ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงสร้างอย่างไร
การที่จะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงได้นั้นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการกิน การออกกำลังกาย

ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง (strong immune system) คือ การป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา สารพิษ และสารเคมีที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ ประกอบด้วยอวัยวะ เซลล์ และโปรตีนต่างๆที่ทำงานร่วมกัน ดังนั้น ระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ในร่างกาย สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท 1.ระบบภูมิคุ้มกันปฐมภูมิ (Immune System) 2.ระบบภูมิคุ้มกันทุติยภูมิ (Adaptive imm­­­une system หรือ acquired immune)

8 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

การที่จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้นั้นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเราเองเป็นสำคัญนอกเหนือจากการรับประทานอาหารเสริมเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่ วิตามินบี6 วิตามินซี และวิตามินอี

1. การออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน เช่น เดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิก สามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของคุณให้ต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายได้

2. ทานขนม นมอัดเม็ด และผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงให้น้อยลง โดยใช้สารให้ความหวานทดแทนที่ดีต่อสุขภาพที่มีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น สตีวิโอไซด์จากหญ้าหวาน อีริไธทอล ซูคราโลส

3. ทานอาหารประเภทหมักดองในประมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการย่อยอาหารและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โยเกิร์ต กิมจิ เทมเป้ หรืออาหารที่มีส่วนผสมของโปรไบโอติกส์ในทุกๆวัน

4. การได้รับวิตามินที่เพียงพอ เช่น วิตามินบี6 วิตามินซีมีส่วนในการป้องกันภูมิคุ้มกันและกระตุ้นการทำงานของเซลล์และป้องกันความเครียด โดยทานส้ม สตรอเบอร์รี่ ผักโขม กีวี่ เกรปฟรุต และวิตามิดีสามารถเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้โดยการตากแดดยามเช้าเพียงวันละ 10-15 นาทีจะช่วยให้ผิวหนังผลิตวิตามินดีมากขึ้น

5. การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายจะรักษาและฟื้นฟูเซลล์ภายในร่างกายได้อย่างเต็มที อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง ซึ่งมีความสำคัญต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันและดีต่อสุขภาพทำให้สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อในอนาคตได้

6. การลดระดับความเครียดสะสม เพราะความเครียดส่งผลเสียต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายและลดจำนวนการผลิดเม็ดเลือดขาวที่สามารถต่อสู่กับการติดเชื้อได้ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัดได้เช่นกัน

7. ฝึกการหายใจลึกๆ อย่างช้าๆ เป็นการเพิ่มออกซิเจนในเลือด ลดความดันโลหิตและเพิ่มประสิทธิภพการไหลเวียนของเลือด

8. การล้างมือบ่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 20 วินาที เป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และเชื้อไวรัสที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตามควรสังเกตตนเองหากมีสัญญาณบ่งบอกว่าคุณเริ่มมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง เช่น รู้สึกอารมร์แปรปรวนบ่อยเป็นเวลานานซึ่งเกิดจากความเครียด มักเป็นหวัดติดเชื้อบ่อย ท้องเสีย ท้องผูกหรือมีก๊าซมากกว่าปกติ แผลหายช้า รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา ถ้ามีอาการเหล่านี้แสดงว่าภูมิคุ้มกันของคุณกำลังมีปัญหาไม่สามารถต่อสู่กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม