ผักชีลาว ยาดี แก้กรดไหลย้อน บำรุงสายตา ช่วยในการนอนหลับ

0
1744
ผักชีลาว ยาดีสำหรับโรคประจำวัน แก้กรดไหลย้อน บำรุงสายตา ช่วยในการนอนหลับ
ผักชีลาว ยาดีสำหรับโรคประจำวัน แก้กรดไหลย้อน บำรุงสายตา ช่วยในการนอนหลับ

ผักชีลาว ยาดีสำหรับโรคประจำวัน แก้กรดไหลย้อน บำรุงสายตา ช่วยในการนอนหลับ

ผักชีลาว

ผักชีลาว (Dill) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งในวงศ์ผักชีที่มีประโยชน์ไม่แพ้ผักชีไทย ส่วนมากมักจะอยู่ในส่วนประกอบของอาหาร ผักชีลาวนั้นมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มาจากยุโรปและชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน สามารถปลูกได้ในประเทศไทยและนิยมปลูกเพื่อนำมารับประทานเป็นผัก สรรพคุณนั้นอาจจะยังไม่ค่อยมีใครรู้จักกันมากนัก และอาจจะสับสนกับผักชีไทยหรือผักชีฝรั่งได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anethum graveolens L.
ชื่อสามัญ : Dill
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “เทียนข้าวเปลือกหรือเทียนตาตั๊กแตน” จังหวัดน่านเรียกว่า “ผักชีเมือง” จังหวัดพิจิตรเรียกว่า “ผักชีเทียนหรือผักชีตั๊กแตน” จังหวัดเลยและขอนแก่นเรียกว่า “ผักชี”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักชี (APIACEAE)

ลักษณะของผักชีลาว

ใบ : ใบประกอบแบบขนนก มีสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน
ดอก : ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม
ผล : ผลแก่เป็นรูปไข่แบน มีสีน้ำตาลอมเหลือง

สรรพคุณของผักชีลาว

  • สรรพคุณ ต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมากและช่วยชะลอวัย บำรุงและรักษาสายตาและช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับตา บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ขยายหลอดเลือด รักษาโรคเบาหวาน กระตุ้นการหายใจ ลดกรดไหลย้อน
  • สรรพคุณจากผลแก่ เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราว
    – แก้อาการปวดท้อง แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว
  • สรรพคุณจากผล บำรุงปอด แก้หอบหืด บรรเทาอาการไอ แก้สะอึก แก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนและเป็นลม ช่วยทำให้ง่วงนอน
  • สรรพคุณจากใบ เพิ่มปริมาณของน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร ลดอาการโคลิคหรืออาการ “เด็กร้องร้อยวัน” เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร
    – แก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบสดมาต้มกินเป็นอาหาร
    – แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 50 กรัม มาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นชา
    – รักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการนำใบสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝีวันละ 2 ครั้ง
  • สรรพคุณจากต้นสด
    – แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อของเด็ก ด้วยการใช้ต้นสดมาผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้อาการ
    – แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 50 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำจนข้นแล้วรับประทาน
    – รักษาไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัม แล้วนำมาต้มกับน้ำกิน
  • สรรพคุณจากทั้งต้น ขับเหงื่อ แก้อาการบวมและเหน็บชา

ประโยชน์ของผักชีลาว

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นิยมนำใบมาใส่ในแกง ห่อหมก น้ำพริกปลาร้า หรือรับประทานสด ๆ ในส่วนยอดของใบใช้รับประทานกับลาบและช่วยชูรสชาติอาหาร นำผลมาบดโรยบนมันฝรั่งบดหรือสลัดผัก ใบสดและแห้งนิยมนำมาโรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว น้ำมันนำมาใช้แต่งกลิ่นผักดอง สตู น้ำซอส ของหวาน และเครื่องดื่มรวมไปถึงเหล้าด้วย
2. เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว นำผลหรือเมล็ดผักชีที่มีน้ำมันระเหยมาแปรรูปเป็นสบู่หรือโลชั่นบำรุงผิว

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาวสด

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม
เส้นใย 2.1 กรัม
ไขมัน 1.1 กรัม
โปรตีน 3.5 กรัม
วิตามินเอ 7,717 ไมโครกรัม (154%)
วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม (9%)
วิตามินบี2 0.3 มิลลิกรัม (25%)
วิตามินบี3 1.6 มิลลิกรัม (11%)
วิตามินบี5 0.4 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม (15%)
วิตามินบี9 150 ไมโครกรัม (38%)
วิตามินซี 85 มิลลิกรัม (102%)
แคลเซียม 208 มิลลิกรัม (21%)
เหล็ก 6.6 มิลลิกรัม (51%)
แมกนีเซียม 55 มิลลิกรัม (15%)
แมงกานีส 1.3 มิลลิกรัม (62%)
ฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม (9%)
โพแทสเซียม 738 มิลลิกรัม (16%)
โซเดียม 61 มิลลิกรัม (4%)
สังกะสี 0.9 มิลลิกรัม (9%)
ทองแดง 0.14 มิลลิกรัม (7%)

ผักชีลาว เป็นผักที่มีวิตามินและแร่ธาตุค่อนข้างสูง โดยเฉพาะวิตามินเอที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และค่อนข้างพบได้มากในเมนูอาหารอีสาน เป็นพืชใบเล็กที่มีสรรพคุณมากมาย โดยสรรพคุณที่โดดเด่นคือ บำรุงและรักษาตา ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง บำรุงกระดูกและฟัน ลดกรดไหลย้อนและช่วยในการนอนหลับ เป็นผักที่มีสรรพคุณที่จำเป็นและต้องการในโลกที่ผู้คนมักจะจ้องหน้าจอคอมนาน ๆ จนสายตาเสียหรือกินอาหารไม่ตรงเวลาเกิดโรคกรดไหลย้อน เกิดความเครียดจนนอนไม่หลับ ดังนั้นถือเป็นยาที่ดีสำหรับคนไทยในปัจจุบัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม