ห้อเลือด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
ห้อเลือดเป็นลักษณะเลือดออกใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของคุณถูกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หล่นทับกระแทกอย่างแรง

ห้อเลือด

ห้อเลือด ( Subungual Hematoma ) เป็น ลักษณะเลือดออกใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของคุณถูกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หล่นทับกระแทกอย่างแรง แต่ก็พบอาการห้อเลือดบวมจำนวนไม่น้อยจากคนที่เดินหรือวิ่งบ่อย ๆ ซึ่งเล็บเท้าถูกเสียดสีกับรองเท้าที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น นักวิ่งมาราธอน นักเดินทางไกลมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บแบบเฉียบพลันได้

>> เท้าเหม็นเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันเท้าเหม็นมาฝากกันค่ะ

>> อาการที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยที่เล็บเกิดขึ้นจากอะไร มาดูกันค่ะ

อาการและสาเหตุของห้อเลือด

ห้อเลือด มีลักษณะเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ห้อเลือดเกิดจากอุบัติเหตุบริเวณห้อเลือดที่นิ้วมือ นิ้วเท้าถูกสิ่งของหล่นทับหรือกระแทกอย่างแรง เช่น ประตูหนีบ ของแข็งหล่นกระแทก ถูกค้อนตีนิ้วมือ ใส่รองเท้าคับเกินไป รวมถึงอุบัติเหตุจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง

การวินิจฉัยอาการห้อเลือด

  • แพทย์จะตรวจดูบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่ได้รับบาดเจ็บเกิดรอยห้อเลือดโดยรอบอย่างละเอียด เพื่อประมาณอาการเบื้องต้น
  • หากพบห้อเลือดบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้าขนาดใหญ่ อาจต้องเอกซเรย์เพื่อดูการแตกหักของกระดูกว่ามีหรือไม่

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

สังเกตเห็นห้อเลือดคั่งใต้ผิวหนังที่มีขนาดใหญ่ และก่อให้เกิดอาการปวด บวมแดง มีหนอง มีกลิ่นเหม็น บริเวณปลายเล็บมีเลือดออกหรือเล็บหลุดออก ควรไปพบแพทย์จำเป็นต้องได้รับการรักษา

การรักษาอาการห้อเลือด

หากมีรอยช้ำห้อเลือดที่นิ้วซึ่งมีขนาดเล็กและไม่มีอาการเจ็บปวดก็ไม่ต้องรักษา หรือรักษาห้อเลือดด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ ห่อน้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่รอยช้ำห้อเลือดประมาณ 1-2 วันแรก หรือจนกว่าอาการปวด บวมจะหายไป แต่หากห้อเลือดมีขนาดใหญ่เกิดการอักเสบรู้สึกเจ็บปวด บวมแดง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการเอ็กซ์เรย์ดูว่ามีการแตกหักของกระดูกหรือไม่ หรือเจาะระบายเลือดออก ใส่เฝือก หากอาการรุนแรงมากต้องถอดเล็บออก หากปล่อยทิ้งไว้เล็บของคุณอาจเป็นหนองและหลุดออกในที่สุด

ห้อเลือดเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหากมีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์จำเป็นต้องได้รับการรักษานะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม