มะระ ผักรสขมที่ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย รักษาโรคเบาหวาน

0
1644
มะระ ผักรสขมที่ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย รักษาโรคเบาหวาน
มะระ หรือมะระจีนเป็นผักที่ได้รับความนิยมในไทย ทรงกลมรีและยาว ผิวขรุขระ ผลขนาดใหญ่ เนื้อหนาฉ่ำ มีรสขม
มะระ ผักรสขมที่ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย รักษาโรคเบาหวาน
มะระ หรือมะระจีนเป็นผักที่ได้รับความนิยมในไทย ทรงกลมรีและยาว ผิวขรุขระ ผลขนาดใหญ่ เนื้อหนาฉ่ำ มีรสขม

มะระ

มะระ ( Bitter melon ) หรือเรียกกันว่า “มะระจีน” เป็นผักที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย มักจะอยู่ในเมนู “ต้มจืดมะระ” มีรสขมแต่อร่อยหากนำมาปรุงอย่างถูกวิธี มีสรรพคุณมากมายดั่งคำที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” รสขมของมะระนั้นอาจจะทำให้บางคนรับประทานยากแต่คุ้มค่าเพราะมีสรรพคุณทางยามากมาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะระ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Bitter melon” “Balsam pear” “Bitter cucumber” “Bitter gourd”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ลักษณะของมะระ

มะระ เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยเขตร้อน เถาเลื้อยมีสีเขียว มีมือเกาะไว้ใช้สำหรับยึดเกาะ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันคนละข้างตามเถาเลื้อย มีลักษณะเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบมีลักษณะกลม ก้านใบยาว ใบมีสีเขียวและมีขนสากเล็ก ๆ
ราก : เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมสีน้ำตาล รากแตกแขนงเป็นฝอยเล็ก ๆ
มือเกาะ : มีลักษณะกลมเป็นเส้นเล็ก ๆ คล้ายหนวด มีจำนวนมือเกาะ 1 เส้นต่อข้อ ส่วนตรงปลายมีขนาดเล็กสุดและม้วนงอ จะม้วนงอเข้ายึดเกาะรอบข้างและยึดลำต้นเพื่อเลื้อยแผ่ขึ้นที่สูง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวลักษณะรูประฆัง กลีบดอกมีสีเหลือง ก้านดอกยาวและออกตามซอกใบ
ผล : มีลักษณะทรงกลมรีและยาว มีเปลือกบางและผิวขรุขระเป็นร่องลึกตามแนวยาว ผลขนาดใหญ่และมีเนื้อหนาฉ่ำน้ำ มีรสชาติขม ผลดิบจะมีสีเขียวอ่อนรับประทานได้ ผลสุกมีสีแดงแต่รับประทานไม่ได้
เมล็ด : มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมากเรียงอยู่ในผล เมล็ดมีลักษณะกลมแบนรูปรี เปลือกเมล็ดแข็งและผิวเรียบ มีสีน้ำตาล

ประโยชน์ของมะระ

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ต้านเชื้อไวรัส เถาช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย เมล็ดช่วยปรับธาตุให้สมดุล
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ปกป้องเซลล์จากการทำลายของสารก่อมะเร็งต่าง ๆ รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง อาจจะยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมแต่ยังไม่ระบุแน่ชัด รักษาตับพิการและกระตุ้นการทำงานของตับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รักษาม้ามพิการ
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงน้ำดี รากและเถาแก้อาการบิด ผลเป็นยาระบายอ่อน ๆ รากรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก เมล็ดช่วยขับพยาธิตัวกลม
    – รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม
    – รักษาท่อน้ำดีอักเสบ ด้วยการใช้ใบมาคั้นเอาแต่น้ำเพื่อดื่มแก้อาการ
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้ดวงตาสดใส เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำคั้นอมแก้อาการปากเปื่อยได้
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ ลดอาการปวดบวมที่เข่า รากมีฤทธิ์ฝาดสมาน ผลใช้ทาลดอาการระคายเคือง ผิวหนัง
  • แห้งและผิวหนังอักเสบ ใบลดอาการฟกช้ำบวมตามร่างกายและแก้อาการผดผื่นคัน
    – แก้กระหายน้ำและบรรเทาอาการหวัด ด้วยการใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม
    – แก้อาการไข้ ด้วยการใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม
    – ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ร่วมกับกะเม็งตัวเมีย
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยฟอกเลือด
  • สรรพคุณด้านความงาม ผลสุกคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาหน้าเพื่อช่วยรักษาสิวอักเสบ

การนำไปใช้ประโยชน์ของมะระ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร มักจะอยู่ในเมนูอย่างแกงจืดมะระยัดไส้ มะระต้มจืด มะระผัด ยำมะระสดหรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก นำผลสดมาคั้นเป็นน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ
2. เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นำมาทำเป็นแคปซูลรักษาโรคเบาหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระปริมาณ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะระปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหรที่ได้รับ
น้ำ 92 กรัม
โปรตีน 1 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม
ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
เถ้า 0.5 มิลลิกรัม
แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.7 มิลลิกรัม
ไทอะมีน 0.05 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 85 มิลลิกรัม

ผสารออกฤทธิ์ทางยา

สารโมโมดิซิน (Momodicine) เป็นสารรสขมในมะระที่ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

การเลือกซื้อมะระ

ควรเลือกซื้อมะระอ่อนเพราะไม่ขมมากจนเกินไป สามารถดูได้จากหนามซึ่งมีลักษณะอ่อนนิ่ม

วิธีลดความขมของมะระ

1. หลังจากทำการซื้อมะระให้นำมาแช่เกลือก่อนทำอาหารในอัตราส่วนเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำ 1 ลิตร ทำการแช่ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วเทน้ำทิ้ง
2. แช่น้ำเปล่าอีกครั้งประมาณ 10 นาที แล้วจึงนำไปทำอาหารได้
3. หากทำเมนูต้มมะระไม่ควรเปิดฝาทิ้งไว้หรือทำการคนบ่อย ๆ เพราะจะทำให้มะระมีรสขมมากขึ้น

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรรับประทานมะระที่เป็นผลสุกหรือผลที่มีสีแดง อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะมีสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายอยู่
2. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้

มะระ เป็นผักที่มีรสขมและรับประทานยาก ทั้งนี้เป็นผักที่นิยมนำมาทำเป็นน้ำดื่มเพื่อสุขภาพและนำมาทำในเมนูอาหาร หรือนำมาทำเป็นยาแคปซูลก็ได้เช่นกัน รสขมของมะระเป็นรสที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นผักที่นำมาปรุงได้ยากชนิดหนึ่งเพราะต้องควบคุมความขมของมะระให้ได้ สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาระบายและกระตุ้นการทำงานของตับ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม