ผักกาดขาว ผักยอดนิยมทั่วไป มีกากใยสูง ช่วยย่อยอาหารและแก้อาการท้องผูก

0
1915
ผักกาดขาว ผักยอดนิยมทั่วไป มีกากใยสูง ช่วยย่อยอาหารและแก้อาการท้องผูก
ผักกาดขาว ผักยอดนิยมของคนทั่วโลก เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวแตกออกเรียงสลับกัน มีก้านใบใหญ่เป็นกาบหนาและยาวอวบน้ำ มีสีขาวนวลและมีรสชาติหวานกรอบ
ผักกาดขาว ผักยอดนิยมทั่วไป มีกากใยสูง ช่วยย่อยอาหารและแก้อาการท้องผูก
ผักกาดขาว ผักยอดนิยมของคนทั่วโลก เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวแตกออกเรียงสลับกัน มีก้านใบใหญ่เป็นกาบหนาและยาวอวบน้ำ มีสีขาวนวลและมีรสชาติหวานกรอบ

ผักกาดขาว

ผักกาดขาว (Chinese Cabbage) เป็น ผักยอดนิยมสำหรับคนทั่วโลก มีเส้นใยสูงและมีรสชาติดีเมื่อนำมาปรุง เป็นผักที่พบได้ทั่วไปและรับประทานง่าย สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งนี้ผักกาดนั้นเป็นผักที่นิยมในตลาดจึงทำให้การเกษตรมักจะมีการฉีดยาฆ่าแมลง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผักที่ขึ้นชื่อเรื่องสารพิษจากยาฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่เยอะ แต่ผักกาดขาวที่เรารับประทานกันบ่อย ๆ นั้นมีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงร่างกายของเราได้หลายอย่าง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักกาดขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica rapa subsp. pekinensis
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Chinese Cabbage”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อท้องถิ่นที่เรียกกันว่า “ผักกาดขาวปลี” “แปะฉ่าย” “แปะฉ่ายลุ้ย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ชื่อพ้อง : Brassica chinensis var. pekinensis (Lour.) V.G. Sun

ลักษณะของผักกาดขาว

ผักกาดขาว เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่นิยมปลูกกันในประเทศไทย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เข้าปลียาว มีลักษณะสูงเป็นรูปไข่ พันธุ์เข้าปลีกลมแน่น มีลักษณะสั้นและอ้วนกลม พันธุ์เข้าปลีหลวมหรือไม่ห่อปลี
ลำต้น : ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง
ใบ : เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแตกออกเรียงสลับกัน ใบด้านนอกใหญ่กว่าใบด้านใน มีลักษณะทรงกลมวงรี โคนใบกว้างและใหญ่ ผิวใบบางเป็นมัน สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ขอบใบหยัก ใบมีสีเขียวอ่อน เขียวปนเหลืองหรือสีเขียวแก่ มีก้านใบใหญ่เป็นกาบหนาและยาวอวบน้ำ มีสีขาวนวลและมีรสชาติหวานกรอบ
ราก : เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะอวบกลมแทงลึกลงในดิน มีรากฝอยและรากแขนงเล็ก ๆ ออกรอบบริเวณลำต้น รากมีสีน้ำตาล
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่และยาว มีแขนงก้านย่อยจำนวนมาก มีดอกย่อยจากโคนไปที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็ก กลีบดอกมีสีเหลืองและกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน
ผล : มีผลเป็นฝักลักษณะทรงกลมเรียวยาว มีปลายเป็นจะงอยยาว ฝักดิบมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล เมื่อฝักแก่มากจะแตกออก
เมล็ด : มีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมากเรียงอยู่ในฝัก มีลักษณะแบนยาวรูปวงรีขนาดเล็ก และมีเปลือกหุ้มเมล็ด

สรรพคุณของผักกาดขาว

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงกำลังและร่างกาย กำจัดสารพิษ ของเสีย และโลหะหนักออกจากร่างกาย
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
    – รักษาแผลในปาก ด้วยการคั้นน้ำจากหัวผักกาดขาวแล้วนำมาใช้บ้วนปากเป็นประจำ
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยให้เจริญอาหารและย่อยอาหาร ป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้ แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ หัวผักกาดช่วยแก้ท้องเสีย บรรเทาอาการท้องผูก ขับปัสสาวะ รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ แก้อาการกระหาย เมล็ดช่วยแก้หืด แก้อาเจียนเป็นเลือด ใบแก้อาการเจ็บคอ แก้พิษสุรา แก้อาการบวมน้ำ แก้อาการอักเสบ
    – แก้อาการหวัด ด้วยการต้มหัวผักกาดแล้วดื่ม
    – แก้อาการไอและเสมหะ ด้วยการใช้หัวผักกาดมาใส่ขิงและน้ำผึ้งเล็กน้อย ต้มแล้วดื่ม
    – แก้อาการเสียงแห้ง ไม่มีเสียง ด้วยการคั้นน้ำหัวผักกาดขาว เติมน้ำขิงเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม
    – แก้อาการเรอเปรี้ยว ด้วยการนำหัวผักกาดขาวดิบมาหั่นประมาณ 3 – 4 แว่น แล้วนำมาเคี้ยวกิน
    – รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือแผลโดนสะเก็ดไฟ ด้วยการใช้หัวผักกาดหรือเมล็ดมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล
    – แก้อาการฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้หัวผักกาดหรือใบมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่ฟกช้ำ
  • สรรพคุณด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ เสริมสร้างกระดูก ทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ลดความดันโลหิตสูง เสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง แก้เลือดกำเดาไหล
  • สรรพคุณสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ใบช่วยขับน้ำนม ช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคเหน็บชา

เมนูจากผักกาดขาวที่แนะนำ

  • ผัดผักกาดขาว
  • แกงจืดผักกาดขาว
  • ต้มจืดผักกาดขาวยัดไส้
  • สุกี้ผักกาดขาว
  • ผักกาดขาวห่อหมูสับ
  • แกงส้มผักกาดขาว
  • กิมจิผักกาดขาว

คำแนะนำในการรับประทานผักกาดขาว

1. ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนรับประทาน เพื่อล้างสารปนเปื้อนหรือยาฆ่าแมลงออกก่อน
2. ควรรับประทานหัวผักกาดดิบเพราะมีสารอาหารมากกว่าผ่านการปรุงหรือผ่านความร้อนมา เนื่องจากวิตามินซีและเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ในหัวผักกาดขาวจะถูกทำลายที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส
3. ผู้ที่มีอาการม้ามพร่องหรือมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้องเป็นประจำ อาหารไม่ค่อยย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ไม่ควรรับประทานผักกาดขาวในปริมาณมากเกินไป
4. ผู้ที่อาหารไม่ย่อยหรือรับประทานเนื้อมากจนเกินไป ควรทานเพราะหัวผักกาดขาวมีน้ำมันมัสตาร์ด (Mustard oil) เมื่อรวมกับเอนไซม์ในหัวผักกาดจะมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นกระเพาะอาหารและช่วยย่อยอาหารได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว 100 กรัม 12 แคลอรี

สามรอาหาร ปริมาณสารอาหาร
น้ำ 91.7 กรัม
โปรตีน 0.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
เส้นใย 0.8 กรัม
แคโรทีน 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินซี 30 มิลลิกรัม
แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 196 มิลลิกรัม
ซิลิคอน 0.024 มิลลิกรัม
แมงกานีส 1.26 มิลลิกรัม
ทองแดง 0.21 มิลลิกรัม
สังกะสี 3.21 มิลลิกรัม
โมลิบดีนัม 0.125 มิลลิกรัม
โบรอน 2.07 มิลลิกรัม
กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มิลลิกรัม

สารออกฤทธิ์ในผักกาดขาว

มีสารอาหารที่ชื่อว่า ออร์กาโนซัลไฟด์และฟลาโวนอยด์อยู่ในผักกาดขาว ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผักกาดขาว เป็นผักทั่วไปที่คนไทยนิยมนำมารับประทาน เป็นผักที่ครัวในบ้านต้องมีไว้ สามารถนำมาทำเมนูได้หลากหลาย ผักกาดขาวนั้นก็ขึ้นชื่อในเรื่องของกากใยอาหารสูงอยู่แล้ว แต่ยังมีสรรพคุณแก้อาการต่าง ๆ ได้ด้วย สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยให้เจริญอาหารและย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก ทำให้เม็ดเลือดแข็งแรงและช่วยขับน้ำนม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม