ถั่วเขียว
ถั่วเขียว เป็นพืชผลที่คนทั่วไปนิยมนำมาทานกันอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและในเอเชียกลาง สามารถนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย นอกจากการนำมาปรุงอาหารแล้วนั้น ยังใช้เป็นสครับถั่วเขียวเพื่อบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ขึ้นว่าถั่วต้องอุดมไปด้วยวิตามินบีมากมาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นอาหารของผู้สูงอายุและคนรักสุขภาพทั่วไป
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของถั่วเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna radiata (L.) R.Wilczek
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Mung bean” “Mung” “Moong bean” “Green bean” “Green gram” “Golden gram”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ถั่วเขียว ถั่วทอง” ภาคเหนือเรียกว่า “ถั่วมุม” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ถั่วจิม”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ชื่อพ้อง : Phaseolus aureus Roxb., Phaseolus radiatus L.
ลักษณะของถั่วเขียว
ถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกอายุราวหนึ่งปี
ลำต้น : ลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม แตกแขนงที่โคนและส่วนกลาง ลำต้นที่อยู่เหนือใบเลี้ยงจะค่อนข้างเป็นเหลี่ยมและมีขนอ่อนปกคลุม
ใบ : ใบจริงคู่แรกเป็นใบเดี่ยวเกิดตรงข้ามกัน ถัดไปทั้งหมดเป็นใบจริง ใบย่อย 3 ใบ ฐานก้านใบมีหูใบ 2 อัน ลักษณะของใบคล้ายรูปไข่จนถึงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามมุมใบ ช่อดอกเป็นแบบกระจะ ในช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 – 25 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีม่วง มี 5 กลีบ เกสรตัวเมียมีรังไข่ยาววงรี
ฝัก : มีรูปร่างกลมยาว ปลายฝักอาจโค้งงอเล็กน้อย เมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวนวล สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ ขึ้นกับสายพันธุ์ ฝักหนึ่งมีเมล็ด 10 – 15 เมล็ด
เมล็ด : ตาเมล็ดหรือรอยแผลเรียกไฮลัม (Hilum) มีสีขาว เยื่อหุ้มเมล็ดมีหลายสี เช่น สีเขียว เหลือง น้ำตาล ดำ หรือแดง ผิวของเมล็ดอาจจะมันหรือด้าน
สรรพคุณของถั่วเขียว
- สรรพคุณด้านกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง ดีต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ
- สรรพคุณป้องกันโรค ต้านมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันเบาหวาน ช่วยรักษาคางทูมที่เป็นใหม่ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ แก้โรคท้องมาน ป้องกันโรคเหน็บชา
- สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและรักษาไข้หวัด ช่วยถอนพิษในร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ ให้พลังงานแก่ร่างกาย
- สรรพคุณด้านระบบเผาผลาญ ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน
- สรรพคุณด้านเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด สร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหาร ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- สรรพคุณด้านไขมัน ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำหนัก
- สรรพคุณด้านอวัยวะ ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของหัวใจและม้าม ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ
- สรรพคุณด้านกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
- สรรพคุณด้านบรรเทาอาการ ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้พิษในฤดูร้อน ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม แก้อาการขัดข้อ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู
- สรรพคุณด้านระบบประสาท ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง
- สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยบำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ ช่วยแก้อาการตาพร่า แก้ตาอักเสบ
- สรรพคุณด้านระบบขับถ่าย ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยทำความสะอาดของร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่งผลดีต่อระบบลำไส้โดยรวม เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง
- สรรพคุณต่อหญิงตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก ป้องกันคลอดบุตรยาก
- สรรพคุณด้านความงาม รักษาและสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ผิวหนัง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ปกป้องผิวจากความเสียหายที่เกิดจากมลภาวะ แก้สิวฝ้าเนื่องจากความร้อนในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดสิวและทำให้สิวลดลง ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของผิว ลดเลือนจุดด่างดำหรือรอยแผลสิว
ประโยชน์ของถั่วเขียว
1. เป็นอาหารของคนรักสุขภาพ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คนลดน้ำหนัก เนื่องจากโปรตีนจากถั่วเขียวมีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย และวุ้นเส้นที่ผลิตมาจากถั่วเขียวมีคุณสมบัติการตอบสนองต่อน้ำตาลในเลือดต่ำ
2. เป็นส่วนประกอบของอาหาร เมล็ดเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ ใช้ทำแป้งถั่วเขียว ทำวุ้นเส้น ทำซาหริ่ม หรือทำเป็นขนมต่าง ๆ เช่น ถั่วกวน เต้าส่วน ฝักถั่วเขียวที่เกือบแก่นำมาต้มกินได้
3. ใช้ในการเกษตร ลำต้นและเปลือกช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ต้นถั่วเขียวที่เก็บฝักแล้วนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ นำมาใช้เพาะถั่วงอก กากถั่วเขียวเหลือจากโรงงานวุ้นเส้นนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์หรือใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้
4. ใช้ในด้านความงาม ทำเป็นสครับถั่วเขียว ลดเลือนจุดด่างดำ หรือรอยแผลสิว ใช้พอกหน้า ขัดหน้า ขัดตัว
คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 62.62 กรัม |
น้ำ | 9.05 กรัม |
น้ำตาล | 6.6 กรัม |
เส้นใย | 16.3 กรัม |
ไขมัน | 1.15 กรัม |
โปรตีน | 23.86 กรัม |
วิตามินบี1 | 0.621 มิลลิกรัม (54%) |
วิตามินบี2 | 0.233 มิลลิกรัม (19%) |
วิตามินบี3 | 2.251 มิลลิกรัม (15%) |
วิตามินบี5 | 1.91 มิลลิกรัม (38%) |
วิตามินบี6 | 0.382 มิลลิกรัม (29%) |
วิตามินบี9 | 625 ไมโครกรัม (156%) |
วิตามินซี | 4.8 มิลลิกรัม (6%) |
วิตามินอี | 0.51 มิลลิกรัม (3%) |
วิตามินเค | 9 ไมโครกรัม (9%) |
ธาตุแคลเซียม | 132 มิลลิกรัม (13%) |
ธาตุเหล็ก | 6.74 มิลลิกรัม (52%) |
ธาตุแมกนีเซียม | 189 มิลลิกรัม (53%) |
ธาตุแมงกานีส | 1.035 มิลลิกรัม (49%) |
ธาตุฟอสฟอรัส | 367 มิลลิกรัม (52%) |
ธาตุโพแทสเซียม | 1,246 มิลลิกรัม (27%) |
ธาตุสังกะสี | 2.68 มิลลิกรัม (28%) |
คุณค่าทางโภชนาการถั่วเขียวต้ม
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 19.15 กรัม |
น้ำ | 72.66 กรัม |
น้ำตาล | 2 กรัม |
เส้นใย | 7.6 กรัม |
ไขมัน | 1.15 กรัม |
โปรตีน | 7.02 กรัม |
วิตามินบี1 | 0.164 มิลลิกรัม (14%) |
วิตามินบี2 | 0.061 มิลลิกรัม (5%) |
วิตามินบี3 | 0.577 มิลลิกรัม (4%) |
วิตามินบี5 | 0.41 มิลลิกรัม (8%) |
วิตามินบี6 | 0.067 มิลลิกรัม (5%) |
วิตามินบี9 | 159 ไมโครกรัม (40%) |
วิตามินซี | 1 มิลลิกรัม (1%) |
วิตามินอี | 0.15 มิลลิกรัม (1%) |
วิตามินเค | 2.7 ไมโครกรัม (3%) |
ธาตุแคลเซียม | 27 มิลลิกรัม (3%) |
ธาตุเหล็ก | 1.4 มิลลิกรัม (11%) |
ธาตุแมกนีเซียม | 48 มิลลิกรัม (14%) |
ธาตุแมงกานีส | 0.298 มิลลิกรัม (14%) |
ธาตุฟอสฟอรัส | 99 มิลลิกรัม (14%) |
ธาตุโพแทสเซียม | 266 มิลลิกรัม (6%) |
ธาตุสังกะสี | 0.84 มิลลิกรัม (9%) |
ถั่วเขียว เป็นพืชผักที่คนทั่วไปนิยมนำมากัน โดยเฉพาะบุคคลที่รักสุขภาพ ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ผู้สูงอายุและผู้ที่ลดน้ำหนัก เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุสูง แถมยังมีโปรตีนที่ช่วยทดแทนเนื้อสัตว์ได้ด้วย ถั่วเขียวมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของผิว บำรุงประสาทและสมอง ต้านมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันเบาหวาน บำรุงสายตา ช่วยบำรุงตับและช่วยแก้อาการไตอักเสบได้ เป็นอาหารที่ไม่ควรมองข้ามเลยจริง ๆ
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org/wiki/Mung_bean. [23 ต.ค. 2013].
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรีนไฮเปอร์มาร์ท สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [23 ต.ค. 2013].
ชีวจิต. อ้างอิงใน: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 208 (1 มิ.ย. 2550). “มหัศจรรย์พลังของถั่ว“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.cheewajit.com. [23 ต.ค. 2013].
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อ้างอิงใน: สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. “ถั่วเขียวผิวมันและถั่วเขียวผิวดำ“. นางนันทวรรณ สโรบล (นักวิชาการเกษตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ag-ebook.lib.ku.ac.th. [23 ต.ค. 2013].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [23 ต.ค. 2013].
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. “Mung bean / ถั่วเขียว“. (ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณดร.นิธิยา รัตนาปนนท์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.foodnetworksolution.com. [23 ต.ค. 2013].
จำรัส เซ็นนิล. “ถั่วเขียวบำรุงผิวพรรณ ดูดจับไขมัน ลดรอยเหี่ยวย่น“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [23 ต.ค. 2013].
สมุนไพรดอตคอม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [23 ต.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [23 ต.ค. 2013].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 233 คอลัมน์: ต้นไม้ใบหญ้า. “ถั่วเขียว คุณค่าสีเขียวจากธรรมชาติ“. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [20 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/