สารจับออกซิเจน
เชื่อว่าทุกคนคงจะคุ้นเคยกับการเกิดสนิมของเหล็กและเหล็กกล้ากันเป็นอย่างดี การเกิดสนิมของเหล็กกล้า การเกิดสนิมเหล็ก (เหล็กออกไซด์) เป็นผลมาจากการเติมออกซิเจน (ออกซิเดชั่น) เป็นปฏิกิริยาเคมีระหว่างเหล็กกับออกซิเจนในอากาศ เหล็กจะไม่เกิดสนิมหากเอาเฉพาะเหล็กและออกซิเจนมาไว้ด้วยกัน การเกิดสนิมของเหล็กจำเป็นต้องมีตัวเหนี่ยวนำ และตัวเหนี่ยวนำตามธรรมชาติที่ทำให้เหล็กเป็นสนิมก็คือ ความชื้น น้ำ และอากาศ เป็นการทำงานประสานแบบร่วมด้วยช่วยกันอย่างสมบูรณ์แบบที่ทำให้ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับเหล็กและเกิดเป็นสนิมขึ้น เมื่อมีสนิมเคลือบผิวนอกของเหล็ก ปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนก็จะชะลอตัวลง เพราะว่าออกซิเจนจะแทรกตัวลงไปถึงเนื้อเหล็กที่ยังไม่เป็นสนิมได้ยากขึ้น สนิมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าออกซิเจนสัมผัสผิวเหล็กไม่ได้ ถ้าเราเอาสนิมกับตัวการเกิดสนิมคือสัญญาณที่แสดงถึงความเก่า ความแก่ หรือความชรา และความชราภาพของเหล็ก กล่าวคือ ถ้าแก่เกินวัยเมื่อเทียบกับเหล็กซึ่งอยู่ในที่แห้งก็ไม่เป็นสนิม
[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
รายการ สารจับออกซิเจน ต่างๆ
วิตามินเอและสารพวกแคโรทีน
วิตามินเอที่มีในอาหารแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ วิตามินเอชนิดน้ำมัน ( เรทินอล ) ได้จากสัตว์ โดยเฉพาะจากตับ เช่น น้ำมันตับปลา เรทินอลมักจับอยู่กับกรดไขมัน เช่น กรดพาลมิทิก อีกรูปแบบหนึ่งของวิตามินเอ คือ เบตาแคโรทีนที่ได้จากพืช เบตาแคโรทีนจะเปลี่ยนสภาพเป็นวิตามินเอภายในร่างกาย ดังนั้น ในบางครั้งจึงเรียกสารชนิดนี้ว่า สารต้นกำเนิดของวิตามินเอ เป็นที่ทราบกันว่า เบตาแคโรทีนมีความสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรคตาบอดกลางคืน โภชนสารสำคัญชนิดนี้มักเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาหาร ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและการแก่ก่อนวัย ในฐานะชีว สารจับออกซิเจน เบตาแคโรทีนเป็นสารจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการหลายอย่างของร่างกาย และเป็นสารป้องกันภายในที่ให้ผลดีเยี่ยมต่อการเกิดสภาพเกรียมแดด
วิตามินเอชนิดน้ำมัน แม้จะเป็นชนิดที่ใช้ในโภชนาการ แต่ก็มีคุณสมบัติสู้แคโรทีนไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายเก็บสะสมวิตามินเอชนิดน้ำมันไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆ หากร่างกายสะสมวิตามินเอเอาไว้มาก ๆ อาจก่อให้เกิดพิษภัยได้ เช่น ทำให้ง่วงนอน หงุดหงิด และปวดศีรษะ การให้อาหารประเภทตับเป็นส่วนประกอบแก่หญิงมีครรภ์มากๆ หรือการให้วิตามินเอชนิดน้ำมัน ต้องบอกเลยว่าข้อห้ามเด็ดขาด เพราะเคยปรากฏแล้วว่าทารกที่คลอดออกมาพิการ เนื่องจากขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ได้รับวิตามินเอชนิดน้ำมันเกินขนาด มาตรวัดปริมาณวิตามินเอชนิดน้ำมันใช้เป็นหน่วยสากล (IU) ถ้าใช้เสริมอาหารห้ามกินเกินวันละ 7,500 หน่วยสากล โดยทั่วไปแล้วเพียง 2500 หน่วยสากลก็เพียงพอ ปริมาณนี้เป็นปริมาณที่แนะนำในยุโรป ซึ่งเท่ากับเรทินอล 800 ไมโครกรัม ส่วนทางสหรัฐฯ แนะนำให้รับได้ถึง 5,000 หน่วยสากล หรือเท่ากับเรทินอล 1,600 ไมโครกรัม
อาหารที่มีเบตาแคโรทีน ไม่ปรากฏว่าทำให้เกิดพิษเนื่องจากร่างกายจะเปลี่ยนแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอตามที่ต้องการเท่านั้น ส่วนที่เหลือก็ขับถ่ายทิ้งไป แคโรทีนเป็นสารที่ละลายได้ในน้ำและกระจายไปทั่วร่างได้อย่างรวดเร็ว ขนาดเดียวกันร่างกายก็ขับถ่ายออกได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงต้องกินอาหารที่มีสารชนิดนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะคงระดับวิตามินเอในกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา เบตาแคโรทีนส่วนเกินที่ร่างกายได้รับจากอาหาร ซึ่งมีทางเป็นไปได้ทางเดียวคือ ได้จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตขึ้น และเบตาแคโรทีนบริสุทธิ์จะเปลี่ยนสีเป็นไขมันในร่างกาย ทำให้ผิวหนังเป็นสีเหลืองน้ำตาล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้เป็นที่นิยมในหมู่คนที่ต้องการมีผิวสีน้ำตาลโดยไม่ต้องออกแดด
สารจำพวกแคโรทีนอยด์เท่าที่รู้จักกันมีอยู่มากกว่า 600 ชนิด ทุกชนิดมีศักยภาพที่จะเป็นชีว สารจับออกซิเจน แต่เบตาแคโรทีนเป็นรูปแบบทางโภชนาการที่ดีที่สุดของแคโรทีนอยด์ ที่มีฤทธิ์แรงในการจับออกซิเจนและมีอยู่ในอาหาร มีรูปแบบที่สำคัญดังนี้ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
- ไลโคปีน (มะเขือเทศ)
- อัลฟาแคโรทีน (แครอท)
- เบตาคลิพโทแซนทิน (ส้มต่างๆ)
- ลิวทีนและซีแอกแซนทิน (ผักโขม หรือผักขม และบรอกโคลี)
- แคนทาแซนทิน (มีอยู่ทั่วไปในอาหาร)
ตารางที่แสดงปริมาณวิตามินเอ ซี และอี ซึ่งมีอยู่ในอาหาร
วิตามินเอ (แคโรทีน) จากผัก | (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม) |
หัวแครอทแก่ดิบ | 8115 |
หัวแครอทต้ม | 7560 |
หัวแครอทอ่อนดิบ | 5330 |
มันเทศต้ม | 3960 |
ผักโขมต้มและพริกแดง | 3840 |
ผักโขมดิบ | 3535 |
ผักโขมกระป๋องอุ่น | 3370 |
แพงพวยน้ำ, ผักแช่แข็งต้ม | 2520 |
ถั่วงอกเขียวต้ม | 2270 |
มันฝรั่งเผา | 1840 |
ซุปมะเขือเทศข้น | 1300 |
มัสตาร์ดและเครส | 1280 |
แมงเกเทาต์กวนและทอด | 725 |
แมงเกเทาต์ต้ม | 665 |
มะเขือเทศดิบ | 640 |
ต้นหอมดิบ | 620 |
คูร์เกตสด | 500 |
บร็อกโคลีต้ม | 475 |
กระเจี๊ยบต้ม | 465 |
กะหล่ำเขียวดิบ | 385 |
ผักกาดหอมเขียว | 335 |
กะหล่ำปมต้ม | 320 |
พริกเขียวดิบ | 265 |
ถั่วเมล็ดกลมสดต้ม | 250 |
ถั่วปากอ้าต้ม | 225 |
มะเขือเทศกระป๋อง | 220 |
ถั่วสีเขียว (แช่แข็ง) ปรุงสุก | 180 |
สวีทต้ม | 165 |
ยี่หร่าสด | 140 |
ข้าวโพดกระป๋องอุ่น | 110 |
แตงกวาดิบ, กะหล่ำดอกต้ม, ถั่วกระป๋อง | 60 |
กะหล่ำดอกสด, เซเลอรี | 50 |
กะหล่ำปลีขาวดิบ, หอมใหญ่ทอด | 40 |
หัวบีทต้ม | 27 |
ถั่วแขกต้ม, เทอร์นิพ | 20 |
มันฝรั่ง, เห็ด, หัวผักกาด | 0 |
ตารางแสดงปริมาณ วิตามินเอ (แคโรทีน) ที่อยู่ในสมุนไพรและเครื่องเทศ (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
วิตามินเอ (แคโรทีน) สมุนไพรและเครื่องเทศ | (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม) |
ผักชีสด | 4040 |
หริกขี้หนู, พริกชี้ฟ้า | 3625 |
เซจตากแห้ง | 3540 |
ใบไทม์ตากแห้ง | 2280 |
พริกป่น | 2100 |
โรสแมรีตากแห้ง | 1880 |
ตารางแสดงปริมาณวิตามินเอ (แคโรทีน) ที่มีในผลไม้ (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
วิตามินเอ (แคโรทีน) จากผลไม้ | (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม) |
มะม่วงสุก | 1800 |
มะม่วงกระป๋อง | 1470 |
แตงแคนตาลูป | 1000 |
มะละกอ | 810 |
เสาวรส | 750 |
แอปริคอทแห้ง | 545 |
แอปริคอทดิบ | 405 |
พลัมดิบ | 295 |
มะละกอกระป๋อง | 255 |
แดมซันกวน | 240 |
แตงโม | 230 |
มะกอกฝรั่ง | 180 |
แอปริคอทกระป๋อง | 155 |
ฝรั่งกระป๋อง | 145 |
ส้มแมนดารินกระป๋อง | 105 |
ส้มจีน | 97 |
แบลกเคอเเรนต์กวน | 78 |
คลีเมนไทน์, ลูกท้อกระป๋อง, ซัทสึมะ | 75 |
แบลกเบอร์รีกวน | 68 |
พลัมกวน | 62 |
มะเดื่อแห้ง | 59 |
ลูกท้อสด | 58 |
ท้อเปลือกเรียบสด, แตงฮันนีดิว | 48 |
กูสเบอร์รีกวน | 41 |
กีวีสด | 37 |
ส้มสด, โกฐน้ำเต้า | 28 |
เชอร์รีสด | 25 |
กล้วย | 21 |
สาลี่สด | 19 |
มะนาวฝรั่ง, สับปะรดสด, แอปเปิ้ล | 18 |
องุ่น | 17 |
เกรฟฟรุต (ส้มแก้ว), อินทผาลัมสด | 15 |
แอปเปิลกวน | 14 |
ลูกเกด, แตงซัลทานา | 12 |
สับปะรดกระป๋อง | 0 |
อะโวคาโด | 11 |
ผลไม้รวมแห้ง | 9 |
สตรอเบอร์รี | 8 |
เคอร์แรนต์ | 6 |
ราสพ์เบอร์รี, ส้มแก้วกระป๋อง, ลิ้นจี่, แตงแกลเลีย, เปลือกส้ม, สาลี่กระป๋อง | 0 หรือน้อยมาก |
ผลไม้ตระกูลแตงมีประโยชน์มาก ผลไม้เหล่านี้มีค่าวิตามินเอตั้งแต่ 0 คือ แตงแกลเลีย แตงโม 230 และสูงสุดคือแตงแคนตาลูป 1000 แอปริคอตมีวิตามินเอสูงเมื่อทำแห้ง แต่ผลไม้อื่น เช่น ลูกเกด องุ่นแห้ง มีคุณค่าต่ำลง [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
วิตามินบี
วิตามินบีประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร วิตามินกลุ่มนี้มักไม่ถือว่าเป็นสารจับออกซิเจน แต่วิตามินกลุ่มนี้เป็นวิตามินที่ยังคงพึ่งพาวิตามินที่เป็นสารจับออกซิเจนอยู่ เช่น วิตามินซี
กรดโฟลิก (วิตามินบี ซี) และ ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี2) เป็นวิตามินบีที่สำคัญในฐานะที่เป็นปัจจัยในการจับออกซิเจน วิตามินทั้งสองนี้พบได้ทั่วไปในอาหาร แต่มักเกิดภาวะการขาดกรดโฟลิกได้ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าการขาดวิตามินชนิดนี้สามารถทำให้ทารกพิการ สำหรับบทบาทของวิตามินอีร่วมกับวิตามินซีซึ่งเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อการเป็นโรคหัวใจ
ในวงการโภชนาการ มีความตื่นกลัวในเรื่องการขาดกรดโฟลิกซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สุขภาพ ดังนั้น ในแผนโภชนาการเกี่ยวกับสารจับออกซิเจนที่เหมาะสมจะต้องเพิ่มกรดโฟลิกเข้าไปด้วยอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม
การขาดวิตามินบี2 มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีปัญหาเรื่องตาและการอักเสบระบมเรื้อรัง อาการเหล่านี้มักบรรเทาได้ด้วยโภชนาการสารจับออกซิเจนชนิดหลัก ๆ
วิตามินซี
โภชนาการสารจับออกซิเจนที่สำคัญเป็นวิตามินที่สำคัญด้วย วิตามินซีมีความสามารถในการฟื้นฟูวงจรทางเคมีต่าง ๆ ในระดับเซลล์ และเป็นตัวขับเคลื่อนของระบบการจับออกซิเจนหลายระบบ ความจริงแล้ววิตามินซีไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวทำงานโดยตรง ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของกระบวนการทางเคมี วิตามินซีเป็นเพียงตัวกระตุ้นสารต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำงานได้นอกจากความช่วยเหลือของวิตามินซีเท่านั้น วงจรของสารจับออกซิเจนในการใช้สารอาหารที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ยูบิควิโนน (Co-Q10) เป็นตัวอย่างที่ช่วยให้คิดว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องกินในลักษณะสารอาหารเสริม เพราะว่าวิตามินซี สามารถทำให้ร่างกายสร้างยูบิควิโนนขึ้นได้ภายในเซลล์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับ โค-คิว10 อาจเกิดขึ้นเองได้ในร่างกายด้วยการอาศัยวิตามินซี
วิตามินซีเป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ มีอยู่ทั่วไปในผลไม้และผัก สัตว์เลือดอุ่นบางประเภทสามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ขึ้นได้เองในร่างกาย แต่มนุษย์ขาดสมรรถภาพทางด้านนี้ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากอาหาร การที่สัตว์บางประเภทยังสามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เองและยอมรับว่าวิตามินซีเป็นเพียงตัวกระตุ้นระบบการรับและให้ออกซิเจนภายในเซลล์มากกว่าเป็นตัวกระทำน่าจะเป็นความถูกต้อง การที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นเองได้นั้น คาดว่าแต่ก่อนมนุษย์ได้รับสารอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีอยู่เป็นเวลานานนานจนกระทั่งร่างกายหรือวิธีสังเคราะห์วิตามินชนิดหมดไป
ตารางปริมาณวิตามินซีที่ได้จากผัก (มิลลิกรัมต่อ100 กรัม)
วิตามินซีจากผัก | (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม) |
พริกหวานแดงดิบ | 140 |
พริกหวานเขียวดิบ | 120 |
กะหล่ำปมดิบ | 90 |
พริกหวานแดงสุก | 81 |
สาหร่ายเคลป์ต้ม | 71 |
พริกหวานเขียวสุก | 69 |
แพงพวยน้ำ | 62 |
กะหล่ำดอกสด, กะหล่ำปมต้ม | 60 |
กะหล่ำแดงดิบ | 55 |
แมงเกเทาต์ปรุงสุก | 54 |
กะหล่ําเขียวดิบ | 49 |
บรอคโคลีสุก, มะเขือเทศเผา | 44 |
กะหล่ำดอกดิบ | 43 |
มัสตาร์ดและแพงพวย | 40 |
ซอสมะเขือเทศข้น | 38 |
กะหล่ำขาวดิบ | 35 |
ถั่วงอกเขียวต้ม | 30 |
ผักโขมดิบ | 26 |
กะหล่ำดอก, ต้นหอมดิบ, ผักโขมต้ม | 25 |
คูร์เกตสด | 21 |
กะหล่ำดอกสุก, เสาวรส, กะหล่ำเขียวต้ม | 20 |
กระเทียมดิบ | 17 |
หัวพาร์สมิพ, หัวผักกาดแดง,มะเขือเทศ, มันเทศ | 17 |
คูร์เกตทอด,มันเทศต้มทั้งเปลือก, หัวผักกาดสวิดต้ม | 15 |
มันเทศเผาทั้งเปลือก | 14 |
มันฝรั่งอบ, ถั่วเมล็ดกลมต้ม, มะเขือเทศกระป๋อง | 12 |
หน่อไม้ฝรั่ง, หัวพาร์สนิพต้ม, หัวผักกาดเทอร์นิพต้ม | 10 |
เซเลอรีต้ม | 8 |
กระเทียมยักษ์ต้ม, ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด | 7 |
แครอทแก่ดิบ | 6 |
หอมใหญ่ดิบ, หัวบีทดิบและต้ม, ผักกาดหอม | 5 |
ผักกาดหอมไอศเบิก, แครอทแก่สุก, ยี่หร่าดิบ | 3 |
แครอทกระป๋องอุ่น ,เห็ด | 1 |
หัวบีทดอง | 0 |
ตารางปริมาณวิตามินซีที่ได้จากผลไม้ (มิลลิกรัมต่อ100 กรัม)
วิตามินซีจากผลไม้ | (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม) |
ฝรั่งกระป๋อง | 180 |
แบลคเคอเเรนต์กวน | 115 |
สตรอเบอรี่สด | 77 |
มะละกอ | 60 |
ผลกีวี | 59 |
มะนาวฝรั่ง | 58 |
คลีเมนไทน์, ส้ม | 54 |
ลิ้นจี่สด | 45 |
มะม่วงดิบ, ท้อเปลือกเรียบ | 37 |
เกรฟฟรุต (ส้มแก้ว) สด | 36 |
เกรฟฟรุต (ส้มแก้ว) กระป๋อง | 33 |
ราสพ์เบอรี่ดิบ | 32 |
ลูกท้อสด | 31 |
ลิ้นจี่กระป๋อง | 28 |
กูสเบอร์รี่กระป๋อง, ซัทสึมะ | 27 |
แตงแคนตาลูป | 26 |
เสาวรส | 23 |
สลัดผลไม้ทำเอง | 16 |
ส้มแมนดารินกระป๋อง | 15 |
แตงแกลเลีย ผลไม้รวมกระป๋อง | 14 |
อินทผลัมสด, กล้วย, เชอรี่, กูสเบอร์รี่กวน | 12 |
แอปเปิลกวน, แบลกเบอร์รีกวน, มะม่วงกระป๋อง | 10 |
แตงฮันนีดิว 9 | 9 |
แตงโม | 8 |
อะโวคาโด, สาลี่ | 6 |
แอปริคอทกระป๋อง, แดมซัน, ลูกท้อกระป๋อง, โกฐน้ำเต้ากวน | 5 |
องุ่น, สาลี่กระป๋อง, พลัม | 3 |
แอปริคอตแห้ง, ผลไม้รวมตากแห้ง, ลูกเกด, ซัลทานา | 1 |
ปัจจุบันอาหารที่ให้วิตามินซีอาจมีน้อยหรือมีวิตามินซีในปริมาณที่น้อยกว่าในสมัยก่อน ในขณะเดียวกันปริมาณที่ทางยุโรปและสหรัฐแนะนำก็น้อยมากเช่นเดียวกันคือ ให้ได้รับวันละ 60 มิลลิกรัม แต่รายการโภชนาการ สารจับออกซิเจน ส่วนมากกลับแนะนำว่าควรได้รับอย่างน้อยวันละ 200 มิลลิกรัม [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
ร่างกายของเราแต่ละคนมีความไวต่อวิตามินซีไม่เท่ากัน อาการที่พบได้บ่อยคือ ทวารหนักระบมและท้องเดิน จึงต้องระมัดระวังให้มากหากจะใช้วิตามินซีเกินกว่าวันละ 1-2 กรัม นอกเหนือไปจากที่มีในอาหารที่ได้รับอยู่ตามปกติแล้ว
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการเกิดภาวะความเป็นกรดมากเกินไป แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้วิตามินซีชนิดเป็นกลาง เช่น แคลเซียมแอสคอร์เบต ซึ่งร่างกายจะขับถ่ายวิตามินซีออกได้เร็วมาก ดังนั้น หากจะใช้วิตามินซีเสริม ควรแบ่งขนาดเป็นขนาดย่อย กินสม่ำเสมอตลอดวัน แทนที่จะกินวิตามินซีขนาดสูงแทนวันละมื้อเดียว
ในปัจจุบันเชื่อว่าวิตามินซีเป็น สารจับออกซิเจน หลักที่ให้ผลดีหลายประการ เช่น เพิ่มภูมิต้านทาน บรรเทาอาการไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ลดโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจและการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันการแก่ก่อนวัย ย่นระยะเวลาการสมานแผลและการบาดเจ็บ และหยุดอาการเลือดออกตามไรฟัน
สำหรับวิตามินซี นั้น เป็นสารจับออกซิเจนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในส่วนของวิตามินซีเองไม่ได้เป็นอะไรที่วิเศษอย่างที่คิด เบต้าแคโรทีนก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสารจับออกซิเจนที่มีประโยชน์มาก แต่จากการทดลองใช้สารนี้เพียงอย่างเดียว ผลปรากฏว่าสารนี้สามารถก่อปัญหามากกว่าที่จะแก้ปัญหา แม้จะเพิ่มวิตามินอีลงไปช่วยทั้งวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารจับออกซิเจนถึง 3 ชนิด ก็ยังไม่ปรากฏว่าสารทั้ง 3 เมื่อใช้ร่วมกันแล้วจะแก้ปัญหาทั้งหมดได้
โค-คิว10 (ยูบิเดคารีโนน หรือยูบิควิโนน10)
ยูบิควิโนน (Ubiquinone) หรือที่เป็นที่รู้จักกันในนาม โค-คิว10 เป็นสารควิโนน (Quinone) ชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในทุกแห่งของร่างกาย สารนี้ไม่ได้เป็นวิตามิน แต่เป็นเอนไซม์ของร่างกายซึ่งทำหน้าที่เป็น สารจับออกซิเจน และทำลายอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสารเคมีทำลายเซลล์ จึงมีบทบาทในการป้องกันเซลล์ที่มีชีวิต ยูบิควิโนนมีความคล้ายกับวิตามินเค2 มากคือ ทั้งสองเป็นสารที่ละลายในไขมัน ถ้าใช้กิน มักใช้ในรูปสารละลายหรือในรูปผงละเอียด (วิตามินเคก็ทำหน้าที่เป็นสารจับออกซิเจนด้วย) ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานที่แสดงว่าสารนี้มีประสิทธิภาพต่อโรคเหงือกและความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษากันอยู่ โดยมีความหวังว่าสารนี้จะมีประโยชน์ เพราะเป็นสารที่ให้ความปลอดภัยสูงเมื่อรับประทาน สารนี้มีคุณสมบัติไม่ต่างไปจากโภชนาสารจับออกซิเจนชนิดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซีและไบโอฟลาโวนอยด์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายอย่างมีโค-คิว10 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความมุ่งหมายให้เป็น สารจับออกซิเจน แต่ยังมีข้อกังขาในเรื่องของการดูดซึมสารนี้ มีการทำโค-คิว10 ปริมาณสูงถึง 100 มิลลิกรัมหรือมากกว่านั้น ในรูปเม็ดหรือแคปซูลออกจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ปริมาณการดูดซึมของเอนไซม์ชนิดนี้ต่ำมากจนไม่คุ้มที่จะซื้อ เพราะในคนเรามีสารชนิดนี้เพียงพอแล้ว และไม่ต้องการเพิ่มแต่อย่างใด
การเพิ่มขึ้นของปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด สามารถส่งผลให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายคนเรา ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปจนถึงระดับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ ดังนั้นวิตามินต่างๆจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการจับออกซิเจน
ไซยานินและโอลิโกเมอริก โพแอนโทไซยานิดิน (OPCs)
ไซยานิน (Cyanin) มีที่มาจากภาษากรีก ไคอะนอส (Kyanos) แปลว่าสีน้ำเงิน คำต่อท้ายหรืออาคม ซัยแอน (Cyan) ในชื่อสารเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าสารเหล่านี้จะมีความเกี่ยวข้องกับซัยอะไนด์เสมอไป สารจำพวกแอนโทไซอะนิน และ โพรแอนไทซัยอะนิดิน พบได้ทั่วไปในพืชและมีความเกี่ยวข้องกับไบโอฟลาโวนอยด์อย่างใกล้ชิด สารเหล่านี้ให้สีและเป็น สารจับออกซิเจน ซึ่งอาจมีความสำคัญในการคงสมดุลของการรับและให้ออกซิเจนในระดับสูง [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
ซัยอะไนด์เป็นยาพิษและสารนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีและแพร่หลายมากที่สุดด้วยไฮโดรเจนซัยอะไนด์บริสุทธิ์ เป็นตัวขัดขวางการทำงานของออกซิเจนในร่างกายและปิดกั้นการทำงานของระบบเอนไซม์ตามธรรมชาติ ทำให้สารนี้มีพิษร้ายแรงมาก เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นการสูดดมหรือกินก็ทำให้ถึงแก่ความตายได้อย่างรวดเร็ว
โมเลกุลของซัยอะไนด์ ประกอบด้วยคาร์บอนจับกับไนโตรเจนและสามารถไปจับกับสารอื่น ๆ ดังปรากฏในสารอินทรีย์หลายชนิด และดังที่ปรากฏในอาหารต่าง ๆ อาหารที่มีซัยอะไนด์ ( ในรูปไกลโคไซด์ ) คือมีเปลือกเมล็ดอัลมอนด์ เป็นสารออกฤทธิ์รู้จักกันในชื่อว่า วิตามินบี17 แลทริล หรืออะมิกดาลิน ได้มีการโฆษณาให้ใช้สารนี้ในแผนการรักษาโรคมะเร็งแบบองค์รวม และเชื่อว่ามันได้ผลซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ถ้าไม่ติดที่ส่วนของซัยอะไนด์ในโมเลกุลซึ่งมีพิษถึงตายและอะมิกดาลินก็คงจะมีคุณสมบัติในการจับออกซิเจนอยู่บ้าง การใช้สารนี้ต้องใช้ในลักษณะการเสริมเข้าไปในแผนการรักษาซึ่งเรียกว่าการรักษาแบบองค์รวม ในสหราชอาณาจักรต้องใช้สารนี้ตามใบสั่งยา แต่ประเทศอื่นหรือในหลาย ๆ ประเทศสามารถซื้อหาสารนี้ได้โดยเสรี
วิตามินอี : ดี-แอลฟาโทโคเฟอรอล
วิตามินเอเป็นวิตามินชนิดละลายในไขมันที่อยู่ตามธรรมชาติในถั่วเหลือง จมูกข้าวสาลี เมล็ดพืชที่กำลังงอก ( ถั่วงอก ) ผักสีเขียวเข้ม ไข่ เมล็ดผลไม้เปลือกแข็ง และน้ำมันพืช
วิตามินตามความหมายทั่วไปมักหมายถึง แอลฟาโทโคเฟอรอล แต่ก็ยังมีโทโคเฟอรอลอย่างอื่นอีก เช่น เบตา-และแกมมา-โทโคเฟอรอล โทโคเฟอรอล ทุกรูปแบบมีฤทธิ์จับออกซิเจน และมักมีส่วนร่วมอยู่ในอาหารธรรมชาติที่มีวิตามินเอด้วย ไม่ว่ารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบ ในธรรมชาติดี-แอลฟาเป็นรูปแบบที่มีฤทธิ์แรง จากการสังเคราะห์ ดีแอล มีฤทธิ์อ่อนกว่า แต่ทางด้านชีววิทยาแล้วถือว่าเป็นสารที่มีลักษณะทางเคมีที่ใกล้เคียงกับ ดี-แอลฟา-โทโคเฟอรอล สามารถถือได้ว่าเป็น สารจับออกซิเจน ได้ทั้งนั้น และในฐานะเป็นสารป้องกันด้วย
ตารางวิตามินอีในอาหาร (มิลลิกรัมต่อ100 กรัม)
แหล่งที่พบวิตามินอี | (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม) |
น้ำมันจมูกข้าวสาลี | 136.65 |
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน | 49.22 |
น้ำมันเมล็ดคำฝอย | 40.68 |
เฮเซลนัท | 24.98 |
เฮเซลนัท | 24.98 |
เมล็ดอัลมอนด์ | 23.98 |
จมูกข้าวสาลี | 22 |
น้ำมันตับปลาคอด | 20 |
น้ำมันข้าวโพด | 17.24 |
น้ำมันถั่วเหลือง | 16.29 |
น้ำมันถั่วลิสง | 15.16 |
ข้าวโพดคั่ว | 110.3 |
มาร์ซิแพนทำเอง | 10.82 |
ครีมทาขนมปังไขมันต่ำ | 8.00 |
บราซิลนัท | 7.18 |
ซอสมะเขือเทศข้น | 5.37 |
สะระแหน่สด | 5.00 |
มันเทศต้ม | 4.39 |
พีแคน | 4.34 |
มันฮ่อ | 3.83 |
อะโวคาโด | 3.83 |
มุสลี | 3.20 |
ขนมเค้ก | 2.83 |
รำข้าวสาลี | 2.60 |
แป้งเปียกทาฮินิ | 2.57 |
เมล็ดงา | 2.53 |
พาสตรีจากธัญพืชทั้งเปลือก | 2.37 |
เค้กข้าวโอ๊ต | 2.14 |
แบลกเบอร์รี | 2.03 |
วีทพัพ | 2.00 |
มะกอกฝรั่ง | 1.99 |
ข้าวโอ๊ตหมด | 1.50 |
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ | 1.30 |
ขนมปังข้าวไร้ | 1.20 |
มะม่วง | 1.05 |
แบลกเคอร์แรนต์ | 1.00 |
[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
อาหารดังกล่าวมีประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยเรื่องสมดุลการรับและให้ออกซิเจน จากการวิจัยในเรื่องวิตามินอี บ่งชี้ว่าสารจำพวกโทโคไทรอีนอล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นสารขจัดอนุมูลอิสระฤทธิ์แรงสามารถพบได้ทั่วไปในอาหารที่มีวิตามินอี
เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของวิตามินอีทุกชนิดอยู่ร่วมกันเป็นอาหารที่ดีที่สุด เช่นเดียวกันกับในกรณีของเบตาแคโรทีน ขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ ก็ตามจะต้องได้มาจากธรรมชาติในรูปสารเข้มข้น ในกรณีของวิตามินเอคือ โทโคเฟอรอล อะซิเทตและโทโคเฟอรอล ซักซิเนต สารทั้งสองนี้เป็นสารเอสเตอร์ ( สารประกอบอินทรีย์ ) ซึ่งคงตัว และเป็นที่นิยมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
วิตามินอีเป็นวิตามินที่มักจะแนะนำให้ใช้รักษาภาวะการเป็นหมันของหญิง กามตายด้านในผู้ชาย และโรคของหลอดเลือด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถพิสูจน์ผลทางวิทยาศาสตร์ได้ มีเพียงบางคนที่รายงานว่ากินวิตามินอีแล้วได้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่าง ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามพอสรุปได้ว่าวิตามินอีอาจมีส่วนช่วยสำหรับผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าวิตามินอีช่วยให้มีการตั้งครรภ์หรือป้องกันการแท้งได้ แต่ฤทธิ์ในการจับออกซิเจนของวิตามินนี้จะช่วยป้องกันทารกในครรภ์จากอันตรายอันเนื่องมาจากอนุมูลอิสระได้อย่างแน่นอน
เมื่อนำวิตามินอีมาใช้เป็นยาทาภายนอกปรากฏว่าสามารถทำให้แผลเป็นหายเร็วขึ้นและทำให้สภาพของผิวหนังดูดีขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อนำมาใช้กินปรากฏว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้บ้าง วิตามินอีเมื่อร่วมกับ สารจับออกซิเจน ชนิดอื่นจะทำงานได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งซีลีเนียมและวิตามินซี และจะช่วยป้องกันไม่ให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในร่างกายกลายไปเป็นสารอันตรายจำพวกเปอร์ออกไซด์ ทางยุโรปแนะนำให้รับวิตามินอีวันละ 10 มิลลิกรัม หรือ 14.9 หน่วยสากล ส่วนทางสหรัฐฯ แนะนำให้ได้รับวันละ 30 มิลลิกรัม หลายคนเชื่อว่าขนาดที่ใช้เสริมอาหารที่พอเหมาะน่าจะอยู่ที่ 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน
แร่ธาตุและเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมูเทส ( เอสโอดี-SOD ) ทองแดง แมงกานีส และสังกะสี
แร่ธาตุทั้ง 3 ชนิด มีส่วนร่วมอยู่ในระบบเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมูเทส (SOD) เอนไซม์เหล่านี้ทำหน้าที่ตามชื่อคือสลายเพอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารเติมออกซิเจนที่มีพิษร้ายแรงมากและร่างกายต้องทำลายลงให้ได้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ ร่างกายสร้างเอนไซม์สลายเพอร์ออกไซด์จากกรดอะมิโนซึ่งได้มาจากโปรตีนที่ย่อยแล้ว หากต้องการเสริมอาหาร ขอแนะนำให้เสริม แมงกานีสและสังกะสีในขนาดปานกลาง แต่เสริมทองแดงในขนาดต่ำ หากไม่ได้อยู่ในความควบคุมดูแลของผู้รู้ ควรหลีกเลี่ยงการเสริมอาหารด้วยทองแดงเพียงอย่างเดียว โดยปกติร่างกายของเราได้รับทองแดงและแร่ธาตุอื่นเพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
การเสริมแร่ธาตุที่ดีที่สุดควรใช้แร่ธาตุในรูปของกรดอะมิโน ซีเลต สารเหล่านี้มักมีจำหน่ายในรูปกลูโคเนต แอสพาร์เทต และออโรเทต ซึ่งจะปลดปล่อยแร่ธาตุออกมาอย่างช้า ๆ เป็นการหลีกเลี่ยงการมีแร่ธาตุที่เข้มข้นเกินไปในกระเพาะอาหารซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องได้ (สารประกอบอนินทรีย์ธรรมดา เช่น คลอไรด์ และฟอสเฟต ก่อให้เกิดปัญหานี้) เอสโอดี ที่มีจำหน่ายอยู่นั้นได้มาจากเยื่อของสัตว์โดยผ่านกระบวนการพิเศษในการทำให้เข้มข้น ส่วนอันดับสุดท้ายมักมีแคทาเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์จับออกซิเจนฤทธิ์แรงอีกชนิดหนึ่ง หากสังเกตภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเห็นได้ว่าความเข้มข้นแสดงเป็นหน่วย MFU (Biological Unit Activity)
นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่า เอสโอดีไม่มีประสิทธิภาพเมื่อใช้วิธีกิน เนื่องจากเอสโอดีจะถูกทำลายด้วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร แต่อนุมูลอิสระมีฤทธิ์เมื่ออยู่ในทางเดินอาหาร ดังนั้น การกินเอนไซม์ชนิดนี้จึงช่วยป้องกันพิษของอนุมูลอิสระในทางเดินอาหารได้ หากต้องการทำลายอนุมูลอิสระในกระแสเลือดหรือเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ก็ยังมีเอนไซม์ เอสโอดีชนิดฉีดจำหน่ายอยู่ในบางประเทศ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอสโอดีมีอยู่หลายขนาด ถ้าได้รับวันละไม่ถึง 10,000 หน่วย ก็น่าจะเพียงพอ
แมงกานีสในรูปกรดอะมิโนซีเลต ซึ่งให้แมงกานีส 5มิลลิกรัม น่าจะเป็นขนาดที่ดีที่สุดและแนะนำให้ได้สังกะสีมากถึงวันละ 15 มิลลิกรัม บางคนอาจใช้ถึงวันละ 100 มิลลิกรัม แต่ต้องอยู่ในความดูแลจากผู้รู้
ซีลีเนียมและกลูตาไธโอน
ซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อชีวิตในระบบเอนไซม์จับออกซิเจนที่เรียกว่า กลูตาไธโอนเพอร์ออกซิเดส ซึ่งมีหน้าที่ทำลายสารจำพวกเปอร์ออกไซด์ที่เป็นอันตราย จากการศึกษาพบว่าดินที่ขาดแร่ธาตุชนิดนี้สามารถบอกได้ว่า โรคมะเร็งจะเพิ่มจำนวนขึ้น พืชที่เติบโตในแหล่งที่ดินขาดธาตุซีลีเนียมไม่สามารถเป็นอาหารที่ดีให้ซีลีเนียมอย่างเพียงพอทั้งแก่สัตว์และมนุษย์ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในแหล่งดังกล่าวจึงอาจจำเป็นต้องพึ่งการเสริมอาหารด้วยซีลีเนียม แต่ก็ต้องพึงระวังให้มากเพราะถ้าได้รับมากเกินไปกระเพาะจะเป็นพิษ การเสริมอาหารด้วยซีลีเนียมควรเป็นซีลีเนียมจากธรรมชาติ เช่น จากยีสต์ หรือในรูปแบบของซีลีโนเมไทโอนีน ควรหลีกเลี่ยงการเสริมด้วยซีลีไนต์ หรือซิลิเนต เพราะเป็นรูปแบบที่ไม่ดีของยูเรเนียมที่จะนำมาใช้เสริมอาหาร แต่ผู้ผลิตบางรายอาจนำเอาสารดังกล่าวมาเพียงผสมกับยีสต์เท่านั้น จึงต้องอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารดังกล่าวผสมอยู่ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
ซีลีเนียมในฐานะเป็น สารจับออกซิเจน ทำงานร่วมกับวิตามินอี และกลูตาไธโอนอย่างใกล้ชิด กลูตาไธโอนเป็นสารไทรเพปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิดคือ กลูตามีน ซีสทีน และไกลซีน จับกับซีลีเนียมในระบบเอนไซม์กลูตาไธโอนเพอร์ออกซิเดสภายในร่างกาย การเสริมอาหารด้วยไทรเพปไทด์ดังกล่าว อาจเสริมในรูปไทรเพปไทด์โดยตรง หรือเสริมในรูปที่มีส่วนประกอบทั้ง 3 ดังกล่าว เพื่อให้ร่างกายนำไปผลิตเป็นกลูต้าไธโอนเอง
ในฐานะ สารจับออกซิเจน กลูตาไธโอนมีคุณสมบัติต่อต้านโรคมะเร็ง และจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย ขณะนี้ยังไม่มีการแนะนำปริมาณการใช้อย่างเป็นทางการแต่มักแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ ควรได้รับวันละ 150-300 มิลลิกรัม น่าจะเพียงพอ
ไบโอฟลาโวนอยด์ : วิตามินพี
เมื่อปี พ.ศ. 2471 แอลเบิร์ต เซนต์-จีออร์จี ได้พบสารป้องกันและบำบัดโรคลักปิดลักเปิดจากผลไม้ตระกูลส้มซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ดร.จีออร์จีได้ประกาศว่าวิตามินซีเป็นปัจจัยจำเป็นต่อชีวิต นอกจากนี้ยังมีสารเคมีชนิดอื่นที่อยู่ในผลไม้จำพวกส้มและจากแหล่งอื่นอีกเป็นอันมากที่เป็นแหล่งวิตามินซี สารเหล่านั้นทำงานร่วมกันและเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันวิตามินดังกล่าว สารจำพวกไบโอฟลาโวนอยด์มีอยู่มากมาย ขณะนี้แยกออกมาได้แล้วถึง 4000 ชนิด
พืชผลิตสารต่าง ๆ ขึ้นด้วยกระบวนการทางเคมี เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็ยังคงมีสารดังกล่าวต่างๆ อยู่อย่างครบถ้วน สารหลายชนิดนำไปใช้ในการสร้างสารอย่างใดอย่างหนึ่ง และสารสุดท้ายที่เกิดขึ้นในวงจรนั้นจะมีโมเลกุลที่คงตัวมากที่สุด ในกรณีของสารไบโอฟลาโวนอยด์ สารที่สร้างขึ้นมาในสารนี้อันดับท้ายสุดเป็นสารประเภทน้ำตาล ในช่วงของห่วงโซ่การผลิตจนกว่าจะถึงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย จะมีสารอื่นซึ่งมีคุณสมบัติในการจับออกซิเจนเกิดขึ้นด้วย สารหลักที่นักวิเคราะห์พบจากพืชต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ มาเป็นสารที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายของกระบวนการห่วงโซ่ดังกล่าว เพื่อให้ได้มาซึ่งสารออกฤทธิ์ที่แยกออกมาได้เป็นสารที่มีความคงตัวสูง ซึ่งมักต้องใช้กรรมวิธีดัดแปลงในห้องปฏิบัติการ และขณะนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าสารที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการดังกล่าวมีคุณค่าอย่างสูงทางด้านโภชนาการและยา
หลังจากที่ ดร.จีออร์จี ได้กล่าวแสดงผลงานออกมาแล้ว วิตามินซีชนิดแรกที่รู้จักคือวิตามินพี แต่เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ถึงอาการหรือภาวะการขาดสารดังกล่าว เนื่องจากวิตามินพี เป็นสารออกฤทธิ์ร่วมกับวิตามินซีเท่านั้น การใช้คำว่าวิตามินกับสารดังกล่าว จึงต้องตกไปกลายเป็นชื่อที่ซ้ำกันอย่างง่าย ๆ ว่า ไบโอฟลาโวนอยด์ แม้จะมีการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนการค้นพบแล้วก็ตาม แต่โภชนากรและแพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมรับว่าไบโอฟลาโวนอยด์มีความสำคัญทางโภชนาการแต่เดิมโภชนากรมองไบโอฟลาโวนอยด์เช่นเดียวกับพวกใยอาหาร จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จึงยอมรับให้อยู่ในฐานะของสารอาหาร และมีความสำคัญต่อกระบวนการดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่น้อยมาก
ไบโอฟลาโวนอยด์มีอยู่ทั่วไปในผลไม้และผัก แหล่งไบโอฟลาโวนอยด์ที่สำคัญนอกจากผลไม้จำพวกส้มแล้วยังมีผักสีเขียวเข้ม เช่นผักโขม บล็อกโคลี่ เป็นต้น ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีผลไม้หรือผักดังกล่าวแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจช่วยให้ร่างกายได้รับ สารจับออกซิเจน มากพอที่จะป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระได้ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
ยังมีข้อขัดแย้งอยู่ในเรื่องการดูดซึมสารไบโอฟลาโวนอยด์ สารนี้ส่วนมากจะออกมากับอุจจาระ โดยอาจมีการดูดซึมบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะไม่ใช้สารนี้เพียงแต่ร่างกายต้องการสารไบโอฟลาโวนอยด์ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนที่น้อยมาก สำหรับบางสถานการณ์ซึ่งร่างกายต้องการจับออกซิเจนชนิดเจาะจง แต่การสังเกตประสิทธิผลของไบโอฟลาโวนอยด์ก็ไม่สามารถจะละเลยได้ แม้ว่าปริมาณไบโอฟลาโวนอยด์ที่ร่างกายได้รับมากถึงร้อยละ 60 ไม่มีการดูดซึมและที่เหลือก็ยังไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น กระนั้นก็ตามอาจเป็นได้ว่าลำพังการทำหน้าที่จับออกซิเจนในทางเดินอาหารก็น่าจะเป็นการเพียงพอแล้วที่จะสรุปได้ว่าการกินผลไม้และผักมาก ๆ สามารถป้องกันโรคมะเร็งในทางเดินอาหารได้
รูทิน
ไบโอฟลาโวนอยด์ที่น่าจะเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือรูทิน เพราะมีการใช้รูทิน ร่วมกับวิตามินซีในทางยามากกว่า 40 ปี แล้ว การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวปรากฏว่ามีผลทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ลดความดันโลหิตและลดคอเลสเตอรอล แหล่งรูทินตามธรรมชาติที่ดีที่สุดคือ ข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าวีท (ข้าวโพดทะเลทราย) หากใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปริมาณ 500-1500 มิลลิกรัมต่อวันก็น่าจะเพียงพอ
เฮสเพอริดิ
เป็นไบโอฟลาโวนอยด์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับรูทิน พบมากในผลไม้ จำพวกมะนาวและส้ม มีฤทธิ์จับออกซิเจนต่ำกว่ารูทินเล็กน้อย แต่ออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันมากเมื่อใช่ร่วมกับวิตามินซี แนะนำให้ใช้เฉพาะเจาะจงสำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดเปราะและช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดเปราะและแตกง่ายจะเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณแก้ม ผู้ที่มีเส้นเลือดไม่แข็งแรงอาจเป็นเพราะออกซิเจนเป็นตัวทำให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดซึ่งทำให้เส้นเลือดกรอบ เปราะ (ขาดความหยุ่นตัวตามธรรมชาติ) เป็นการแข็งตัวของเส้นเลือดเทียบได้กับการเกิดสนิมของเหล็ก (การเติมออกซิเจนให้เหล็ก) อันเป็นการเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุด จะเห็นได้จากภายในร่างกายมนุษย์ การใช้เฮสเพอริดิ 600 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินซี 500 -1500 มิลลิกรัมต่อวัน [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
เควอร์เซทิน
เป็นไบโอฟลาโวนอยด์อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะทางเคมีใกล้เคียงกับรูทินมาก พบในผักตระกูลกะหล่ำ ชา และเปลือกผลแอปเปิ้ล อาหารธรรมชาติที่ดีควรให้เควอร์เซทินประมาณวันละ 50-100 มิลลิกรัม เควอร์เซทิน ช่วยป้องกันปฏิกิริยาการแพ้โดยยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน ของร่างกาย เควอร์เซทินเป็น สารจับออกซิเจน ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบที่ดีเยี่ยม หากขาดสารนี้ในอาหาร อาจทำให้เกิดโรคแพ้อากาศ ไข้ละอองฟาง หอบหืด เรือนกวางหรือโรคสะเก็ดเงิน และโรคผิวหนังผื่นคัน
เชื่อว่าไบโอฟลาโวนอยด์ชนิดนี้มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อไวรัส และเพื่อให้เควอร์เซทินทำงานร่วมกับวิตามินซี อาจช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดาได้ ว่ากันว่าเอนไซม์จากสับปะรดคือ โบรเมลิน ช่วยในการดูดซึมเควอร์เซทิน และจากการวิจัยยังพบต่อไปอีกว่าเควอร์เซทินมีคุณสมบัติยับยั้งการเกิดโรคเนื้องอกอีกด้วย จับออกซิเจน เควอร์เซทินเป็นไบโอฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์แรงกว่ารูทิน ดังนั้น เมื่อให้รูทินแล้วไม่เห็นผลเมื่อให้เควอร์เซทิน ทั้งนี้เนื่องจากการดูดซึมเควอร์เซทินดีกว่าและต้องการการย่อยน้อยกว่ารูทินนั่นเอง จากการทดลองกับคนไข้เส้นเลือดเปราะและความดันโลหิตสูงรายหนึ่ง โดยให้เควอร์เซทินวันละ 60 มิลลิกรัม ปรากฏว่าได้ผลดีกว่าให้รูทินวันละ 400 มิลลิกรัม
มีคำถามในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้เควอร์เซทิน แต่คำถามเหล่านั้นถือได้ว่าเป็นคำถามที่ไร้สาระเพราะตัวกรรมวิธีการวิจัยและการแปลผลการวิจัยที่ผิดไปจากผลที่เคยทำมาแต่เดิม ทำให้เกิดมีข้อสงสัยขึ้น ยิ่งความนิยมอาหารธรรมชาติมีการแพร่หลายมากขึ้น ฝ่ายสโตร์ก็จะไม่ยอมหยุดที่จะทำลายความเชื่อถือในการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ เพราะข้อสงสัยสามารถนำไปสู่การใช้ยาราคาแพงซึ่งทำกำไรให้อย่างมหาศาลแก่ทางฝ่ายแพทย์และเภสัชกรรม
โพลีฟีนอล
หรือ โพลีเฟโนลิก ไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นสารเคมีที่ได้จากพืช เช่น แคเทซิน แทนนิน และโพรแอนโทซัยอะนิดิน สารนี้มีอยู่มากมายหลายชนิดในพืชทุกชนิด มีคุณสมบัติในการจับออกซิเจน หลายชนิดมีฤทธิ์กัดกร่อนและทำให้ระคายเคือง จึงจำเป็นต้องเลือกชนิดของอนุพันธ์โพลีฟีนอลที่มีคุณสมบัติทางชีวให้เข้ากับร่างกายมนุษย์มาใช้ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
สารเหล่านี้พบได้ในปริมาณสูงในเปลือกไม้บางชนิด ผลไม้บางชนิด เช่น หมาก ปุ่มใบไม้ เช่น เบญกานี ชา ซึ่งผลิตขึ้นด้วยการหมักใบชาแล้วทำให้แห้ง ไวน์แดงก็มีฟลาโวนอยด์ประเภท โพลีฟีนอลเหล่านี้เช่นกันและ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการโฆษณาคุณประโยชน์ของไวน์แดงเป็นการใหญ่ โดยอ้างว่าชาวฝรั่งเศสซึ่งกินอาหารไขมันสูง ทำให้มีโคเลสเตอรอลสูงตามไปด้วย แต่ไวน์แดงกลับช่วยป้องกันชาวฝรั่งเศสเหล่านั้นไม่ให้ได้รับผลร้ายจากอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงได้ ถ้าอย่างนั้น หากชาวอังกฤษจะดื่มน้ำชาไม่ใส่นม ชาวอังกฤษก็คงจะได้รับประโยชน์จากการดื่มของโปรดของตนเช่นกัน ถั่วเหลืองก็มี สารจับออกซิเจน ชนิดนี้อยู่ ชาวญี่ปุ่นซึ่งกินถั่วเหลืองปริมาณมากจึงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าชาวฟินแลนด์ซึ่งกินถั่วเหลืองน้อยมากนั่นเอง
เรื่องปัญหาสุขภาพที่สารจับออกซิเจนช่วยได้อันมีมากมายทำให้เกิดการวิจัยค้นหาอย่างจริงจัง เพื่อที่จะได้มาซึ่งประโยชน์เฉพาะของสารจากพืชดอกงิ้ว
แม้ว่าไบโอฟลาโวนอยด์บางอย่างเช่น รูทิน เฮสเพอริดินและเควอร์เซทิน จะมีจำหน่ายอยู่ก็ตาม แต่ที่เหลืออีกประมาณ 4000 ชนิดที่ สามารถระบุได้ จึงต้องได้รับจากผลิตภัณฑ์ผสม ผลิตภัณฑ์ผสมที่ดีที่สุดคืออาหารที่ประกอบหรือปรุงเอง นอกจากนี้อาหารธรรมชาติชนิดเข้มข้นเพิ่งมีจำหน่ายเมื่อไม่นานมานี้เอง สารเหล่านั้นมีหลายอย่าง เช่น น้ำผึ้ง นมผึ้ง และเกสรดอกไม้ มีคุณสมบัติที่สามารถจัดวางไว้ในตำแหน่ง สารจับออกซิเจน ได้ อาจเป็นเพราะมีการยกย่องผลิตภัณฑ์เหล่านี้กันอย่างเลิศเลอ ซึ่งเป็นการเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดูเลิศหรูขึ้น
เกสรดอกไม้ (pollen)
เป็นแหล่งที่มีไบโอฟลาโวนอยด์และสารอาหารอื่น เช่น วิตามิน กรดอะมิโน และเอนไซม์ อย่างอุดมสมบูรณ์ แต่การเก็บเกสรดอกไม้มาทำการค้าเป็นเรื่องยาก ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพจึงต้องพึ่งพาผึ้ง ต้องดัดแปลงทางเข้าสู่รวงผึ้งเป็นพิเศษ เพื่อแย่งชิงเอาสิ่งที่ผึ้งนำติดตัวมาจากการเที่ยวหาอาหารมาเป็นของตน ผึ้งรวบรวมเกสรดอกไม้ที่มีสารไบโอฟลาโวนอยด์ต่าง ๆ กัน แล้วแต่ว่าจะมีดอกไม้ชนิดไหนอยู่ในบริเวณที่เพิ่งออกหากิน เกสรดอกไม้ทุกชนิดมีคุณสมบัติเป็นตัวจับออกซิเจนอย่างดี และด้วยเหตุว่าเกสรดอกไม้มีเอนไซม์ธรรมชาติอยู่ด้วย จึงอาจช่วยให้ไบโอฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในสภาพที่พร้อมจะมีการดูดซึม
เกสรดอกไม้หรือเกสรผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแนะนำกันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางเพื่อเพิ่มพลัง เสริมภูมิคุ้มกัน เพิ่มพลังหนุ่ม และป้องกันโรคที่จะเกิดแก่ต่อมลูกหมาก เมื่อไม่นานมานี้เอง เกสรผึ้งจัดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยอดนิยมในหมู่คนแก่ โดยเชื่อว่าเพื่อช่วยต่อสู้กับโรคที่เกิดจากความเสื่อมโทรมที่เป็นต้นเหตุ เช่น โรคข้ออักเสบ เป็นต้น [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
น้ำผึ้ง
ที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้มีหลายรูปแบบ น้ำผึ้งทุกชนิดมีน้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทรายเป็นส่วนประกอบหลัก น้ำผึ้งบางชนิดมีเกสรดอกไม้และขี้ผึ้ง ซึ่งเป็นแหล่งอุดมด้วย สารจับออกซิเจน มีการแนะนำกันอย่างกว้างขวางให้ใช้เพื่อบำรุงสุขภาพโดยทั่วไป และก็คงได้ประโยชน์ไม่น้อยจากสารจับออกซิเจนที่มีอยู่
นมผึ้ง
เป็นอาหารที่ผึ้งงานบรรจงปรุงเป็นพิเศษสำหรับพญาผึ้ง เป็นอาหารสุขภาพที่มีข้อกังขากันอย่างมากที่สุด การวิเคราะห์สารอาหารในนมผึ้งก็ยังไม่ให้ผลกระจ่างชัดนัก เท่าที่ทราบนมผึ้งมีกรดอินทรีย์ วิตามิน กรดอะมิโนและน้ำ แต่คุณสมบัติเป็น สารจับออกซิเจน ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายจะมีมากน้อยเพียงใดและมีคุณค่าเพียงไหน ยังคงต้องรอผลการวิจัยต่อไปในอนาคต ปัจจุบันข้อสงสัยมีอยู่ว่าคงมีประโยชน์อยู่บ้าง เพราะผู้ซื้อทั่วโลกยังมีการซื้อซ้ำกันอยู่
ยาง-ชัน
ผึ้งมีผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดคือเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นยาฆ่าเชื้ออย่างแรง ผึ้งใช้ชันสำหรับป้องกันรวงผึ้งไม่ให้เกิดการติดเชื้อ การนำผลิตภัณฑ์จากผึ้งชนิดนี้มาใช้กับมนุษย์ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ซึ่งสูงกว่าที่เคยคาดคิดเป็นอันมาก แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ กล่าวคือเป็นเรื่องธรรมดาที่สารซึ่งได้จากธรรมชาติจะต้องมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันไป แม้ความเข้มข้นจะแตกต่างกันไปตามสภาวะ ประกอบกับยังมีวิธีทดสอบที่เป็นหลักเกณฑ์แน่นอน ดังนั้น ความต่างในเรื่องคุณภาพและส่วนประกอบเช่นนี้ก่อให้เกิดช่องทางแก่ผู้ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับผลิตภัณฑ์ยาธรรมชาติ ให้หยิบยกเอาชันผึ้งที่มีคุณภาพต่ำขึ้นมาเป็นข้อโจมตีและชี้ให้เห็นปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเกิดผิวหนังอักเสบ พวกนั้นอาจเข้าไปสู่ผลิตภัณฑ์ชันผึ้งชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าจนได้
ยางหรือชันผึ้งประกอบด้วยยางหรือชันจากต้นไม้ตามแหล่งหากินของผึ้งแต่ละรัง ส่วนประกอบสำคัญของชันผึ้ง คือ ไบโอฟลาโวนอยด์และสารเคมีตั้งต้นของสารไบโอฟลาโวนอยด์เหล่านั้น อาจเป็นกรด เช่น กรดเฟอรูลิก ซินนามิก เบนโซอิก และแคฟเฟอิก รวมทั้งเอสเตอร์ และแอลกอฮอล์ธรรมดาธรรมดา เช่น เอทิลหรือเบนซิน แอลกอฮอล์ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
จากการวิจัยยางหรือชันปรากฏผลออกมาว่ามีฤทธิ์ทำลายเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อยีสต์ ซึ่งทำให้ลิ้นเป็นฝ้า เชื้อเฮลิโคแบคเทอร์โพโลรี เชื่อกันว่ามีส่วนร่วมในการทำให้เกิดแผลอักเสบในทางเดินอาหารโดยใช้รับประทาน เมื่อทำเป็นครีมก็ใช้รักษาโรคเริมและสิวได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการหอบหืดและโรคข้ออักเสบอีกด้วย หากจะกล่าวว่าธรรมชาติรักษาโรคได้อย่างครอบจักรวาล ยางหรือชันก็มีคุณสมบัติดังกล่าว ไม่มีข้อยกเว้น ลักษณะการจับออกซิเจนของยางและชันครอบคลุมกว้างขวางมาก จึงเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐ แม้ว่าสารที่เป็นส่วนประกอบแต่ละชนิดจะให้ผลไม่มากนักก็ตาม แต่เมื่อมีสารหลายชนิดอยู่รวมกัน การออกฤทธิ์จึงเป็นการเสริมซึ่งกันและกัน และควรจะได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วน เพื่อนำเอาประโยชน์ดังกล่าวมาใช้แก่ทั้งคนและสัตว์
ปัญหาสำคัญของทั้งเกสรผึ้งและชันผึ้งก็คือ การปนเปื้อนสารพิษทางเกษตรและมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่เกิดแก่ผึ้งเลี้ยง ปัจจุบันอาจจะดีขึ้นเพราะมีกรรมวิธีที่ดีในการเก็บผลผลิตและการทำให้บริสุทธิ์ หากจะซื้อควรเลือกซื้อเฉพาะยี่ห้อที่มีการรับประกันคุณภาพเท่านั้น และทราบแหล่งที่เลี้ยงผึ้งด้วยก็จะยิ่งดี ผึ้งมักชอบทำชันจากยางของต้นพอพลาร์ รองลงมาคือ ยางจากต้นเฟอร์ ดังนั้น อีกวิธีหนึ่งในการดูคุณภาพของชันผึ้งก็คือดูฉลากว่าผึ้งนั้นเลี้ยงไว้ในบริเวณที่มีต้นไม้ชนิดใด
เปลือกต้นสน
ผึ้งทำชันผึ้งมาจากยางไม้นานาชนิดตามแต่จะหาได้ เปลือกไม้เป็นแหล่งที่มีโพลีเฟโนลิก ไบโอฟลาโวนอยด์อย่างอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ตามชายทะเลของประเทศฝรั่งเศสด้านมหาสมุทรแอตแลนติกคือสนไพนัส มาริทิมา อุตสาหกรรมยาศึกษาและวิจัยเปลือกสนชนิดนี้เป็นพิเศษ แล้วนำเอามาสกัด ได้เป็น สารจับออกซิเจน ฤทธิ์แรงที่ชื่อว่า พิโนเจนอล
สารที่สกัดได้จากเปลือกสน มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับชัน คือมี สารจับออกซิเจน เป็นส่วนประกอบมากมายหลายชนิด ที่เหนือกว่าก็คือกรรมวิธีในการผลิต ผู้ผลิตจดสิทธิบัตรกรรมวิธีผลิตและรับประกันความสม่ำเสมอของส่วนประกอบ คุณสมบัติต่างๆ ของสารที่สกัดจากเปลือกสนมีความคล้ายคลึงกับสารไบโอฟลาโวนอยด์ชนิดอื่น ๆ จากการวิจัยอย่างละเอียดพบว่าผลิตภัณฑ์นี้ช่วยได้ในเรื่องของหลอดเลือดช่วงล่างของร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ขา การให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ขาหัก ริดสีดวงทวารได้ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
ดูเหมือนว่าสารสกัดจากพืชที่อุดมด้วยไบโอฟลาโวนอยด์จะให้ผลคล้ายกันหากได้มีการวิจัยอย่างจริงจังดังเช่นที่ทำกับเปลือกส่วนดังกล่าว พิกโนเจนอลไม่ได้เป็นสารเคมีบริสุทธิ์หรือมีสารเคมีอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้ผลิตสามารถรับประกันคุณภาพได้ด้วยกรรมวิธีการผลิต พิโนเจนอลไม่ได้บริสุทธิ์เท่ากับเควอร์เซทิน เฮสเพอริดิน หรือรูทินบริสุทธิ์ แต่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับยางหรือชันมากกว่าไบโอฟลาโวนอยด์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ
อาจจะเป็นได้ว่ามีไบโอฟลาโวนอยด์ผสมออกมาจำหน่ายอีกหลายชนิด แต่ต้องพิจารณาข้อกล่าวอ้างในเรื่องสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้ดี
สมุนไพรและโภชนสารจากพืชในฐานะสารจับออกซิเจน
รายชื่อสมุนไพรที่มีคุณสมบัติจับออกซิเจนดูจะมีมากมายไม่มีที่สิ้นสุด แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องกินสมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นต้นว่า ใบแปะก๊วย โสมหรือ เอคิเนเชีย เป็น สารจับออกซิเจน เสมอไป แต่ไม่ได้หมายความว่าผลจากสมุนไพรเหล่านี้ที่มีต่อสุขภาพจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติในการจับออกซิเจนที่สมุนไพรดังกล่าวมีอยู่ ซึ่งอาจมีความสำคัญยิ่งในเรื่องประสิทธิภาพที่เจาะจงต่อสถานการณ์ สมุนไพรต่าง ๆ มีส่วนประกอบซึ่งเสริมฤทธิ์กันและกันโดยเฉพาะคุณสมบัติในการจับออกซิเจน
การรักษาด้วยสมุนไพรเป็นการรักษาในลักษณะองค์รวม ให้ผลต่อร่างกายมากกว่าการรักษาด้วยยาวิเศษโมเลกุลเดี่ยวมากมายนัก สมุนไพรส่วนใหญ่มีโพลีแซคคาไรด์ แร่ธาตุ วิตามิน ฟลาโวนอยด์ โปรตีน ไกลโคไซด์ และเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ ขณะที่สาร 1 หรือ 2 อย่างทำงานในลักษณะสารออกฤทธิ์ สารอื่นก็ทำหน้าที่ปรับให้ร่างกายอยู่ในสภาพสมดุล สมุนไพรอาจมีผิดพลาดน้อยกว่าเคมีอย่างมากมายก็ด้วยเหตุผลดังกล่าว เพราะยาเคมีไม่มีตัวปรับสมดุลอยู่เลย เป็นเพียงสารเคมีที่มีกระบวนการผลิตราคาถูกและการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทำได้ง่ายกว่าสมุนไพร
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับใช้กับออกซิเจนที่ดีและปลอดภัยที่สุดคืออาหารและสมุนไพร ต่อไปนี้คือตัวอย่างพืชบางชนิดที่มีสารกับออกซิเจนและใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ตัวอย่างพืชบางชนิดที่มีสารกับออกซิเจนและใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ฟลาโวนไกลโคไซด์ | ได้จากแปะก๊วย |
ไซลิมาริน | ได้จากผักโขมหนาม |
ไพรแอนโทไซอะนิดิน (OPCs) | ได้จากเมล็ดองุ่นสกัดและเปลือกต้นสน |
แคเทซิน โพลีฟีนอล ฟลาโวนอยด์ | ได้จากชาเขียว |
แคพไซซิน | ได้จากพริก โรสแมรี่ และขิง |
ไลโคปีน | ได้จากมะเขือเทศ |
ลิโมนีน | ได้จากผลไม้จำพวกส้ม |
น้ำส้มไซเดอร์ | ได้จากแอปเปิ้ล |
เซซามินอล | ได้จากเมล็ดงา |
แอลลิซิน | ได้จากกระเทียม |
ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนน้อยนิดเมื่อเทียบกับจำนวนสมุนไพรในโลก แต่ก็คงพอแสดงให้เห็นว่ามีแหล่ง สารจับออกซิเจน ซึ่งอาจนำมาใช้ป้องกันการเสื่อมของสุขภาพและนำมาใช้เสริมสุขภาพได้ [adinserter name=”navtra”]
ผู้คนทางตะวันออกของโลกพากันละเลยหรือหลงลืมสมุนไพรดี ๆ ซึ่งมีมากกว่าทางตะวันตก ไทยเรามียาบำรุงธาตุ ยาหอม ยาอายุวัฒนะ ยาเหล่านี้บางอย่างประกอบด้วยสมุนไพรมากมาย โดยมีเหตุผลว่าตัวยาสมุนไพรบางอย่างอาจออกฤทธิ์เสริมกัน บางอย่างอาจออกฤทธิ์ถ่วงดุลกัน สมุนไพรจึงเป็นยาที่ออกฤทธิ์อย่างนุ่มนวล
กรดแอลฟาไลโพอิ
เป็นสารโคเอนไซม์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตขึ้นภายในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในเครบส์ซัยเคิล เปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน และแอลฟาไลโพอิกเป็น สารจับออกซิเจน ที่มีฤทธิ์แรงมาก ไม่เพียงแต่จะทำลายอนุมูลอิสระด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังชุบชีวิตสารจับออกซิเจนชนิดอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามิน เอ ซี อี และกลูตาไธโอน ทำให้สารเหล่านี้สามารถไล่จับอนุมูลอิสระต่อไปได้อีก และเนื่องจากกรดแอลฟาไลโพอิกละลายได้ทั้งในน้ำและในน้ำมัน จึงทำหน้าที่เป็นสะพานหลักสำหรับการเชื่อมในระดับเซลล์ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันเซลล์ทั้งภายในและจากภายนอกเซลล์อีกด้วย
แม้ร่างกายจะผลิตกรดแอลฟาไลโพอิกได้เองก็ตาม แต่การเสริมด้วยสารดังกล่าววันละ 100 -200 มิลลิกรัม ก็ดูว่าจะเป็นประโยชน์มาก การได้รับกรดแอลฟาไลโพอิกในปริมาณสูง เช่นวันละ 800 มิลลิกรัม จะสามารถช่วยฟื้นสภาพของเส้นประสาทของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ และอาหารที่เป็นแหล่งของกรดแอลฟาไลโพอิก คือมันฝรั่ง แครอท เผือก และมันเทศ
แร่ธาตุทุกชนิดต่างก็มีศักยภาพในการรับหรือให้ออกซิเจนหรือประจุไฟฟ้าซึ่งเรียกกันว่า “รีดอกซ์โพเทนเซียล
( Redox Potential )” ศักยภาพนี้วัดได้ด้วยสมรรถนะในการจับออกซิเจน แร่ที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนรุนแรงที่สุดก็คือ โซเดียมและโพแทสเซียม เมื่อแร่ทั้งสองนี้สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ จะเกิดการเผาไหม้ขึ้นทันที จะเกิดเป็นเปลวไฟขึ้นไป ดูแล้วน่าสนุกสนานตื่นเต้นมาก จึงกล่าวได้ว่าแร่ดังกล่าวเป็นสารรับประจุไฟฟ้าลบหรือเป็นสารจับออกซิเจนอย่างแรง ดังนั้นออกซิเจนจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกาย และการได้รับสารจับออกซิเจนที่ดีที่สุดก็คือการได้รับประทานอาหารที่สมดุล ถ้าจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือคนไข้ที่กำลังพักฟื้นหลังการเจ็บป่วยก็สามารถทำได้ แต่ต้องได้อาหารจากธรรมชาติและในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็ต้องทำให้อาหารโดยรวมมีความสมดุลด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.
How Products are Made contributors (2002). “Oxygen”. How Products are Made. The Gale Group, Inc. Retrieved December 16, 2007.
Papanelopoulou, Faidra (2013). “Louis Paul Cailletet: The liquefaction of oxygen and the emergence of low-temperature research”. Notes and Records, Royal Society of London. 67 (4): 355–73. doi:10.1098/rsnr.2013.0047.Emsley 2001, p.303