- มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer )
- เชื้อพยาธิเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงหรือ ?
- อาหารเสริม ทางการแพทย์ที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็ง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อหัวใจ
- การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลข้างเคียงต่อการมองเห็นอย่างไร
- การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- ผลกระทบจากการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อระบบไหลเวียนโลหิต
- โครงสร้าง และ ส่วนประกอบของเต้านม
- การตรวจหามะเร็ง มีวิธีการตรวจอะไรบ้าง
- การพบแพทย์เพื่อประเมินผล และติดตามผลผู้ป่วยมะเร็ง
- มะเร็งดวงตา กับการรักษาด้วยการฉายรังสี มีผลกระทบอะไรบ้าง
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อกระดูก
- ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ
- ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
- วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค
- ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
- มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )
- ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม
- ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )
- มะเร็งที่พบบ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายในประเทศไทย
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด
- มะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal Cancer ) มีสาเหตุและอาการของโรคอย่างไร
- มะเร็งตับอ่อน ( Pancreatic Cancer )
- มะเร็งไต ( Kidney Cancer ) อาการ สาเหตุ และการรักษา
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer )
- มะเร็งทวารหนัก ( Anal Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษา ( Ovarian Cancer )
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- มะเร็งปากมดลูก ( Cervical Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก
- กระบวนการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
- เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง ( Brain Cancer )
- มะเร็งตับ ( Liver Cancer )
- มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer )
- มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma ) สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา
- มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต
- มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
- มะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายได้ไหม มีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน
- มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer )
- มะเร็งถุงน้ำดี ( Gallbladder Cancer )
- มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma หรือ CCA )
- มะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Cancer )
- มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer )
- มะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ
- มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer )
- มะเร็งโพรงไซนัส และ มะเร็งโพรงจมูก
- มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
- ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
- สารตรวจค่าเลือดเฟอร์ริติน ( Ferritin )
- การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็ง
- สาเหตุของมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม
- อาการมะเร็ง เบื้องต้น ฉบับล่าสุด 2020
- อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
- อาหารต้านมะเร็ง เลือกกินอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
- มะเร็งเกิดจากอะไร ? ( Causes of Cancer )
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ( Cancer Care )
- การตรวจ และรักษามะเร็ง
- ถาม – ตอบ ปัญหาโรคมะเร็ง
- ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer )
- จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง?
- ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย
- มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งอันดับ 1 ผู้หญิง
- อาหารเพิ่มเลือด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับคีโม
- อัลตร้าซาวด์ตรวจหามะเร็ง
- การอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ
- การตรวจหาสารมะเร็ง – Tumor Marker
- มะเร็ง ( cancer ) โรคที่ทุกคนต้องรู้
- โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ใครๆก็เป็นได้
- สัญญาณมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยมะเร็ง
มะเร็งอัณฑะ
มะเร็งอัณฑะ ( Testicular Cancer ) เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะ บริเวณด้านหลังอวัยวะเพศชายหรือองคชาต เกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น เพราะอัณฑะมีเฉพาะในผู้ชาย มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในถุงอัณฑะ และมีสองข้างซ้ายขวา โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างอสุจิและ ฮอร์โมนเพศชายออกมา ซึ่งปกติแล้วการเกิดโรคมะเร็งอัณฑะสามารถเกิดได้กับเซลล์ทุกชนิดในอัณฑะ ได้แก่ เจิร์มเซลล์ เส้นเลือด เซลล์ต่อมน้ำเหลืองและเซลล์ของเนื้อเยื่ออัณฑะ แต่ที่มักจะพบได้มากและบ่อยที่สุด ก็คือ มะเร็งอัณฑะ ที่เกิดจากเจิร์มเซลล์สาเหตุของโรคมะเร็งอัณฑะอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยแพทย์วินิจฉัยว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
สาเหตุของมะเร็งอัณฑะ
- ผู้ชายที่ลูกอัณฑะยังคงอยู่ในช่องท้องน้อยไม่เคลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งปกติแล้วเด็กแรกเกิดลูกอัณฑะจะอยู่ในช่องท้องน้อยก่อนแล้วจึงเคลื่อนมาอยู่ในถุงอัณฑะเมื่อโตขึ้น ดังนั้นหากไม่เป็นไปตามนี้ ก็แสดงได้ว่าอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งได้สูงถึง 10-40 เท่าเลยทีเดียว
- มีความผิดปกติทางพันธุกรรมโดยเกิดจากพันธุกรรมชนิดที่สามารถถ่ายทอดได้บางชนิด
- มีความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้บางชนิด โดยจะเป็นพันธุกรรมที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ
- เชื้อชาติ โดยพบว่าคนชาติตะวันตก จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งอัณฑะได้มากกว่าคนชาติอื่นๆ
- เคยมีการอักเสบหรือบาดเจ็บที่อัณฑะ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม
- มีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานโรคบกพร่อง โดยเฉพาะการติดเชื้อ HIV
- ผู้ชายที่เป็นหมันตั้งแต่กำเนิด โดยจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งอัณฑะมากกว่าคนทั่วไป
- อาจมีความสัมพันธ์กับการที่มารดาทานฮอร์โมนเพศในระหว่างตั้งครรภ์
- ขาดสารอาหารบางชนิดที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกาย
- อายุ โดยปกติแล้วโรคมะเร็งอัณฑะจะพบได้สูงในวัยรุ่นชายจนถึงวัยหนุ่มที่มีช่วงอายุระหว่าง 15-34 ปี โดยอาจเกิดขึ้นกับอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้างก็ได้
โรคมะเร็งอัณฑะมีหลายชนิด แต่ที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ มะเร็งอัณฑะ ที่เกิดจากเจิร์มเซลล์ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดหลักๆ คือ ชนิดไม่ใช่เซมิโนมา ( Non-Seminoma ) และชนิดเซมิโนมา ( Seminoma ) ซึ่งหากเทียบระดับความรุนแรงแล้ว โรคมะเร็งอัณฑะชนิดไม่ใช่เซมิโนมาจะมีความรุนแรงสูงกว่าชนิดเซมิโนมามาก
อาการมะเร็งอัณฑะ
อาการมะเร็งอัณฑะยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะของโรค แต่จะมีอาการผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะคล้ายกับการอักเสบทั่วไป โดยอาการที่มักจะพบได้บ่อยๆ และสามารถสังเกตอาการมะเร็งอัณฑะได้ว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งอัณฑะ มีดังนี้
- อัณฑะบวมกว่าปกติและอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย หรือในบางคนอาจเจ็บอัณฑะอย่างเดียว
- คลำเจอก้อนเนื้อผิดปกติที่อัณฑะ ซึ่งก้อนเนื้อที่คลำพบอาจมีอาการเจ็บหรือไม่ก็ได้
โดยการวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะแพทย์จะสอบถามจากประวัติอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกายและคลำลูกอัณฑะ รวมถึงการตรวจอัลตร้าซาวด์ และเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แน่ชัด แพทย์จะทำการผ่าตัดอัณฑะออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา โดยจะทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งอัณฑะหรือไม่และสามารถตรวจระยะของโรคมะเร็งได้อีกด้วย
ระยะของมะเร็งอัณฑะ
โรคมะเร็งอัณฑะเป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีความรุนแรงต่ำ ดังนั้นจึงมีเพียงแค่ 3 ระยะ และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังคงลุกลามอยู่เฉพาะในอัณฑะเท่านั้น หรืออาจลุกลามเข้าสู่ถุงอัณฑะ
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง โดยอาจคลำเจอต่อมน้ำเหลืองโตได้
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งมีการแพร่เข้าสู่กระแสเลือดและแพร่ไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป โดยส่วนใหญ่มักจะพบที่ปอดและสมองมากที่สุด ซึ่งระยะนี้จะตรวจพบค่าสารทูเมอร์มาร์กเกอร์ในเลือดสูงมาก
การรักษามะเร็งอัณฑะ
การรักษาโรคมะเร็งอัณฑะแพทย์จะนิยมใช้วิธีการผ่าตัด ร่วมกับการทำเคมีบำบัดและรังสีรักษาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าจะใช้วิธีไหน ซึ่งหากผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาได้ดีก็จะทำให้รักษาหายง่ายขึ้น
แม้ว่าจะเข้าสู่ระยะการแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปแล้วก็ตาม แต่หากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็จะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควรได้สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอัณฑะให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกยังไม่มีวิธีที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแพทย์แนะนำให้หมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเอง
โดยหากพบว่าอัณฑะมีอาการเจ็บ บวมหรือคลำเจอก้อนผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนส่วนวิธีการป้องกันก็ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ หากพบว่าตั้งครรภ์ลูกชายควรระมัดระวังการบริโภคอาหารและยาในขณะตั้งครรภ์ให้ดี
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20381″]
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Some facts about testicular cancer, American Cancer Society.”Marijuana Use Linked To Increased Risk Of Testicular Cancer”. Cancer. 115 (6) : 1215–23. PMC 2759698 Freely accessible.
Would it be better to use MRI scans instead of CT scans to monitor men with early stage testicular cancer? And is it safe to use less CT scans than we do now?”. Medical Research Council. Retrieved 4 December 2011.
George J. (2005). “82. Testicular Cancer”. In Kasper, Dennis L.; Jameson, J. Larry. Harrison’s Principles of Internal Medicine (16th ed.). McGraw-Hill. pp. 550–553. ISBN 0-07-139140-1.