ต่อมลูกหมากโต มีแนวทางการรักษาอย่างไรให้หายขาด
ต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง

ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากโต ( BPH – Benign Prostatic Hyperplasia ) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ต่อมลูกหมากคือส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ มีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดหุ้มรอบท่อกระเพาะปัสสาวะ ปกติมีขนาด 15-20 กรัม ต่อมลูกหมากมีหน้าที่ผลิตของเหลวเป็นตัวหล่อลื่นและนำส่งเชื้ออสุจิ โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังอายุ 20 ปี และอายุ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดอีกครั้ง โดยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของต่อมลูกหมากโต และจะพบได้บ่อยขึ้นเมื่อมาอายุยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ

อาการของต่อมลูกหมากโต

  • มีอาการปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่นปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที
  • ปัสสาวะนาน ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด ( ขัดเบา ) ปัสสาวะเป็นหยดๆ
  • รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
  • ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน
  • มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ

การวินิจฉัยโรค

1. แพทย์จะซักประวัติ หรืออาจให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบเกี่ยวกับอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
2. แพทย์จะตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วที่ทายาหล่อลื่นคลำต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก
3. ตรวจสมรรถภาพการขับถ่ายปัสสาวะ วัดอัตราการไหลของปัสสาวะและปริมาณปัสสาวะที่สามารถปัสสาวะออกมาได้ รวมไปถึงวัดปริมาณปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
4. ตรวจดูภายในกระเพาะปัสสาวะด้วยกล้องส่องเมื่อมีความจำเป็น เพื่อวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง
5. ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ในกรณีที่มีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
6. การตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมาก ( PSA )

ปัจจจัยความเสี่ยงของต่อมลูกหมากโต

แนวทางการรักษาต่อมลูกหมากโต

1. กรณีมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
2. หากปัสสาวะบ่อยให้งดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะก่อนนอนในเวลากลางคืน
3. รักษาด้วยยา แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar ( finasteride ) ช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง ( alpha-blockers ) ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการให้ยาตามความเหมาะสม
4. รักษาด้วยความร้อน ( การใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก ) การเลเซอร์ต่อมลูกหมาก สามารถใช้เพื่อลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ ข้อดีของการรักษานี้ก็คือสามารถดำเนินการรักษาในขณะที่เป็นผู้ป่วยนอกได้ โดยจะมีการใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุจำนวนเล็กน้อยในการรักษา
5. รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก ( TURP ) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้ ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา

อาการแทรกซ้อนของต่อมลูกหมากโต

  • ต่อมลูกหมากอักเสบ บวม ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ไตเสื่อม ไตวาย
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

การป้องกันต่อมลูกหมากโต

ความเสี่ยงของการเป็นต่อมลูกหมากโตเพิ่มขึ้นตามอายุ วิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดต่อมลูกหมากโตได้ในขั้นต้น คือ

  • หมั่นสังเกตความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจเช็คต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี
  • ไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ

ดังนั้นการโตผิดปกติของต้อมลูกหมากเป็นเรื่องที่ผู้ชายไม่ควรมองข้าม สำหรับชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปควรหมั่นสังเกตอาการขณะขับถ่ายปัสสาวะ และตรวจเช็คภายในกับแพทย์เฉพาะทางเป็นประจำทุกปีเพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างมีประสิทธิผลนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม