เป็นเบาหวาน จะกินอย่างไรในเดือนเราะมะฎอน หรือรอมฎอน

0
3390
เป็นเบาหวาน จะกินอย่างไรในเดือนเราะมะฎอน
เดือนเราะมะฏอน คือทุกคนจะต้องทำการงดสิ่งที่เป็นข้อห้าม เช่น การงดรับประทานอาหารและการไม่ดื่มสิ่งใดในช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบฟ้า
เป็นเบาหวาน จะกินอย่างไรในเดือนเราะมะฎอน
ผลไม้อบแห้ง มีปริมาณน้ำตาลสูง แคลอรีสูงอุดมไปด้วยใยอาหารหรือไฟเบอร์ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีและไม่มีไขมันสะสม

เดือนเราะมะฎอน ( รอมฎอน )

สำหรับในช่วง เดือนเราะมะฏอน นั้นเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งว่าเดือนรอมฎอน ที่มีความสำคัญมากต่อชาวมุสลิมทั่วโลก เป็นเดือนที่นับว่าเป็นช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นช่วงที่ตรงกับเดือนเก้าตามจันทรคติ (ในรูปแบบของปฏิทินอิสลาม) ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่กินระยะเวลายาวนานเกือบถึงหนึ่งเดือนเต็ม ช่วงนี้ชาวมุสลิมจะมีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในทิศทางเดียวกันนั่นคือทุกคนจะต้องทำการงดสิ่งที่เป็นข้อห้ามตามที่ทางศาสนาอิสลามได้บัญญัติเอาไว้  อาทิเช่น การงดรับประทานอาหารและการไม่ดื่มสิ่งใดในช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบฟ้า เป็นต้น นั่นจึงยิ่งทำให้ในช่วงเดือนนี้กลายเป็นช่วงเวลาที่อาหารเช้ากลับต้องถูกปรับตัวให้เร็วมากขึ้นพอสมควร เพราะ อาหารเช้าถูกจำกัดให้ต้องทานในช่วงก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าเท่านั้นและจะสามารถทานอีกครั้งได้ก็ต่อเมื่อพระอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้าไปแล้ว สำหรับผู้ป่วยเบาหวานก็ควรมีการเตรียมตัวเช่นกันก่อนการถือศีลอด หรือเราะมะฎอนที่เรารู้จักกันนั่นเอง

การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ( รอมฎอน ) มีผลต่อผู้เป็นเบาหวานอย่างไร?

เราะมะฎอนจริง ๆ แล้วการถือศีลอดไม่ได้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวของสุขภาพคนเราแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามการถือศีลอดในช่วงเดือนเราะมะฎอนกลับกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจด้วยซ้ำไปแต่สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวานแล้วละก็อาจต้องอาศัยความระมัดระวังมากกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย ในช่วงของการถือศีลอดนั้นสามารถเกิดภาวะสำคัญ ๆ ได้หลายอย่าง เช่น

ภาวะน้ำตาลสูง เป็นภาวะที่อาจเกิดจากการที่ตัวบุคคลที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งต้องผ่านการฉีดอินซูลินคิดที่จะหยุดการฉีดอินซูลินแบบทันทีทันใดแต่ในความเป็นจริงควรที่จะต้องทำการฉีดอินซูลินต่อไปเรื่อย ๆ ดังเดิมจะดีกว่า และยิ่งหากใครที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 แล้วละก็ยิ่งควรต้องฉีดอยู่ที่สุด เนื่องจาก กลุ่มนี้ส่วนของตับจะค่อย ๆ มีการปล่อยกลูโคสออกมาในระหว่างที่กำลังอดอาหารและที่สำคัญอินซูลินได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของตอนหลังพระอาทิตย์ตกดิน (ช่วงที่สามารถทานอาหารได้แล้ว)
ภาวะขาดน้ำ เมื่อมีการถือศีลอดในช่วงเดือนเราะมะฎอนเกิดขึ้นเมื่อนั้นก็ย่อมต้องมีการละเว้นเรื่องของการดื่มน้ำตามมาด้วยอยู่แล้ว เป็นของควบคู่กัน ยิ่งหากวันใดที่มีสภาพอากาศที่ร้อนจัดนั่นย่อมเป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้นไปอีกและหากใครที่ต้องออกแรงมาก ๆ ในช่วงระหว่างวันจะยิ่งทำให้เกิดการเสียเหงื่อได้ง่าย เมื่อเกิดการเสียเหงื่อระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดก็จะค่อย ๆ สูงตาม เมื่อเกิดการขาดน้ำทีนี้สิ่งที่จะตามมาก็คือระดับความดันจะค่อย ๆ ลดต่ำลง เมื่อลดมากเข้านั่นย่อมทำให้มีโอกาสที่จะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้มากนั่นเอง เช่น การเกิดภาวะหมดสติ อาจเกิดการหมดเรี่ยงแรง อาจเกิดการบาดเจ็บหรือเกิดการกระดูกหัก ฯลฯ
การเกิดลิ่มเลือด ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นจะค่อนข้างมีความเสี่ยงมากต่อการเกิดการแข็งตัวของเลือดกว่าคนปกติ ยิ่งหากเกิดลิ่มเลือดพร้อมกับเกิดภาวะขาดน้ำแล้วละก็นั่นจะยิ่งกลายเป็นอะไรที่เลวร้ายแบบสองเท่าไปเลย หากรุนแรงมากกว่านี้อาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงอย่างเช่นการเกิดภาวะหัวใจวายหรือเส้นเลือดในสมองเกิดการตีบตันได้
ทั้งหมดที่เรากล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงรายละเอียดบางส่วนที่เราได้ทำการคัดเลือกมาเสนอให้กับคุณเพราะเราคิดว่าน่าจะพอเป็นประโยชน์ให้กับคุณไม่มากก็น้อย อาจพอทำให้คุณเกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณจะได้รับความรู้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างถูกต้อง
“จงระลึกไว้เสมอว่า…เรื่องของโรคเบาหวานอย่ามองข้ามหากคิดจะถือศีลอดแบบจริงจัง…อันตรายอยู่ใกล้ตัวทุกเมื่อ”

ประโยชน์ดี ๆ ที่คุณจะได้รับหากคุณทำการถือศีลอดในช่วงเดือนเราะมะฎอน

สำหรับเรื่องของการอดอาหารเป็นสิ่งที่ค่อนข้างที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากพอสมควร กล่าวคือ เป็นสิ่งที่สามารถทำให้ระดับน้ำตาล ระดับคอเลสเตอรอลและระดับของความดันเลือดค่อย ๆ ลดลงได้ ทางแพทย์ซึ่งเป็นชาวมุสลิมหลายท่านได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าการที่ชาวมุสลิมทำการถือศีลอดช่วงเดือนเราะมะฎอนเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะกับบุคคลที่กำลังรักษาตัวจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นอย่างยิ่ง เพราะกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งสารอินซูลิน มีระดับความรุนแรงของตัวโรคไม่สูงมากและยังเป็นกลุ่มที่สามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่งอีกทั้งยังเหมาะกับบุคคลที่มีลักษณะน้ำตัวมาก เป็นโรคอ้วน มีความดันโลหิตที่ค่อนข้างสูงได้อีกด้วย

ในปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการอดอาหารจริง ๆ แล้วก็สามารถช่วยส่งเสริมให้ร่างกายยังคงมีสุขภาพที่ดีได้ ไม่ได้เป็นการทำร้ายหรือส่งผลในเชิงลบต่อร่างกายแต่อย่างใด แต่สำหรับบุคคลใดที่อยู่ในภาวะของการป่วยด้วยโรคที่เป็นในระดับรุนแรงมาก อาทิเช่น โรคเบาหวานขั้นสุดท้าย โรคหัวใจ โรคนิ่วภายในใต ฯลฯ แบบนี้ควรละเว้นการถือศีลอดจะดีกว่า ไม่ควรดื้อฝืนทำต่อไป เพราะหากทำลงไปแล้วนั่นอาจนำพาคุณไปสู่การพบเจอกับอันตรายที่คุณอาจคาดไม่ถึงก็ได้ นอกจากนี้บุคคลที่ป่วยในระดับรุนแรงจะค่อนข้างมีสภาวะทางด้านจิตใจที่ไม่ค่อยดีเท่าใดนัก เนื่องจาก เมื่อร่างกายเกิดการเจ็บป่วยเกิดขึ้นเมื่อนั้นตัวผู้ป่วยเองก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของญาติและทีมแพทย์ตลอดเวลา จำเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดและอาจทำให้เกิดความเครียดตามมาได้ เมื่อใดที่เกิดความเครียดเข้าครอบงำภายในจิตใจหากยิ่งเครียดมากก็จะยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลสูงมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการอดอาหารที่ดีคือการอดแบบไม่เครียด นอกจากนี้การถือศีลอดยังสามารถช่วยทำให้ตัวบุคคลที่เจ็บป่วยเกิดภาวะทางด้านจิตใจสงบลง มีสมาธิมากขึ้น ทำให้ได้พบเจอกับความสุขสงบอย่างแท้จริงภายในจิตใจ เป็นการช่วยขจัดพฤติกรรมหรือนิสัยไม่ดีของตนเองได้อย่างชัดเจน ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่เลือกที่จะให้ความสำคัญกับการถือศีลอดมากเป็นพิเศษและเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่าหากทำแล้วย่อมต้องดีต่อตนเองอย่างแน่นอน

อยากถือศีลอดในช่วงเดือนเราะมะฎอน แต่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะทำอย่างไรดี?

สำหรับชาวมุสลิมท่านใดที่กำลังป่วยเป็นโรคเบาหวานและมีความต้องการเป็นอย่างยิ่งที่จะถือศีลอดให้ได้ เราอยากจะแนะนำคุณว่าหากคุณมีความแน่วแน่ที่จะทำจริงคุณควรต้องมีการเตรียมตัวก่อนอย่างน้อยเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งหรือสองเดือนก่อนถึงวันจริง ต้องปรับเรื่องของยาประจำตัวและการออกกำลังกายให้เป็นไปในเชิงที่ปลอดภัยมากที่สุด ส่วนเรื่องของอาหารสำหรับคนที่อยู่ในช่วงระหว่างการถือศีลอดหรือเราเรียกว่า “เราะมะฎอน” ควรต้องเป็นอาหารที่ดูแล้วไม่ได้จะมีความแตกต่างจากอาหารเพื่อสุขภาพแต่อย่างใด ดูแล้วน่าทาน ต้องเป็นอาหารที่เน้นเรื่องของความสมดุลของสารอาหารเป็นหลัก และด้วยระยะเวลาของช่วงอดอาหารนั้นค่อนข้างที่จะยาวนานมากกว่า 10 ชั่วโมงการทานอาหารจึงควรเป็นการเลือกทานอาหารที่จะค่อย ๆ ปล่อยสิ่งสำคัญอย่าง “พลังงาน” ออกมาแบบทีละน้อยบวกกับต้องเป็นอาหารที่มีปริมาณเส้นใยสูงมากอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ควรเลือกทานอาหารที่ภายในมีระดับระดับไกลซีมิกและระดับน้ำตาลที่ค่อนข้างต่ำ (แบบนี้ให้เลือกมาเป็นอาหารเช้าแทน) อาหารแบบนี้ ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผลไม้ โยเกิร์ต ถั่ว ฯลฯ และที่สำคัญในช่วงนี้ควรยิ่งต้องดื่มน้ำให้มากเข้าไว้ พยายามทานอาหารประเภทที่เป็นของมันของทอดให้น้อย ๆ ในช่วงอาหารรอบดึก 

ในเรื่องของปริมาณอาหารสำหรับคนที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องทานอะไรมากมายจนเกินเหตุไม่ใช่เห็นว่าตนเองอดอาหารมาทั้งวันแล้วพอถึงช่วงเวลาของการทานอาหารก็ทานเข้าไปเยอะ ๆ ตุนอาหารไว้ในกระเพาะมาก ๆ เข้าไว้ก่อน คุณควรทานแค่พออิ่มพอดี ยิ่งหากเป็นคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอาจเลือกทานแบบสามมื้อก็ได้ การทำในลักษณะนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยกระจายปริมาณของคาร์โบไฮเดรต ช่วงที่ร่างกายคนเรามีการอดอาหารร่างกายก็จะเริ่มเรียนรู้ที่จะกระตุ้นให้เกิดการดึงเอาไขมันออกมาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และต่อให้ร่างกายจะทานอาหารเข้าไปในปริมาณที่ไม่มากมายอะไรแต่หากปริมาณนั้นเป็นปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้วนั่นย่อมไม่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเกิดขึ้น ทำให้ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงได้เหมือนคนที่ทานอาหารตามปกติทั่วไปได้

เดือนเราะมะฎอนคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหากกำลังถือศีลอดอยู่แล้วพบว่าตัวเองนั้นเกิดพบว่ามีระดับน้ำตาลที่ลดต่ำลงมาก ( น้อยกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ) ควรรีบหยุดการถือศีลอดทันที ต้องรู้จักที่จะสังเกตอาการของตนเองดูบ้างดูว่าตนเองนั้นเริ่มมีการอ่อนเพลียเกิดขึ้นหรือไม่ มีอาการเหงื่อแตกใจเต้นแบบเร็วมากผิดปกติหรือตามัวบ้างหรือไม่ หากมีคุณควรหยุดถือศีลอดแล้วรีบไปพบแพทย์ประจำตัวของคุณหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้เร็วที่สุด นอกจากนี้เรายังมีข้อแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับคนที่อยากจะถือศีลอดเพิ่มเติมด้วย ได้แก่ พยายามนอนหลับให้ได้ชั่วโมงที่เพียงพอ เลือกทานผลไม้และผักให้มากในแต่ละมื้อ ควรพยายามงดการทานอาหารรสจัด

ทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้เราจะขอสรุปว่า สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นจริง ๆ แล้วสามารถถือศีลอดแบบปลอดภัยได้แต่นั่นจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อยู่ตลอดเวลาแต่หากใครที่กำลังเป็นเบาหวานประเภท 2 แบบนี้ควรที่จะต้องหมั่นตรวจน้ำตาลในช่วงของแต่ละวันให้ถี่มากยิ่งขึ้นการทำเช่นนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโอกาสมีภาวะน้ำตาลลดต่ำลง (มักเกิดในช่วงกลางวัน) และการเกิดน้ำตาลสูง (ในช่วงของกลางคืน) และที่สำคัญจะต้องควบคุมคาร์โบไฮเดรตที่ทานเข้าไปให้อยู่ในปริมาณที่เพียงพอ การทำให้ได้ตามนี้จะสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลไม่เกิดความแปรปรวนนั่นเอง

อาหารที่รับประทานในช่วงเดือนเราะมะฎอน

รายการอาหารแลกเปลี่ยน – ตัวอย่างเมนูในเดือนเราะมะฎอน ( 1,000 แคลอรี/วัน )
ปริมาณหมวดอาหารแลกเปลี่ยน อาหารอเมริกัน อาหารไทย อาหารปากีสถาน อาหารตะวันออกกลาง
อาหารเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
ผลไม้ 1 ผล น้ำส้มคั้น ½ ถ้วยตวง แก้วมังกร ½ ผล ส้ม 1 ผลกลาง ส้ม 1 ผลกลาง
ข้าว/แป้ง/ธัญพืช 3 ถ้วยตวง ขนมปังโฮลวีต 2 แผ่น ข้าวโอ๊ต ½ ถ้วยตวง ข้าว 1 ถ้วยตวง ขนมปังพิต้า 1 แผ่น มันฝรั่งอบ ½ หัว ขนมปังพิต้า 1 แผ่น สลัดถั่ว 1/3 ถ้วยตวง
ผัก 1-2 ถ้วยตวง ซุปผัก ½ ถ้วยตวง หรือผักสลัด แกงจืดผักรวม เต้าหู้ 1 ถ้วยตวง ผักสลัด 1 ถ้วยตวง ผักสลัด 1 ถ้วยตวง
เนื้อสัตว์ 2 ถ้วยตวง คอตเทจชีส ¼ ถ้วยตวง สะโพกไก่ 1 ชิ้น ออมเล็ตชีส (ไข่ขาว
2 ฟอง ไข่แดง 1 ฟอง) เฟต้าชีส 30 กรัม
เนื้อไก่ 1 น่อง
ไขมัน 1 ช้อนชา เนย 1 ช้อนชา หอมเจียว 1 ช้อนชา น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา น้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา มะกอกดำ 2 ลูก
นมไขมัน 0%1 มล. นมขาดไขมัน 240 มล. นมถั่วเหลือง (จืด)1 กล่อง (240 มล.) นมขาดไขมัน 240 มล. โยเกิร์ต 1 ถ้วยตวง
อาหารไม่เข้มงวด ชา/กาแฟ/แยมเบาหวาน 2 ช้อนชา ชา/กาแฟ ชา ชา
อาหารว่างหลังพระอาทิตย์ตกทันที
ผลไม้ 1 ผล อินทผลัม 2 ผลใหญ่ อินทผลัม 2 ผลใหญ่ อินทผลัม 2 ผลใหญ่ อินทผลัม 2 ผลใหญ่
ข้าว/แป้ง/ธัญพืช 1 ถ้วยตวง แครกเกอร์ 6 แผ่นเล็ก ข้าวโพดต้ม ½ ฝักใหญ่ สลัดใส่ถั่ว 1/3 ถ้วยตวง สลัดใส่ถั่ว 1/3 ถ้วยตวง
นมไขมัน 0% 1 มล. นมขาดไขมัน 240 มล. นมขาดไขมัน 240 มล. โยเกิร์ต 1 ถ้วยตวง โยเกิร์ต 1 ถ้วยตวง
อาหารเย็น
ข้าว/แป้ง/ธัญพืช 2 ถ้วยตวง เนื้อย่าง 90 กรัม ปลาทูต้มยำ 1 ตัวใหญ่ เนื้อแกะย่าง 90 กรัม เนื้อย่าง 90 กรัม
ข้าว/แป้ง/ธัญพืช 2 ถ้วยตวง มันฝรั่งอบ 1 หัวเล็ก ข้าว 2/3 ถ้วยตวง ถั่วดัล (Daal) 1/3 ถ้วยตวง ซุปถั่วเลนทิล 1/3 ถ้วยตวง
ข้าว/แป้ง/ธัญพืช 2 ถ้วยตวง ขนมปังดินเนอร์โรล 1 ก้อน โรตีย่าง 1 แผ่นเล็ก ขนมปังพิต้า 1 แผ่นเล็ก
ผัก 2 ถ้วยตวง  สลัด 1 ถ้วยตวง (แครอต แตงกวา มะเขือเทศ แรดิช) ผัดผักรวม 1 ถ้วยตวง ใส่กุ้ง 30 กรัม สลัด 1 ถ้วยตวง (แตงกวา มะเขือเทศ  ราดซอสมะเขือเทศ บรอกโคลี 18/2 ถ้วยตวง ดอกกะหล่ำ หอมหัวใหญ่ 1/2
หอมหัวใหญ่ ถ้วยตวง รับประทาน
ผักลวก ½ ถ้วยตวง กับเนื้อย่าง)
ไขมัน 1 ช้อนโต๊ะ ครีมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมัน 2 ช้อนชา น้ำมัน 1 ช้อนชา น้ำมัน 1 ช้อนชา
ผลไม้ 1 ผล แอปเปิล 1 ผล สาลี่หอม 1 ผล องุ่น 15 ผลเล็ก แอปเปิล 1 ผล
อาหารไม่เข้มงวด
ผักกาดแก้ว เท่าที่ต้องการ น้ำสลัดลดแคลอรี 2  ช้อนโต๊ะ กาแฟ/ชา กาแฟ/ชา ชาหรือน้ำเปล่า น้ำสมุนไพร

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

เบาหวาน [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; (ม.ป.ท.)