงจะมีดอกย่อยช่อละ 8-20 ดอก
    – ดอกย่อยจะมีกาบหุ้ม มีความกว้าง 1 มิลลิเมตร และยาว 1-2 มิลลิเมตร
    – ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวแกมเขียว
    – เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน
    – ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเขียวอ่อน ยาวได้ 6-7 เซนติเมตร
  • ลักษณะของผล[2],[5]
    – ผลเป็นผลแห้ง
    – ผลเป็นรูปทรงรียาว รูปรี หรือรูปไข่
    – มีความกว้าง 0.4-0.5 มิลลิเมตร และยาว 0.9-1 มิลลิเมตร
    – ผลเป็นสีน้ำตาล
    – เปลือกแข็ง
    – มีเมล็ดเดียว

สรรพคุณของกกลังกา

  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย[3]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ตัวเหลือง ตาเหลือง แก้ดีซ่าน[3]
  • ดอก สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มหรืออมกลั้วคอ เป็นยาแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล[1],[2],[3],[4],[5]
  • เหง้า สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือบดเป็นผงละลายกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ เสมหะเฟื่อง และช่วยขับน้ำลาย[1],[2],[4],[6]
  • เหง้า มีรสขม สามารถใช้ต้มเอาน้ำดื่มหรือนำมาบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาทำให้เจริญอาหาร[1],[2],[4],[6]
  • ทั้งต้น มีรสเปรี้ยว หวาน และขมเล็กน้อย เป็นยาเย็น สามารถนำมาใช้เป็นยาฟอกเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี[3]
  • ใบ มีรสเย็น สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาฆ่าพยาธิ ฆ่าเชื้อโรคภายใน[1],[2],[4],[6]
  • ใบ สามารถนำมาใช้ตำและพอกเป็นยาฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิที่บาดแผล ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคทั้งหมดได้[1],[2],[4],[5],[6]
  • ราก สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่ม หรือตำกับเหล้าคั้นเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ช้ำในและการตกเลือดจากอวัยวะภายใน ช่วยขับเลือดเน่าเสียออกจากร่างกายได้[1],[2],[3],[4],[6]
  • ลำต้น มีรสจืด สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท่อน้ำดีอักเสบ ช่วยขับน้ำดีให้ตกลำไส้ และเป็นยาทำลายดีอันผูกไว้ซึ่งพิษ[1],[3],[6]
  • เหง้า สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้พิษงู ด้วยการใช้เหง้าแช่เหล้าไว้นาน 2 อาทิตย์ขึ้นไป นำมาล้างแผลที่โดนงูกัดและใช้เหล้าที่ได้จากนี้รับประทานครั้งละ 1 แก้วยา จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือถอนพิษงูได้แค่ชั่วคราว[3]
  • เหง้า สามารถนำมาฝนใส่เหล้า แล้วนำไปคั่วจนเนื้อยาเป็นสีคล้ำ นำข้าวสาร 1 กำมือ และยาที่คั่วแล้วปริมาณ 60 กรัม ใส่หม้อนำไปต้ม ให้รับประทานหลังการคลอดบุตรของสตรี หากมีอาการปวดท้องน้อยหรือตกเลือด[3]

ประโยชน์ของกกลังกา

  • สามารถนำไปใช้เป็นวัสดุในงานหัตถกรรมพื้นบ้านได้[6]
  • นิยมนำมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามริมสระน้ำในสวนหรือใช้ปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่น ๆ[5],[6]
  • การปลูกไว้ริมขอบน้ำจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน[6]
  • ช่วยบำบัดน้ำเสียและช่วยปรับสมดุลทางระบบนิเวศวิทยาได้[6]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กก ลัง กา”. หน้า 1-2.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กกรังกา”. หน้า 54.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กกลังกา”. หน้า 16.
4. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “กก ลังกา (Kok Rang Ka)”. หน้า 14.
5. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กกลังกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [11 ก.ค. 2015].
6. โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม. “กก ลัง กา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.kp.ac.th. [11 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.britannica.com/
2.https://housing.com/

สะบ้าลิง ไม้เลื้อยสรรพคุณแก้โรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง

0
สะบ้าลิง ไม้เลื้อยสรรพคุณแก้โรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง เป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ดอกเป็นสีม่วงดำ มีกลิ่นเหม็นเอียน ฝักเป็นสีน้ำตาล
สะบ้าลิง
เป็นพรรณไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ดอกเป็นสีม่วงดำ มีกลิ่นเหม็นเอียน ฝักเป็นสีน้ำตาล

สะบ้าลิง

เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งพบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณมักอาศัยต้นไม้ใหญ่เพื่อเลื้อยพาดพันแพร่กิ่งก้านไปเลื่อย ๆ สรรพคุณด้านตำรายาไทยใช้เนื้อในเมล็ดดิบ รสเบื่อเมา แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคเรื้อน คุดทะราด มะเร็ง เป็นยาเบื่อเมา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Entada glandulosa Gagnep. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Entada tamarindifolia Gagnep.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ผักตีนแลน มะบ้าลิง มะบ้าปน (เชียงใหม่), หมากนิมลาย (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), มะบ้าปน (ลำพูน), ทบทวน ลิ้นแลน มะขามเครือ (ชัยภูมิ), เครือลิ้นแลน (หนองคาย), หมากแทน (ยโสธร), บ้าบนใหญ่ (อุบลราชธานี), ผักตีนแลน มะบ้าลิง มะบ้าบน มะบ้าวอก (ภาคเหนือ), สะบ้าลาย สะบ้าลิง (ภาคกลาง)

ลักษณะของสะบ้าลิง

  • ลักษณะของต้น
    – เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง
    – เลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่
    – ตามกิ่งมีขน
    – มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในพม่าและภูมิภาคอินโดจีน
    – ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคใต้
    – มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง โดยเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น
    – ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับกัน
    – แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร
    – ก้านใบยาว 1.8-4 เซนติเมตร
    – ใบประกอบย่อยคู่ปลายมีมือเกาะ
    – ใบประกอบย่อยยาว 4-14.5 เซนติเมตร
    – มีใบย่อย 5-8 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน
    – ปลายใบตัดหรือเว้ากลม มีติ่งแหลม
    – ฐานใบเบี้ยวเล็กน้อย
    – ใบมีความกว้าง 0.5-1.7 เซนติเมตร และยาว 1.2-4 เซนติเมตร
    – ผิวใบด้านล่างเกลี้ยงไม่มีนวล
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – เป็นช่อกระจะเชิงลด
    – จะออกที่ซอกใบและเหนือซอกใบ
    – ยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร
    – มีขนละเอียด
    – ก้านดอกย่อยเกือบไร้ก้าน
    – กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย
    – ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก
    – ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมตื้น ๆ
    – ผิวด้านนอกมีขนละเอียด
    – ผิวด้านในเกลี้ยง
    – ยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกนั้นเป็นสีขาวแกมเหลือง มี 5 กลีบ แยกจรดกัน
    – กลีบดอกเป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
    – ปลายแหลม
    – โคนเชื่อมกัน
    – ขอบเรียบ
    – ปลายแยก
    – มีความยาว 4.5-5.5 มิลลิเมตร
    – ด้านนอกช่วงล่างมีแนวต่อมขนาดเล็กอยู่ 2 แนว
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน แยกจากกัน เชื่อมกันที่ฐาน
    – แบ่งเป็นขนาดยาว 9 อัน และสั้น 1 อัน
    – ก้านชูอับเรณูยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร หรือยาวกว่าเล็กน้อย
    – เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ
    – ผิวเรียบ
    – รังไข่เกลี้ยง ยาวได้ประมาณ 3 มิลลิเมตร
    – ออกดอกในช่วงประมาณมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ลักษณะของผล[1],[2]
    – ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน โค้งงอ
    – มีรอยคอดตามเมล็ด
    – ฝักมีขนาดกว้าง 2.2-2.6 เซนติเมตร และยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร
    – ฝักเป็นสีน้ำตาล
    – ผนังด้านนอกค่อนข้างหนา
    – เมื่อแก่จะหักเป็นท่อนๆ
    – แต่ละท่อนจะมีเมล็ด 1 เมล็ด
    – เมล็ดเป็นรูปเกือบกลม แบน
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร
    – เปลือกนอกแข็งเป็นสีน้ำตาลดำ

สรรพคุณของสะบ้าลิง

  • ทั้งต้น ใช้ผสมในลูกประคบเป็นยาแก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย[2]
  • เมล็ดหรือราก สามารถนำมาฝนเหล้าทาและฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง และแผลเรื้อรัง[2]
  • เนื้อในเมล็ดดิบ มีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคเรื้อน คุดทะราด มะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเป็นยาเบื่อเมา[2]
  • เนื้อในเมล็ดดิบ สามารถนำมาสุมไฟให้เกรียมดำแล้วผสมกับยาอื่น ๆ รับประทานเป็นยาแก้ไข้พิษเซื่องซึม[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
– สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “สะ บ้า ลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [13 ก.ค. 2015].
– ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สะ บ้า ลิง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [14 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.atariyas.ir
2.https://botanyvn.com/

หญ้าลิ้นงู สรรพคุณรักษาตับอักเสบและการติดเชื้อไวรัส

0
หญ้าลิ้นงู
หญ้าลิ้นงู สรรพคุณรักษาตับอักเสบและการติดเชื้อไวรัส เป็นสมุนไพรไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อสีขาวหรือสีม่วง ผลเป็นรูปทรงกลมมีสันสี่มุม
หญ้าลิ้นงู
เป็นสมุนไพรไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อสีขาวหรือสีม่วง ผลเป็นรูปทรงกลมมีสันสี่มุม

หญ้าลิ้นงู

หญ้าลิ้นงู เป็นสมุนไพรไม้ล้มลุกขนาดเล็กลักษณะของดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วง สมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นยาสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษาตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัส มะเร็ง สิว โรคตา โรคผิวหนัง และเลือดออก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Oldenlandia corymbosa L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedyotis corymbosa (L.) Lam.) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ จุ่ยจี้เช่า จั่วจิเช่า (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยเฉียบฉ่าว สุ่ยเซี่ยนเฉ่า เสอเสอเฉ่า (จีนกลาง)[1],[2]

ลักษณะของหญ้าลิ้นงู

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กคลุมดิน
    – มีอายุได้ถึง 1 ปี
    – มีลำต้นเลื้อยยาวเป็นข้อ ๆ ประมาณ 6-10 นิ้ว
    – มียอดสูงประมาณ 15-50 เซนติเมตร
    – ลำต้นมีลักษณะเล็กยาว
    – เรียบเกลี้ยงเป็นเหลี่ยม
    – ระหว่างข้อมีร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น
    – แตกกิ่งก้านสาขาออกมาก
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
    – มีความอุดมสมบูรณ์
    – ชอบขึ้นตามที่ชื่นแฉะ
    – พบได้ในภูมิอากาศเขตร้อนถึงร้อนชื้นของประเทศในแถบแอฟริกา เอเชีย แคริบเบียน อเมริกา ออสเตรเลีย และแปซิฟิก
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    – ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปหอกเรียวแหลมขนาดเล็ก
    – มีความกว้าง 1.5-3.5 มิลลิเมตร และยาว 1.5-3 เซนติเมตร
    – หลังใบคดงอ
    – ขอบใบหยาบ
    – ไม่มีก้านใบ
    – มีหูใบขนาดเล็ก
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ช่อหนึ่งจะมีดอก 2-5 ดอก
    – แยกออกจากกันเป็นคู่ ๆ
    – โดยจะออกตามง่ามใบ
    – ช่อดอกยาวประมาณ 0.6-2 เซนติเมตร
    – ดอกมีสีขาวหรือสีแดงอ่อน
    – ดอกย่อยยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร
    – แตกออกเป็นแฉก 4 แฉก
    – ด้านนอกมีขนปกคลุม
    – เป็นรูปกรวย
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
    – มีรังไข่ 2 อัน
    – ก้านดอกยาว 0.6-2 เซนติเมตร
  • ลักษณะของผล[1],[2]
    – ผลมีเป็นรูปทรงกลม
    – มีสันสี่มุม
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร
    – เปลือกนอกแข็งไม่แตก
    – ผลเมื่อแก่แล้วปลายผลจะแตกออก
    – มีเมล็ดขนาดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเหลี่ยม ๆ

สรรพคุณของหญ้าลิ้นงู

  • ทั้งต้น ใช้ฆ่าพยาธิ[4],[5]
  • ทั้งต้น ช่วยปกป้องตับ[4],[5]
  • ทั้งต้น ช่วยขจัดสารพิษ[4],[5]
  • ชาวฟิลิปปินส์จะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาโรคกระเพาะ[4],[5]
  • ชาวอินโดนีเซียจะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน[4],[5]
  • ประเทศจีน จะใช้หญ้าริ้นงูเป็นยารักษาเนื้องอกบางชนิด[4],[5]
  • ทั้งต้น นำต้นสดมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี ใช้เป็นยารักษาฝีปวดบวม[2]
  • ทั้งต้น นำหญ้าลิ้นงูประมาณ 20-40 กรัม มาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้แก้ฝีในท้อง [2]
  • ทั้งต้น เป็นยาเย็นที่มีรสขม ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และลำไส้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้[2]
  • ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างแผลฝีบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก[1],[2]
  • ลำต้นสด นำมาประมาณ 15-30 กรัม แล้วมาต้มเอาแต่น้ำกิน ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย[1]
  • ลำต้นสด นำมาประมาณ 15-30 กรัม แล้วต้มเอาแต่น้ำกิน ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ มะเร็งในลำไส้[1],[2]
  • ทั้งต้นใช้เพื่อรักษาโรคที่มีอาการอักเสบและติดเชื้อ เช่น คางทูม ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ และใช้ฆ่าพยาธิ เป็นต้น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าลิ้นงู

  • สารที่พบ ได้แก่ Corymbosin, Flavone, Fatty acid, Sterol, Ursolic acid เป็นต้น[2]
  • สาร Ursolic acid มีคุณสมบัติในการปกป้องตับ โดยสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของยาพาราเซตามอลที่นำมาทดสอบในหนูทดลองได้[3] จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดมีคุณสมบัติในการปกป้องตับจากการถูกทำลายของสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ Carbon tetrachloride, D-Galatosamine, Perchloroethylene โดยคุณสมบัติดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับยา Silymarin[4]
  • มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ และมีประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียได้หลากหลายสายพันธุ์, ต้านยีสต์ (เช่น ยีสต์แคนดิดา), ต้านรา (เช่น ราแอสเปอร์จิลัส), ต้านโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้มาลาเรีย (ภายหลังจึงได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาไข้มาลาเรีย)[3],[4]
  • จากการศึกษาในหลอดทดลองว่าสารสกัดมีคุณสมบัติต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งเต้านม[4]
  • มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาการเกิดในกระเพาะอาหารในหนูทดลองที่ได้รับยาแอสไพริน โดยมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาแลนโซปราโซล (Lansoprazole)[4] ช่วยบรรเทาอาการปวดได้[4]
  • มีคุณสมบัติต้านการอักเสบในสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ[5]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หญ้า ลิ้น งู”. หน้า 811.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้า ลิ้น งู”. หน้า 600.
3. Bangladesh Journal of Scientific and Industrial Research. (Tamanna Sultana, M Abdur Rashid, M Ahad Ali, Samsuddin Faisal Mahmood). “Hepatoprotecive and Antibacterial Activity of Ursolic acid Extracted from Hedyotis corymbosa L.”. Res. 45(1), Pages: 27-34, 2010.
4. International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research. (IJPS). (Sridevi Sangeetha Kothandaraman Sivapraksam, Kavitha Karunakaran, Umamaheswari Subburaya, Sujatha Kuppusamy, Subashini TS). “A Review on Phytochemical and Phamarcological Profile of Hedyotis corymbosa Linn.”. Res. 26(1), Article No. 54, Pages: 320-324, 2014.
5. Global information Hub On Integrated Medicine (Globinmed). “Hedyotis corymbosa”. เข้าถึงได้จาก: www.globinmed.com. [10 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://us.lakpura.com/pages/

สมุนไพรหญ้าแส้ม้า สรรพคุณแก้อาการฟกช้ำดำเขียว

0
หญ้าแส้ม้า
สมุนไพรหญ้าแส้ม้า สรรพคุณแก้อาการฟกช้ำดำเขียว พรรณไม้ล้มลุก ปลายใบแหลมโคนมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อสีน้ำเงินม่วง ผลเป็นฝักยาว
หญ้าแส้ม้า
พรรณไม้ล้มลุก ปลายใบแหลมโคนมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อสีน้ำเงินม่วง ผลเป็นฝักยาว

หญ้าแส้ม้า

หญ้าแส้ม้า Vervain, Juno’s tears, European verbena, Herb of the cross เป็นดอกไม้ป่าพื้นเมืองพบได้ทั่วไปในทุ่งหญ้าชื้น ป่าทึบ ทุ่งหญ้าริมทาง ริมหนองน้ำ และตามคูน้ำ ดอกม่วงมีลำต้นตั้งตรง ใบเรียวยาวขอบใบหยักเป็นฟันปลาออกสลับซ้ายขวาของลำต้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรชนิดนี้ใช้เพื่อรักษาอาการพักฟื้น ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ปวดศีรษะ ดีซ่าน ตะคริว ไอ ไข้ นอกจากนั้นยังใช้รักษาบาดแผลพุพอง และรักษาสิวได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Verbena officinalis L. จัดอยู่ในวงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ นังด้งล้าง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)[2], สะหน่ำบล้อ (ปะหล่อง)[3], ถิแบปี โทเกงไก๊ แบเปียงเช่า หม่าเปียนเฉ่า (จีนกลาง)[1]

ลักษณะของหญ้าแส้ม้า

  • ลักษณะของต้น[1],[4]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – มีอายุอยู่หลายปี
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูงได้ 50-100 เซนติเมตร
    – ลำต้นเล็กเป็นเหลี่ยม
    – มีขนแข็งรอบต้น
    – สามารถพบได้ในที่แห้งแล้งแดดจัด ที่รกร้างไร่เก่า หรือขึ้นประปรายในสวนผลไม้ที่สูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,650 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1]
    – ใบออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปกลมรี
    – แยกแฉกคล้ายขนนก
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมน
    – ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
    – ใบมีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 3-5 เซนติเมตร
    – หน้าใบและหลังใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย
    – เส้นหลังใบจะเห็นได้ชัดเจน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ดอกมีขนาดเล็ก
    – ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
    – ช่อดอกยาว 16-30 เซนติเมตร
    – มีดอกเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร
    – ดอกเป็นสีน้ำเงินม่วง
    – ดอกเป็นรูปหลอด
    – แตกออกเป็นแฉก 5 แฉก ที่ปลายกลีบ
    – แบ่งออกเป็นแฉกบน 2 แฉก และแฉกล่าง 3 แฉก
    – มีเกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่ในกลีบดอก
    – เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่บนรังไข่ รังไข่มี 4 อัน
    – เมื่อเกสรแห้งและร่วงไปแล้วก็จะติดผลเป็นฝักยาว
  • ลักษณะของผล[1]
    – ผลมีเป็นฝักยาว
    – ผลแก่มีการแตกเมล็ดออก
    – มีเมล็ด 4 เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยมแบนยาว

สรรพคุณของหญ้าแส้ม้า

  • ทั้งต้น ช่วยฆ่าพยาธิใบไม้ในตับ[1]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ[1]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้ไตอักเสบบวมน้ำ[1]
  • ทั้งต้น ช่วยกระจายเลือด แก้อาการฟกช้ำดำเขียว ปวดบวม[1]
  • ทั้งต้น เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ฝีหนองอักเสบ[1]
  • ทั้งต้น แก้แผลแมลงสัตว์กัดเท้า เท้าเป็นแผล[2]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้บิดติดเชื้อ[1]
  • ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้คอเจ็บ คอบวม คออักเสบ คอตีบ[1]
  • ทั้งต้น มีรสขมเป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้[1]
  • ทั้งต้น ช่วยแก้ไข้หวัดตัวร้อน แก้ไข้จับสั่น[1]
  • ใบ นำมาคั้นเอาน้ำมาทาหรือพอก หรือต้มกับน้ำอาบ สระผม ช่วยกำจัดรังแค เหา โลน และหมัดได้[2]
  • ใบ ชาวปะหล่องจะนำมาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคตานขโมย โดยประกอบไปด้วยสมุนไพรอื่น ๆ อีก เช่น รากหญ้าคา รากสาบแร้งสาบกา รากด่อกะซองหว่อง ต้นน้ำนมราชสีห์ และเปลือกไข่ที่เพิ่งฟักเป็นตัว ห่อผ้าสีดำ แล้วนำมาต้มให้เด็กที่เป็นตานขโมยอาบ[3]
  • ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว จะใช้ราก ใบ ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง[2]
  • ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว จะใช้ราก ใบ ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้พิษ[2]

ข้อห้าม: สำหรับผู้ที่มีพลังหย่อน ม้ามหรือกระเพาะพร่อง และสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าแส้ม้า

  • ทั้งต้นพบสาร Adenosine, Cornin, Stachyose, Tannin, Verbenalin, Verbenalol และน้ำมันระเหย เป็นต้น[1]
  • เมื่อใช้สารที่สกัดมาทำเป็นยาฉีดให้กับผู้ป่วยที่เป็นไข้จับสั่น พบว่ามีการยับยั้งและสามารถรักษาโรคไข้จับสั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่ต้องฉีดเข้าก่อนที่ไข้จับสั่นจะกำเริบประมาณ 2-3 ชั่วโมง ในครั้งหน้า
  • เมื่อนำหญ้ามาต้มหรือสกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของกระต่ายที่กำลังมีอาการอักเสบของตับ พบว่าสามารถบรรเทาอาการอักเสบและความเจ็บปวดของกระต่ายได้[1]
  • สาร Verbenalin มีฤทธิ์กระตุ้นสัตว์ทดลองให้มีน้ำนมเพิ่มมากขึ้น[1] ส่วนที่อยู่เหนือดินมีฤทธิ์ลดการอักเสบในคนได้ ส่วนในสัตว์ทดลองพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก ขับปัสสาวะ[2]
  • สารสกัดจากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์แก้ปวด ส่วนสารสกัดจากใบด้วยแอลกอฮอล์หรือกรดมีฤทธิ์ต้านการเจริญของแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดได้ดีมาก และยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมได้อีกด้วย[2]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้าแส้ม้า”. หน้า 584.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “นังด้งล้าง”. หน้า 222.
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “นังด้งล้าง”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [10 ก.ค. 2014].
4. สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “นังด้งล้าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: chm-thai.onep.go.th. [10 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://nhgardensolutions.wordpress.com/tag/blue-vervain/
2.https://plants.ces.ncsu.edu/plants/verbena-hastata/

หนาดดำ กับสรรพคุณรู้ไว้ติดตัว

0
หนาดดำ กับสรรพคุณรู้ไว้ติดตัว เป็นพรรณไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรงมีขนสากมือ ดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง ผลแห้งขนนุ่ม
หนาดดำ
พรรณไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรงมีขนสากมือ ดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง ผลแห้งขนนุ่ม

หนาดดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acilepis squarrosa D.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Vernonia squarrosa (D.Don) Less.) จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2]
ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ ม่วงนาง (ชัยภูมิ), เกี๋ยงพาช้าง (ภาคเหนือ)[2] บางตำราใช้ชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า “หนาดคำ“[1]

ลักษณะของหนาดดำ

  • ลักษณะของต้น[1]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีอายุหลายปี
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูงได้ถึง 40-100 เซนติเมตร
    – มีขนที่ค่อนข้างสากมือ
  • ลักษณะของใบ[1]
    ใบเป็นใบเดี่ยว
    ออกเรียงสลับกัน
    ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่
    ใบมีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 4-8 เซนติเมตร
    ผิวใบด้านล่างมีขน
  • ลักษณะของดอก[1]
    – ออกดอกเดี่ยวหรือจะออกเป็นช่อเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 ดอก
    – จะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง
    – ดอกมีขนาด 1-2 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นฝอยละเอียดสีม่วงเข้ม สีม่วงชมพู หรือสีม่วงแดง
    – อัดกันแน่นอยู่บนกลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีเขียว
    – กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป
    – จะสามารถออกได้ตลอดทั้งปี
  • ลักษณะของผล[1]
    – ผลเป็นผลแห้ง
    – ไม่แตก
    – มีขนนุ่ม
    – มี 10 สัน

สรรพคุณของหนาดดำ

  • ทั้งต้นและราก สามารถนำมาผสมกับสมุนไพรต้นหรือรากของผักอีหลืน ต้นสังกรณีดง ต้นตรีชวา และหัวยาข้าวเย็น นำมาใช้ต้มกับน้ำดื่ม เพื่อใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย[1]
  • รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง
  • ใบ นำมาย่างไฟแล้วนำมาพันขาจะช่วยบรรเทาอาการปวด
  • ใบ นำมาอังไฟใช้ประคบบริเวณที่มีอาการเคล็ด ปวดบวม

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนาด ดำ”. หน้า 224.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หนาด ดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [14 ก.ค. 2015].

หนามพรม กับสรรพคุณรู้ไว้ติดตัว

0
หนามพรม กับสรรพคุณรู้ไว้ติดตัว เป็นไม้พุ่ม ดอกสีขาวรูปดาวปลายแหลมมีกลิ่นหอม ผลรูปไข่ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงเข้มหรือสีดำ
หนามพรม
เป็นไม้พุ่ม ดอกสีขาวรูปดาวปลายแหลมมีกลิ่นหอม ผลรูปไข่ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงเข้มหรือสีดำ

หนามพรม

หนามพรม เป็นไม้พุ่มมีชื่อสามัญ คือ Conkerberry, Bush Plum มีถิ่นกำเนินอยู่ทั่วไปในเขตร้อน เช่น เอเชียใต้ ออสเตรเลีย และต่ามหมู่เกาะต่างๆ ใบเขียวเป็นมันวาว กลีบดอกสีขาวรูปดาว สรรพคุณของรากใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Carissa spinarum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Carissa cochinchinensis Pierre ex Pit., Carissa diffusa Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)[1],[3]
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ขี้แฮด (ภาคเหนือ), พรม หนามพรม (ภาคกลาง)[1]

ลักษณะของหนามพรม

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3]
    – มีความสูงได้ถึง 4-5 เมตร
    – ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก
    – เป็นพุ่มทึบ
    – เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง
    – มีหนามแหลมยาวตามกิ่ง ลำต้น และบริเวณโคนต้น ยาว 1-3 เซนติเมตร
    – ลำต้นมียางสีขาว
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
    – เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
    – สามารถพบได้ตามบริเวณป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[3]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปรี รูปกลม รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ
    – ปลายใบแหลมมีติ่ง
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบเรียบ
    – ทั้งหลังใบและท้องใบเรียบ
    – ใบมีความกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาว 2.5-4 เซนติเมตร
    – แผ่นใบค่อนข้างบาง ไม่มีขน
    – ใต้ท้องใบมีเส้นใบประมาณ 5-7 คู่ ค่อนข้างเห็นได้ชัด
    – ก้านใบสั้น ยาวได้ 1-3 มิลลิเมตร
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[3]
    – ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – จะออกที่ปลายกิ่ง
    – ดอกย่อยเป็นสีขาวมีกลิ่นหอม
    – มีกลีบดอก 5 กลีบ
    – โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว
    – ปลายกลีบดอกแหลม
    – กลีบดอกยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ
    – กลีบเป็นรูปหอก
    – โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ
    – ปลายกลีบแยกออกจากกัน
    – มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ภายในหลอดดอกหรือกลางท่อดอก
  • ลักษณะของผล[1],[3]
    – ผลเป็นรูปทรงกลมรีหรือรูปไข่
    – ผิวผลเรียบเป็นมัน
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำ
    – มีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นรูปรี สีน้ำตาลอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร

คุณค่าทางโภชนาการ

สารอาหาร ปริมาณสารที่ได้รับ
ไขมัน 2.3g 4%
ไขมันอิ่มตัว 1 กรัม 5%
คอเลสเตอรอล 1 มก 0%
โซเดียม 8 มก 0%
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 19g 6%
ไฟเบอร์ 9.3g 37%
น้ำตาล 1 กรัม
โปรตีน 2.4g 5%
วิตามินเอ 0%
วิตามินซี 7%
แคลเซียม 6%
เหล็ก 16%

สรรพคุณของหนามพรม

  •  แก่น สามารถช่วยบำรุงไขมันได้[4]
  • แก่น มีรสชาติมันเบื่อ สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้[1],[2]
  • ราก นำมาผสมกับลำต้นไส้ไก่แล้วต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้[4]
  • ราก นำมาผสมกับรากไส้ไก่ และรากนมแมวแล้วต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงในจมูก[4]
  • เนื้อไม้ มีรสชาติเฝื่อนมันขมฝาด สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้[1],[3]
  • ใบ ใช้รักษาโรคต่างๆ ในร่างกาย เช่น ช่องปากอักเสบ ปวดหู ท้องร่วง และเป็นไข้

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หนาม พรม (Nam Phrom)”. หน้า 325.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “หนาม พรม”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 188.
3. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หนาม พรม”. หน้า 817.
4. ระบบต้นแบบศูนย์สมุนไพรเสมือนด้วยแอนนิเมชันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. “หนาม พรม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: khaodanherb.com. [15 ก.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://ecency.com/foo/@phuong.sitha/

ว่านน้ำเล็ก วัชพืชสมุนไพรช่วยระงับอาการปวด

0
ว่านน้ำเล็ก
ว่านน้ำเล็กว่านน้ำเล็ก วัชพืชสมุนไพรช่วยระงับอาการปวด เป็นที่รู้จักว่าเป็นวัชพืชในน้ำหรือที่ชุ่มน้ำ ขึ้นตามก้อนหินในลำธาร เนื้อจะเป็นแป้งและมีรสชาติฝาด ดอกเป็นช่อ มีกาบสั้น
ว่านน้ำเล็ก
วัชพืชในน้ำหรือที่ชุ่มน้ำ ขึ้นตามก้อนหินในลำธาร เนื้อจะเป็นแป้งและมีรสชาติฝาด ดอกเป็นช่อ มีกาบสั้น

ว่านน้ำเล็ก

ว่านน้ำเล็ก Acorus เป็นที่รู้จักว่าเป็นวัชพืชในน้ำหรือที่ชุ่มน้ำ พบได้ตามพื้นดินเปียกชื้นตามธรรมชาติในท้องสวนทั่วไป ใบเรียวยาว ดอกมีหนามแหลมสีขาวและเขียวเล็กน้อยซ่อนอยู่ใต้ใบไม้ นอกจากนั้นยังชอบแสงแดดจัด จัดอยู่ในวงศ์ว่านน้ำ (ACORACEAE) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acorus calamus var. angustatus Besser (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acorus asiaticus Nakai, Acorus rumphianus S.Y.Hu, Acorus tatarinowii Schott, Acorus terrestris Rumph. ex Schott) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ไคร้น้ำ (เพชรบูรณ์), ว่านน้ำเล็ก (ภาคกลาง)

  • ลักษณะของต้นว่าน[1]
    – เป็นพรรณไม้ล้มลุก
    – ลักษณะโดยรวมนั้นจะคล้ายกับต้นว่านน้ำเป็นอย่างมาก แต่มีจะมีขนาดของต้นที่เล็กกว่า และมีความสูงต่างกันค่อนข้างมาก
    – เหง้ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มิลลิเมตร
    – ภายนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อน
    – ภายในเป็นสีขาว
    – เนื้อจะเป็นแป้งและมีรสชาติฝาด
    – มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
    – จะขึ้นตามหนองบึง และตามก้อนหินในลำธารทั่วไป
  • ลักษณะของดอกว่าน[1]
    – ออกดอกเป็นช่อ
    – ช่อดอกเป็นแท่ง ๆ
    – มีกาบสั้นกว่าต้นว่านน้ำ

สรรพคุณของว่านน้ำเล็ก

  • ทั้งต้น สามารถทำให้รู้สึกสงบได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาขับลมได้[1],[2]
  • ทั้งต้น สามารถช่วยระงับอาการปวดได้[1]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยารักษาโรคชักได้[1],[2]
  • ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยากระตุ้น และเป็นยาบำรุงธาตุได้[1],[2]
  • ทั้งต้น สามารถใช้รักษาอาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อยได้[1],[2]

ประโยชน์ของว่านน้ำเล็ก

  • ทั้งต้น สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลงได้[2]
  • ว่านชนิดนี้มีน้ำมันหอมระเหย โดยประกอบไปด้วย asarone bitter principle จึงสามารถนำไปใช้ทำเป็นน้ำหอมได้[1]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านน้ำเล็ก”. หน้า 719.
2. สมุนไพรรักษาโรค, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี. “ว่านน้ำเล็ก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.skn.ac.th. [16 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://inpst.net/twitter/rt-devkota_hp-acorus-calamus-l-acoraceae
2.https://www.lovetoknow.com/home/garden/acorus-calamus