เท้ายายม่อม หรือ “แป้งเท้ายายม่อม” ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย

0
2222
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง ผลเป็นรูปเกือบกลมหรือเป็นรูปทรงวงรี ปลายแหลมเรียว ผลห้อยลงและเป็นสีเขียว
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง ผลเป็นรูปเกือบกลมหรือเป็นรูปทรงวงรี ปลายแหลมเรียว ผลห้อยลงและเป็นสีเขียว

เท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม (East Indian arrow root) เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง เป็นแป้งที่ได้รับคำยกย่องจากโภชนบําบัดว่า มีคุณสมบัติที่เหมาะกับระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแป้งชนิดอื่น นอกจากนั้นยังนิยมนำมาผสมกับแป้งชนิดอื่นเพื่อให้ได้อาหารที่มีความเข้มเหนียวและเป็นมันวาว ซึ่งส่วนมากจะใช้ในการทำขนม และมีประโยชน์ในการนำมาพอกหน้ารักษาสิวและทำให้หน้าขาวได้อีกด้วย ทว่าแป้งเท้ายายม่อมแท้ในปัจจุบันนั้นค่อนข้างที่จะหายากพอสมควร

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของเท้ายายม่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “East Indian arrow root”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ไม้เท้าฤาษี” จังหวัดตราดเรียกว่า “บุกรอ” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “สิงโตดำ” จังหวัดระยองเรียกว่า “นางนวล” มีชื่ออื่น ๆ ว่า “ท้าวยายม่อม ว่านพญาหอกหลอก”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กลอย (DIOSCOREACEAE)

ลักษณะของเท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายและพบขึ้นหนาแน่นในบางพื้นที่ ยกเว้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักจะขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งระดับต่ำ ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทรายและตามป่าชายหาด ต้นเท้ายายม่อมจะยุบตัวเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวและใบจะเหลือง
หัวใต้ดิน : มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร ลักษณะของหัวเป็นรูปกลม กลมแบนหรือรูปวงรี ผิวด้านนอกบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อในหัวเป็นสีขาวใส
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเวียนเป็นแนวรัศมี ใบมีขนาดใหญ่และเว้าลึก เป็นรูปฝ่ามือ ปลายแยกออกเป็นแฉก 3 แฉก แต่ละแฉกขอบมีลักษณะเว้าลึก ปลายใบแหลม ก้านใบเป็นสีดำแกมเขียว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม แทงช่อสูงออกมาจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกจะออกที่ปลายยอด ก้านดอกเป็นสีม่วงอมเขียวมีลาย ช่อดอกจะมีประมาณ 1 – 2 ช่อ แต่ละช่อจะมีดอกประมาณ 20 – 40 ดอก กลีบรวมเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเขียวอมม่วงเข้ม มักจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม
ผล : เป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลมหรือเป็นรูปทรงวงรี ปลายแหลมเรียว ผลห้อยลงและเป็นสีเขียว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ที่ผิวเมล็ดจะมีลาย

สรรพคุณของเท้ายายม่อม

  • สรรพคุณจากเหง้า
    – บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ด้วยการนำเหง้ามาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
  • สรรพคุณจากหัว ทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ร้อนใน ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ดีต่อระบบทางเดินอาหาร
    – แก้ร่างกายอ่อนเพลียจากไข้ แก้อาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ บำรุงกำลัง ช่วยให้ชุ่มชื่นหัวใจ บำรุงร่างกายให้ฟื้นฟู ด้วยการนำแป้งจากหัวมาละลายกับน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวดแล้วตั้งไฟกวนจนสุกให้คนไข้รับประทาน
    – แก้อาการท้องเสียและบิด หยุดเลือดในกระเพาะและลำไส้ โดยชาวฮาวายนำหัวมาผสมกับน้ำและดินเคาลินสีแดงใช้กินเป็นยา
    – ช่วยห้ามเลือด ด้วยการนำแป้งที่ได้จากหัวโรยบริเวณแผล
    – แก้ผดผื่นคัน ด้วยการนำแป้งจากหัวละลายกับน้ำแล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการ
    – รักษาฝีแผล แก้ช้ำ ถอนพิษ ด้วยการนำแป้งมานวดกับน้ำอุ่นให้พอเป็นยางเหนียวแล้วใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการ
    – ป้องกันเชื้อราที่เท้า ด้วยการนำแป้งโรยในถุงเท้า
  • สรรพคุณจากราก เป็นยาขับเสมหะ
    แก้ไข้ โดยตำรายาพื้นบ้านอีสานนำรากเป็นยา
    – แก้ไส้เลื่อน ด้วยการนำรากผสมกับสมุนไพรอื่นแล้วต้มกับน้ำกินเป็นยาเย็นหรือเผาให้ร้อนเอาผ้าห่อแล้วนั่งทับ
  • สรรพคุณจากหัวและราก
    – แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษผึ้ง พิษจากแมงกะพรุนไฟ เป็นต้น ด้วยการนำหัวหรือรากมาฝนกับน้ำมะนาวใช้ทาเป็นยา

ประโยชน์ของเท้ายายม่อม

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร แป้งที่สกัดได้จากหัวนำมาใช้ประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด นิยมผสมกับแป้งชนิดอื่นเพื่อให้ได้อาหารที่มีความเข้มเหนียวและเป็นมันวาวใช้ทำขนมได้มากมาย สำหรับอาหารคาวจะนำมาใช้เป็นส่วนผสมในซุปเห็ดเจ ราดหน้า กระเพาะปลา หอยทอด เป็นต้น ดอกและยอดอ่อนนำมาต้มแล้วจิ้มกับน้ำพริกหรือนำยอดอ่อนมาผัดกับน้ำกะทิสดได้
2. ใช้บำรุงผิว ช่วยลดสิวฝ้า ทำให้หน้าขาว ด้วยการนำแป้งผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้สักครู่แล้วค่อยล้างออก หรือใช้ผัดหน้าแทนแป้งฝุ่นได้

เท้ายายม่อม มีส่วนหัวที่ใช้ทำแป้งซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน นอกจากจะเป็นแป้งที่ใช้ทำขนมและอาหารแล้วยังเป็นยาพอกหน้าเพื่อบำรุงผิวได้ เท้ายายม่อมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของหัว มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลัง แก้ไข้ แก้อาการท้องเสียและบิด ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร เป็นส่วนที่มีแป้งเหมาะสมต่อระบบทางเดินอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์

เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม ดีต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย
เท้ายายม่อม หรือ แป้งเท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินใช้ทำแป้ง
เท้ายายม่อม,แป้งเท้ายายม่อม,ไม้เท้าฤาษี,บุกรอ,สิงโตดำ,นางนวล,ว่านพญาหอกหลอก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ท้าวยายม่อม (หัว)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [10 ธ.ค. 2014].
หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน. (มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล). “เท้ายายม่อม”. หน้า 212.
จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๙, กันยายน ๒๕๓๒.
กลุ่มรักษ์เขาใหญ่. “เท้ายายม่อม… แป้งแท้แต่โบราณ อาหารฟื้นไข้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rakkhaoyai.com. [10 ธ.ค. 2014].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “สิงโตดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [10 ธ.ค. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/