เฟอร์ริติน ( Ferritin )
การตรวจค่าเลือด เฟอร์ริติน ( Ferritin )เป็นการทดสอบที่ช่วยให้เราทราบถึงระดับธาตุเหล็กในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเซลล์และระบบต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะในการขนส่งออกซิเจนในเลือด หากค่าเฟอร์ริตินต่ำอาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็กและทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ขณะที่ค่าเฟอร์ริตินสูงอาจบ่งชี้ถึงปัญหาการสะสมธาตุเหล็กที่เกินความจำเป็น ซึ่งอาจนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคตับหรือโรคหัวใจ การตรวจค่าเลือดเฟอร์ริตินจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสุขภาพและการดูแลตัวเองในด้านของธาตุเหล็กอย่างมีประสิทธิภาพ.
การตรวจหาค่าธาตุเหล็กในเลือดด้วยค่า จะทำให้ทราบว่าขณะนี้ธาตุเหล็กอยู่ในระดับความพร่อง ที่อาจนำไปสู่ผลเลือดที่แสดงออกว่าเป็นโรคโลหิตจาง หรือมีธาตุเหล็กสูงเกินไปที่อาจนำไปสู่การเกิดสภาวะเป็นพิษจากธาตุเหล็กที่มีความอันตรายเช่นกัน และนอกจากนี้การตรวจหาค่า Ferritin ก็สามารถตรวจวัดสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็ง ( Tumor marker ) ได้อีกด้วย เมื่อพบว่าระดับของ Ferritin มีค่าที่สูงผิดปกติในเลือดนั่นเอง
โดยส่วนใหญ่แล้วธาตุเหล็กภายในร่างกายมักจะรวมอยู่กับโปรตีนเสมอ ทำให้ร่างกายต้องมีการสร้างกรดชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ กรดเซียลิค ( Sialic Acid ) โดยเป็นกรดที่จะทำให้โปรตีนสามารถเก็บรักษาธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อกรดเซียลิค รวมกับโปรตีนและน้ำตาล ( จากเลือด ) ก็จะทำให้เกิดเป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่เรียกว่า SAG หรือ Siakicasid – Rich Glycoprotein นั่นเอง
โดยสาร SAG นี้จะทำให้ธาตุเหล็กทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ว่องไวมากขึ้น จนเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นสารอนุมูลอิสระ ที่อาจจะทำให้ก่อให้เกิดมะเร็งกับเนื้อเยื่อที่สารตัวนี้ไปสัมผัสกระตุ้นให้เซลล์โรคมะเร็งที่มีอยู่ก่อนแพร่กระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็วและลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆเนื่องจากภาวะที่ร่างกายมีระดับของธาตุเหล็กสูงเกินกว่าปกติ จะนำไปสู่การเกิดมะเร็งหรือส่งผลให้มะเร็งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ดร.เออยีน ดี.ไวน์เบิร์ก ( Dr.EugeneD.Weinberg ) ผู้เป็นศาสตราจารย์แห่งภาคชีววิทยาของมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐฯ และตัวแทนหอสมุดการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จึงได้ทำการจัดทำรายงานขึ้นมาเพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและแถลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1996 เพื่อให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดจากการได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปนั่นเอง
ภาวะธาตุเหล็กเกิน นอกจากจะทำให้เกิดการก่อเซลล์มะเร็งในร่างกายได้แล้ว ก็มีฤทธิ์ในการลดภูมิต้านทาน จนทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและมีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น
จากการรวบรวมข้อมูลของผลการค้นคว้าวิจัยถึงภาวะธาตุเหล็กของ ดร.ไวน์เบิร์ก ก็ได้ผลสรุปอย่างเข้าใจว่า
เมื่อร่างกายได้รับปริมาณของธาตุเหล็กที่เกินพอดี จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองโปรตีน เนื่องจากร่างกายจากนำโปรตีนจำนวนหนึ่งมาสร้างเฟอร์ริตินและสร้าง Transferrin เพื่อห่อหุ้มธาตุเหล็กเอาไว้ส่งผลให้ร่างกายมีโปรตีนน้อยลงและไม่สามารถนำมาทดแทนในยามที่ร่างกายทรุดโทรมได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วย ติดเชื้อได้ง่าย และมีโอกาสเป็นมะเร็งได้
สารในเลือด หรือธาตุเหล็กส่วนเกินในร่างกายส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน มันมักจะนำพาเอาออกซิเจนติดตัวไปด้วยเสมอ เป็นผลให้เกิดประจุไฟฟ้าของเหล็กที่มีความว่องไวมากในรูปแบบของอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจเรียกได้ว่ามันมีความว่องไวในระดับ มหาอนุมูลอิสระ ( Super Radicals ) เลยทีเดียว และเมื่อมันได้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ก็จะกลายเป็นอภิมหาวายร้ายอนุมูลอิสระ ( Hydroxyl Radicals ) ที่สามารถเข้าไปทำลาย DNA ของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายได้อย่างง่ายดาย และส่งผลให้เซลล์บางส่วนเกิดการกลายพันธุ์จนเป็นเซลล์มะเร็งที่พร้อมจะคร่า ชีวิตผู้ป่วยได้ง่าย และสำหรับใครที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งอยู่แล้ว มันก็จะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการลุกลามอย่างรวดเร็วอีกด้วยซึ่งก็จะเห็นได้ว่าการมีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด
ในขณะที่ธาตุเหล็กส่วนเกินภายในร่างกายกำลังแผลงฤทธิ์อยู่นั้น หากมีจุลชีพหลุดเข้าไปในร่างกายก็จะยิ่งไปกระตุ้นและเสริมฤทธิ์ให้สามารถสร้างความเสียหายต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกายและก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ในรูปของการติดเชื้อหรือการอักเสบได้สูงมากอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการก่อโรคจากธาตุเหล็กอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว การตรวจวัดค่าเฟอร์ริตินนอกจากจะช่วยวัดปริมาณของธาตุเหล็กภายร่างกายได้ดีแล้ว ก็เป็นเครื่องมือในการบ่งชี้สัญญาณของโรคมะเร็งได้อีกด้วย การวัดค่า Ferritin จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ เพื่อยืนยันความแม่นยำ
ค่าความปกติของ Ferritin
ค่าธาตุเหล็กหรือค่าปกติของ Ferritin คือเท่าไหร่?
ค่าเฟอร์ริตินของผู้ชาย | 12 – 300 ng / mL |
ค่าเฟอร์ริตินของผู้หญิง | 10 – 150 ng / mL |
ค่าผิดปกติของ Ferritin คือ
การตรวจหาค่าความผิดปกติของ เฟอร์ริติน ( Ferritin ) จะถือเอาตามผลการตรวจค่าที่ได้ออกมาดังนี้
ตรวจค่าเลือดพบ Ferritin น้อยกว่าค่าปกติ
ผู้ป่วยอาจกำลังป่วยด้วยโรคโลหิตจางชนิดขาดธาตุเหล็ก โดยเฉพาะหากพบว่าค่าเฟอร์ริตินมีค่าเท่ากับหรือต่ำกว่า 10 ng / mL ซึ่งจะให้ความแม่นยำสูงมาก มีการตกเลือดภายในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะช่องทางเดินอาหาร และลำไส้ หรืออาจเป็นโรคบางชนิดที่ทำให้มีเลือดออกภายในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในร่างกาย ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมานานกว่าปกติ และเป็นต่อเนื่องหลายเดือน
ตรวจค่าเลือดพบ Ferritin สูงกว่าค่าปกติ
หากตรวจค่าเลือดเฟอร์ริตินพบว่าสูงกว่าปกติ อาจเป็นโรคทั่วๆ ไปที่มีความเกี่ยวพันธ์กับธาตุเหล็ก เช่น
1.โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโตผิดปกติ โดยโรคนี้เม็ดเลือดแดงจะมีความเปราะบางและอาจแตกได้ง่าย หรือโรคโลหิตจางชนิดสร้างฮีโมโกลบินไม่ได้แต่ไม่ได้ขาดธาตุเหล็ก รวมถึงอาจเป็นโรคโลหิตจางชนิดทาลัสซีเมียด้วย
2.มีการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับอักเสบจากพิษแอลกอฮอล์ ( Alcoholic Liver Disease ) การพยาบาลภาวะธาตุเหล็กเกินนั้นไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบให้เร็วที่สุด
ค่าเฟอร์ริตินที่สูงผิดปกตินั้น อาจเกิดจาก tumor marker ตรวจค่าเลือดบ่งชี้ว่า เป็นโรคมะเร็ง เช่น
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) โรคมะเร็งตับ ( Hepatocellular Carcinoma ) และ โรคมะเร็งปุ่มน้ำเหลือง ( Lymphoma ) เพราะเป็นมะเร็งที่สัมพันธ์กับธาตุเหล็กโดยตรง นอกจากนี้ก็อาจพบเป็นโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยก็ได้ทั้งนี้ อาจเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตรวจค่าเลือด เฟอร์ริติน ( Ferritin ) พบว่ามีค่าที่สูงกว่าปกติ พร้อมกับการตรวจค่า CEA มีค่าที่สูงด้วยที่อาจเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าการที่ร่างกายได้รับธาตุเหล็กเกิน ไม่เป็นผลดี จึงควรควบคุมปริมาณธาตุเหล็กให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะดีที่สุด
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.
Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.