ต้นชะคราม คือ
ชะคราม ( Seablite ) เป็น พืชล้มลุกมีอายุหลายปี การขยายพันธ์นั้นใช้การปักชำมีลำต้นแตกกิ่งทรงพุ่มขนาดเล็ก จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทุกประเทศทั่วโลก ทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกา และแอฟริกาส่วนประเทศไทยพบได้บริเวณแถบจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับทะเลทางภาคตะวันออกและต่อเนื่องมาจนถึงภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งจะพบการเจริญเติบโตตามพื้นที่โล่งดินเค็มถัดจากแนวป่าโกงกางหรืชายทะเลออกมาอาทิ ชายป่าโกงกาง และนาเกลือ เป็นต้น
ชะคราม Sueda maritima เป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Suaeda maritime ( L. )
Dumort. จัดอยู่ในวงตระกูลวงศ์ Chenopodiaceae มีชื่อเรียกของต้นชะครามแต่ละท้องถิ่นภาคกลาง เรียกว่า ต้นชะคราม จังหวัดสมุทรสาคร เรียกว่า ชั้วคราม ส่าคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชะคราม
ลำต้น มีลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 0.3 – 1.5 เมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะมีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีแดงเรื่อ
ใบ มีลักษณะเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงสลับเบียดแน่นยาว มีความยาวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 – 5 มิลลิเมตร ใบอวบน้ำจะมีสีเขียวสด แต่ถ้าในฤดูแล้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอ่อนๆ
ดอก มีขนาดเล็กเป็นดอกสมบูรณ์เพศออกดอกที่ปลายยอดเป็นช่อแขนงความยาวของช่อดอกประมาณ 5 – 15 เซนติเมตรแต่ละแขนงมีดอกย่อยเกาะกันเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก ซ้อนกันตามความยาวของก้านช่อดอกมีใบประดับย่อยที่ฐานวงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานมน มีวงกลีบรวม จำนวน 5 กลีบ หรือไม่มีเลย เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบรวม มีจำนวนเท่ากับกลีบรวมหรือน้อยกว่า ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ มีช่องเดียว
ผล และเมล็ด มีรูปทรงกลมรี ขนาดเล็ก ขนาดผลประมาณ 2 มิลลิเมตร ผิวเรียบเปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลประกอบด้วยเมล็ด 1 เมล็ดที่มีลักษณะกลมแบน ยาวประมาณ 0.5 – 0.8 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลและเป็นมันวาว เมื่อเมล็ดแก่จะแตกออกเป็น 2 ซี่ ภายในมีเมล็ดแก่มีเมล็ดย่อยจำนวนมากเมื่อผลแก่จะแตกหลุดและปลิวไปตามลม และเมื่อตกในพื้นดินที่มีความชุมชื้นจะงอกขึ้นมาเป็นต้นใหม่
ราก มีลักษณะเป็นรากแก้ว เป็นรากที่งอกจากเมล็ดและหยั่งลึกลงไปในดินทางแนวดิ่งทำให้ต้นชะครามยืนต้นอยู่ได้และมีรากแขนงเป็นรากที่แตกแขนงจากรากแก้วแผ่ออกไปตามแนว นอกจากนั้นยังมีรากที่เกิดตามบริเวณข้อระดับต่ำของบริเวณลำต้นแก่ที่มีผิวหยาบ
คุณค่าทางโภชนาของชะคราม
ใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญ
โปรตีน 1.81 % |
ไขมัน 0.15 % |
กากใยอาหาร 2.40 % |
คาร์โบไฮเดรต 2.97 % |
แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม |
โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม |
วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม |
เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม |
สรรพคุณ และประโยชน์
ชะครามมีสรรพคุณ และประโยชน์สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ
ส่วนที่ใช้ได้จากใบ ราก และลำต้น สรรพคุณของชะคราม มีดังนี้
- ช่วยรักษาแผลฝี
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยบำรุงเส้นผม
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงกระดูก
- ช่วยแก้อาการตามัว
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
- ช่วยแก้อาการผื่นคัน
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
- ช่วยรักษาโรคคอพอก
- ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
- ช่วยรักษากลากเกลื้อน
- ช่วยรักษาโรคหนองใน
- ช่วยรักษาโรคโกโนเรีย
- ช่วยรักษาแผลบวมหนอง
- ช่วยกระตุ้นระบบประสาท
- ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
- ช่วยรักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย
- สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยรักษาอาการปวดตามเส้นเอ็น
ประโยชน์ของชะครามทางด้านการแพทย์
มีการวิจัยพบสารสกัดสำคัญของชะคราม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ประโยชน์ของชะครามทางด้านเมนูอาหาร
นิยมนำยอดอ่อน และใบอ่อน มาประกอบอาหารได้หลายเมนูเพื่อเพิ่มรสเค็มให้แก่อาหาร
อาทิ ไข่เจียวใบชะคราม แกงส้ม ห่อหมกใบชะคราม พะแนงหมู – เนื้อ แกงเลียงใบชะคราม
มัสมั่น แกงหอยแครง แกงปู รวมถึงรับประทานเป็นผักสดคู่กับน้ำพริกหรืออาหารอื่นๆ
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ชะคราม ผักกลิ่นฉุน สมุนไพร ประโยชน์และโทษของใบชะคราม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://fongza.com [17 กรกฎาคม 2562].
ชะคราม สมุนไพร พืชล้มลุก ประโยชน์และโทษของใบชะคราม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://beezab.com [17 กรกฎาคม 2562].
ชะคราม ประโยชน์ และสรรพคุณชะคราม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://puechkaset.com [17 กรกฎาคม 2562].