สารจับออกซิเจนชนิดเม็ดและแคปซูลมีอะไรบ้าง
วิตามินที่ช่วยจับออกซิเจนและมีความจำเป็นต่อร่างกายมี เอ บี ซี

สารจับออกซิเจน

สารจับออกซิเจน เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารที่ได้สมดุลสามารถให้และจับออกซิเจนแก่ร่างกายได้อย่างเพียงพอ แต่เนื่องจากกรรมวิธีในการประกอบอาหาร การหุงต้มและการเก็บรักษา อาจทำให้เกิดการสูญเสียวิตามินบางอย่าง การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นหลักประกันได้

วิตามินเอ (Vitamin A)

ร่างกายต้องการ วิตามินเอ ( Vitamin A ) ในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU สำหรับนักมังสวิรัติที่เคร่งครัด คือผู้ไม่ยอมกินอาหารที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด จึงควรกินวิตามินเอสังเคราะห์ชนิดเม็ดหรือแคปซูลวันละ 800 ไมโครกรัม

วิตามินซี ( Vitamin C )

วิตามินซี ( Vitamin C ) มีจำหน่ายในบ้านเราหลายขนาด อย่างดีที่สุดคือวิตามินซีชนิดที่เป็นกลาง คือไม่เป็นกรดหรือเป็นด่าง และมีสารที่ทำให้สมดุล เช่น ไบโอฟลาโวนอยด์จากธรรมชาติ มีอาเซโรล่าและโรสฮิพส์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยให้ทานมื้อละ 250 หรือ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 มื้อก็พอ วิตามินซีอย่างผงแม้จะมีราคาถูกมาก แต่ก็มีปัญหาเรื่องการชั่งตวงวัด ซึ่งอาจทำให้คุณได้รับเกินขนาดง่ายมาก

วิตามินอี  ( Vitamin E )

วิตามินอี ( Vitamin E ) กับออกซิเจนเป็นสิ่งที่ผู้คนมองข้ามกันมากที่สุด หากได้รับในปริมาณที่สูง เช่นสูงถึง 2000 หน่วยสากล หรือมิลลิกรัม (วิตามินอีเป็นวิตามินชนิดหนึ่งในไม่กี่ชนิดที่ถือกันว่า 1 หน่วยสากลมีค่าเท่ากับ 1 มิลลิกรัม) วิตามินอีมีส่วนร่วมอยู่ในรายการอาหารจับออกซิเจนหลายรายการ เช่น การรักษาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและโรคผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุเซลล์ ช่วยในการสืบพันธุ์ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

โค-คิว10 ( Co-Q10 )

โค-คิว 10 อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทจับออกซิเจนยอดนิยมชนิดหนึ่ง แต่ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับสารตัวนี้อยู่น้อยมาก วิตามินซีจะเป็นตัวช่วยให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการผลิตโค-คิว10   

เบตาแคโรทีน ( Betacarotene )

เบตาแคโรทีน ( Betacarotene ) นับเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญสำหรับสุขภาพของมนุษย์ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจากเบตาแคโรทีน ขณะนี้ได้พบแล้ว แม้จากการวิจัยพบว่าวิตามินเออาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 25,000 หน่วยสากล ( IU ) ต่อวัน แต่ไม่พบว่าเบตาแคโรทีนมีความเป็นพิษแต่อย่างใด

อาหารสีเขียวชนิดเข้มข้น

เป็นอาหารยอดนิยมอีกอย่างและเชื่อกันว่าเป็นอาหารจับออกซิเจนที่ดี ไม่มีใครสงสัยว่าอาหารเรานี้มี สารจับออกซิเจน แต่ผักธรรมดาๆ เช่น บร็อกโคลี และผักโขม ที่มีราคาถูกจะมีคุณภาพดีกว่า

ยาง-ชัน

สารจับออกซิเจน ครอบจักรวาล แต่เนื่องจากมีความแตกต่างกันมากในด้านส่วนประกอบและมาตรฐานความบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการยากที่จะแนะนำขนาดที่ควรได้รับในแต่ละวัน

เกสรดอกไม้

เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีลักษณะพิเศษและได้รับความไว้วางใจมากกว่า ยาง-ชัน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากมีความหลากหลายของเกสรดอกไม้ ดังนั้นน้ำผึ้งที่ใช้ทาขนมปัง ราดนม จึงดูน่าเชื่อถือมากกว่า

ซิลิเนียม

เป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์อยู่ในรายการ สารจับออกซิเจน แต่การได้รับซีลีเนียมจากอาหารย่อมดีกว่าการรับสารซีลีเนียมเข้าไปโดยตรง ซีลีเนียมโดยตัวเองไม่ได้เป็นสารจับออกซิเจน แต่มีความจำเป็นต่อการสร้างระบบจับออกซิเจนภายในร่างกาย ซิลิเนียมอินทรีย์ 200 ไมโครกรัม เป็นปริมาณสูงสุดที่สามารถจับได้ในแต่ละวันในสภาพเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซีลีเนียมอินทรีย์ เช่น ซิลิไนต์ และซิลิเนต ห้ามใช้เสริมอาหาร 

กลูต้าไธโอน

สารจับออกซิเจน ชนิดหนึ่งซึ่งไม่จำเป็นให้ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะมีราคาแพงและไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งเราได้รับอาหารที่มีโปรตีนอยู่แล้ว

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สารจับออกซิเจนชนิดเม็ดและชนิดแคปซูล

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำหน่ายอยู่มากมายบางชนิดเป็นชนิดผสมอย่างง่ายแต่มีวิตามิน A C และ E เท่านั้น บางอย่างเพิ่มปัจจัยร่วมเข้าไปอีกอย่างหรือหลายอย่าง เช่น ซีลีเนียม ไบโอฟลาโวนอยด์ ทองแดง กรดโฟลิก และสังกะสี ถ้าต้องการซื้อผลิตภัณฑ์จับออกซิเจน พิจารณาสูตรที่สมดุลโดยมีสารหลักดังนี้

ผลิตภัณฑ์สารจับออกซิเจนชนิดเม็ดและชนิดแคปซูล จำนวนหน่วยที่ควรได้รับ
วิตามินเอ ( ควรเป็นเบตาแคโรทีน ) 1,500 – 2,500 หน่วยสากล
วิตามินอี 100 – 150 หน่วยสากล
วิตามินซี 150 – 400 มิลลิกรัม
วิตามินบี 15 – 10 มิลลิกรัม
วิตามินบี 25 -10 มิลลิกรัม
วิตามินบี 62 – 5 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 30-60 มิลลิกรัม
กรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม
สังกะสี 1 – 5 มิลลิกรัม
แมงกานีส 1 – 2 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 50 – 150 ไมโครกรัม
ไบโอฟลาโวนอยด์ผสม (เช่น จากเปลือกองุ่น ผลไม้ประเภทส้ม บักวีท ซึ่งมีเควอร์ฌซทิน เอสเพอริดีน รูทิน ฯลฯ)
หรือจะผสมวิตามินดังกล่าวกับผักผง เช่น แครอท กระเทียม แพงพวยน้ำ หรือผักโขม
100 – 300 มิลลิกรัม

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า หากทราบความสำคัญของโภชนาการเหล่านี้เพิ่มขึ้น สารจับออกซิเจน ชนิดเม็ดหรือชนิดแคปซูลจะต้องปรากฏในตลาดมากขึ้น และคงเป็นการยากที่จะตัดสินคุณภาพโดยรู้จักฉลากเพียงประการเดียว มีข้อควรระลึกเมื่อจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์นั้น เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันกับอาหารตามปกติหรือไม่

2. ผลิตภัณฑ์นั้น เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่ร่างกายผลิตขึ้นหรือไม่

3. ผู้ผลิตตั้งผลจากสถาบันวิจัยชั้นนำของสหรัฐ สหราชอาณาจักรหรือเยอรมนีหรือเปล่า

4. ถ้าผู้ผลิตเอาผลการวิจัยจากห้องปฏิบัติการหรือแพทย์เพียงผู้เดียวมากล่าวอ้าง ควรรอข่าวจากแหล่งอื่นก่อนที่จะเสียเงินซื้อ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.

Papanelopoulou, Faidra (2013). “Louis Paul Cailletet: The liquefaction of oxygen and the emergence of low-temperature research”. Notes and Records, Royal Society of London. 67 (4): 355–73. doi:10.1098/rsnr.2013.0047.Emsley 2001, p.303

How Products are Made contributors (2002). “Oxygen”. How Products are Made. The Gale Group, Inc. Retrieved December 16, 2007.