แก้วมังกร ผลไม้เสริมสุขภาพและความงาม (Dragon Fruit)
แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิดและช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้

แก้วมังกร ( Dragon Fruit ) คือ

แก้วมังกร ( Dragon Fruit ) คือผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกากลาง โดยค้นพบตั้งแต่ประมาณ 100 ปีที่แล้ว ซึ่งบาทหลวงชาวฝรั่งเศสได้นำแก้วมังกรเข้ามาปลูกที่เวียดนาม โดยเน้นปลูกตามแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเมืองนาตรังทางเหนือลงไปทางใต้เป็นหลัก จนกลายเป็นผลไม้ที่ชาวเวียดนามนิยมปลูกจนถือได้ว่าเป็นผลไม้ท้องถิ่นของเวียดนามเลยทีเดียว และสำหรับในประเทศไทยนั้น แก้วมังกรได้มีการนำเข้ามาในราวๆ 50 ปีก่อน แต่เริ่มแรกจะยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก จนเวลาล่วงเลยมาประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ ก็ได้มีการนำเข้าแก้วมังกรสายพันธุ์ดีมาปลูกอีกครั้ง โดยแก้วมังกรชนิดนี้จะมีรสชาติหวาน ชุ่มฉ่ำจึงเริ่มกลายเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยเราเลยทีเดียว

แก้วมังกร นั้นถูกจัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับกระบองเพชร ที่ลำต้นจะมีแฉกสามแฉกคล้ายกับมังกรและมีหนามเป็นกระจุก มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยซึ่งมีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร ทำให้ต้องมีการทำค้างเพื่อพยุงลำต้นเอาไว้ ส่วนดอกของแก้วมังกร ก็จะมีลักษณะคล้ายกรวยขนาดใหญ่ สีขาว นิยมบานในเวลากลางคืน จึงถูกเรียกว่า Moon Flower นั่นเอง ส่วนผลของแก้วมังกร เมื่อดิบจะมีเปลือกสีเขียว มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ตามเปลือก และเมื่อสุกผิวเปลือกจะกลายเป็นสีแดงอมม่วงดูน่าทาน ส่วนเนื้อด้านในก็จะมีทั้งสีแดงและสีขาวเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีเมล็ดสีดำฝังอยู่ทั่วเนื้อผลอีกด้วย แต่สามารถทานได้โดยไม่ต้องเอาออก และในแก้วมังกรยังมีสารสีแดงที่ชื่อว่า เบตาเลน ( Betalain ) มากที่สุด

สายพันธุ์ของแก้วมังกร

สายพันธุ์แก้วมังกรที่นิยมปลูกสำหรับสายพันธุ์ของแก้วมังกรที่นิยมนำมาปลูกก็จะมี 3 สายพันธุ์ คือ

1.แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง สายพันธุ์นี้จะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus Undatus
ชื่อสามัญ : White Dragon Fruit โดยจะมีลักษณะผลเป็นทรงกลมรี เปลือกเป็นสีชมพูสดและมีปลายกลีบสีเขียว เนื้อจะมีสีขาวและมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่ ส่วนรสชาติก็จะมีทั้งหวานอมเปรี้ยวจนถึงหวานจัดกันเลยทีเดียว

2.แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง สายพันธุ์นี้จะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hylocereus Polyrhizus
ชื่อสามัญ : Red Dragon Fruit ซึ่งผลจะเป็นทรงกลมมีเปลือกสีแดงจัด ผลเล็กกว่าแบบแรกเล็กน้อยและมีรสชาติที่หวานกว่าอีกด้วย ส่วนเนื้อก็จะเป็นสีแดงและมีเมล็ดสีดำแทรกกระจายอยู่เช่นกัน โดยสายพันธุ์นี้ก็มีการนำเข้ามาจากไต้หวันนั่นเอง แถมยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยควบคุมน้ำตาลกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวานได้ดีอีกด้วย พร้อมทั้งช่วยลดระดับ LDL และไตรกลีเซอไรด์ให้ต่ำลงได้เช่นกัน

3.แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง สายพันธุ์นี้จะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus megalanthus
ชื่อสามัญ : Yellow Dragon มีลักษณะผลรูปไข่ เปลือกหนาสีเหลือง เนื้อสีขาว ผลเล็กกว่าพันธุ์อื่น ๆ เนื้อสีขาว เมล็ดขนาดใหญ่และมีน้อยกว่าพันธุ์อื่น มีรสหวาน

แก้วมังกร คุณค่าสารอาหารทางโภชนาการ

เนื้อแก้วมังกรสดในปริมาณ 100g มีพลังงานทั้งหมด 66 กิโลแคลอรี่
โปรตีน 1.4 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม
ฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม
วิตามิน 7 มิลลิกรัม
แลเศียม 9 มิลลิกรัม
น้ำ 85.4 กรัม
ไขมัน 0.57 กรัม

แก้วมังกรสรรพคุณ

  • บรรเทาอาการเลือดจาง และเสริมธาตุเหล็กให้กับร่างกาย
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน และมะเร็ง
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับกระดูกและฟัน จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนในสาววัยทองได้ดี
  • แก้วมังกร อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินมากมาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ธาตุเหล็กและวิตามินบี 3 รวมถึงวิตามินซีด้วย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สวยกระจ่างใสและเรียบเนียนยิ่งขึ้น
  • สามารถบำรุงและป้องกันโรคต่างๆ เกี่ยวกับสายตาได้ดี
  • แก้วมังกรมี ไลโคปีนสูง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีฤทธิ์ในการต้านได้สูงกว่าวิตามินอีถึง 100 เท่า และสูงกว่ากลูตาไธโอนถึง 125 เท่าอีกด้วย โดยจะช่วยชะลอความเสี่ยมของเซลล์และทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์ลงได้เป็นอย่างดี
  • ลดความเสี่ยงการตาบอดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • อุดมไปด้วยกากใยสูง ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและจะช่วยการทำงานของระบบขับถ่ายได้ดี
  • เมล็ดมีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่จะช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูสดชื่น ผ่องใสและดูมีสุขภาพผิวที่ดีสุดๆและนี่ก็คือแก้วมังกรที่นิยมปลูกมากในไทยเราและประโยชน์อีกมากมายที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง โดยเฉพาะแก้วมังกรที่มีเนื้อสีแดงเพราะจะอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินที่มากกว่านั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Dragon fruit surprisingly easy to grow”. Miami Herald. Retrieved 19 March 2017.

“Dragon fruit”. National Library Board, Singapore Government. 2017. Retrieved 19 March 2017.