ตองแตก สรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง

0
1331
ตองแตก
ตองแตก สรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง เป็นไม้พุ่ม แตกแขนงจากรากหรือโคนต้นลำต้น ชาวไทใหญ่จะใช้ใบตากแห้งชงดื่มแก้อาการง่วง ดอกสีขาวเหลือง ผลเว้าหรือบุ๋มสีเขียว
ตองแตก
เป็นไม้พุ่ม แตกแขนงจากรากหรือโคนต้นลำต้น ชาวไทใหญ่จะใช้ใบตากแห้งชงดื่มแก้อาการง่วง ดอกสีขาวเหลือง ผลเว้าหรือบุ๋มสีเขียว

ตองแตก

ตองแตก เป็นไม้พุ่ม แตกแขนงจากรากหรือโคนต้นลำต้น ชาวไทใหญ่จะใช้ใบตากแห้ง นำมาชงเหมือนชาดื่มแก้อาการง่วง มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh และมีชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Baliospermum axillare Blume, Baliospermum montanum (Willd.) Müll.Arg.) โดยจัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1],[2],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า นองป้อม ลองปอม, ตองแต่, ทนดี, เปล้าตองแตก, ถ่อนดี, โทะโคละ พอบอเจ๊าะ, ยาบูเวอ หญ้าโวเบ่อ เป็นต้น[1]

ลักษณะตองแตก

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร เป็นพรรณไม้ที่มีอายุอยู่ได้นานและทนทาน
    – ลำต้นเป็นสีเขียวมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร
    – เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีขาว
    – สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
    – มีการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา ลงมาจนถึงพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม อินโดจีน คาบสมุทร-มาเลเซีย เกาะบอเนียว สุมาตรา ชวา มาลูกู สุราเวศรี เลสเซอร์ เกาะซันดร้า
    – ในประเทศไทยนั้นจะพบได้ทั่วไปตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ และตามที่รกร้าง จนถึงระดับความสูง 700 เมตร[1],[2],[3],[6],[7]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน และใบมีขนาดและรูปร่างต่างกัน
    – ใบที่อยู่ส่วนยอด เป็นรูปรีหรือรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร
    – ใบที่อยู่โคนต้น ขอบใบจะหยักเว้าเป็น 3-5 แฉก จะเป็นรูปไข่แกมขอบขนานหรือเกือบกลม ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ตามขอบใบจักเป็นซี่ฟันห่างกันไม่สม่ำเสมอ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร
    – เนื้อใบบาง เส้นใบด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน ก้านใบมีลักษณะเรียวยาว มีความยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีขน-[1],[3]
  • ดอก มีขนาดเล็ก เป็นสีขาวเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน
    – ช่อดอกมีลักษณะเล็กเรียว ยาวประมาณ 3.5-12 เซนติเมตร
    – ดอกเพศผู้ จะอยู่ตอนบนของช่อและมีจำนวนมาก มีรูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ ฐานดอกมีต่อมประมาณ 4-6 ต่อม มีเกสรเพศผู้ประมาณ 15-20 อัน อับเรณูคล้ายกับรูปถั่ว ก้านดอกย่อยมีลักษณะเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย มีความยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร
    – ดอกเพศเมีย จะอยู่โคนช่อของดอก มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ปลายแหลม ขอบจัก ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้น ๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศเมียจะแยกออกเป็น 2 แฉก[1],[2],[3]
  • ผล มีลักษณะเป็นพู 3 พู
    – มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ 2 อัน
    – ปลายผลเว้าหรือบุ๋ม
    – โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล โคนของผลจะมีสีเข้มกว่าตอนปลาย
    – ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะแตกออกตามยาวที่กลางพู
    – แต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนาน[1],[2],[3]

สรรพคุณ

  • ราก ใช้ฝนทาแก้อาการฟกช้ำ (ราก)[6]
  • ราก ใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง (ราก)[5]
  • ราก ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)[5]
  • ราก ใช้เป็นยาแก้อาการบวมน้ำ แก้ดีซ่าน แก้ม้ามอักเสบ (ราก)[2],[3],[5]
  • ราก ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย (ราก)[5],[6],[7]
  • ราก ใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือฝนน้ำกินเป็นยาถ่ายลมเป็นพิษ (อาการผื่นคันหรือตุ่มหนองที่ผิวหนัง) [1],[2],[3],[4]
  • ราก มีรสขมเล็กน้อย ใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือฝนน้ำกินเป็นยาถ่ายเสมหะเป็นพิษ (เสมหะเขียวเป็นก้อนหรือบิด) แก้เสมหะ ขับเสมหะ (ราก)[1],[2],[3],[5],[7]
  • ราก ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายหรือยาระบายชนิดที่ไม่รุนแรงมากนัก เหมาะสำหรับคนไข้โรคริดสีดวงทวารที่ใช้ยาดำเป็นยาถ่ายไม่ได้ และเป็นยาถ่ายพิษพรรดึก (ราก)[1],[2],[3],[4],[5],[7]
  • ใบ ใช้ตำพอกแผล ห้ามเลือด (ใบ)[6]
  • ใบ นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ร้อนใน (ใบ)[6]
  • ใบ นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาช่วยขับเหงื่อ (ใบ)[5]
  • ใบ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคกระเพาะ (ใบ)[8]
  • ใบ นำมาต้มกับน้ำหรือแช่กับน้ำกินเป็นยาแก้โรคหืดหอบ (ใบ)[2],[4],[5],[6]
  • น้ำยางจากยอดอ่อน ใช้ใส่รักษาแผลทั้งสดและเรื้อรัง แผลโรคปากนกกระจอก (ใบ)[8]
  • ชาวไทใหญ่นั้นจะใช้ใบตากแห้ง นำมาชงเหมือนชาดื่มแก้อาการง่วง (ใบ)[5]
  • ใบแห้ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายก็ได้ (ใบแห้ง)[1],[3],[4],[5]
  • น้ำมันจากเมล็ด ใช้เป็นยาทาแก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)[2],[5]
  • เมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง และภายในเมล็ดจะมีน้ำมันที่เป็นพิษมาก ซึ่งเป็นยารุยาถ่ายอย่างแรงถึงกับถ่ายเป็นน้ำ จึงไม่นิยมใช้กัน (เมล็ด)[1],[2],[3],[4],[5]
  • เมล็ด ใช้ภายนอกนำมาตำหรือบดทาบริเวณที่ปวดเมื่อย ทำให้ร้อนและเลือดไหลเวียน ช่วยกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ทา (เมล็ด)[2],[6]
  • ต้น ใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี (ต้น)[7]
  • ทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำอาบ สำหรับผู้หญิงหลังคลอด ช่วงอยู่ไฟ (ทั้งต้น)[5]
  • ใบและเมล็ด ใช้เป็นยาแก้ฟกบวม (ใบ, เมล็ด)[3]
  • ใบและเมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ, เมล็ด)[3]
  • ราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ใบ มีสรรพคุณเป็นยาถอนพิษไข้ เมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพิษไข้ (ราก, ใบ, เมล็ด)[7]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

รากมีอนุพันธ์ของ phorbol ester เช่น baliospermin และ montanin เป็นสารที่ทำให้ถ่ายและมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ในหลอดทดลอง แต่ควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป[4]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ตอง แตก (Tong Taek)”. หน้า 117.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ตอง แตก”. หน้า 298-299.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ตอง แตก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [22 ธ.ค. 2014].
4. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ตอง แตก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [22 ธ.ค. 2014].
5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ตอง แตก, เปล้าตอง แตก”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 7 (ก่องกานดา ชยามฤต, ลีนา ผู้พัฒนพงศ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [22 ธ.ค. 2014].
6. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ตอง แตก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [22 ธ.ค. 2014].
7. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ตอง แตก”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้เมืองไทย พืชสมุนไพร 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [22 ธ.ค. 2014].
8. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ตอง แตก”. อ้างอิงใน : หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสร และคณะ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [22 ธ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://www.flickr.com/