Home สมุนไพร ต้นมะลิลา ช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟัน

ต้นมะลิลา ช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟัน

0
ต้นมะลิลา ช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟัน
ต้นมะลิลา หรือมะลิ ช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟัน เป็นไม้พุ่ม แผ่นใบมีลักษณะเรียบและเป็นมันเป็นสีเขียวแก่ ท้องใบมีเส้นใบ ใบประกอบแบบขนนก ดอกดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
มะลิ
เป็นไม้พุ่ม แผ่นใบมีลักษณะเรียบและเป็นมันเป็นสีเขียวแก่ ท้องใบมีเส้นใบ ใบประกอบแบบขนนก ดอกดอกสีขาว มีกลิ่นหอม

มะลิลา

มะลิลา หรือมะลิ มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ชื่อสามัญ Kampopot[8], Seented star jusmine[6], Jusmine[8], Arabian jasmine[2],[5] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac (L.) Aiton[3],[5] อยู่วงศ์มะลิ (OLEACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เซียวหน่ำเคี้ยง (จีน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่), มะลิลา (ทั่วไป), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), มะลิขี้ไก่ (จังหวัดเชียงใหม่), หม้อลี่ฮวา (จีนกลาง), บักหลี่ฮวย (จีน), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิลา (ภาคกลาง), มะลิ (ทั่วไป), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่งสอน) [1],[3]

ลักษณะของมะลิลา

  • ต้น เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม มีใบอยู่แน่น ต้นสูงประมาณ 5 ฟุต จะแตกกิ่งก้านสาขารอบลำต้น ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การตอนกิ่ง โตได้ดีในดินร่วนซุย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้นมะลิชอบที่มีแสงแดดจัด ถ้าให้น้ำเยอะไปก็จะทำให้ดอกออกน้อยลง การตัดแต่งใบในภายหลังการออกดอกชุดใหญ่จะออกดอกดียิ่งขึ้น [1],[7] มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบประเทศเอเชีย [7]
  • ใบ ออกใบเรียงตรงข้ามกัน ใบมะลิเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเพียงใบเดียว ใบเป็นรูปขอบขนาน รูปไข่ รูปมนป้อม รูปรี ที่โคนใบจะมนสอบเข้าหากัน ส่วนที่ปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเรียบและเป็นมันเป็นสีเขียวแก่ ท้องใบมีเส้นใบ มีเส้นใบประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบสั้นมาก มีขน[1],[8]
  • ดอก ออกที่ตามซอกใบตามปลายกิ่ง มีดอกแบบไม่ซ้อนที่เรียกกันว่า ดอกดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกที่ปลายจะแยกเป็นกลีบ 5-8 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมเป็นหลอดที่มีขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกจะมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมเหลืองอ่อน ที่ปลายจะแยกเป็นเส้น มีเกสรเพศผู้อยู่ 2 ก้านติดที่กลีบดอกในหลอดสีขาว มักไม่ติดผล[8]
  • ผล เป็นผลสด[2]

ประโยชน์มะลิลา

1. คนไทยมีความเชื่อว่าการปลูกต้นมะลิเป็นไม้ประจำบ้าน ทำให้สงบสุข ร่มเย็น เป็นที่ประทับใจต่อผู้คนรอบข้าง ช่วยเกื้อหนุนให้เกิดความกตัญญูของผู้เป็นลูกที่มีต่อคุณแม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อบ้านกับผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นมะลิทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ปลูกวันพุธเพื่อเอาคุณ ผู้ปลูกควรเป็นผู้หญิงสูงอายุ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง และเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไป มะลิที่นิยมปลูกในบ้านเพื่อความมงคลมี 5 ชนิด ก็คือ พุทธชาด มะละฉัตร มะลิพวง มะลิวัลย์ ต้นมะลิเป็นต้นไม้ประจำวันเกิดผู้เกิดที่วันจันทร์ หมายถึงความนุ่มนวลอ่อนโยนเรียบร้อย
2. ทางสุคนธบำบัด (Aromatherapy) ใช้น้ำมันหอมระเหยของดอกมะลิ กระตุ้นระบบประสาทผู้ที่มีภาวะอ่อนล้าทางจิตใจ ง่วง เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ช่วยปรับอารมณ์และช่วยปรับสภาพสมดุลของจิตใจให้ดีขึ้น บรรเทาความกลัว บรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ บรรเทาความเครียด (ดอก)[4]
3. ดอกมะลิมีกลิ่นหอมและเป็นสีขาวบริสุทธิ์ คนไทยนิยมยกย่องดอกมะลิเป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาติ[1]
4. เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์[9]
5. ปลูกเป็นไม้ประดับ [7]
6. นิยมใช้ดอกร้อยเป็นพวงมาลัย หรือทำดอกไม้แห้ง ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย ใช้อบขนม ใช้แต่งกลิ่นใบชา [6]

สรรพคุณมะลิลา

1. ในตำรายาไทยใช้ดอกมะลิแห้งมาปรุงเป็นยาหอม ดอกมะลิอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, พิกัดเกสรทั้ง 7, พิกัดเกสรทั้ง 9 ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณที่ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น และช่วยแก้ไข้ (ดอก)[2],[4]
2. สามารถใช้แก้กระดูกร้าว และฟกช้ำได้ โดยนำรากมะลิแห้ง 1.5 กรัม มาฝนกับเหล้าทาน (ราก)[3]
3. สามารถนำรากมะลิสดมาตำใช้พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกเพราะหกล้มได้ (ราก)[3]
4. สามารถนำใบมะลิสดมาตำใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ และแผลโรคผิวหนังเรื้อรังได้ (ใบ)[1]
5. สามารถนำใบมะลิสดมาตำให้ละเอียดผสมน้ำมันมะพร้าวใหม่ แล้วเอาไปลนไฟ ใช้ทารักษาแผล ฝีพุพอง (ใบ)[5]
6. สามารถช่วยขับประจำเดือนของผู้หญิงได้ (ราก)[5]
7. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ นำใบมะลิอ่อนใสมาแช่น้ำเย็น ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี (ใบ)[9]
8. สามารถช่วยแก้อาการเสียดท้องได้ (ราก)[5]
9. สามารถนำดอกมะลิสดมาตำละเอียดแล้วเอามาใช้พอกหรือเช็ดตรงบริเวณเต้านมเพื่อทำให้น้ำนมหยุดหลั่ง (ดอก)[1]
10. สามารถช่วยแก้หลอดลมอักเสบ แก้หอบหืดได้ โดยนำรากสด 1-1.5 กรัมมาต้มกับน้ำทาน (ราก)[1],[4]
11. สามารถช่วยรักษาโรคเลือดออกที่ตามไรฟันได้ โดยนำรากมะลิสดประมาณ 1-1.5 กรัมมาต้มกับน้ำทาน [1]
12. ในตำรับยาแก้หวัดแดด มีไข้ ใช้ดอกมะลิแห้ง 3 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 9 กรัม, ใบชาเขียว 3 กรัม มาต้มกับน้ำรวมกัน แล้วนำมาทาน (ดอก)[3]
13. ใบกับดอกของมะลิมีรสเผ็ดชุ่ม จะเป็นยาเย็น สามารถช่วยแก้ไข้หวัดแดด ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยดับพิษร้อน ช่วยถอนพิษไข้ และช่วยขับเหงื่อขับความชื้น (ใบ, ดอก)[3],[4]
14. นำรากของมะลิมาฝนกับน้ำใช้เป็นยาแก้ร้อนใน (ราก)[5]
15. สามารถช่วยแก้เจ็บหูได้ (ใบ, ดอก)[3]
16. สามารถช่วยแก้อาการเจ็บตาได้ (ดอก)[4]
17. ถ้านอนไม่หลับ ให้นำรากของมะลิแห้งประมาณ 1-1.5 กรัมมาฝนกับน้ำทาน (ราก)[3]
18. ดอกจะมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ จิตใจชุ่มชื้น ชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย [4]
19. มีการนำดอกมะลิผสมเข้ายาหอมที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน อย่างเช่น ตำรับยาหอมนวโกฐ ยาหอมเทพจิต ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมทิพโอสถ มีส่วนประกอบหลักคือดอกมะลิ และมีการใช้เป็นส่วนผสมตำรับยามหานิลแท่งทอง ยาแก้ไข้มิรู้จักสติสมปฤดี ยาประสะจันทน์แดง เป็นต้น (ดอก)[4]
20. ใบมะลิสามารถช่วยขับน้ำนมของผู้หญิงได้ (ใบ)[5]
21. รากของมะลิมีรสเผ็ดขม จะเป็นยาเย็น มีพิษนิดหน่อย สามารถใช้เป็นยาแก้ปวด ยาชาได้ โดยนำรากมะลิสดประมาณ 1-1.5 กรัม มาต้มกับน้ำทานเป็นยาแก้ปวด (ราก)[1],[3]
22. สามารถนำดอกสดมาตำใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง ทาฝีหนอง แก้ปวดหูชั้นกลาง ผิวหนังผื่นคัน และเยื่อตาอักเสบ (ดอก)[1],[4]
23. สามารถช่วยแก้ฝีหนองได้ (ใบ, ดอก)[3]
24. สามารถช่วยบำรุงครรภ์รักษาได้ (ดอก)[4]
25. สามารถนำดอกมะลิสดหรือดอกมะลิแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม มาต้มกับน้ำ ใช้ทานเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้โรคบิด (ดอก[1],[4], ดอกและใบ[3])
26. รากของมะลิสามารถใช้เป็นยาแก้โรคที่เกี่ยวกับทรวงอกได้ (ราก)[1]
27. ใช้ดอกมะลิแก่เข้ายาหอมเป็นยาแก้หืด (ดอก)[5]
28. สามารถตำดอกมะลิสดแล้วใส่พิมเสน นำมาใช้สุมหัวเด็กแก้ตัวร้อน แก้ซาง แก้หวัด (ดอก)[4]
29. สามารถนำใบมะลิสดประมาณ 3-6 กรัม มาต้มกับน้ำทานเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[1],[5]
30. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟันได้ โดยนำรากมะลิสดมาทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าให้ร้อน แล้วนำมาพอกตรงบริเวณที่ปวด (ราก)[3],[10]
31. ถ้าปวดฟันผุ ให้นำรากตากแห้งมาบดเป็นผง ผสมไข่แดงต้มสุก จนได้ยาที่เหนียวข้น แล้วนำมาใช้ใส่ในรูฟันผุ (ราก)[10]
32. ใช้รากมะลิสดมาทำเป็นยาล้างตาแก้เยื่อตาอักเสบ (ราก)[1]
33. รากกับใบของมะลิใช้ทำเป็นยาหยอดตาได้ (ใบ, ราก)[5] บ้างก็บอกว่าใช้ดอกสดมาล้างด้วยน้ำสะอาด ต้มกับน้ำให้เดือดสักครู่ แล้วเอาน้ำที่ได้มาใช้ล้างตาแก้ตาแดง เยื่อตาขาวอักเสบ (ดอก)[10]
34. สามารถนำดอกมะลิสดมาตำละเอียดแล้วนำมาใช้พอกขมับ ช่วยแก้ปวดศีรษะ (ดอก)[1]
35. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ นำรากมะลิมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)[9]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • จากการทดสอบความเป็นพิษ ปรากฏว่าสารที่สกัดได้จากดอกมะลิด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ อัตราส่วน 1:1 ในขนาดเทียบเท่ายาผง 10 กรัมต่อกิโลกรัม ไม่เป็นพิษกับหนูถีบจักร ไม่ว่าให้โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือป้อน สารสกัดที่ได้จากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ อัตราส่วน 1:1 เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ปรากฏว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่า 1 กรัมต่อกิโลกรัม[4]
  • ดอก มีสาร methyl isoeugenol, caryophyllene oxide, farnesyl acetate, benzyl benzoate ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa และเชื้อรา Aspergillus niger[4]
  • จากการทดสอบตำรับยาที่มีน้ำมันหอมระเหยในตำรับ 3-20% มีน้ำมันหอมระเหยจากมะลิคิดเป็น 50-90% ปรากฏว่ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ[4]
  • น้ำมันระเหยจากดอก ทำให้ระยะเวลาการหลับของยา pentobarbital สั้นลง โดยไปกระตุ้นประสาทสัมผัสกลิ่น และสาร phytol[4]
  • นำรากที่สกัดด้วยน้ำมาทดลองกับหัวใจกบกับกระต่ายที่อยู่นอกตัว ปรากฏว่าทำให้หัวใจเต้นช้าลง และเมื่อทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกตัวหนูกับกระต่ายทดลอง ปรากฏว่ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นมดลูกที่ตั้งท้องและไม่ได้ตั้งท้องให้บีบตัวแรงขึ้น[3]
  • สาร jasmolactone B และ D ที่แยกจากดอกมะลิพวงจะออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโคโรนารี (coronary vasodilating), กระตุ้นหัวใจ (cardiotropic activities) อาจสนับสนุนการนำดอกมะลิมาใช้ในตำรับยาหอมในการรักษาอาการวิงเวียน เป็นลม ที่มีการใช้ในยาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ[4]
  • ดอกมะลิ มีน้ำมันระเหยอยู่ประมาณ 0.2-0.3% น้ำมันระเหยที่ได้จากดอกมะลิพบสาร Methyl benzoate, Jasmine lactone, hexenyl benzoate, Caryophyllene, Benzyl acetate, Benzyl alcohol, Methyl jasmonte, Benzyl alcohol ester, Cadinene, Geraniol, Jasmone, Linalool และพบสาร Linalyl benzoate, Pipid และพบสาร Sambacin, Jasmine ในใบ และพบสาร Sterols, Alkaloids ในราก[3],[4]
  • น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากดอกมีฤทธิ์ไล่หมัดได้ดีมากกว่าสารเคมี diethyltoluamide[4]
  • สารสกัดเมทานอลจากดอกแห้งจะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus sanguinis ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 1 mg/ml สารสกัดดังกล่าวมีผลกับสุขภาพช่องปาก[4]
  • กลิ่นชามะลิที่มีสารสำคัญ (R)-(-)-linalool ปรากฏว่าช่วยทำให้สงบในอาสาสมัคร 24 คน[4]
  • เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากรากมะลิด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำในปริมาณ 1-8 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม มาฉีดเข้าช่องท้องสัตว์ทดลอง ปรากฏว่าทำให้สัตว์ทดลองหลับได้ดี หลับสบาย ช่วยทำให้สงบนิ่ง ถ้าใช้สารนี้ในปริมาณที่เยอะขึ้น แล้วฉีดให้กบจะทำให้กบเป็นอัมพาตทั้งตัว แสดงให้เห็นว่าสารดังกล่าวจะมีฤทธิ์ยับยั้งประสาทส่วนกลางของสัตว์[3]
  • น้ำรากสดคั้น เมื่อทดลองกับสัตว์ทดลอง อย่างเช่น การฉีดเข้าช่องท้องของกบ หนูใหญ่ หนูตะเภา สุนัข นกพิราบ กระต่าย ในปริมาณไม่เท่ากัน ปรากฏว่าทำให้การเต้นหัวใจของกระต่ายกับกบเต้นช้าลง ทำให้กล้ามเนื้อกบคลายตัว ทำให้หลอดเลือดดำกระต่ายขยายตัวขึ้น ทำให้มีฤทธิ์กดประสาทกระต่าย ทำให้กระต่ายเคลื่อนไหวช้าลง[1]
  • ลำต้นกับใบ พบสารสำคัญหลายกลุ่ม อย่างเช่น irridoid glycoside, flavonoid, triterpenoid เช่น trans-3-hexenyl butyrate, linalool, d-fenchene, jasminin, sambacin, rutin, sambacoside A, E, F, benzyl acetate, cis-linalool oxide, quercetin, isoquercetin, limonene, methyl benzoate, kaempferol-3-rhamnooglycoside, methyl salicylate, myrcene [4]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “มะลิ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 639-641.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะลิลา Arabian Jasmine”. หน้า 128.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “มะลิ”. หน้า 454.
4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะลิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [17 พ.ค. 2014].
5. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [17 พ.ค. 2014].
6. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะลิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/. [17 พ.ค. 2014].
7. ไขปริศนา พฤกษาพรรณ, สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. “มะลิลา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/. [17 พ.ค. 2014].
8. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
9. โรงเรียนอุดมศึกษา จังหวัดนนทบุรี. “ดอกมะลิ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.udom-suksa.com. [17 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org/
2. https://www.gardenersworld.com/