อาการท้องเสีย ( Diarrhea )

0
12669
อาการท้องเสีย ( Diarrhed )
อาการท้องเสีย ( Diarrhed ) คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ ความถี่ในการขับถ่ายก็แปรผันไปตามต้นเหตุและความรุนแรงของอาการ
อาการท้องเสีย ( Diarrhed )
อาการท้องเสีย ( Diarrhed ) คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ

อาการท้องเสีย ( Diarrhea )

อาการท้องเสีย ( Diarrhea ) เป็นอาการเจ็บป่วยแบบที่ใครๆ ก็เข้าใจได้ และมักจะรู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันดีอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เราจะมาดูในเชิงลึกลงไปอีกหน่อย ว่าอาการท้องเสียคืออะไร มีสาเหตุจากสิ่งใดได้บ้าง และต้องดูแลรักษากันอย่างไร เพราะว่าหลายครั้งอาการท้องเสียทำให้มีผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมา เนื่องจากความเข้าใจที่ไม่ลึกซึ้งมากพอ และมองว่าอาการท้องเสียเป็นเรื่องเล็กน้อย ปล่อยไว้ก็สามารถหายเองได้นั่นเอง

แบบไหนที่เรียกว่า อาการท้องเสีย

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันจริงๆ ก่อนดีกว่าว่าท้องเสียคืออะไร อาการท้องเสีย คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ ความถี่ในการขับถ่ายก็แปรผันไปตามต้นเหตุและความรุนแรงของอาการ บางรายจะปวดท้องร่วมด้วย บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน และหนักกว่านั้นก็คือถ่ายเป็นเลือด ความแตกต่างทั้งหมดนี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีต้นตอมาจากสิ่งใด การเฝ้าสังเกตอาการที่เกิดขึ้นทันทีที่รู้ตัวว่าท้องเสียจึงสำคัญต่อการวินิจฉัยของทีมแพทย์มาก เช่น จำนวนครั้งในการขับถ่าย ปริมาณของอุจจาระ ตลอดจนลักษณะ สี กลิ่นและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เลือด เมือก เป็นต้น
ระบบร่างกายไล่ไปตั้งแต่กระเพาะอาหารจนถึงทวารหนัก หากทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ อาหารที่เราทานเข้าไปเมื่อผ่านการย่อยในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ก็จะเคลื่อนตัวไปยังส่วนของลำไส้ เริ่มจากลำไส้เล็กที่ทำหน้าที่ย่อยบางส่วนต่อไปอีก พร้อมกับดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อครบกำหนดก็เคลื่อนมวลสารเหล่านั้นต่อไปยังลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ระบบร่างกาย และกักตุนมวลสารเอาไว้ให้มากพอสำหรับการขับถ่าย หรือกักตุนเอาไว้จนถึงเวลาขับถ่ายรอบต่อไป เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อหรือมีสิ่งแปลกปลอมอื่นใดที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียขึ้น เราอาจแปลความหมายแบบหยาบๆ ได้ดังนี้ ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถกักมวลสารเอาไว้ได้และไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับไปดีพอนั่นเอง

สัญญาณที่แยกระดับความรุนแรงของ อาการท้องเสีย

ปกติแล้วถ้า อาการท้องเสียนั้นเกิดจากทานอาหารผิดประเภท หรือทานอาหารที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย เช่น มะขาม มะเฟือง มะยม เป็นต้น แบบนี้ถือว่าเป็นอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงและมักจะหายได้เองตามธรรมชาติ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ถ่ายเหลวเป็นน้ำราวๆ 3-4 ครั้งต่อวัน อาจจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ที่แน่ๆ จะมีอาการวิงเวียนเนื่องจากถ่ายท้องมากเกินไป อย่างไรก็ตามควรจะหายได้เองในเวลาไม่นาน ประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าอาการท้องเสียส่งสัญญาณต่อไปนี้ ให้รู้ทันทีว่าอาจเป็นอันตรายและควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้เร็วที่สุด
1. มีอาการท้องเสียยาวนานติดต่อกันหลายวัน อาจเป็นสัปดาห์หรือหลายสัปดาห์ โดยไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ไม่ได้ทานอาหารที่ผิดปกติ ไม่ได้ไปทำกิจกรรมที่มีความสุ่มเสี่ยงใดๆ เลย
2. มีอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง เมื่อร่างกายขาดน้ำอย่างหนัก ปากจะแห้ง ตาจะโหล และอาจรู้สึกว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างมาก แบบนี้ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
3. อุจจาระเริ่มมีความผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็น จากมีน้ำมากก็เริ่มมีมูกเลือดปะปน มีสีดำหรือกลายเป็นสีน้ำข้าว เป็นต้น

4. มีอาการอื่นๆ แทรกซ้อน เช่น เป็นไข้ตัวร้อน หนาวสั่น เป็นต้น
สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบของอาการท้องเสีย
หากแบ่ง อาการท้องเสียเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เราก็จะแยกได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ท้องเสียแบบฉับพลันและท้องเสียแบบเรื้อรัง ส่วนมากถ้าเป็นอาการท้องเสียแบบฉับพลันก็จะเกิดจากการติดเชื้อบางอย่าง และถ้าเป็นอาการท้องเสียแบบเรื้อรังมักจะเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบของร่างกาย ลองมาดูรายละเอียดจากข้อมูลเหล่านี้
อาการท้องเสียฉับพลัน : มีส่วนของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการอยู่ 3 ประเภท ได้แก
5. เชื้อแบคทีเรีย เช่น Aeromonas spp., Campylobacter spp., Clostridium difficile, Escherichia coli, Pleisiomonas spp., Salmonella spp., Shigella spp. เป็นต้น
6. เชื้อไวรัส เช่น adenovirus, norvirus, rotavirus, HIV เป็นต้น
7. ปรสิต เช่น Cryptosporidia, Cyclospora, Entamoeba histolytica, Giardia lamblia, Microsporidia เป็นต้น

อาการท้องเสียแบบเรื้อรัง

1. Fatty diarrhea : เกิดจากภาวะดูดซึมที่ผิดปกติหรือภาวะย่อยอาหารที่ผิดปกติไป ตัวอย่างเช่น mesenteric ischemia, mucosal diseases, short bowel syndrome, small intestinal bacterial overgrowth
2. Inflammatory diarrhea : เกิดจากการติดเชื้อและมีภาวะอักเสบบริเวณลำไส้ ตัวอย่างเช่น เช่น invasive bacterial infection, invasive parasitic infections, pseudomembranous colitis, ulcerating viral infections, Crohn’s disease, ulcerative colitis, ulcerative jejunoileitis, ischemic colitis, neoplasia และ radiation colitis
3. Watery diarrhea : เกิดจากผลข้างเคียงของอาการเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้รวมไปถึงการได้รับยาหรือสารพิษบางอย่างด้วย ตัวอย่างเช่น addion’s disease, carcinoid sydrome, gestrinoma, hyperthyroidism, mastocytosis, medullary carcinoma of the thyroid, pheochromocytoma, VIPoma, bacterial toxins, congenital sydromes, diso rdered motility, regulation
จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของ อาการท้องเสีย นั้นมีหลากหลาย ไม่ใช่แค่ทานอาหารผิดสำแดงเท่านั้น จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้ถึงสาเหตุแบบเจาะจง เพื่อการรักษาที่ตรงจุดจริงๆ

อาการท้องเสีย ( Diarrhea ) คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ ความถี่ในการขับถ่ายก็แปรผันไปตามต้นเหตุและความรุนแรงของอาการ

การซักประวัติผู้ป่วยที่มี อาการท้องเสีย

ในขั้นตอนของการซักประวัติจะแบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญได้แก่ การซักประวัติเพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และการซักประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการซักประวัตินั้นจำเป็นต้องทำอย่างพิถีพิถัน ใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อไม่ให้พลาดข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ไป ซึ่งนั่นอาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่สุดสำหรับการรักษาโรคในครั้งนั้น
การซักประวัติเพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้น มีรายละเอียดที่ควรเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนดังนี้
1. ระยะเวลาที่มีอาการท้องเสียเกิดขึ้น นี่เป็นตัวชี้วัดคร่าวๆ ว่าผู้ป่วยมีอาการท้องเสียแบบฉับพลันหรือเรื้อรัง โดยวัดกันที่ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ถ้าน้อยกว่าก็เป็นแบบฉับพลัน แต่ถ้ามากกว่าก็จะเป็นแบบเรื้อรัง
2. ลักษณะของอุจจาระที่ขับถ่ายออกมาในช่วงเวลาที่มี อาการท้องเสียมีสิ่งใดที่ผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็นบ้างหรือไม่ เช่น มีมูกเลือด มีสีเข้มเกินไปจนดำ มีความมันแบบน้ำมัน เป็นต้น ทุกอย่างเป็นสัญญาณบอกต้นเหตุของโรคได้ทั้งนั้น

3. จำนวนครั้งในการขับถ่าย ความถี่ของการขับถ่ายต่อวันเป็นอย่างไร มีสิ่งเร้าไหนหรือไม่ เช่น เมื่อดื่มน้ำก็จะปวดท้องขับถ่าย เมื่อออกแรงมากก็ปวดท้องขับถ่าย เป็นต้น หรือมีช่วงเวลาเฉพาะเจาะจงในการขับถ่ายหรือไม่ เช่น ถ่ายบ่อยเฉพาะในช่วงกลางคืน เป็นต้น
4. ประวัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไล่ไปตั้งแต่การใช้ยาในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยาหรืออาหารเสริมที่ทานประจำ เพศสัมพันธ์ ประวัติครอบครัว โรคประจำตัว เป็นต้น

การซักประวัติเพื่อวัดระดับความรุนแรงของ อาการท้องเสีย

1. อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น เช่น มีอาการสั่นเทิ้ม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เป็นต้น
2. ปริมาณของมวลสารในการขับถ่ายแต่ละครั้ง มีมากหรือน้อยอย่างไร ถ้ามากเกินไปมีอาการอื่นใดร่วมด้วยหรือไม่ เช่น หน้ามืดตาลาย กล้ามเนื้อเมื่อยล้า เป็นต้น
การซักประวัติเป็นการเก็บข้อมูลผ่านการซักถาม ซึ่งหลายคนก็สามารถสรุปข้อมูลได้จากตรงนี้เลย แต่ในอีกหลายคนนั้นไม่ใช่ จำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มเติม เพื่อยืนยันสมมติฐานของโรคหรือหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มอีก

การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มี อาการท้องเสีย

1. การตรวจร่างกายเบื้องต้น : เป็นการตรวจสุขภาพความสมบูรณ์พร้อมของร่างกาย และตรวจหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของอาการท้องเสียที่เกิดขึ้น เช่น การตรวจ bowel sound, abdominal distension, mass, ascites เป็นต้น
2. การตรวจแบบเฉพาะเจาะจง : ใช้สำหรับตรวจผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคต้องสงสัยต่างๆ ดังนี้ mastocytosis, amyloidosis, Addison’s disease, glucagonoma, Carcinoid syndrome, Celiac disease เป็นต้น

การเก็บข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้การวินิจฉัยตรงกับความเป็นจริง ซึ่งเป็นผลดีกับทีมแพทย์และตัวผู้ป่วยเอง บางอย่างจึงเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยที่ต้องสังเกตอาการตัวเองอย่างละเอียดมาล่วงหน้า เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด

การรักษา อาการท้องเสีย

ความจริงแล้วรูปแบบการรักษาจะเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลการวินิจฉัยที่ได้มา แต่ละคนจึงเหมาะกับการรักษาแตกต่างกัน บ้างทานยาอย่างเดียวก็หายได้ บ้างต้องไปรักษาโรคต้นตอเสียก่อน ดังนั้นข้อมูลการรักษา อาการท้องเสียที่จะกล่าวถึงนี้จึงเป็นการดูแลเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบไปใช้ได้ในยามจำเป็น ก่อนที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาตามขั้นตอนต่อไป 
1. ถ้าอาการท้องเสียนั้นไม่รุนแรงมาก ส่วนใหญ่มักหายขาดได้เองในเวลาไม่นาน โดยที่อาจจะไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมเลยก็ได้ ปล่อยให้ร่างกายเยียวยาตัวเอง หรือถ้าคิดว่าร่างกายรับมือไม่ไหวจริงๆ ก็ให้ชดเชยเกลือแร่เข้าสู่ร่างกายแทนส่วนที่เสียหายไป ผ่านการสูญเสียน้ำจากการขับถ่าย เกลือแร่ที่ใช้ก็สามารถหาซื้อได้ไม่ยากตามร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือจะทำขึ้นมาใช้เองชั่วคราวก็ได้ ด้วยการผสมน้ำตาลกับเกลือในอัตราส่วน 1:1 แล้วผสมกับน้ำเปล่า คนให้ละลาย ค่อยๆ จิบไปเรื่อยๆ
2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากกว่าเดิม เบื้องต้นให้เติมเกลือแร่เข้าสู่ร่างกายอย่าได้ขาด งดอาหารที่จะกระตุ้นให้เกิดการถ่ายท้องมากขึ้น หากถึงมื้ออาหาร เลือกทานอาหารที่อ่อน ย่อยง่ายและมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่าปกติสักหน่อย จากนั้นรีบเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาทันที ถ้ายังไม่สามารถทำได้ ก็ให้พักผ่อนเพื่อรักษาเรี่ยวแรงให้ได้มากที่สุด

แนวทางในการป้องกัน อาการท้องเสีย

หากเป็น อาการท้องเสีย ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บหรือโรคประจำตัวต่างๆ อันนี้ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพราะการหาวิธีแก้ไขเอาเองอาจไม่ตรงจุดและสร้างความเสียหายให้ลุกลามใหญ่โตมากขึ้นอีก แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ เราสามารถลดความเสี่ยงได้ดังต่อไปนี้
1. เลือกทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุก สดใหม่ ไม่มีสิ่งผิดปกติอย่างเช่น เชื้อรา คราบดำ เป็นต้น
2. ไม่ทานอาหารที่กระตุ้นการถ่ายท้องมากเกินไป และหมั่นสังเกตว่ามีอาหารประเภทไหนบ้างไหมที่ไม่สามารถทานได้ เช่น บางคนไม่มีน้ำย่อยนม ก็จะทานนมไม่ได้ ทานเมื่อไรก็พาลให้ท้องเสียเมื่อนั้น
3. ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยให้ดี ล้างมือให้บ่อยขึ้นเมื่อต้องเดินทางไปไหนมาไหน หรืออยู่ในแหล่งที่มีผู้คนพลุกพล่าน ภาชนะหุงหาอาหารก็ต้องจัดการดูแลความสะอาด ตลอดจนเสื้อผ้าที่สวมใส่และเครื่องใช้ต่างๆ รอบตัวด้วย
4. หลงเข้ามาก็จะถูกระบบร่างกายจัดการให้หมดไปได้โดยง่าย
5. ตรวจร่างกายเป็นประจำ อาจจะปีละครั้ง หรือ 2 ปีต่อครั้ง เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพร่างกายโดยรวมมีอะไรที่ผิดปกติไปหรือไม่ จำเป็นต้องดูแลส่วนไหนเป็นพิเศษบ้าง
6. หากมีโรคประจำตัว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาระดับอาการของโรคให้คงที่หรือดีขึ้น อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ จะได้ไม่มากวนใจนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Schiller LR, Sellin JH. Diarrhea. In : Feldman M, Friedman L, Brandt L, editors. Sleisenger and Fordtran’s gastrointestinal and liver disease. 10th ed. Philadelphia, PA : Elsevier Saunders; 2016. p. 221-241.