โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )

0
8622
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงลมถูกทำลาย ทำให้ถุงลมที่อยู่บริเวณปลายต่อหลอดลมฝอยส่วนปลายพองโตกว่าปกติ
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงลมถูกทำลาย ทำให้ถุงลมที่อยู่บริเวณปลายต่อหลอดลมฝอยส่วนปลายพองโตกว่าปกติ

โรคถุงลมโป่งพองคืออะไร

โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือ โรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงลมถูกทำลาย ทำให้ถุงลมที่อยู่บริเวณปลายต่อหลอดลมฝอยส่วนปลายพองโตกว่าปกติ ซึ่งที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนในอากาศกับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดถูกทำลายเสียหาย สูญเสียความยืดหยุ่น และอาจร่วมกับมีถุงลมถูกทำลายเสียหาย

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง

เกิดจากสูดดมมลพิษทางอากาศ อาจจะอยู่ในรูปของฝุ่นควัน แก๊ส สารเคมีที่มีอานุภาพเล็กๆ เข้าไปยังปอดในระยะยาว นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ไม่ว่าเราสูบเอง หรือได้รับจากคนรอบข้างเป็นระยะเวลาหลายปีมีโอกาสที่จะเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง

  • อาการหายใจตื้น ( หายใจลำบาก )
  • อาการไอและมีเสมหะมาก
  • อาการเหนื่อยหอบ
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลง
  • หายใจถี่
  • หายใจเสียงดัง
  • อาการกำเริบเฉียบพลัน อาจส่งผลให้หัวใจล้มเหลวได้

การวินิจฉัยโรคโรคถุงลมโป่งพองจากแพทย์

แพทย์จะเริ่มทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ซักประวัติทางผู้ป่วยและสอบถามเกี่ยวกับอาการที่พบ จากนั้นอาจทำการทดสอบดังต่อไปนี้เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค

  • การทดสอบการทำงานของปอด ( Pulmonary Function Tests )
  • ใช้เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ( CT Scan ) ที่มีความละเอียดสูง
  • การเอกซเรย์ปอด ( Chest X-Ray ) สามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพองและแยกแยะสภาพปอดได้
  • การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือด เพื่อวัดค่าการถ่ายโอนออกซิเจนไปยังกระแสเลือด และกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้ดีเพียงใด
  • การตรวจเสมหะ

ภาวะแทรกซ้อนโรคโรคถุงลมโป่ง

  • ผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคปอดบวม จากการติดเชื้อของถุงลมและหลอดลมได้
  • ภาวะปอดแตก หรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เกิดจากเมื่ออากาศรั่วออกมาจากปอด และไปติดค้างอยู่ในช่องว่างระหว่างหน้าอกกับโพรงเยื่อหุ้มปอดแทน
    มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ถุงลมโป่งพองสามารถเพิ่มความดันโลหิตของหลอดเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว

แนวทางการรักษา

  • แพทย์จะให้ยาขยายหลอดลม เพื่อลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อทางเดินหายใจช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Corticosteroids ) เพื่อลดการอักเสบของปอด
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสลจากการติดเชื้อบริเวณหลอดลม

การป้องกันถุงลมโป่งพอง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 วัน
  • เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยให้เป็นนิสัยขณะออกจากบ้าน เพื่อป้องกันฝุ่น ควันพิษ สารเคมีต่างๆ ที่ปะปนมากับอากาศ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ ที่มีการก่อสร้างหรือมีฝุ่นละเอียงเป็นปริมาณมาก

สรุป

​​อันตรายใกล้ตัวบุหรี่ถือเป็นยาเสพติดที่ยังถูกกฎหมายและมีสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งกว่า 80 ชนิด ในประเทศไทยโรคถุงลมโป่งพองรุนแรงขึ้นทุกปี พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองกว่า 3 ล้านคน ขณะที่ทั่วโลกมีผู้ป่วยทั้งหมด 300 ล้านคน และที่น่าวิตกกังวล คือ ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโรคถุงลมโป่งพองในโรงพยาบาลมากกว่าปีละ 1 ล้านครั้ง

เอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ถุงลมโป่งพอง โรคที่ทรมานที่สุดจากการสูบบุหรี่ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.ashthailand.or.th [ 8 มิถุนายน 2562]

มารู้จักโรคถุงลมโป่งพองกันเถอะ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.si.mahidol.ac.th [ 8 มิถุนายน 2562]

Emphysema Diagnosis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.ucsfhealth.org [ 8 มิถุนายน 2562]

Emphysema (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.betterhealth.vic.gov.au [ 8 มิถุนายน 2562]

What Are the Stages of Emphysema? (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.healthline.com 8 มิถุนายน 2562]