การป้องกันและแก้ไขอาการปวดหลัง

0
3857
การป้องกันและแก้อาการปวดหลัง
อาการปวดหลังเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ปริมาณน้ำในหมอนรองกระดูกลดลงทำให้ความยืดหยุ่นและการทำงานไม่ดี
การป้องกันและแก้อาการปวดหลัง
อาการปวดหลังเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ปริมาณน้ำในหมอนรองกระดูกลดลงทำให้ความยืดหยุ่นและการทำงานไม่ดี

อาการปวดหลัง

อาการปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ทั้งแต่อายุน้อยจนกระทั้งผู้ที่มีอายุมาก ก็สามารถเกิดอาการปวดหลังได้ทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ในผู้ที่มีอายุน้อย อาการปวดจะมีเกิดเนื่องจากอุบัติเหตุ การทำงานที่ต้องยกของหนัก หรือการทำงานด้วยท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ส่วนในผู้สูงอายุอาการปวดหลังเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนมาก ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันบางชนิดที่ต้องมีการใช้กล้ามเนื้อหลังอย่างผิดวิธี เช่น การกวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างรถ ที่ต้องก้มเป็นระยะเวลานาน

อาการปวดหลังสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1.การปวดตั้งแต่บริเวณเอว บั้นเอว

2.การปวดที่บริเวณเอวลงมาสู่บริเวณต้นขา

3.การปวดที่เกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ ซึ่งอาการปวดชนิดนี้จะเป็นอาการปวดชนิดเรื้อรัง คือ จะมีอาการเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน แต่อาการจะไม่รุนแรง มี อาการปวดหลัง จากตื่นนอน เมื่อลุกขึ้นเดินหรือยืนสักพักอาการปวดก็จะหายไปเอง

4.อาการปวดที่สะโพก อาการจะมีความรุนแรงเมื่อทำการเดิน หรือทำการเคลื่อนไหวตัวเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ

อาการปวดหลัง เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่อาการปวดหลังที่สร้างผลกระทบให้กับการดำเนินชีวิตประจำวันมากที่สุด ก็คือการปวดหลังชนิดเฉียบพลัน อาการปวดหลังชนิดนี้จะมีอาการปวดที่รุนแรงเกิดขึ้นในทันที ซึ่งต้องทำการสังเกตด้วยว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น การยกของหนัก การเอี้ยวตัวด้วยท่าทางที่ผิดปกติ การล้ม เมื่อทราบถึงสาเหตุจะได้ไม่ทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำอีก ป้องกันอาการปวดทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อมีอาการปวดชนิดเฉียบพลันเกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องรีบทำการประคบเย็นทันทีหรือภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อลดอาการปวด และหลังจากนั้นให้ทำการประคบร้อน อาการปวดหลังจะทุเลาลง แต่ในผู้ป่วยบางรายเมื่อทำการประคบเย็นและประคบร้อนแล้ว แต่อาการปวดก็ยังไม่ทุเลาสามารถกินยาเพื่อช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ แต่ว่าถ้าทำการกินยาและรักษาเบื้องต้นแล้ว อาการปวดยังไม่ดีขึ้นผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้หายสนิท

อาการปวดหลัง เป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกตลอดเวลา ถ้าเรายังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการปวดหลัง ไม่ว่าจะทำการยกของหนักด้วยท่าที่ผิด การนั่ง นอน ยืนเป็นเวลานานโดยไม่ทำการเปลี่ยนท่าเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังก็เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหลัง เส้นเอ็นและเอ็นกล้ามเนื้อมีความอ่อนแอไม่สามารถรองรับแรงกดหรือมีความยืดหยุ่นน้อย ดังนั้นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและเอ็นกล้ามเนื้อจึงเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังจึงเป็นวิธีที่ดีทีสุด

เราจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้อย่างไร ?

1.ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

การทำงานและดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องพบเจอกับความเครียด และสำหรับที่ต้องทำงานยกของหนัก นั่งในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ทุกอย่างทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเครียด ตึง ซึ่งเมื่อรู้สึกว่ากล้ามเนื้อมีความเมื่อยล้าเกิดขึ้นแล้ว เราควรหยุดพักเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ ชั่วโมง เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดความเสี่ยงในการอาการปวดหลัง   

2.ห้ามยกของหนัก

การยกของหนักเป็นสาเหตุที่ทำให้หลังมีอาการบาดเจ็บและเกิดอาการปวดในทันที ซึ่งการยกของหนักนั้นสามารถทำได้แต่ต้องทำด้วยท่าทางที่ถูกต้อง ซึ่งท่าที่ถูกต้องก็คือ การย่อเข่าทั้งสองลง หลังเหยียดตรง มือทั้งสองข้างจับกับสิ่ง ที่ต้องการยกให้มั่น ออกแรงที่ขาและเข่าเพื่อยกสิ่งของนั้นขึ้น อย่าทำการก้มและยกของหนักขึ้นเพราะการยกของด้วยท่าดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการปวดหลังในทันที

3.เปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ

การนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะทำงานเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงเป็นจุด ๆ ซึ่งจะทำให้หลังปวดได้ ดังนั้นเราจึงควรเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ หรือทุกชั่วโมง ทำการยืดเส้นยืดสาย ด้วยการยกมือขึ้นเหนือศีรษะและโน้มตัวไปข้างหน้า-ข้างหลัง ข้างขวา ข้างซ้าย เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหลัง

4.การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงแล้วอาการปวดหลังที่จะเกิดขึ้นก็มีน้อยลงตามไปด้วย

ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลัง

1.ท่าเหยียดขาตรง

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ปลายเท้าชิด ทำการยกปลายเท้าทั้งสองข้างขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำการเกร็งกล้ามเนื้อ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

2.ท่ายืดขางอ

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ปลายเท้าชิด ค่อยลากปลายเท้าเข้าหาลำตัว เข่ายกขึ้นจนขนานกับพื้นทำการแยกเข่าทั้งสองข้างออกจากกัน พยายามกดเข่าลงให้แนบกับพื้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องวางแนบกับพื้นก็ได้

3.ท่างอเข่าเข้าหาลำตัว

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัว ปลายเท้าชิด ยกข่าขึ้นโดยที่เข่าทั้งสองข้างยังชิดกันอยู่ นำมือทั้งสองข้างไปโอบรอบเข่าทั้งสองข้าง ดึงเข่าเข้าหาลำตัวช้า ๆ ให้เข้ามาใกล้ลำตัวมากที่สุด ในครั้งแรกที่ทำเข้าอาจจะยังไม่แนบลำตัว แต่เมื่อทำในครั้งต่อไปเราจะสามารถดึงเข่าให้มาชิดกับลำตัวได้มากขึ้น จนในที่สุดเข่าก็จะมาชิดติดกับลำตัวได้ อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

5.ท่าปั่นจักรยานกลางอากาศ

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัวฝ่ามือแนบพื้น ปลายเท้าชิด ใช้ฝ่ามือดันสะโพกให้ยกจากพื้นเล็กน้อย ยกขาทั้งสองข้างขึ้นกลางอากาศ ทำท่าคล้ายกับการปั่นจักรยาน ทำการปั่น 20 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

6.ท่ากระดกขากลางอากาศ

เริ่มจากนอนราบกับพื้น แขนทั้งสองข้างแนบลำตัวฝ่ามือแนบพื้น ปลายเท้าชิด ใช้ฝ่ามือดันสะโพกให้ยกจากพื้นเล็กน้อย ลดขาขวาลงและยกขาซ้ายขึ้น อยู่ในท่านี้ 10 วินาที สลับเอาขาซ้ายขึ้นและขาขวาลง อยู่ในท่านี้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 รอบ ครั้งละ 3 รอบ

7.ก้มแตะปลายเท้า

เริ่มจากยืนตัวตรง หลังตรง ปลายเท้าแยกออกจากันเล็กน้อย มือทั้งสองข้างโน้มมาข้างหน้า ค่อย ๆ ก้มตัวลงให้ปลายนิ้วมือจรดปลายเท้า ในการทำครั้งแรกปลายนิ้วมือจะไม่สามารถจรดปลายเท้าได้ แต่เมื่อทำไปอย่างต่อเนื่องกล้ามเนื้อหลังจะมีความยืดหยุ่นปลายนิ้วมือจะสามารถลงมาจรดปลายเท้าได้อย่างง่ายดาย

8.ท่าคลานเข่า

เริ่มจากทำท่าคลานเข่า มือและเข่าเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก ยกขาขวาแล้วยืดออกไปด้านหลัง เหยียดขาให้ตรงมากที่สุดเท่าที่ทำได้ เกร็งกล้ามเนื้อไว้ 10 วินาที ลดขาลงมาอยู่ในท่าเริ่มต้น สลับยกขาซ้ายขึ้นเหยียดขาให้ตรงเท่าที่จะทำได้ เกร็งกล้ามเนื้อไว้ 10 วินาที ลดขาลงมาอยู่ในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง ท่านี้จะสามารถช่วยลด อาการปวดหลัง ที่ร้าวลงไปยังบริเวณต้นขาได้ด้วย

การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผลได้ ในการทำครั้งแรกอย่าเพิ่งหักโหมหรือพยายามทำให้ได้ตามที่ใจต้องการ

กล้ามเนื้อที่ไม่ได้รับการออกกำลังมาก่อนจะมีความยืดหยุ่นน้อย เมื่อทำบางท่าอาจจะไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายได้ แต่เมื่อทำซ้ำไปสักระยะหนึ่งกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและสามารถยืดหยุ่นได้ดี ท่าการออกกำลังกายก็จะสวยงาม ความแข็งแรงก็สูงส่งผลให้อาการปวดหลังมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยหรือไม่เกิดขึ้นได้เลย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรเดินโดยไม่มีการใช้ไม้พยุงเพื่อช่วยลดแรกที่จะส่งไปยังกล้ามเนื้อและกระดูกที่หลังอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้อาการปวดที่เป็นอยู่นั้นมีความรุนแรงมากขึ้น จึงนับว่าไม้ค้ำรักแร้หรือไม้ช่วยพยุงเดินนั้นสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้เช่นกัน เพราะว่าไม้ช่วยพยุงจะช่วยช่วยลดการลงน้ำหนักไปที่กล้ามเนื้อหลังและขาข้างที่มีอาการปวด โดยไม้ช่วยพยุงจะเป็นตัวรับแรงและน้ำหนักนั้นไว้เอง ไม้ช่วยพยุงที่นำมาใช้ควรมีความสูงพอดี ห้ามสูงหรือต่ำกว่าอย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ผู้ใช้มีการแย่ลงกว่าเดิมได้ โดยไม้ช่วยพยุงเมื่อตั้งฉากกับพื้นราบแล้วต้องมีความสูงพอกับใต้รักแร้ วัสดุที่นำมาใช้ทำไม้ช่วยพยุงต้องเป็นวัสดุที่มีความ ทนทาน เช่น ไม้หรืออลูมิเนียม และช่วงที่อยู่ใต้รักแรต้องหุ้มด้วยวัสดุนิ่มเพื่อรองรับน้ำหนักใต้วงแขนแล้วไม่ทำให้ใต้วงแขนเกิดอาการเจ็บได้

การไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษานั้น ในขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติและให้กรอกแบบสอบถามเพื่อที่จะได้ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยว่ามีอาการอยู่ในระดับใดแล้ว ซึ่งลักษณะของแบบสอบถามจะมีลักษณะดังนี้

ชื่อ-สกุล____________________________________อายุ______วันที่____________เพศ_____

H.N._____________________________อาชีพ_____________________________________

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

ครั้งที่ 1  วันที่________________

ถ้าความปวดมากที่สุด = 10 ความไม่ปวดเลย = 0

ขณะนี้ท่านมีความปวดมาก-น้อยแค่ไหน

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ไม่ปวดเลย                                                                                                                             ปวดมากสุด

ครั้งที่ 2  วันที่________________

ถ้าความปวดมากที่สุด = 10 ความไม่ปวดเลย = 0

ขณะนี้ท่านมีความปวดมาก-น้อยแค่ไหน

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ไม่ปวดเลย                                                                                                                             ปวดมากสุด

ครั้งที่ 3  วันที่________________

ถ้าความปวดมากที่สุด = 10 ความไม่ปวดเลย = 0

ขณะนี้ท่านมีความปวดมาก-น้อยแค่ไหน

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ไม่ปวดเลย                                                                                                           ปวดมากสุด

เมื่อทำการกรอกเอกสารฉบับนี้แล้ว ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง แพทย์ที่ทำการตรวจจะให้ทำแบบสอบถามอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อที่จะได้ทราบถึงสาเหตุของอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อที่จะได้ให้การรักษาอย่างถูกต้อง

แบบสอบถามสำรวจอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง ( Modified Oswestry Low Backk Pain Disability Questionnaire )

ชื่อ-สกุล___________________________________อายุ______วันที่_____________เพศ_____

H.N._____________________________อาชีพ_____________________________________

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

ท่านปวดหลังมานานแค่ไหน_________ปี__________เดือน_________สัปดาห์

กรุณาใส่เครื่องหมาย หน้าหัวข้อที่ท่านรู้สึกเกี่ยวกับท่าน

สวนที่ 1 : ความรุนแรงของความปวด ( pain intensity )

ロ ไม่มีความปวดสักครั้งเลย

ロ สามารถทนต่อความปวดได้โดยไม่ต้องรับประทานยา

ロ มีความปวดอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับปวดเพือบรรเทาอาการปวด

ロ เมื่อรับประทานยาแล้วอาการปวดที่เป็นอยู่หายหมด

ロเมื่อรับประทานยาแล้วช่วยบรรเทาอาการปวดได้เพียงบางส่วน

ロเมื่อรับประทานยาแล้วไม่สามารถช่วยลดหรือทำให้อาการปวดหายไปได้ จึงไม่รับประทานยาแก้ปวด

ส่วนที่ 2 : อาบน้ำ, ทำความสะอาดตัวเอง, แต่งตัว ( personal care )

ロ ดูแลตัวเองได้แต่มีอาการปวดเกิดขึ้นอยู่บ้าง

ロ ดูแลตัวเองได้โดยไม่มีอาการปวดเกิดขึ้นเลย

ロ ดูแลตัวเองได้ตามปกติโดยไม่คำนึงถึงอาการปวด

ロ ดูแลตัวเองได้โดยมีอาการปวดเพิ่มขึ้น จึงทำช้าช้าด้วยความระมัดระวัง

ロ ต้องให้คนอื่นช่วยทำทุกอย่างและทุกวันในเรื่องดูแลตัวเอง

ロ ต้องนอนอยู่บนเตียงเพราะอาการปวด และดูแลตัวเองลำบาก

ส่วนที่ 3 : ยกของหนัก ( lifting )

ロ ยกหรือแบบอะไรไม่ได้เลย

ロ ยกได้แต่ของเบาๆ

ロ ยกของหนักได้โดยไม่ปวด

ロ ยกของหนักได้แต่รู้สึกปวดเล็กน้อย

ロ ยกของหนักจากพื้นขึ้นมาปวด แต่ถ้ายกอยู่ระดับโต๊ะพอจะยกได้

ロ ความปวดทำให้ยกของหนักไม่ไหว แต่ถ้าของเบาหน่อยพอยกได้

ส่วนที่ 4 : การเดิน ( walking )

ロ นอนอยู่บนเตียงตลอด

ロ เดินไหวแต่ต้องใช้ไม้เท้าหรือไม้ช่วยพยุงใต้รักแร้ช่วยในการเดินอาการปวดจึงไม่มี

ロ เดินครึ่งกิโลเมตรก็มีอาการปวด

ロ เดินได้แค่ 1 กิโลเมตร ก็มีอาการปวดแล้ว

ロ เดินมากกว่า 2 กิโลเมตร จะเริ่มมีอาการปวด

ロ เดินไกลแค่ไหนก็ไม่มีอาการปวด

ส่วนที่ 5 : การนั่ง ( sitting )

ロ นั่งเก้าอี้บางตัวได้นานโดยไม่กำหนดเวลา

ロ หนังเก้าอี้ทุกตัวได้นานโดยไม่กำหนดเวลา

ロ นั่งได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง จะปวดแล้ว

ロ นั่งได้ครั้งละไม่เกินครึ่งชั่วโมง จะเริ่มมีอาการปวดเกิดขึ้นแล้ว

ロ นั่งได้นาน 10 นาที จะเริ่มมีอาการปวดเกิดขึ้นแล้ว

ロ มีอาการปวดจนนั่งไม่สามารถนั่งได้เลย

ส่วนที่ 6 : การนอน ( sleeping )

ロ มีอาการปวดจนนอนไม่ได้เลย

ロ เมื่อรับประทานยาแก้ปวดแล้ว สามารถนอนหลับได้น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ロเมื่อรับประทานยาแก้ปวดแล้ว สามารถนอนหลับได้น้อยกว่า 4 ชั่วโมง

ロเมื่อรับประทานยาแก้ปวดแล้ว สามารถนอนหลับได้ 6 ชั่วโมง

ロ สามารถนอนได้เฉพาะตอนที่รับประทานยาแก้ปวด

ロ อาการปวดทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้

ส่วนที่ 7 : การยืน ( standing )

ロ ยืนได้นานโดยไม่มีอาการปวด

ロ อาการปวดเกิดขึ้นตลอดจนไม่สามารถยืนได้

ロ ยืนได้นานแต่มีอาการปวดเล็กน้อย

ロ ยืนนานเกิน 1 ชั่วโมง ไม่ได้

ロ ยืนนานเกิน 30 นาที ไม่ได้

ロ ยืนนานเกิน 10 นาทีไม่ได้

ส่วนที่ 8 : การเดินทาง ( travelling )

ロ เดินทางไปไหนได้โดยไม่มีอาการปวด

ロ เดินทางไปไหนได้แม้จะมีอาการปวดบ้างเล็กน้อย

ロ มีอาการปวดอยู่บ้างแต่ยังเดินทางได้กว่า 2 ชั่วโมง

ロ มีอาการปวดมาก จนเดินทางได้น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ロ มีอาการปวดมาก จนเดินทางเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง

ロ มีอาการปวดมากไปไหนไม่ได้เลย นอกจากมาหาแพทย์หรือไปโรงพยาบาล

ส่วนที่ 9 : การเข้าสังคม ( Social Life )

ロ ไม่มีการสมาคมเลยเพราะมีอาการปวด

ロ สมาคมได้ปกติโดยไม่มีอาการปวด

ロ สมาคมได้แต่มีอาการปวดเล็กน้อย

ロ ทำอะไรที่ชอบยังได้ แม้จะมีอาการปวดบ้าง

ロ อาการปวดที่เกิดขึ้นทำให้การสมาคมลดลง

ロ อาการปวดที่เกิดขึ้นทำให้การสมาคมลำบากจนคิดอยากอยู่บ้าน

ส่วนที่ 10 : การทำงาน / ทำงานบ้าน

ロ ทำได้ตามปกติไม่มีอาการปวด

ロ ปวดมากจนต้องอยู่เฉยๆไม่ทำงานเลย

ロ ทำงานได้ มีอาการปวดเกิดขึ้นบ้างแต่ยังทำได้สม่ำเสมอ

ロ ทำงานได้ แต่ถ้างานหนักจะเสร็จทันที ( ยกของหนัก, ดูดฝุ่น, ถูบ้าน )

ロ อาการปวดทำให้ทำได้แต่งานเบาเบาๆเท่านั้น

ロ มีอาการปวดมาก จนงานเบาเบาๆก็ทำไม่ไหว

แบบสอบถามทั้งสองแบบจะทำให้แพทย์ทราบถึงอาการของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน และสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยจะหายจากอาการปวดหลังจากการรักษาที่สาเหตุแท้จริง

อาการปวดหลัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ และทุกเพศ ดังนั้นการใช้ชีวิตประจำวันเราควรใส่ใจอวัยวะทุกส่วน ใช้งานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง รู้จักออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เราจะได้ไม่ต้องมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ทุกทรมานกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

มนูญ บัญชรเทวกุล. การป้องกันและแก้อาการปวดหลัง. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2551.

https://www.medicinenet.com/shoulder_pain_facts/article.html