มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด

0
3714
สิ่งผิดปกติที่เรียกว่า โรคมะเร็ง
มะเร็ง หมายถึง การที่เซลล์ผิดปกติในร่างกายเจริญเติบโตจนควบคุมไม่ได้ เซลล์ใหม่นั้นก่อตัวเป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เรียกว่า เนื้องอก
สิ่งผิดปกติที่เรียกว่า โรคมะเร็ง
มะเร็ง คือ การที่เซลล์ผิดปกติในร่างกายเจริญเติบโตจนควบคุมไม่ได้ เซลล์ใหม่นั้นก่อตัวเป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เรียกว่า เนื้องอก

มะเร็ง

รคที่ร้ายแรงที่สุดของคนไทยในขณะนี้คือ โรคมะเร็ง กระทรวงสาธารณะสุข วิเคราะห์สถิติการเสียชีวิตของคนไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543 พบว่า มะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันถึง 9 ปีซ้อน

สถิติล่าสุดปี 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งสิ้นถึง 55,403 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 32,060 คน และผู้หญิง 23,343 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นผู้สูงวัย (มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ถึงร้อยละ 53 และรองลงมาก็คือ วัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี ร้อยละ 46 

เฉลี่ยแล้วในแต่ละวันจะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งสิ้น 152 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งถือเป็นสถิติที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง มะเร็งที่คนไทยเป็นเยอะสุด ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ มะเร็งตับ
มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำไส้ เป็นต้น

เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้หญิง สอดคล้องกับการสำรวจของคณะผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติแห่ง สหประชาชาติ lARC WHO นำโดย อาจาร์ปีเตอร์ บอยล์ คาดการณ์ว่า มะเร็งกำลังมาแรงและจะแซงโรคหัวใจในปี 2553 เมื่อแยกตามอวัยวะที่เกิดมะเร็งในคนไทย พบว่า

อันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับ คือมีจำนวนผู้ป่วยจำนวน 14,084 คน เป็นชาย 9,951 คน หญิง 4,133 คน

อันดับ 2 มะเร็งหลอดลม มะเร็งปอด มีผู้ป่วยจำนวน 8,565 คน ชาย 5,801 คน หญิง 2,764 คน ซึ่งทั้งมะเร็งตับและมะเร็งปอดมีผู้เสียชีวิต เป็นชายมากกว่าหญิงถึง 2 เท่าตัว

อันดับ 3 มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม จำนวน 2,347 คน

อันดับ 4 มะเร็งลำไส้ใหญ่ทวารหนัก จำนวน 1,839 คน

ขณะที่องค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งรวมแล้วเกือบ 8 ล้านคน

รู้จัก มะเร็ง อย่างลึกซึ้ง

มะเร็ง คืออะไร? มะเร็ง Cancer ถ้าเป็นศัพท์ทางการแพทย์ เรียกว่า Malignancy

มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Latinroots, Mal- = Bad and Genus = Born

อันหมายถึงกลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวมเร็วและมากกว่าปกติ ซึ่งร่างกายไม่สามารถควบคุมการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ได้ จนอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ Solid Tumor ซึ่งก้อนมะเร็งเหล่านี้ จะหลั่งสารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่เพื่อไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง ดังนั้น อาการแสดงของมะเร็งในระยะท้ายๆ ก็คือการมีเลือดออกผิดปกติ เช่น มะเร็งปากมดลูก อาจมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจมีเลือดปนมากับอุจจาระ เป็นต้น แต่เนื่องจากก้อนมะเร็งจะโตอย่างรวดเร็วจนในที่สุดเส้นเลือดที่สร้างใหม่ก็ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงก้อนมะเร็งได้ทัน ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงนั่นเอง

เซลล์มะเร็งเหล่านี้ถ้าเกิดในอวัยวะใด มักจะเรียกชื่อตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer ) เป็นต้น

โรคที่ร้ายแรงที่สุดของคนไทยในขณะนี้คือ โรคมะเร็ง ซึ่งมีถิติการเสียชีวิตของคนไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543 พบว่า มะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

ส่วนใหญ่แล้วเรามักตรวจพบ มะเร็ง ด้วยความบังเอิญ หรือจากการตรวจสุขภาพทั่วไป เพราะโดยมากแล้วเซลล์มะเร็งอาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัวและไม่มีอาการมาก่อน ซึ่งถ้าตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรกมะเร็งก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ยิ่งพบเร็วยิ่งดี การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มี 3 หลักการ ดังนี้

1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด มีความสำคัญมากอันดับแรก เนื่องจากเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยให้แพทย์ผู้ตรวจวินิจฉัยโรคได้ โดยดูจากประวัติการเป็น มะเร็ง ของคนในครอบครัว สิ่งแวดล้อมบางอย่างก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานกับสารกัมมันตภาพรังสีนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ เป็นต้น

ประวัติที่ต้องตอบให้ชัดเจนที่สุดก็คือ ประวัติส่วนตัว อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัว ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่ ประการใด

อีกอย่างหนึ่งที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบโดยเร็วคือ อาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม หรือที่ลิ้น มีตกขาวมากหรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เป็นแผลเรื้อรังรักษาไม่หายอาการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย จึงควรได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียดต่อไป

2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด ในทางปฏิบัตินั้นแพทย์ไม่สามารถตรวจร่างกายผู้ป่วยได้ทุกอวัยวะและทุกระบบ แต่มีหลักเกณฑ์ง่ายๆ ว่าควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่จะตรวจได้ ได้แก่ ผิวหนังและเนื้อเยื่อบางส่วน ศีรษะและคอ ทรวงอกและเต้านม บริเวณท้อง อวัยวะเพศ ทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่นๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ รวมถึงการเอกซเรย์อวัยวะต่างๆ ที่ต้องสงสัยว่า จะเป็น มะเร็ง เช่น การเอกซเรย์ปอด เต้านม ระบบทางเดินอาหารเข้าไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วเอกซเรย์การกระจายของสารนั้นๆ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค   

นอกจากนี้ ก็ยังมีการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา แต่การตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัย โรคมะเร็ง คือ การตัดเนื้อเยื่อบริเวณที่สงสัยแล้วส่งไปตรวจอย่างละเอียด ซึ่งมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทยก็ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งในช่องปาก ซึ่งมะเร็งที่อวัยวะเหล่านี้ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีประโยชน์มาก ทำให้การรักษาได้ผลดี และป้องกันมิให้ผู้ป่วยเป็น มะเร็ง ระยะลุกลามอันเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ในภายหลัง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). Epigenetic field defects in progression to cancer. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.