ผักติ้ว ผักพื้นบ้าน ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ

0
8572
ผักติ้ว ผักพื้นบ้าน ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ
ผักติ้ว ( Tio Vegetables ) คือ ผักพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้บริโภค มีรสเปรี้ยวใช้แทนใบมะขามหรือมะนาว ยอดอ่อนมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก มีฤทธิ์สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ และไม่ทำลายเซลล์ดีในร่างกาย
ผักติ้ว ผักพื้นบ้าน ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ
ผักติ้ว ( Tio Vegetables ) คือ ผักพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้บริโภค มีฤทธิ์สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ และไม่ทำลายเซลล์ดีในร่างกาย

ผักติ้ว

ผักติ้ว ( Tio Vegetables ) คือ ผักพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้บริโภค ถิ่นกำเนิดของผักติ้วพบแพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค แต่พบมากในภาคเหนือ และอีสาน เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ นิยมนำเอาส่วนของใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อนมาปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวใช้แทนใบมะขามหรือมะนาวได้ เช่น แกงเห็ด หรือต้มยำต่างๆ เช่น ต้มยำปลาต้มยำกบ ต้มยำไก่บ้าน ดอกอ่อนของผักติ้วนิยมนำมาทำซุบหรือยำ หรืออาจนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก มีงานวิจัยพบว่าผักติ้วมีฤทธิ์สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ และไม่ทำลายเซลล์ดีในร่างกาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum ( Jack ) Dyer ssp.
อยู่ในวงศ์ตระกลู Guttiferae
ฤดูการผลัดใบแตกยอดอ่อน และออกดอก
ฤดูฝน : เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว : เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ผักติ้ว จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 2 – 15 เมตร หรือมากกว่า ลำต้นตั้งตรง มีหนามแหลมเป็นแทงยื่นออกมาจากลำต้น เปลือกลำต้นแตกสะเก็ดเป็นแผ่น สีน้ำตาลอมดำ ส่วนกิ่งแขนงมีขนาดเล็ก กิ่งแขนงอ่อนหรือกิ่งบริเวณปลายยอดอ่อนมีสีม่วง ส่วนกิ่งแขนงแก่จะมีสีน้ำตาลอมเทาหรือสีเทา ถ้ากระเทาะเปลือกออกจะพบยางสีแดงซึมออกมาจากลำต้น
ใบ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกออกเป็นใบเดี่ยวๆเรียงเยื้องสลับข้างกันบนกิ่ง ใบมีมีรูปหอกหรือขอบขนาน มีก้านใบสีม่วงอมแดง ยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร แผ่น และขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีสีแดงอมม่วง และเป็นมัน ปลายใบมน
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลของใบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมสีชมพูอ่อนถึงสีแดง กลีบดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกตามซากใบ หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีอยู่ 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะขยายออกประมาณ 1.2 เซนติเมตร ก้านดอกเรียวเล็กและมีกาบเล็กๆ ที่ฐานกลีบด้านใน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองสั้นๆ อยู่จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ส่วนเกสรตัวเมีย ก้านเกสรเป็นสีเขียวอ่อนมี 3 อัน และมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อนปนสีแดง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล ผักติ้วจะติด 1 ผล ใน 1 ดอก ผลมีรูปกระสวย ท้ายผลแหลมเล็ก ขนาดผลประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีม่วงอมแดง ผลแก่มีสีดำหรือน้ำตาลอมดำ ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มผล และเมื่อแห้งจะปริแตกออกเป็น 3 ร่อง ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอมดำ เมล็ดมีลักษณะโค้ง และมีปีก เรียงอัดกันแน่นหลายเมล็ด

สรรพคุณทางตำรับยาสมุนไพร

การใช้ประโยชน์จาก แก่นและลำต้น ใบ ดอก ราก และน้ำยางจากลำต้น

แก่นและลำต้น

  • ใช้แก่นไม้แช่น้ำดื่ม ช่วยแก้ปะดงเลือด ( เลือดไหลไม่หยุด )

ใบ

  • ช่วยขับลม
  • แก้อาการปวดท้อง
  • แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
  • ป้องกันโรคในหลอดเลือด
  • ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ
  • ช่วยต้านโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • ช่วยบำรุงตา ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน
  • ใบนำมาขยำ และใช้ทาแผล ช่วยรักษาบาดแผล
  • ใบนำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ก่อนใช้ทารักษาโรคผิวหนังต่างๆ

ดอก

  • ช่วยต้านโรคมะเร็ง
  • แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
  • ดอกใช้ทารักษาบาดแผล
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด

ราก

น้ำยาง

  • ใช้น้ำยางช่วยสมานแผล
  • ใช้น้ำยางจากเปลือกไม้ทารักษาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ของผักติ้ว

  • ช่วยบำรุงโลหิต ฟอกโลหิต
  • ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ
  • ช่วยแก้เลือดไหลไม่หยุด
  • ช่วยต้านเซลล์มะเร็งตับ
  • ช่วยแก้ปัสสาวะขัด
  • ช่วยแก้ธาตุพิการ
  • ช่วยแก้อาการคัน
  • ช่วยแก้ปวดท้อง
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยแก้ประดง   
  • ช่วยขับลม
  • ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย
  • ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย และช่วยในการดูดซึมวิตามิน A, D, E, K
  • ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี
  • ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ช่วยบรรเทาอาการอ่อนล้าของสายตา
  • ช่วยให้แผลหายเร็ว
  • ช่วยป้องกันอาการกระดูกหักง่ายในวัยสูงอายุ
  • ช่วยป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง

คุณค่าทางโภชนาการของผักติ้ว 100 กรัม ให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี

โปรตีน 2.4 กรัม
ไขมัน 1.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม
เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม
น้ำ 85.7 กรัม
วิตามินเอ 7,500 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.67 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 3.1 มิลลิกรัม
วิตามินซี 56 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ผักติ้ว กับ 5 คุณประโยชน์และการรักษามะเร็ง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://webdb.dmsc.moph.go.th [19 กรกฎาคม 2562].

ผักติ้ว/ติ้วขาว/ติ้วขน ประโยชน์ และสรรพคุณผักติ้ว (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://puechkaset.com [19 กรกฎาคม 2562].

ติ้ว (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://mablumbidherbs.blogspot.com [19 กรกฎาคม 2562].

พืชสกุลติ้ว คุณค่าที่มากกว่าผักพื้นบ้าน (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.tci-thaijo.org [19 กรกฎาคม 2562].

ติ้วขาว สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.wisdomking.or.th [19 กรกฎาคม 2562].