เมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทอง หรือที่เรียกว่า Pumpkin Seeds คือเมล็ดที่อยู่ในผลฟักทอง มีลักษณะแบน สีเขียวเข้ม บางชนิดห่อหุ้มด้วยเปลือกสีขาว เนื้อในของเมล็ดฟักทองนุ่มหนึบและรสหวานเล็กน้อย สามารถทานได้ทั้งพร้อมเปลือกหรือไม่มีก็ได้
ตารางคุณค่าทางโภชนาการจากเมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทอง 100 กรัม ให้พลังงานทั้งหมด 574 กิโลแคลอรี่
สารอาหาร | ปริมาณสารอาหาร |
ไขมัน | 49 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 11 กรัม |
โซเดียม | 7 มิลลิกรัม |
ใยอาหาร | 6 กรัม |
น้ำตาล | 1.4 กรัม |
โปรตีน | 30 กรัม |
แคลเซียม | 46 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 8.82 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 809 มิลลิกรัม |
เมล็ดฟักทองยังมีไฟเบอร์มากกว่าถั่วหลายชนิดในปริมาณ 5 กรัมต่อ ¼ ถ้วย ซึ่งเมล็ดฟักทองย่อยง่ายกว่าธัญพืชและถั่ว เมล็ดฟักทองสามอันดับแรกที่จัดอันดับตามปริมาณหรือระดับแคลอรี่ใน 100 กรัม ดังนี้
1. เมล็ดฟักทองคั่วโดยไม่ใส่เกลือให้พลังงาน 574 แคลอรี่
2. เมล็ดฟักทองอบด้วยเกลือให้พลังงาน 574 แคลอรี่
3. เมล็ดฟักทองแห้งให้พลังงาน 559 แคลอรี่
โดยปกติร่างกายคนเราต้องการสารอาหารในหนึ่งมื้อมีส่วนช่วยในการรับประทานอาหารประจำวันมากเพียงใด เท่ากับ 2,000 แคลอรี่ต่อวัน
ประโยชน์เมล็ดฟักทองทางโภชนาการ
เมล็ดฟักทองถือว่าเป็นแหล่งแร่ธาตุสังกะสีจากองค์การอนามัยโลกที่มีโภชนาการทางด้านสารอาหารครบถ้วน ปริมาณที่แนะนำในการบริโภคเมล็ดฟักทอง 30 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการใน 1 วัน จะให้โปรตีน ไขมัน ไฟเบอร์ สังกะสี แมกนีเซียม และสารอาหารอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพได้รับการพิสูจน์แล้ว
เมล็ดฟักทองมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
1. เมล็ดฟักทองมีน้ำมันลินซีด หรือเรียกน้ำมันลินสีด มีประโยชน์ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ช่วยปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือดและลดระดับคอเลสเตอรอล
2. งานวิจัยพบว่าเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งที่ดีของแมกนีเซียม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี และทองแดง ช่วยให้อารมณ์และการนอนหลับดีขึ้นในขณะที่แมงกานีสมีบทบาทในการผลิตคอลลาเจนช่วยบำรุงผิวหนังและกระดูก ธาตุเหล็กและธาตุทองแดงช่วยในการผลิตพลังงาน เหล็กยังช่วยขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ของเรา
3. เพียงกินเมล็ดฟักทองไม่เกิน 200 กรัม 10 – 15 นาที ก่อนเข้านอน เมื่อร่างกายได้รับแมกนีเซียม ( magnesium ) ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการควบคุมการนอนหลับช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
4. การรับประทานเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งไขมันอิ่มตัวรวมทั้งกรดอัลฟาไลโนเลนิก ( ALA ) มีประโยชน์ต่อหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
5. กินเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีสามารถป้องกันมะเร็งได้
6. การศึกษาพบว่าน้ำมันเมล็ดฟักทองมีศักยภาพในการป้องกันหรือรักษาความผิดปกติของปัสสาวะได้
7. เมล็ดฟักทองอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคต่อมลูกหมากโต ( BPH ) ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากโตทำให้มีปัญหาในการปัสสาวะ
8. เมล็ดฟักทองเป็นแหล่งเส้นใยอาหารที่ดี ยังสามารถลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และลดอ้วนได้อีกด้วย
9. เนื่องจากเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งสังกะสีที่อุดมสมบูรณ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ช่วยปรับระดับฮอร์โมนป้องกันตัวอสุจิในเพศชายจากความเสียหายที่เกิดจากเคมีบำบัด และโรคภูมิต้านตนเองหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง
10. เมล็ดฟักทองเต็มไปด้วยสังกะสีและเหล็ก ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อราและต้านไวรัสบางชนิดอีกด้วย
11. เมล็ดฟักทองเป็นแหล่งโปรตีน เหมาะสำหรับสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองหรือต้องการหลีกเลี่ยงไม่ชอบกินถั่วเหลือง
12. เมล็ดฟักทองอาจมีไขมันสูง แต่เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพมีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ช่วยปกป้องหัวใจ ป้องกันการอักเสบ และช่วยควบคุมน้ำหนัก
13. เมล็ดฟักทองได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถกำจัดจุลินทรีย์ ปรสิตที่เป็นอันตรายออกจากร่างกาย และยังป้องกันการติดเชื้อยีสต์ ( แคนดิดา ) สามารถป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ และการอักเสบในผู้ที่ติดเชื้อยีสต์แคนดิดาที่ผิวหนังได้
14.ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มีเกิดอาการร้อนวูบวาบปวดศีรษะและอาการวัยทองอื่น ๆ ควรกินเมล็ดฟักทองช่วยลดอาการวัยทองได้
เมนูบำรุงต่อมลูกหมาก
ตรีมมธุรสฟักทอง ( บำรุงธาตุ ป้องกันต่อมลูกหมากโต )
ส่วนผสม
เมล็ดฟักทอง 1 ถ้วย
งาขาว 1/4 ถ้วย
งาดำ 1/4 ถ้วย
น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันเนย 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. นำเมล็ดฟักทองกระเทาะเปลือก งาขาว งาดำ คั่วจนสุกหอม
2. นำกะทะทองเหลืองตั้งไฟ ใส่น้ำผึ้ง น้ำตาล และน้ำมันเนย คนให้ละลายเข้ากัน
3. นำเมล็ดฟักทอง งาขาว งาดำ ใส่ลงไปกวนให้เข้ากันจนแห้ง เหนียว
4. เมื่อแห้งดีแล้วนำใส่จานแผ่ให้เย็น และนำมาทานเป็นอาหารว่างได้
เมล็ดฟักทองมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ
การกินเมล็ดฟักทองสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดอาหารและอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน ความเครียดเป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม