ย่านาง
ย่านาง สรรพคุณช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ เถากลม เหนียว เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเทา ใบเดี่ยว ดอกช่อ ผลสุกเป็นสีส้มอมแดง ชื่อสามัญ คือ Bai-ya-nang ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Limacia triandra Miers ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cocculus triandrus Colebr., Menispermum triandrum Roxb., Tiliacora triandra Diels จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE) ชื่ออื่น จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี) ในภาคกลางนั้นจะเรียก “เถาย่านาง”
สรรพคุณใบย่านาง
- ช่วยรักษาเนื้องอก
- ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
- ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
- ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
- ช่วยรักษาอาการท้องเสีย
- ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
- ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
- ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
- ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเฉียบพลัน
- ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
- ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
- ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
- ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
- ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกาย
- ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
- ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูก และเสมหะ
- ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน
- ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
- ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
- ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
- ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าเปราะ
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
- ช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
- ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน
- ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
- ราก ช่วยแก้อาการเบื่อเมา
- ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก
- ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
- ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
- ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
- ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
- ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
- ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
- ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
- ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา
- ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
- ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือมีเข็มแทง
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว
- ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
- ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
- ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือด
ประโยชน์ของใบย่านาง
- การนำใบมาแปรรูปเป็นแคปซูล
- การนำใบมาแปรรูปเป็นสบู่
- การนำใบมาแปรรูปเป็นแชมพู
- การนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร
- เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรส
- ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมให้อาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง
วิธีทำน้ำใบย่านาง
วัตถุดิบ
– ใบ 10-20 ใบ
– ใบเตย 3 ใบ
– บัวบก 1 กำมือ
– หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
– ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ
– ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ
– ว่านกาบหอย 5 ใบ
วิธีทำ
1. นำใบสมุนไพรต่าง ๆ ที่เตรียมมาตัดให้เป็นชิ้นเล็ก
2. นำใบไปโขลกหรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียดจนเป็นน้ำ
3. จากนั้นนำมากรองผ่านผ้าขาวบางหรือกระชอนอีกที
4. เป็นอันเสร็จ
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- เป็นสมุนไพรเย็น
- มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ
- มีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
คำแนะนำ
- ในการรับประทานนั้น ควรดื่มน้ำสด ๆ ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
- เมื่อทำเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
- สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มภายใน 3 วัน
- หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไป
- การรับประทานสมุนไพรอย่างเดียวนั้นไม่ใช่การแก้ไขปัญหาสุขภาพ ควรจะทำอย่างอื่นเสริมไปด้วยจะช่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- หากรู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว หรือกินแล้วรู้สึกไม่สบาย ให้นำน้ำไปผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง
หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน
อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.southseedbank.com/product/yanang-grass-jelly-vine-tiliacora-triandra-seeds/