คุณค่าทางโภชนาการจาก ดักแด้ไหม (Silkpupa)

0
23242
คุณค่าทางโภชนาการจาก ดักแด้ไหม (Silkpupa)
หนอนไหม ( Silkworm ) อุดมไปด้วยโปรตีน
ดักแด้ไหม ( Silkpupa ) เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง

ดักแด้ไหม

ดักแด้ไหม (Silkpupa) คือ ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการวางไข่ของผีเสื้อในระยะเวลา 10–12 วัน โดยหนอนไหมจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ (silkworm egg) หนอนไหม (silkworm) ดักแด้ (silkpupa) และผีเสื้อ (silk moth) โดยหนอนไหมจะลอกคราบ 4 ครั้ง เมื่อมีอายุ 9 วันจะหยุดลอกคราบและเข้าสู่ระยะไหมสุก หลังจากนั้นจะเริ่มพ่นของเหลวที่แข็งตัวเป็นเส้นไหมสร้างรังไหมและกลายเป็นดักแด้ ก่อนจะพัฒนาเป็นผีเสื้อในที่สุด

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย

  • สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกายเลซิติน ( Lecithin ) คือไขมันที่จำเป็นต่อเซลล์ของร่างกาย พบในอาหารหลายประเภท เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ไข่ นม ถั่วลิสง กะหล่ำปลี ช็อคโกแลต เลซิตินถูกเปลี่ยนเป็นสารที่สร้างขึ้นในสมองเรียกว่า อะซิทิลคอลีน ( Acetylcholine ) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ส่งผ่านกระแสประสาท ที่ควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ อัตราการเต้นของหัวใจ การนอนหลับ การหายใจ การย่อยอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ และความจำ
  • สารซิลเดนาฟิล หรือไวอากร้า รักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และมีฤทธิ์ในการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย

ผลการวิจัย

จากงานวิจัยพบว่า ดักแด้ไหมมีโปรตีนและเกลือแร่หลายชนิด มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีฤทธิ์เทียบเท่าสารซิลเดนาฟิล ( sildenafil ) หรือไวอากร้า ซึ่งมีฤทธิ์สูงถึง 102% ของสารซิลเดนาฟิล โดยกระบวนการสกัดจากดักแด้ไหม จำนวน 22 ตัว เทียบเท่าไวอากร้า 100 มิลลิกรัม สามารถช่วยในการกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดตีบตัน

สารสกัดที่ได้จากดักแด้ หนอนไหม

  1. สารสกัดที่ได้จากดักแด้ หนอนไหมมีโปรตีน “ เลซิติน ” สูงถึง 48.98%
  2. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิดถึง 68%
  3. สารซิลเดนาฟิล หรือไวอากร้า
  4. สารซิลเดนาฟิลมีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดเลือดโดยเฉพาะในเพศชาย
  5. อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2มีเกลือแร่
  6. มีกรดไลโนเลอิคและกรดไลโนเลนิค ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย
  7. ช่วยลดไขมันในเลือด
  8. ลดการเกิดโรคหัวใจ
  9. มีกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโอเมก้า 6
  10. มีกรดไลโนเลนิก ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโอเมก้า 3

ประโยชน์ของหนอนไหม

  1. ช่วยบำรุงและพัฒนาสมอง
  2. ลดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  3. การกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด
  4. ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  5. การทำงานของสมองในด้านการมองเห็น การปรับตัว การเรียนรู้ อารมณ์
  6. ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
  7. สลายแอลกอฮอล์ในร่างกาย
  8. ช่วยลดการตายของเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำ
  9. ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  10. ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ

ดักแด้ หนอนไหม มีโปรตีนและสารซิลเดนาฟิล หรือไวอากร้าสูงถึง 102% ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ และกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด

ชนิดของหนอนไหมในไทย

ชนิดของหนอนไหมในไทยพันธุ์ไหมในประเทศไทยได้ 3 ชนิด

1. หนอนไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ชนิดฟักออกได้ตลอดปี ( Polyvoltine ) ที่มีการอนุรักษ์สืบทอดกันมา โดยมีการพัฒนาพันธุ์ใน ไทยดั้งเดิมเป็นเชื้อพันธุกรรมเท่านั้น คุณลักษณะรังไหมสีเหลืองรูปร่างคล้ายกระสวย เส้นใยยาวประมาณ 250 – 300 เมตร / รัง เช่น นางน้อยศรีสะเกษ นางเหลือง นางลาย สำโรง
2. หนอนไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นไหมชนิด polyvoltine into bivoltine ที่พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ระหว่างไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านและพันธุ์ลูกผสมไข่ไหมสามารถฟักออกตามธรรมชาติได้ตลอดทั้งปี ถ้าใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ไทย ส่วนไข่ไหมที่ใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ลูกผสม จะต้องผ่านเทคนิคการฟักเทียมโดยการใช้สารเคมีกระตุ้น เส้นใยยาวประมาณ 600 – 800 เมตร / รัง เช่นพันธุ์ไทยลูกผสมสกลนคร พันธุ์ไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60 – 35
3. หนอนไหมพันธุ์ลูกผสม เป็นไหมชนิด bivoltine ฟักออกปีละ 2 ครั้ง ทีมีการสร้างสายพันธุ์โดยใช้สายพันธุ์ต่างประเทศเป็นคู่ผสมกัน กับการสร้างสายพันธุ์ที่มีการปรับปรุงคู่ผสมพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศรังรังไหมส่วนมากจะเป็นสีขาวลักษณะรังจะเป็นรูปไข่ เส้นใยยาวมากกว่า 1,000 เมตร / รัง เช่น พันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 1

พันธุ์หนอนไหมต่างๆ

หนอนไหมที่เลี้ยงกันอยู่นี้มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่ละพันธุ์มีลักษณะดังนี้ เช่น

1. พันธุ์หนอนไหมจีน ไข่ไหมพันธุ์นี้ฟักตัวปีละครั้ง และฟักได้หลายครั้งตลอดปี รังมีลักษณะกลม มีหลายสี เช่น สีเหลือง ขาว เส้นใยเล็กและเรียบ
2. พันธุ์หนอนไหมยุโรป ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ไข่ฟักได้ปีละครั้งพันธุ์นี้ทั้งไข่ หนอนและรังไหมมีขนาดใหญ่ วงชีวิตยาว สีรังเป็นสีขาว รังมีลักษณะรีคล้ายรูปไข่
3. พันธุ์หนอนไหมญี่ปุ่น ไข่ฟักออกเป็นตัวปีละครั้งหรือสองครั้งรังค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายผักถั่วลิสง รังอาจมีสีขาว เหลือง
4. พันธุ์หนอนไหมไทย ไข่ฟักตลอดปี รังเล็กบาง มีขี้ไหมมาก ลักษณะรังคล้ายรูปกระสวย สีเหลือง

พันธุ์หนอนไหมที่เลี้ยงในเมืองไทย

หนอนไหมพันธุ์พื้นเมืองของไทย มีอยู่หลายพันธุ์ เช่น พันธุ์นางขาว พันธุ์นางน้ำ พันธุ์นางลาย ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์แท้ ผลลิตเส้นใยต่ำ แต่ทนทานต่อโรคต่าง ๆ ได้ดี ในระยะ 10 ปีเศษมานี้ ได้มีการเริ่มนำพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์จีนและญี่ปุ่นมาเลี้ยง ซึ่งปรากฏว่าเลี้ยงได้ผลดี สำหรับกสิกรที่มีอุปกรณ์และโรงเลี้ยง ที่ทันสมัย ซึ่งได้รับคำแนะนำจากกองการไหม กรมวิชาการเกษตร แต่กสิกรที่เลี้ยงตามแบบพื้นบ้านยังเลี้ยงไม่ได้ผล เพราะเลี้ยงยากกว่าพันธุ์พื้นเมือง มักจะเป็นโรคตายมากก่อนที่หนอนไหมจะทำรัง ยกเว้นแต่กสิกรที่ได้รับการอบรมวิชาการเลี้ยงไหมแผนใหม่ แล้วนำไปเลี้ยงตามกลุ่มผู้เลี้ยงไหมในนิคมสร้างตนเอง ก็นับว่า เลี้ยงได้ผล แต่ก็ต้องฝึกฝนความชำนาญให้มากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนอนไหม (Bombyx mori) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.dnp.go.th [30 มกราคม 2563].

“ดักแด้” โปรตีนสูงจากหนอนไหม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://mgronline.com [30 มกราคม 2563].

ประโยชน์และที่มาของหนอนไหม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://nonmaicom.blogspot.com [30 มกราคม 2563].