สาเหตุการเกิด โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis )

0
6356
โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis )
พยาธิใบไม้ตับ เป็นการติดเชื้อภายในท่อน้ำดีคนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยพยาธิวิทยาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังหรืออุดตันจากไข่และตัวพยาธิเป็นระยะๆบริเวณท่อน้ำดี
โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis )
พยาธิใบไม้ตับ เป็นการติดเชื้อภายในท่อน้ำดีคนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยพยาธิวิทยาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังหรืออุดตันจากไข่และตัวพยาธิเป็นระยะๆบริเวณท่อน้ำดี

พยาธิใบไม้ตับ คือ

โรคพยาธิใบไม้ตับ ( Opisthorchiasis ) เป็น การติดเชื้อภายในท่อน้ำดีคนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ โดยพยาธิวิทยาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังหรืออุดตันจากไข่และตัวพยาธิเป็นระยะๆบริเวณท่อน้ำดี ในกรณีที่ไม่รุนแรงอาการต่างๆ ได้แก่ อาการอาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก ด้วยการติดเชื้อที่มีระยะเวลานานขึ้นอาการอาจรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะตับโต ตัว ตาเหลือง ( ดีซ่าน ) แน่นท้องจากตับโตและมีน้ำในท้อง ( ท้องมาน ) มักพบมากทางภาคอีสานของประเทศไทย ลาว และภาคตะวันตกของประเทศมาเลเชีย การติดเชื้อเกิดจากคนที่ชอบกินเนื้อปลาดิบนหรือ เนื้อสุกๆดิบๆที่มีตัวอ่อนของพยาธิฝังอยู่บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ ตลอดชีวิต

สาเหตุของพยาธิใบไม้ตับ

  • การบริโภคปลาหรือสัตว์น้ำที่มีตัวอ่อนของพยาธิ
  • ชอบกินอาหารชนิดเนื้อปรุงสุกๆ ดิบๆ
  • กินปลาร้าที่หมักดองจากปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา และปลาขาว ที่ไม่ผ่านการทำให้สุก

อาการของพยาธิใบไม้ตับ

  • เบื่ออาหาร
  • ท้องผูก
  • ท้องอืดมาก
  • กดเจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • ท้องเสียเรื้อรัง
  • ตับโต
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • มีไข้ต่ำๆ หรือไข้สูงจนมีอาการหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • ออกร้อนบริเวณหน้าท้อง
  • ท้องมาน

ภาวะแทรกซ้อนของพยาธิใบไม้ตับ

  • ภาวะโลหิตจาง
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ท่อน้ำดีอักเสบติดเชื้อ
  • ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • ตับแข็ง
  • มะเร็งท่อน้ำดี
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อกระจายไปทั่วร่างกาย

การวินิจฉัย

จะต้องซักประวัติของผู้ติดเชื้อ ลักษณะการรับประทานอาหาร และอาการเจ็บป่วย หากภูมิลำเนามาจากอีสาน และชอบรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การตรวจอุจาระเพื่อตรวจค้นหาไข่ของพยาธิ หากมีโรคแทรกซ้อนที่ตับอาจจะต้องตรวจโดยการส่องกล้องเข้าช่องท้องหรือการฉีดสีเข้าท่อน้ำดี

การป้องของพยาธิใบไม้ตับ

  • กินปลาที่ปรุงสุกด้วยความร้อน
  • ก่อนรับประทานผักสดควรล้างให้สะอาด
  • ควรตรวจหาไข่หนอนพยาธิในอุจจาระอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ไม่เกินอาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ เช่น ก้อยปลา ปลาดิบ ปลาส้ม ปลาจ่อม หม่ำปลา ปลาหมกไฟ ปลาปิ้ง ลาบปลา
  • รณรงค์ให้ประชาชนถ่ายอุจจาระในส้วม หรือขุดหลุมฝังกลบเมื่อถ่ายนอกส้วม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Opisthorchiasis (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.cdc.gov [8 พฤษภาคม 2562]

โรคพยาธิใบไม้ตับ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : thaigcd.ddc.moph.go.th [8 พฤษภาคม 2562]

เฝ้าระวังป้องกันและกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th (สสส) [8 พฤษภาคม 2562]