ฮีมาโทคริต
ฮีมาโทคริต ( Hematocrit, Ht หรือ HCT ) คือเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนที่แยกออกจากพลาสมา หรือ ปริมาตรเซลล์อัดแน่น Packed cell volume ( PCV ) หรือ erythrocyte volume fraction ( EVF ) ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าค่าเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด ค่าปกติของฮีมาโทคริต ในเพศชายอยู่ที่ 45% และฮีมาโทคริตในเพศหญิงอยู่ที่ 40% ฮีมาโทคริต นับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ร่วมกับ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน จำนวนเม็ดเลือดขาว และจำนวนเกล็ดเลือดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า ฮีมาโทคริต จะขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกาย
ค่า packed cell volume ( PCV ) สามารถหาได้โดยการปั่นตกของเลือดที่ใส่สารเฮพารินในหลอด capillary tube ( หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ microhematocrit tube ) ที่ความเร็ว 10,000 RPM เป็นเวลา 5 นาที เพื่อทำให้เลือดแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ปริมาณของเม็ดเลือดแดงนำมาหารด้วยปริมาณทั้งหมดของเลือด คือ ค่า PCV เนื่องจากเราทำการวิเคราะห์โดยใช้หลอดทดลอง ดังนั้น เราจึงสามารถคำนวณโดยอาศัยการวัดความยาวของชั้นได้
วัตถุประสงค์ในการตรวจฮีมาโตคริต
เพื่อตรวจหาค่าความเข้มข้นหรือความหนาแน่นของปริมาตรเม็ดเลือดที่มีอยู่ในน้ำเลือด และนิยมแสดงค่าเป็น %
ระดับฮีมาโทคริต
เป็นระดับฮีมาโตคริตเป็นเพียงเปอร์เซ็นต์ของเซลล์แดงในเลือดของคุณ ตัวอย่างเช่น ระดับ 38% ถือเป็นระดับต่ำสุดที่จำเป็นสำหรับการบริจาคโลหิต
ทำไมต้องตรวจหาค่าฮีมาโทคริต
การตรวจหาค่า ฮีมาโทคริต เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ความผิดปกติที่พบมีได้ทั้งมากเกินไป และน้อยเกินไป ค่าเข้มข้นของเลือดไม่ได้บอกสาเหตุของโรคบอกเพียงแต่มีความผิดปกติของปริมาณเม็ดเลือดแดง ซึ่งรวมถึงอาการของโรคโลหิตจางได้ด้วย
ค่าปกติของ ฮีมาโทคริต ( Hct )
ให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบแสดงผลการตรวจเลือด (ถ้ามี) ระดับฮีมาโตคริตปกติจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุและเชื้อชาติ ซึ่งในผู้ใหญ่
- เพศชายระดับฮีมาโตคริตปกติมีตั้งแต่ 41 – 50 เปอร์เซ็นต์
- เพศหญิงระดับฮีมาโตคริตช่วงปกติจะต่ำกว่าชายเล็กน้อย 36 – 44 เปอร์เซ็นต์
ระดับฮีมาโตคริตต่ำกว่าช่วงปกติซึ่งหมายความว่าบุคคลนั้นมีเม็ดเลือดแดงน้อยเกินไปเรียกว่า โรคโลหิตจาง และระดับฮีมาโตคริตที่สูงกว่าปกติซึ่งหมายถึงเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป อาจบ่งบอกถึงภาวะเลือดหนืด
ค่าปกติทั่วไปฮีมาโทคริต
- ทารก = 44-64% ค่าวิกฤติHct คือ < 15% หรือ มากกว่า > 60%
- เด็ก อายุ 6-12 ปี = 35 – 45% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ 40%)
- ผู้ชายอายุ 12-18 ปี = 37 – 49% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ 43%)
- ผู้ชายอายุ 18 ปีขึ้นไป = 41 – 50% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ 47%)
- ผู้หญิงอายุ 12-18 ปี = 36 – 46% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ 41%)
- ผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป = 36 – 44% (ค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ 41%)
ฮีมาโทคริตต่ำเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรค
- โรคไขกระดูก
- โรคอักเสบเรื้อรัง
- เลือดออกภายใน
- โรคโลหิตจาง
- ไตล้มเหลว
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- โรคโลหิตจางชนิดเคียว
- ข้อบกพร่องในสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี12
ฮีมาโทคริตสูงเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรค
- โรคหัวใจพิการ แต่กำเนิด
- การขาดน้ำ
- เนื้องอกในไต
- โรคปอด
- เกิดภาวะเลือดหนืด และโรคเกล็ดเลือดสูง
ร่วมตอบคำถามกับเรา
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Hematocrit http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003646.html.