เชื้อราในปาก ที่เกิดในทารกและผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่

0
13372
โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) เกิดจากการติดเชื้อรายีสต์ มีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก คอของทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุในบางครั้ง
เชื้อราในปาก ที่เกิดในทารกและผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่
โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) มีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก และผู้สูงอายุในบางครั้ง

โรคเชื้อราในปาก

โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) เกิดจากการติดเชื้อรายีสต์ที่เรียกว่า แคนดิดา ( Candida albicans ) โดยปกติเชื้อราแคนดิดาจะอาศัยอยู่บริเวณผิวหนังภายในร่างกายของมนุษย์ เช่น ปาก คอ ลิ้น เยื่อบุกระพุ้งแก้ม ริมฝีปากด้านใน เหงือก ต่อมทอนซิล เพดานปาก ลำไส้ และช่องคลอด ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อาจเจริญเติบโตจนไม่สามารถควบคุมได้หรือมีการแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่ลึก เช่น กระแสเลือด ไต หัวใจ หรือสมอง เชื้อราแคนดิดาบาชนิดมีความทนทานต่อยาต้านเชื้อราที่ใช้ในการรักษา จะสังเกตเห็นเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก คอของทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุในบางครั้ง

อาการเชื้อราในช่องปาก

  • รู้สึกเจ็บปากและแสบร้อนในปาก
  • พบคราบฟ้าสีขาวที่บริเวณลิ้น เยื่อบุกระพุ้งแก้ม ริมฝีปากด้านใน เหงือก ต่อมทอนซิล และเพดานปาก
  • รู้สึกกลืนลำบาก
  • รู้สึกปากแห้ง
  • สูญเสียการรับรสชาติ
  • รอยแตกที่มุมปาก
  • มีเลือดออกเล็กน้อย
  • ปากและลำคอแดง
  • มีแผลพุพองในปาก

โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) มีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก และผู้สูงอายุในบางครั้ง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก

  • ทารกและผู้สูงอายุ
  • การมีสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี
  • การติดเชื้อราแคนดิดาในทารกแรกเกิดเป็นการติดเชื้อจากช่องคลอดของมารดา
  • การติดเชื้อแคนดิดาในที่อื่น ๆ เช่น ในทารกผิวหนังอักเสบติดเชื้อจากผ้าเช็ดปาก
  • ผู้ติดเชื้อเอดส์ ( HIV )
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่มีอาการปากแห้งบ่อยจากยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ
  • การทำความสะอาดฟันปลอมไม่ดี
  • การสูบบุหรี่อย่างหนัก
  • การได้รับบาดเจ็บที่ปาก
  • การขาดสารอาหาร เช่น ขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี
  • การรับประทานยาฆ่าเชื้อ ( ยาปฏิชีวินะ ) เป็นเวลานานในปริมาณมาก สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเชื้อราในช่องปากได้
  • ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่อง
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้น สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์
  • การได้รับเคมีบำบัด หรือการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็ง

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในปาก

1. แพทย์จะทำการซักถามประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะหรือการใช้ยาครั้งล่าสุดของผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยอ่อนแอลงได้เช่นกัน
2. แพทย์จะพิจารณาจากประวัติอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคเอชไอวี หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย
3. หากเป็นการติดเชื้อราในปากแพทย์จะดูลักษณะของฝ้า รอยแดง ที่เกิดขึ้นอาจมีการขูดเอาฝ้าขาวในปากไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร

การรักษาโรคเชื้อราในปาก

โดยปกติโรคเชื้อราในปากหากมีอาการที่ไม่รุนแรงสามารถหายเองได้ภายใน 7-14 วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงการรักษาโดยทั่วไป คือ การกินยาต้านเชื้อรา หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นหลังจากกินยาแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของเชื้อราในช่องปาก

ในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมักไม่ค่อยเกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำอาการอาจรุนแรงและแพร่กระจายไปยังหลอดอาหาร เข้าสู่กระแสเลือด และการแพร่กระจายไปยังหัวใจ สมอง ตา หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามจนเสียชีวิตได้

การป้องกันเชื้อราในช่องปาก สำหรับทารกและผู้สูงอายุ

  • เชื้อราในช่องปากเป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยในทารก แต่สามารถป้องกันได้ โดยการทำความสะอาดขวดนมและจุกนมให้สะอาดด้วยน้ำร้อนป้องกันเชื้อราได้
  • บ้วนปากหลังรับประทานอาหารเสร็จทุกครั้ง
  • แปรงฟัน แปรงลิ้น แปรงเหงือก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ในทารกให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดบริเวณลิ้นที่เกิดฝ้าสีขาวหลังกินนม
  • ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
  • งดสูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว
  • การถอดฟันปลอมเพื่อทำความสะอาดทุกวัน
  • ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพในช่องปาก

เชื้อราในปากสามารถป้องกันได้ด้วยตนเองเพียงดูแลความสะอาดฟัน ลิ้น เหงือก และอุปกรณ์ที่ใช้ในช่องปาก เช่น แปรงสีฟัน ฟันปลอม ขวดนม จุกนมของคุณให้สะอาดอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในปากของคุณและลูกน้อยได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม