ลักษณะของฝรั่ง
ฝรั่ง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นแบบทรงพุ่ม มีความสูงประมาณ 3-10 เมตรเท่านั้น ซึ่งการปลูกฝรั่งควรตัดแก่งกิ่งอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้ใบได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึงและสามารถสังเคราะห์แสง รวมถึงมีการเจริญเติบโตได้ดี และสำหรับการออกลูกนั้น ฝรั่งสามารถออกลูกได้มากถึงปีละ 3 รอบ และต้นฝรั่งเองก็มีอายุได้นานถึง 10 ปีขึ้นไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของฝรั่งด้วย
คุณค่าของฝรั่ง
ฝรั่ง เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะวิตามินซี และวิตามินเอ ที่พบมากกว่าในมะนาวถึง 4 เท่า แถมยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 วิตามินบี2 แคลเซียม ฟอสฟอรัส และมีสารจำพวกเพคติน แทนนิน เป็นจำนวนมาก โดยประโยชน์หลักๆ ที่พบก็คือ จะช่วยต้านการป่วยด้วยโรคหวัดได้ดี และช่วยลดความอ้วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฝรั่งมีไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มเร็ว และมีแคลอรีต่ำ จึงไม่ทำให้อ้วน
สรรพคุณทางตำรับยาสมุนไพร
ภูมิปัญญาชาวบ้านที่นิยมใช้ใบฝรั่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านใช้รักษาอาการต่างๆ ที่หลายคนยังไม่เคยทราบมาก่อน ใบฝรั่งมีสรรพคุณทางตำรับยาสมุนไพรที่น่าสนใจที่มีงานวิจัยค้นพบว่าใบฝรั่งนั้นสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย โดยนำใบฝรั่งที่แกสมบูรณเต็มที่ และผลดิบออน รสฝาด มีฤทธิ์ฝาดสมานแก้ท้องเสีย ในใบฝรั่งมีสารที่เรียกว่า แทนนิน 8-15 เปอร์เซ็นต์ สารชนิดนี้มีฤทธิ์ในการรักษาอาการต่างๆดังต่อไปนี้
- แก้ท้องเสีย
- แก้บิดมูกเลือด
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ลดการสูญเสียน้ำ
- ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยลดอาการอักเสบ
- ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
- รักษาโรคเหงือกอักเสบ
- ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน
- ลดอาการปวดประจำเดือน
- ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยลดการระคายเคืองของลำไส้
- ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้
- ใช้ใบฝรั่งสดโขลกให้ละเอียด นำไปพอกที่แผลสด
- ช่วยต้านเชื้อเซลล์มะเร็งไฟโบรซาร์โคมา และช่วยต้านเชื้อเซลล์มะเร็งเต้านมได้
สายพันธุ์ของฝรั่ง
ฝรั่งมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกมากที่สุด มี 5 สายพันธุ์ดังนี้
1.ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นฝรั่งสายพันธุ์แรกๆ ที่นำเข้ามาปลูกกันมากที่สุด ก่อนจะมีการนำฝรั่งสายพันธุ์อื่นๆ เข้ามาปลูกและเริ่มมีการปลูกสายพันธุ์นี้น้อยลง
2.ฝรั่งแป้นสีทอง มีการนำเข้ามาปลูกเริ่มแรกที่อำเภอสามพราน ซึ่งเมื่อโตเต็มที่ผลของมันจะมีสีขาว ฟูและกรอบอร่อยมาก
3.ฝรั่งกิมจู ฝรั่งสายพันธุ์นี้จะไม่มีเมล็ดหรือมีอยู่น้อยมาก ผิวของฝรั่งจะมีสีนวลสวยและมีความเรียบเนียน แถมมีรสชาติหวาน กรอบอร่อยอีกด้วย
4.ฝรั่งแป้นยอดแดง เป็นฝรั่งที่มีขนาดผลใหญ่มาก และมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 ขีด – 1 กิโลกรัมต่อผล และมีเนื้อหนา หวานกรอบอร่อย ส่วนเมล็ดจะมีปานกลางไม่เยอะมาก
5.ฝรั่งไร้เมล็ด ฝรั่งชนิดนี้จะมีรูปทรงรียาวและไม่มีเมล็ด ผลขนาดใหญ่ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ส่วนผิวที่เปลือกก็จะมีสีเขียวอมเหลือง
และนอกจากสายพันธุ์ฝรั่งเหล่านี้แล้ว ก็มีการนำฝรั่งไปแปรรูปอีกด้วย เช่น ฝรั่งพันธุ์คาฮังคู่ล่าและฝรั่งพันธุ์บังมองท์ ซึ่งมีกลิ่นหอมและรสชาติหวานกลมกล่อม โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้ทำน้ำฝรั่งโดยเฉพาะ
ทำไมคนไทยจึงเรียกชาวต่างชาติว่าฝรั่ง?
ยังคงเป็นข้อสงสัยสำหรับหลายๆ คน ว่าเพราะอะไรชาวไทยจึงเรียกชาวต่างชาติว่าฝรั่ง มีความเกี่ยวข้องกับฝรั่งที่เป็นผลไม้หรือไม่ ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว ก็ได้มีหลายคนพยายามอธิบายถึงที่มาไว้อย่างหลากหลายด้วยกัน เช่น ในศตวรรษที่ 17 นั้นได้มีชาวฝรั่งเศสเข้ามาสร้างความสัมพันธ์กับประเทศไทยเป็นชาติแรก โดยคนไทยจะเรียกชาวฝรั่งเศสสั้นๆ ว่าฝรั่ง และต่อมาเมื่อมีชาวยุโรปผิวขาวเข้ามาในประเทศ ชาวไทยจึงเรียกเหมารวมชาวยุโรปที่มีผิวขาวว่าฝรั่งนั่นเอง และยังรวมถึงกลุ่มคนผิวขาวที่มาจากอเมริกาใต้ อมริกาเหนือและออสเตรเลียอีกด้วย
หรืออีกเรื่องเล่าหนึ่งก็คือ ในสมัยอยุธยานั้นได้มีการยกที่ดินให้กับพ่อค้าชาวโปรตุเกส โดยที่ดินผืนนั้นก็ได้มีการปลูกต้นฝรั่งไว้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านที่ผ่านไปผ่านมาจึงเรียกบ้านหลังนั้นว่าบ้านฝรั่ง และได้มีการเรียกเจ้าของบ้านว่าฝรั่ง และอีกนัยหนึ่งก็คือ คำว่าฝรั่งเริ่มมาจากที่พ่อค้าชาวอาหรับเดินทางเข้ามายังเอเชียตะวันออกเพื่อการเผยแพร่ภาษาอาหรับ และชอบออกเสียงว่า ฟะรอน์จิ บ่อยๆ จนมีการเรียกเพี้ยนเสียงมาเป็นคำว่าฝรั่ง จากนั้นคนไทยจึงเรียกชาวต่างชาติฝรั่งตั้งแต่นั้นมา
จะเห็นได้ว่าที่มาของคำว่าฝรั่งนั้นยังไม่ทราบแน่นอน แต่ที่แน่ๆ คือฝรั่งล้วนมีประโยชน์และมีรสชาติกรอบอร่อยสุดๆ แถมยังให้พลังงานแคลอรี่ต่ำมาก จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักที่สุด และยังประกอบไปด้วยไฟเบอร์ โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคนเราอีกด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Guava, in Fruits of Warm Climates,. Center for New Crops & Plant Products, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette, Indiana. Retrieved 24 April 2015.