กระแจะ
กระแจะ สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป รวมไปถึงป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดหรือการปักชำด้วยกิ่งอ่อนหรือราก มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Limonia crenulata Roxb., Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กระแจะจัน ขะแจะ (ภาคเหนือ), ตุมตัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[1], บ้างก็ว่าภาคกลาง[2]), พญายา (ราชบุรี, ภาคกลาง), ตะนาว (มอญ), พินิยา (เขมร), กระแจะสัน, ตูมตัง, จุมจัง, จุมจาง, ชะแจะ, พุดไทร, ฮางแกง, ทานาคา[1],[2],[3],[4],[5]
ลักษณะของกระแจะ
- ต้น[1],[3],[4],[5]
– เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น หรือไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
– ต้น มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร
– ลำต้น มีความเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ
– กิ่งก้าน จะตั้งฉากกับลำต้น
– กิ่งอ่อนและยอดอ่อน จะเกลี้ยง
– เนื้อไม้ เป็นสีขาว
– เปลือกลำต้น เป็นสีน้ำตาล มีผิวขรุขระ
– ลำต้นและกิ่ง จะมีหนามที่แข็งและยาวอยู่
– หนามจะออกแบบเดี่ยว ๆ หรืออาจจะออกเป็นคู่ ๆ และมีความยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร
– เนื้อไม้ที่ตัดมาใหม่ ๆ จะเป็นสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ - ใบ[1]
– เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว
– ออกใบเรียงสลับกัน
– มีใบย่อยประมาณ 4-13 ใบ
– ใบย่อย เป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ
– โคนและปลายใบ จะสอบแคบ
– ขอบใบ เป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้น ๆ
– ใบ มีความกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร
– ก้านใบ แผ่เป็นปีกทั้งสองข้างและเป็นช่วง ๆ ระหว่างคู่ของใบย่อย
– เนื้อใบ อาจจะบางเหมือนกับกระดาษหรืออาจจะหนาคล้ายกับแผ่นหนัง
– เนื้อใบ มีผิวเนียนและเกลี้ยง
– เส้นแขนงของใบ จะมีข้างละ 3-5 เส้น
– ก้านช่อใบ มีความยาว 3 เซนติเมตร - ดอก[1]
– ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ
– ออกรวมกันเป็นกระจุกตามซอกใบหรือตามกิ่งเล็ก ๆ
– ดอก มีขนค่อนข้างนุ่มและเป็นสีขาวหรือสีขาวอมสีเหลืองขึ้น
– กลีบดอกมี 4 กลีบ
– ดอกเมื่อบานแล้วจะแผ่ออกหรือลู่ไปทางส่วนของก้านเล็กน้อย
– กลีบดอกเกลี้ยง มีต่อมน้ำมันอยู่ประปราย
– กลีบดอก เป็นรูปไข่แกมรูปรี มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตรและมีความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร
– ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 ก้าน มีความยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร
– ก้านชูอับเรณูเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปลิ่มแคบ
– อับเรณูเพศผู้ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร
– รังไข่เพศผู้ จะอยู่เหนือวงกลีบ เกือบกลม มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
– รังไข่เพศผู้ จะมีต่อมน้ำมันอยู่ โดยจะมีอยู่ 4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลอยู่ 1 เมล็ด
– ก้านเกสรตัวเมีย มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมันอยู่ใต้ยอดเกสรตัวเมีย
– ยอดเกสรตัวเมียส่วนปลายจะแยกเป็นแฉก 5 แฉก
– จานฐานดอกเกลี้ยง
– มีก้านช่อดอกยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร
– ก้านดอกยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร
– กลีบเลี้ยงดอกมีอยู่ 4 กลีบ เป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยม
– กลีบเลี้ยง มีความกว้างและมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม
– ผิวด้านใน จะเกลี้ยง
– ผิวด้านนอก มีขนละเอียดและมีต่อมน้ำมัน
– จะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม - ผล[1]
– ผล เป็นผลสด
– ผล เป็นรูปทรงกลม
– ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
– ผลอ่อน จะเป็นสีเขียว
– ผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ
– มีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-4 เมล็ด
– เมล็ด เป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน
– ผล ความกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร
– ก้านผล มีความยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร
– ผลจะแก่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ทานาคา
- ทานาคาในปัจจุบันนั้นได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่มากขึ้น เช่น[5]
– ผลิตภัณฑ์ผงทานาคาบดละเอียด
– ทานาคาชนิดครีม
– ควรทดสอบการแพ้กับท้องแขนก่อนนำมาใช้
– หากไม่มีอาการแพ้หรืออาการผิดปกติก็สามารถนำมาใช้กับใบหน้าได้ - กลิ่นหอมของทานาคานั้นมาจากกลุ่มคูมาลิน 4 ชนิด (coumarins)[5]
– เป็นสารที่ไม่มีความเป็นพิษต่อหน่วยพันธุกรรม
– ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์แต่อย่างใด - สารอาร์บูติน (Arbutin) จากลำต้น[5]
– เป็นสารที่ทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินได้ ที่เมลานินเป็นต้นเหตุของการเกิดฝ้า กระ และรอยหมองคล้ำด่างดำของผิว - กระแจะ[5]
– มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (เอนไซม์ที่กระตุ้นในการเกิดเม็ดสีเมลานิน) - ผง และสารสกัดน้ำยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน[5]
– ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์
– ช่วยต้านการอักเสบ - สาร Suberosin[5]
– มีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย
– ช่วยป้องกันและรักษาสิวได้ - จากการวิจัยพบว่า มีสารสำคัญที่ชื่อว่า Marmesin[5]
– เป็นสารที่ช่วยกรองแสงอัลตราไวโอเลตที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง โดยไปกระตุ้นการสังเคราะห์เอนไซม์แมทริกซ์-เมทัลโลโปรตีเนส-1 (matrix-metalloproteinase-1, MMP-1) ซึ่งจะไปตัดกับเส้นใยโปรตีนคอลลาเจนที่มีหน้าที่ช่วยคงความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อผิวหนัง
– ลดการสังเคราะห์โปร-คอลลาเจน
– พบว่าสารสกัดจากลำต้นสามารถช่วยยับยั้ง MMP-1 และช่วยเพิ่มการสร้างโปร-คอลลาเจน
สรรพคุณของกระแจะ
- ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก[6]
- ช่วยในการคุมกำเนิด[6]
- ช่วยแก้ลมบ้าหมู[1]
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดตามข้อ[1]
- ช่วยแก้อาการเส้นตึงได้[1]
- ช่วยแก้โรคประดง[1]
- ช่วยแก้อาการร้อนใน[1]
- ช่วยสมานแผล[1]
- ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย[1],[2],[6]
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย[2]
- ช่วยแก้ไข้ ถอนพิษไข้[1],[2],[6]
- ช่วยแก้พิษ[1],[2]
- ช่วยแก้กษัย[6]
- ช่วยแก้อาการผอมแห้ง[6]
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร[1]
- ช่วยบำรุงกำลังและเป็นยาบำรุงร่างกาย[1],[2],[6]
- ช่วยระบายได้[1],[2],[6]
- ช่วยรักษาโรคในลำไส้[1],[2]
- ช่วยแก้อาการปวดท้องบริเวณลำไส้ใหญ่และบริเวณลิ้นปี่[1],[2]
- ช่วยขับเหงื่อ[1],[2],[6]
- ช่วยแก้ไข้ ถอนพิษไข้[1],[2],[6]
- ช่วยแก้อาการผอมแห้ง[6]
- ช่วยบำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น[1],[6]
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร[6]
- ช่วยแก้ไข้ ถอนพิษไข้[1],[2],[6]
- ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย[6]
- ช่วยขับผายลม[1],[6]
ประโยชน์ของกระแจะ
- กิ่งอ่อน สามารถนำมาใช้ผสมทำเป็นธูปหรือแป้งที่มีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ได้[4]
- ราก สามารถนำมาฝนกับน้ำสะอาดใช้สำหรับทาหน้าแทนการใช้แป้งได้ ซึ่งจะทำให้ผิวเป็นสีเหลือง และช่วยแก้สิว แก้ฝ้าได้[1],[2]
- เนื้อไม้ หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน ๆ ชาวพม่าจะนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประทินผิวที่เรียกว่า “กระแจะตะนาว” หรือ “ทานาคา” (Thanaka)
- เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานแกะสลักได้ เนื่องจากเนื้อไม้มีความมันเลื่อมและเนื้อหยาบแต่สม่ำเสมอ มีความแข็ง น้ำหนักปานกลาง และมีความเหนียว[3]
สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “กระแจะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [28 ม.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “กระแจะ”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 83.
3. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
4. มูลนิธิสุขภาพไทย. “กระแจะ ไม้พื้นเมืองกลิ่นหอม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [28 ม.ค. 2014].
5. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “หน้าสวยด้วย ทานาคาของเมียนม่าร์หรือกระแจะของไทย”. (รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th. [28 ม.ค. 2014].
6. มหาวิทยาลัยนเรศวร. “สมุนไพรไทยกระแจะ”. (วชิราภรณ์ ทัพผา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th. [28 ม.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/observation/show/362329
2. https://sanjeetbiotech.blogspot.com/2016/01/naringi-crenulata-roxb-nicolson-charm.html
3. https://medthai.com/