ประกันสุขภาพ
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนันสนุนและส่งเสริมการตัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดชีวิต หรือที่เรียกว่าสิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาท
ข้าราชการใช้สิทธิเบิกได้ตามระเบียบข้าราชการ ส่วนคนที่ใช้บัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รับสิทธ์ในการล้างไตทางหน้าท้อง รวมทั้งการผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่ถ้าต้องการฟอกเลือดจะเบิกไม่ได้ ต้องจ่ายเอง หากเป็นผู้ประกันตน สามารถเบิกได้ทั้งการฟอกเลือด การล้างไตทางหน้าท้อง และการปลูกถ่ายไต
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ
1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาตไทย
2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ ประกันสังคม สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานอื่นๆ
สามารถตรวจสิทธิและการลงทะเบียนปรักันสุขภาพภาครัฐตามกฎหมาย
1. ติดต่อด้วยตนเอง ในวันเวลาราชการ
2. สายด่วน สปสช. โทร. 1330 กด2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก
3. ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต www.nhso.go.th หรือ app สปสช. หรือ http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
บัตรทอง / บัตรประกันสุขภาพ ( ใช้สิทธิกับ รพ.ที่เข้าร่วม )
กรณีปลูกถ่ายไต
1.1 ช่วงเตรียมตัวก่อนผ่าตัด เบิกเหมาจ่าย (ได้ใกล้เคียงกับประกันสังคม)
กรณีผู้ให้ไตถือบัตรทอง ส่วนผู้รับไตที่เป็นญาตินั้นมีสิทธิประกันสังคมผู้ให้ไตจะได้รับคุ้มครองจากสิทธิประกันสังคม คือ เบิกค่าผ่าตัดไต ค่าตรวจเนื้อเยื่อ ตรวจโรค ในราคาเหมาจ่าย ได้ 40,000 บาทต่อราย
1.2 ช่วงผ่าตัดปลูกถ่ายไต เหมาจ่าย
1.3 หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่าย ครอบคลุมการตรวจรักษา ยากดภูมิคุ้มกัน ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เหมาจ่ายตามระยะเวลา
ปีที่ 1 เดือน 1-6 30,000 บาท
เดือน 7-12 25,000 บาท
ปีที่ 2 20,000 บาท
ปีที่ 3 15,000 บาท
กรณีล้างไตทางช่องท้อง
ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายที่ถือบัตรทอง สามารถรับบริการล้างไตทาง
หน้าท้องได้ฟรี ผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน
แต่ไม่อาจเบิกค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ ถ้าอยากฟอกเลือดเองโดยไม่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องฟอกเลือด จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
กรณีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ได้เฉพาะผู้ป่วยรายเก่าที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก่อน 1 ตุลาคม 2551 จ่ายให้ 2 ใน 3 ของค่าบริการไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง คือ ผู้ป่วยร่วมจ่ายด้วย 500 บาทต่อครั้ง
ผู้ป่วยหลัง 1 ต.ค.51 ให้สิทธิ์ฟอกเลือกกับผู้ป่วยบัตรทองที่มีข้อห้ามล้างไตทางช่องท้องเท่านั้น โดยจ่ายรัฐค่าฟอกเลือดให้ 1,500-1,700 บาท/ครั้ง
ขั้นตอนรับบริการล้างไต ของผู้มีสิทธิบัตรทอง
ผู้ป่วยยื่นบัตรทอง พร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชน แจ้งความจำนงที่โรงพยาบาลที่ระบุในบัตรทอง
รายชื่อของผู้ป่วยจะถูกส่งไปยังคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด
ผู้ป่วยที่ได้รับการอนุมัติ จะได้รับการลงทะเบียน และได้รับการแจ้งกลับจากโรงพยาบาล
ค่ายา จ่ายให้ผู้ประกันตน บัตรทอง ข้าราชการ ตามระดับความเข้มขนของเลือดในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้
ความเข้มข้นของเลือด ( ฮีมาโตคริต ) เท่ากับหรือต่ำกว่า 36% จ่ายไม่เกินสัปดาห์ละ 1,125 บาท
ความเข้มข้นของเลือด ( ฮีมาโตคริต ) สูงกว่า 36%-39% จ่ายเท่าที่จ่ายจริง เข็มละ 50 บาทต่อครั้ง ไม่เกินสัปดาห์ละ 750 บาท
หากฮีมาโตคริตสูงกว่า 39% ไม่มีสิทธิเบิกค่ายานี้
สำนักงานประกันสังคม ( ใช้สิทธิกับ รพ.ที่เข้าร่วม )
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะต้องได้รับอนุมัติให้มีสิทธิก่อนการปลูกถ่ายไต และจะต้องปลูกถ่ายไต ณ สถานพยาบาลที่ทำข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม
กรณีปลูกถ่ายไต
ค่าเตรียมผู้บริจาคในอัตราไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
ค่าเตรียมผู้รับบริจาคไม่เกินอัตรา 40,000 บาทต่อราย
ค่าตรวจเลือดทุกๆ 3 เดือน ครั้งละ 1,800 บาท
ช่วงผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในภาวะปกติในอัตราไม่เกิน 292,000 บาทต่อราย
หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ดังนี้
ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 | เดือนละ 30,000 บาท |
ปีที่ 1 เดือนที่ 7-12 | เดือนละ 25,000 บาท |
ปีที่ 2 | เดือนละ 20,000 บาท |
ปีที่ 3 | เดือนละ 15,000 บาท |
- หากมีภาวะแทรกซ้อน จ่ายอัตราไม่เกิน 493,000 บาทต่อรายโดยครอบคลุมผู้ประกันตนและผู้บริจาคไต เป็นเวลา 60 วัน นับจากวันปลูกถ่ายไต
- รักษาภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลัน เป็นเวลา 2 ปีนับจากวันปลูกถ่ายไต
การล้างไตทางช่องท้อง
ค่าตรวจรักษาและค่าน้ำยาล้างช่องท้อง ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาท
ค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้อง ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาท ต่อ 2 ปี
ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการเป็นผู้ประกันตน จะมีสิทธิ์ดังนี้
3.1 กรณีล้างไตทางช่องท้อง ค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ และค่ายาฉีดเพิ่มเม็ดเลือดแดง ตามหลักเกณฑ์
3.2 กรณีล้างไตทางช่องท้อง ล้มเหลว ให้สิทธิเบิกค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ ไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 3,000 บาทต่อสัปดาห์
3.3 ค่าเตรียมเส้นเลือด และค่ายาฉีดเพิ่มเม็ดเลือดแดง จะได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ถ้าฟอกเลือดหลังเป็นผู้ประกันตน เบิกได้ 1,500 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าบริการส่วนเกินต้องจ่ายเอง
ถ้าฟอกเลือดก่อนเป็นผู้ประกันตน เบิกได้ค่า 1,000 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าบริการส่วนเกินต้องจ่ายเอง
ค่าเตรียมเส้นเลือดสำหรับการฟอกเลือด ในอัตรา 20,000 บาท/ราย/2 ปี ถ้ามีส่วนเกินก็ต้องจ่ายเอง
ขั้นตอนทำเรื่องเบิกของผู้ประกันตน
ผู้ประกันตน จะต้องยื่นเอกสารคำขอต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ที่ตนต้องการใช้สิทธ์ค่ารักษา ค่ายาอีโป้ การบำบัดทดแทนไต การปลูกถ่ายไต โดยใช้เอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
แบบคำขอรับค่าบำบัดทดแทนไต (สปส. 2-18)
สำเนาเวชระเบียนและผลตรวจบียูเอ็น และครีเอตินีน หรืออัตราการกรองของไต และขนาดของไต
หนังสือรับรองการเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จากอายุรแพทย์ผู้รักษา
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หนังสือรับรองการขอรับยาอิโป้ เฉพาะผู้ป่วยที่ขอรับยานี้
การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร ต้องได้รับการตรวจรักษาจากอายุรแพทย์ผู้รักษา ไม่น้อยกว่า เดือนละ 1 ครั้ง
สิทธิข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ พนักงานท้องถิ่น
ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าปลูกถ่ายไตและการบำบัดทดแทนไตได้ตามสิทธิ์ ถ้าฟอกเลือดที่ศูนย์ไตเทียมเอกชน เบิกได้ไม่เกิน 2,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วค่อยนำใบเสร็จมาทำเรื่องเบิกเงินทีหลัง
ค่าตรวจเลือดและเนื้อเยื่อประมาณ 15,000 บาท
ในกรณีที่ผู้บริจาคญาติที่มีชีวิต มีค่าตรวจประมาณ 20,000 บาท
ค่าผ่าตัดปลูกถ่ายไต ค่าโรงพยาบาล ค่ายา
ประมาณ 200,000 บาท ในโรงพยาบาลของรัฐบาล
ประมาณ 300,000 บาท ในโรงพยาบาลของเอกชน
สอบถามรายละเอียดได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ สปสช. คือ
www.sso.go.th และ www.nhso.go.th
โทรถามสายด่วนบัตรทอง 1330 หรือที่ สปสช. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
หรือดูเว็บไซต์ของชมรมโรคไต คือ www.thaikidneyclub.org
หรือดูเว็บไซต์กองทุนโรคไตวาย http://Kdf.nhso.go.th