ถั่วงอก

ถั่วงอก

ถั่วงอก (Bean sprouts) เป็นพืชผักที่คนไทยและคนทั่วโลกนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารในเมนูมากมาย เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จักเจ้าต้นนี้ เพราะถือเป็นผักที่เราเจอได้บ่อยมาก เป็นถั่วที่มีรากงอกมาจากเมล็ดถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วลันเตา และถั่วเหลือง ประเทศแรกของโลกที่มีการเพาะถั่วหัวโตนั่นก็คือประเทศจีน เป็นที่รู้กันว่าการกินผักนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเจ้าตนนี้นั้นมีสรรพคุณต่อร่างกายในด้านใดบ้าง ดังนั้นเราจึงมาดูกันว่า จะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการอะไรบ้าง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ

ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Bean sprouts”

สรรพคุณ

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันหวัด ช่วยดับร้อนและปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยลดระดับเอสโตรเจนในร่างกาย ช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยลดและกำจัดของเสียหรือสิ่งตกค้างในร่างกายได้
  • สรรพคุณด้านความงาม ทำให้ผิวชุ่มชื้น ทำให้ผิวนุ่ม ทำให้ผิวเปล่งปลั่งดูมีน้ำมีนวล ช่วยในการชะลอวัย ต้านความแก่ คงความอ่อนเยาว์ ช่วยป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม รักษาสิวและจุดด่างดำ
  • สรรพคุณด้านระบบประสาท ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยในการทำงานของสมอง
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยบำรุงฟัน ช่วยในการขับเสมหะ
  • สรรพคุณด้านกระดูก ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
  • สรรพคุณด้านเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ ลดความเสี่ยงการเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือ โรคลักปิดลักเปิด
  • สรรพคุณด้านการผ่อนคลาย ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย สร้างฮอร์โมนระงับความเครียด
  • สรรพคุณด้านระบบหายใจ ทำให้ปอดแข็งแรง
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหาร ช่วยในการย่อยอาหาร
  • สรรพคุณด้านระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก ช่วยในการขับปัสสาวะ
  • สรรพคุณต่ออวัยวะของสตรี ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือน

ประโยชน์

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นำมาใช้ประกอบอาหาร อย่างพวกเมนูทั่วไป
2. เป็นอาหารของผู้ควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยเบาหวาน เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เนื่องจากมีน้ำตาลที่น้อยมาก มีธาตุซิลิกาในการช่วยดูดซับวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไป

คุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 5.94 กรัม
น้ำ 90.4 กรัม
น้ำตาล 4.13 กรัม
เส้นใย 1.8 กรัม
ไขมัน 0.18 กรัม
โปรตีน 3.04 กรัม
วิตามินบี1 0.084 มิลลิกรัม (7%)
วิตามินบี2 0.124 มิลลิกรัม (10%)
วิตามินบี3 0.749 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินบี6 0.088 มิลลิกรัม (7%)
วิตามินบี9 61 ไมโครกรัม (15%)
วิตามินซี 13.2 มิลลิกรัม (16%)
วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม (1%)
วิตามินเค 33 ไมโครกรัม (31%)
ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม (1%)
ธาตุเหล็ก 0.91 มิลลิกรัม (7%)
ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม (6%)
ธาตุแมงกานีส 0.188 มิลลิกรัม (9%)
ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม (8%) 
ธาตุโพแทสเซียม 149 มิลลิกรัม (3%)
ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม (4%)

 

ข้อควรระวังของ

1. ควรระวังสารปนเปื้อน ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งอย่างมาก ส่งผลเสียไปถึงระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบหายใจอีกด้วย ซึ่งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ได้
2. ควรเลือกซื้อถั่วที่รากไม่ยาว ปลูกโดยใช้ผ้ารองพื้น และไม่ใช่น้ำยาเคมี ควรดูที่เปลือกนอกถั่วมีปะปนอยู่บ้างหรือไม่ เพราะการแช่สารฟอกสีจะทำให้เปลือกหลุดหมด หากพบว่ามีสภาพที่พองตัวและขาวอวบ ให้คิดไว้ก่อนว่ามีสารฟอกสี เมื่อซื้อมาแล้วก่อนจะนำมาทานควรแช่น้ำทิ้งไว้สักประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หรือทำให้สุกก่อน
3. ผู้ที่ปวดเข่าควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพราะแบบดิบมีกรดไฟติกมาก ทำให้ไปแย่งจับธาตุแคลเซียม

ถั่วงอก เป็นถั่วที่พบได้ทั่วไปจึงทำให้ในตลาดปะปนไปด้วยสารเคมีมากมาย ดังนั้นการรับประทานที่ได้ประโยชน์นั้นจะต้องคัดเลือกให้ดีในตอนซื้อ จึงจะได้สรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย ถือเป็นผักที่คนบางส่วนไม่ค่อยชอบทานแต่บางคนก็ชื่นชอบเจ้าผักชนิดนี้ และมีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงประสาทและสมอง บำรุงกระดูก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ลดความเสี่ยงการเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/