ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

0
1412
ข้าวเย็นใต้
ข้าวเย็นใต้ สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ยับยั้งเซลล์มะเร็ง เป็นไม้เลื้อยมีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกมีสีเหลืองอมเขียวและมีขนาดเล็ก ผลมีสีเขียว และผลแก่มีสีแดงดำ
ข้าวเย็นใต้
เป็นไม้เลื้อยมีหัวอยู่ใต้ดิน ดอกมีสีเหลืองอมเขียวและมีขนาดเล็ก ผลมีสีเขียว และผลแก่มีสีแดงดำ

ข้าวเย็นใต้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax glabra Roxb.[1] อยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE)[2] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ยาหัวข้อ(ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์ใต้(ภาคใต้), ยาหัว(เลย, นครพนม), ถู่ฝุหลิง(ภาษาจีน), ข้าวเย็นโคกขาว เป็นต้น[1],[2],[4],[8]

ลักษณะของข้าวเย็นใต้

  • ต้น เป็นไม้เลื้อยมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นและเถามีสีน้ำตาลเข้ม เหง้ามีรูปร่างไม่แน่นอนลักษณะแบนหรือกลมเป็นก้อน มีก้อนแข็งนูนขึ้น เหมือนแยกเป็นแขนงสั้นๆ มีผิวสีเทาน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง มีหลุมลึกและนูนขึ้นอยู่ตามผิว มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกรากฝอย เนื้อมีสีขาวอมเหลือง ความกว้าง 2-5 เซนติเมตรและความยาว 5-22 เซนติเมตร [1],[2]
  • ดอก เป็นดอกช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกอยู่ประมาณ 10-20 ดอก มีสีเหลืองอมเขียวและมีขนาดเล็กมีกลีบดอก 6 กลีบยาว 2.5-3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 4-15 มิลลิเมตร[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ โคนใบมน ปลายใบบางแหลม ผิวใบมัน มีเส้นตามยาวอยู่หน้าใบ 3 เส้นเห็นได้ชัดเจน ความยาวของใบ 5-14 เซนติเมตรและความกว้างของใบ 2.5-5 เซนติเมตร มีผงสีขาวคล้ายแป้งอยู่บริเวณหลังใบ ก้านใบมีความยาว 9-14 มิลลิเมตร[2]
  • ผล เป็นทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-7 มิลลิเมตร ผลมีสีเขียว และผลแก่มีสีแดงดำ[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข้าวเย็นใต้

  • จากการทดลองใช้น้ำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ต้ม อัตราส่วน 1 ต่อ 2 ฉีดเข้าช่องท้องของกระต่ายทดลองและหนูขาว พบว่าช่วยในการห้ามเลือดที่ออกในบริเวณช่องท้องได้[2]
  • พบน้ำมันหอมระเหย 11.2% ในเมล็ด และพบสาร ได้แก่ Diosgennin, Parillin, Saponins, Saponin, Smilacin, Smilax, Tanin, Alkaloid, Amino acid, Tigogenin[2]
  • น้ำที่ได้จากการต้ม ช่วยในการรักษาโรคเรื้อนกวางในคนและมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดเริมในหลอดทดลอง[8]
  • การทดลองนำน้ำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ต้ม อัตราส่วน 1 ต่อ 4 มาให้หนูทดลองทาน พบว่าช่วยยับยั้งเชื้อ Staphylo coccus และเชื้อราได้[2]

สรรพคุณของข้าวเย็นใต้

1. หัว ใช้แก้อาการข้อเข่าทำงานไม่ปกติ(หัว)[1]
2. สามารถรักษาอาการฟกช้ำเคล็ดขัดยอกได้ (หัว)[2]
3. สามารถนำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้มาบดเป็นผง รวมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงาใช้ทารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้(หัว)[2]
4. ใช้ในการแก้ฝีทุกชนิดได้ โดยใช้หัว 1 ส่วน, หัวข้าวเย็นเหนือ, ขันทองพยาบาท, กำมะถันเหลือง, กระดูกควายเผือก, กระดูกม้า 4 บาท, เหง้าสับปะรดหนัก 10 บาท, หัวต้นหนอนตายหยาก หนักอย่างละ 20 บาท, ผิวไม้รวก 3 กำมือ, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น นำมาต้มในหม้อดิน ดื่มหลังอาหารวันละ 3 เวลาครั้งละ 1 ถ้วยชา นอกจากจะแก้ฝีได้ยังสามารถใช้รักษาแผลในหลอดลมและในลำไส้ แก้โรคแผลกลายได้ ข้อมูลจากตำรับยาแก้ฝีทุกชนิด(หัว)[3]
5. หัวสามารถใช้รักษาเม็ดผื่นคัน แก้ฝีแผลเน่าเปื่อย บวมพุพอง ทำให้แผลฝีหนองยุบ อีกทั้งยังใช้แก้อาการปวดบวม เป็นฝีหนองบวมได้(หัว)[1],[4],[6]
6. หัวใช้แก้น้ำเหลืองเสียได้ มีรสหวานเอียนเบื่อ(หัว)[2],[4],[6],[8]
7. ใช้รักษาอาการตกขาว ระดูขาวของสตรีได้(หัว)[2]
8. สามารถใช้รักษาโรคบุรุษ และแก้ระดูขาวของสตรีได้ ด้วยการใช้หัว 1 บาท, หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, เกลือทะเล, ต้นตะไคร้ทั้งต้น(รวมรากด้วย) 20 บาท, ต้นบานไม่รู้โรยดอกขาวทั้งต้น(รวมรากด้วย) 1 ต้น นำมาต้มรวมกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน จากนั้นใช้ดื่มวันละ 2 ครั้งก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้าและเย็น ข้อมูลจากตำรับยาแก้ระดูขาวของสตรีและโรคบุรุษ(หัว)[3]
9. ใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ โดยใช้ หัวข้าวเย็นใต้, หัวข้าวเย็นเหนือ, เหง้าสับปะรด, พริกไทยล่อน, รากลำเจียก, จุกกระเทียม, จันทน์ขาว, จันทน์แดง, จุกหอมแดง, สารส้ม, แก่นจำปา และเครือส้มกุ้ง นำมาต้มในหม้อดินและดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา เช้า กลางวัน เย็น(หัว)[3]
10. มีสรรพคุณในการแก้ปัสสาวะพิการ (หัว)[6]
11. นำมารักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ (หัว)[2]
12. ใช้รักษาอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่คอ(หัว)[3]
13. ช่วยบรรเทาอาการไอได้ โดยใช้หัวข้าวเย็นเหนือและหัวข้าวเย็นใต้อย่างละ 5 บาท ต้มในหม้อดินและเติมเกลือทะเลเล็กน้อย ให้ดื่มเช้าและเย็นรอบละครั้ง(หัว)[2]
14. มีการใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือมาผสมกับตัวยาในตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้(หัว)[3]
15. ใช้ในการขับไล่ความเย็น (หัว)[1]
16. สามารถขับลมชื้นในร่างกาย โดยใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้อย่างละ 30 กรัม, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียง, โกฐหัวบัว, โกฐเขมา อย่างละ 20 กรัม นำมาแช่กับเหล้าด้วยการใส่เหล้าให้ท่วมตัวยาทิ้งไว้ 7 วันหรือต้มกับน้ำดื่ม จากนั้นนำมารับประทาน(หัว)[2]
17. ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาตได้ ใบมีรสจืดเย็น(ใบ)[7]
18. มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าหัวข้าวเย็นใต้และหัวข้าวเย็นเหนือมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง จึงนิยมถูกนำมาใช้ในตำรับยารักษามะเร็งร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในหลายตำรับ[5]
19. ใช้ทำเป็นยาแก้มะเร็งได้ โดยนำบดยาหัวให้ละเอียดมาผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้งจากนั้นนำน้ำผึ้งมาผสม ทานวันละ 1 เม็ด(หัว)[6]
20. ทำเป็นยาบำรุงเลือดได้ด้วยการนำหัวมาต้มกับน้ำดื่ม
21. ใช้บรรเทาอาการปวดสำหรับหญิงอยู่ไฟหลังคลอดบุตรได้ ด้วยการนำหัวมาต้มกับน้ำทานเป็นยา(หัว)[6]
22. มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดข้อเข่า ปวดหลัง ปวดเอว หรืออาการหดเกร็งแขนและขา ดับพิษในกระดูก (หัว)[1],[2],[4],[6] และใช้รักษาอาการเอ็นพิการได้ (หัว)[4],[6]
23. สามารถนำมาแก้อาการอักเสบในร่างกายได้(หัว)[6]
24. ใช้ในการฆ่าเชื้อหนองได้(หัว)[6],[8]
25. นำหัวมาใช้แก้มะเร็งคุดทะราดได้(หัว)[4],[6]
26. ใช้แก้อาการพิษจากปรอท ช่วยระงับพิษ(หัว)[1]
27. ช่วยรักษาเนื้องอกบริเวณปากมดลูกได้ โดยนำข้าวเย็นเหนือและใต้อย่างละ 25 กรัมนำมาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ให้เหลือน้ำประมาณ 100 ซีซี หรือประมาณ 3 ชั่วโมง แบ่งทาน 4 ครั้ง ครั้งละ 25 ซีซี(หัว)[2]
28. ใช้ในการรักษากามโรค เข้าข้อออกดอก และโรคซิฟิลิส(หัว)[1],[2],[4],[6]
29. ข้อมูลจากตำรับยาพบว่า ใช้ทำเป็นยารักษาหนองในทั้งชายและหญิงได้ ด้วยการนำหัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ มารวมกับสมุนไพรอีก 14 ชนิดจากนั้นน้ำมาต้มเป็นยา(หัว)[3]
30. ใช้ผลมาทำเป็นยาแก้ลมริดสีดวงได้ ผลมีรสขื่นจัด(ผล)[7]
31. หัวช่วยในเรื่องของการขับปัสสาวะได้(หัว)[2]
32. ใช้แก้อาการกระหายน้ำ และร้อนในได้(หัว)[6]
33. มีสรรพคุณในการแก้ประดง (หัว)[4],[6]
34. ใช้แก้อาการน้ำมูกไหลได้(หัว)[1] อีกทั้งยังใช้ในการขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ หัวมีรสกร่อย เป็นยาเย็น(หัว)[2]
35. หัวมีการนำมาใช้รักษาอาการไข้อันเนื่องมาจากความเย็นชื้น (หัว)[1]
36. นำต้นมาทำเป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้ตัวร้อนได้ ต้นมีรสจืดเย็น(ต้น)[7]
37. สามารถช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้ โดยใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ไม้สัก และใบโพธิ์มาต้มในหม้อดิน ข้อมูลจากอีกตำรับระบุว่า ใช้หัวข้าวเย็นใต้ หัวข้าวเย็นเหนือ ต้นลูกใต้ใบ มาต้มกับน้ำดื่ม(หัว)[3]
38. มีการใช้เหง้ามาทำเป็นยาบำรุง ข้อมูลจากตำรับยาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซีย(หัว)[6]

วิธีการใช้งาน

  • ใช้หัวใต้ดินเป็นยาร่วมในยาต้มทุกชนิดโดยหมอยาพื้นบ้านในจังหวัดสุโขทัย[8]
  • เหง้าควรเก็บในฤดูร้อนและในฤดูใบไม้ร่วง จากนั้นตัดรากฝอยทิ้ง ล้างแล้วทำให้แห้ง หรืออาจจะฝานเป็นแผ่นบางๆ ขณะหัวสด จากนั้นทำให้แห้ง[1]
  • ใช้ต้มกับน้ำรับประทาน หากเป็นหัวแห้งใช้ในขนาด 15-60 กรัม[1],[2]
  • ข้าวเย็นใต้ และข้าวเย็นเหนือมีสรรพคุณที่เหมือนกัน มักจะถูกใช้คู่กันเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง” ข้อมูลในหนังสือสารานุกรมสมุนไพรของอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวชระบุไว้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สมุนไพรในเภสัชตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. “ข้าวเย็นใต้”. (ทวีศักดิ์ สุนทรธนศาสตร์). อ้างอิงใน: People’s Rebublic of China’s Pharmacopoeia 1985. Vol.1 p.11-12.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ข้าวเย็นใต้”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 130.
3. มติชนออนไลน์. “ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ในตำรับยาแผนไทย” อ้างอิงใน: หนังสือตำรายาหลวงพ่อศุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.matichon.co.th. [07 เม.ย. 2014].
4. การบำบัดและรักษามะเร็งทางเลือก อโรคยาศาล, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. “ข้าวเย็นใต้” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/. [07 เม.ย. 2014].
5. มูลนิธิสุขภาพไทย. “หมอพื้นบ้าน 3 จ.ใต้ ใช้สมุนไพรรักษามะเร็ง 26 ตำรับ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [06 เม.ย. 2014].
6. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ข้าวเย็น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [07 เม.ย. 2014].
7. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ข้าวเย็น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [07 เม.ย. 2014].
8. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ยาหัว”. หน้า 198.
9. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. http://www.epharmacognosy.com