แมงลักคา สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน

0
1347
แมงลักคา สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน เป็นไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับกะเพรามีกลิ่นหอมฉุน ใบรูปไข่ปลายแหลมมีขน ดอกสีม่วงอ่อน ผลเป็นผลแห้งสีดำ มีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 4 เมล็ด
แมงลักคา
ไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับกะเพรามีกลิ่นหอมฉุน ใบรูปไข่ปลายแหลมมีขน ดอกสีม่วงอ่อน ผลเป็นผลแห้งสีดำ มีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 4 เมล็ด

แมงลักคา

แมงลักคา เป็นไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับกะเพรามีกลิ่นหอม มีชื่อสามัญ คือ Wild spikenard, Mild spikenard bushtea, Pugnet west Indian spikenard[1],[8] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Hyptis suaveolens (L.) Poit. โดยจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กะเพราผี, แมงลักป่า, อีตู่ป่า, กอมก้อหวย[2],[4],[5],[8]

ลักษณะแมงลักคา

  • ต้น เป็นไม้พุ่มล้มลุกที่มีอายุหลายปี
    – ลำต้นตั้งตรง
    – มีความสูง 1.5 เมตร
    – ลำต้นเป็นสัน
    – มีขนสีขาว
    – มีกลิ่นฉุน
    – สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการปักชำ
    – เติบโตได้ดีในดินร่วน
    – พบขึ้นตามที่รกร้างริมทาง ริมน้ำ เนินทราย และตามป่าละเมาะทั่วไป
    – ออกดอกและติดผลได้ตลอดปี[2],[3],[4]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปไข่
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบ
    – ขอบใบหยัก
    – ใบมีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และยาว 2-6 เซนติเมตร
    – แผ่นใบมีขน
    – ก้านใบยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร[2]
  • ดอก เป็นช่อกระจุก ออกดอก 2-5 ดอกย่อย
    – ดอกเป็นสีม่วงอ่อน
    – ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร
    – มีขน มีริ้วประดับเล็ก
    – กลีบดอกโคนกลีบเป็นสีขาว
    – ปลายแยกออกเป็นปาก 2 ปาก
    – ปากด้านบนมี 2 แฉก รูปช้อน มีความกว้าง 2 มิลลิเมตร และยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – ปากด้านล่างมี 3 แฉก มีขนาดเท่า ๆ กัน
    – กลีบดอกด้านข้างเป็นรูปรี มีความกว้าง 2 มิลลิเมตร และมีความยาว 1 มิลลิเมตร
    – กลีบกลางมีความคล้ายเรือ มีความกว้าง 1 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงดอกเรียวแหลม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 คู่ ก้านเกสรจะไม่ติดกัน มีอับเรณูที่ติดกับก้านชูเกสรอยู่ด้านหลัง
    – เกสรเพศเมีย รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 3-5 มิลลิเมตร[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง สีดำ
    – มีความยาว 1.2-1.5 มิลลิเมตร
    – ปลายผลเว้า
    – ผิวมีรอยย่น
    – มีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด เป็นสีน้ำตาลเข้ม ค่อนข้างกลม[2]

สรรพคุณแมงลักคา

  • ยอดอ่อน ช่วยขับน้ำนม[2]
  • ใบ เป็นยาลดไข้[2]
  • ใบ เป็นยาฆ่าเชื้อ[3]
  • ใบ เป็นยาแก้ปวดท้อง[2]
  • ราก ช่วยให้เจริญอาหาร[2]
  • ราก ช่วยขับประจำเดือน[2],[8]
  • ทั้งต้น แก้อาการปวดท้อง[8]
  • ทั้งต้น ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัด[5]
  • ใบและต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1]
  • ใบและปลายยอด ช่วยรักษาอาการชักกระตุกและโรคปวดข้อ[8]

ประโยชน์แมงลักคา

  • ยอดอ่อน สามารถนำมาปรุงอาหารได้[2]
  • ราก ช่วยดับกลิ่นปากได้[2],[8]
  • กิ่งและใบ ช่วยไล่ไรไก่[2]
  • ทั้งต้น ช่วยไล่แมลง[2]

สารสำคัญที่พบในแมงลักคา

  • amyrin
  • aromadendrene
  • azulene
  • bergamotol
  • betulinic acid
  • cadinol
  • caryophyllene
  • terpinolene
  • ursolic acid
  • valencene[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • น้ำมัน มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ราพืชก่อโรคพืช และยีสต์[9]
  • สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของใบ มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล[7]
  • สารสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ซาโมเนลลา ยับยั้งเชื้อไวรัสต่าง ๆ และเสริมภูมิคุ้มกันโรคเอดส์
  • น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและลบ รวมไปถึงฤทธิ์อย่างอ่อนในการต้านเชื้อรา Aspergillus niger และ Candida albicans[7]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า เมื่อใช้สารสกัดจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้น ฉีดเข้าท้องของหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 56.2 มิลลิกรัม ถ้าเป็นสารสกัดจากใบสด พบว่าในขนาดที่ทำให้เกิดพิษคือ 1 มิลลิกรัมต่อสัตว์ทดลอง 1 ตัว[1]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “แมง ลัก คา”. หน้า 140.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “แมง ลัก คา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [18 ส.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แมง ลัก คา”. อ้างอิงใน : หนังสือ Flora Malesiana Volume 8, หน้า 371-372. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [18 ส.ค. 2014].
4. การใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. “แมง ลัก คา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : science.sut.ac.th. [18 ส.ค. 2014].
5. ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. “แมง ลัก คา ฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่-ไข้หวัดนก”. อ้างอิงใน : คม ชัด ลึก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : elib.fda.moph.go.th. [18 ส.ค. 2014].
6. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37 วันที่ 3-5 ก.พ. 2542. (กนก อุไรสกุล). “ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ และยับยั้งการเจริญเติบโตของไรแดงแอฟริกัน”. หน้า 11-18.
7. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dmsc.moph.go.th. [18 ส.ค. 2014].
8. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 320 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก. “รับมือไข้หวัดนกรอบ ๓”. (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [18 ส.ค. 2014].
9. ไม้หอมเมืองไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “แมงลักคา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : tistr.or.th/essence/. [18 ส.ค. 2014].