ทานตะวัน ไม้ประดับสีเหลือง ช่วยลดความดันและไขมันในเส้นเลือด

0
1476
ทานตะวัน
ทานตะวัน ไม้ประดับสีเหลือง ช่วยลดความดันและไขมันในเส้นเลือด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อระบบภายในร่างกาย

ทานตะวัน

ทานตะวัน

ทานตะวัน เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี ที่เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา ดอกสีเหลืองสดที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะความสวยงามและเป็นดอกที่นิยมนำมาใช้เปรียบเทียบกับเรื่องของความรักอยู่บ่อย ๆ ทว่าวันนี้เราจะมาแนะนำในเรื่องของสรรพคุณทางยา หรือในด้านของสุขภาพ คนส่วนมากยังไม่รู้ว่าเจ้าดอกสีเหลืองนี้มีสรรพคุณมากแค่ไหน เพราะเป็นต้นที่โดดเด่นในด้านความงามและการเปรียบเทียบมากกว่าจะพูดถึงในเรื่องของประโยชน์ด้านอื่น ซึ่งดีต่อระบบเลือดเป็นอย่างมาก

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Common sunflower” “Sunflower” “Sunchoke”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ชอนตะวัน ทานตะวัน” ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า “บัวผัด บัวทอง” ภาคเหนือเรียกว่า “บัวทอง บัวตอง ทานตะวัน” ภาคใต้เรียกว่า “ทานหวัน” จีนกลางเรียกว่า “ซี่ยงยื่อขุย เซี่ยงยื้อขุย” จีนแต้จิ๋วเรียกว่า “เหี่ยงหยิกขุ้ย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ลักษณะของทานตะวัน

ลำต้น : ลำต้นตั้งตรง มีสีเขียวแกนแข็ง ไม่มีการแตกแขนง มีขนยาวสีขาวปกคลุมตลอด
ราก : เป็นระบบรากแก้ว รากแขนงค่อนข้างแข็งแรง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน จำนวนของใบอาจมี 8 – 70 ใบ เป็นรูปวงรีค่อนข้างกลม กลมเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปหัวใจ มีเขียวอ่อน สีเขียว หรือเขียวเข้ม ตรงปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวออกที่ปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดใหญ่เป็นสีเหลืองเข้ม กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นรูปไข่ ปลายกลีบดอกแหลมเป็นสีเหลืองสด ด้านในเป็นช่อดอกรูปจาน มีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก
เมล็ด : เป็นผลแห้ง มีจำนวนมากตรงฐานดอก ผลขนาดใหญ่อยู่วงรอบนอก ผลใกล้กับกึ่งกลางมีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปวงรีแบนนูน ด้านหนึ่งมน ด้านหนึ่งแหลม เปลือกหุ้มแข็งเป็นสีเทาเข้มหรือสีดำ และเป็นลายด้วย ภายในผลมีเมล็ดสีเหลืองอ่อน 1 เมล็ด ลักษณะวงรียาว ในเมล็ดพบว่ามีน้ำมันเป็นจำนวนมาก

สรรพคุณของทานตะวัน

  • สรรพคุณจากน้ำมันจากเมล็ด ช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือด เป็นยาแก้หวัด แก้อาการไอ แก้ไข้หวัด ช่วยขับเสมหะ ขจัดเสมหะ ช่วยแก้โรคบิด เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับหนองใน ช่วยแก้ฝีฝักบัว เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาแก้เบาหวาน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยแก้หอบหืด เป็นยารักษาแผลไฟไหม้ แก้น้ำร้อนลวก
  • สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้อวัยวะภายในร่างกายชุ่มชื้น เป็นยาแก้หวัด แก้อาการไอ แก้ไข้หวัด ช่วยขับเสมหะ ขจัดเสมหะ ช่วยแก้โรคบิด ช่วยขับหนองใน ช่วยแก้อาการมูกโลหิต บำรุงตับและไต ช่วยป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและต่อต้านสารเคมีที่เป็นพิษที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในปาก
  • สรรพคุณจากแกนต้น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยแก้อาการไอกรน ช่วยรักษาฝีเต้านม ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ แก้มะเร็งกระเพาะอาหาร แก้มะเร็งหลอดอาหาร เป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่วในไต ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขุ่นขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยแก้เนื้องอกเยื่อบุผิวถุงน้ำคร่ำ แก้แผลที่มีเลือดไหล
  • สรรพคุณจากฐานรองดอก ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้วิงเวียนศีรษะ แก้ตาลาย ช่วยแก้อาการปวดฟัน ช่วยรักษาเต้านมอักเสบ เป็นยาแก้อาการปวดท้อง เป็นยาแก้โรคกระเพาะอาหาร แก้อาการปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอักเสบ ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี แก้อาการปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่รอบเดือนมา แก้อาการปวดบวมฝี
  • สรรพคุณจากเปลือกเมล็ด ช่วยแก้อาการหูอื้อ
  • สรรพคุณจากดอก ช่วยแก้อาการปวดฟัน เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยบีบมดลูก แก้ไขข้อกระดูกอักเสบและฝี ช่วยทำให้หน้าตาสดใส ช่วยรักษาใบหน้าตึงบวม
  • สรรพคุณจากรากและลำต้น เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไอ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้หอบหืด ช่วยขับเสมหะ ขจัดเสมหะ เป็นยาแก้อาการปวดท้อง เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยแก้มุตกิดตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
  • สรรพคุณจากราก แก้อาการปวดท้อง แก้แน่นหน้าอก แก้ระบาย เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการฟกช้ำ
  • สรรพคุณจากดอกและฝัก ช่วยแก้บิดถ่ายเป็นเลือด ช่วยแก้อาการท้องผูกสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ช่วยแก้อีสุกอีใส
  • สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยารักษาแผลสดและแผลฟกช้ำ

ประโยชน์ของทานตะวัน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร เมล็ดนำมาคั่วแห้งใช้กินได้ ใช้ปรุงแต่งขนมหวาน เป็นคุกกี้ เมล็ดนำมาเพาะเป็นต้นอ่อนใช้ทานจะมีรสหวานกรอบและทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ รากของต้นนำมาใช้ทำเป็นแป้งเค้กและสปาเกตตีได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรม น้ำมันทานตะวันนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทำเนยเทียม น้ำมันสลัด ครีม นมที่มีไขมัน ใช้ในอุตสาหกรรมสี ฟอกสี ทำสบู่ น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ใช้ในการฟอกหนัง ใช้เป็นน้ำมันนวด เป็นส่วนผสมของครีมนวดผม หรือผสมในโลชันบำรุงผิว กลีบดอกนำมาต้มแล้วใช้ย้อมสีผ้าได้โดยจะให้สีเหลือง คนจีนนำเส้นใยที่ได้จากก้านมาทอผ้า เปลือกของลำต้นนำมาใช้ทำกระดาษสีขาวที่มีคุณภาพดีได้ ลำต้นหรือจานดอกนำไปเผาเป็นขี้เถ้าเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมการหลอมเหล็ก
3. ใช้ในการเกษตร กากจากเมล็ดหลังการสกัดเอาน้ำมันจะมีโปรตีน 30 – 40% นำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ ลำต้นยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงและทำปุ๋ย ช่วยฟื้นฟูดิน
4. ใช้ในทางการแพทย์ นำมาใช้ทำ Lecithin เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลในคนไข้ คนจีนนิยมนำใบแห้งมามวนเป็นแท่งแล้วนำมาจุดเพื่อรมให้จุดฝังเข็มร้อนขึ้น
5. เป็นไม้ปลูกประดับ

ทานตะวัน เป็นพืชผลมากประโยชน์ที่ใครหลายคนคงคาดไม่ถึง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อระบบภายในร่างกายได้หลายอย่าง อีกทั้งยังชะลอวัย และต้นโรคอีกด้วย ใครที่ชอบทานเมล็ดถือว่าคุณได้กินของดีเข้าไป มีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของเมล็ดและฐานรองดอก มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ถอนพิษไข้ แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยลดความดันโลหิต แก้โรคกระเพาะอาหาร ลดระดับไขมันในเส้นเลือดและแก้เบาหวานได้

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ทานตะวัน (Tan Ta Wan)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 144.
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “ทานตะวัน”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 107-108.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ทานตะวัน”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 262.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ทานตะวัน”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 375-379.
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “ทานตะวัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: kanchanapisek.or.th/kp6/. [03 เม.ย. 2014].
การผลิตไม้กระถางและไม้ตัดดอก (PRODUCTION OF POT-PLANTS AND CUT-FLOWERS), ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. “ทานตะวัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/510-482web/index.htm. [03 เม.ย. 2014].
Khon Kaen University, Thesis. “Phytoremediation of Carbofuran Residue in Soil.”. (Teerakun, M. (2004).
พืชน้ำมัน, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ทานตะวัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/use/oil1.htm. [03 เม.ย. 2014].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ. “เมล็ดทานตะวัน”. (พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [03 เม.ย. 2014].
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “ทานตะวัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doae.go.th/library/html/detail/sunflower/index1.htm. [03 เม.ย. 2014].
ไทยรัฐออนไลน์. “ทานตะวันอ่อน..สู้แล้ง ใช้น้ำน้อย..7วันนับเงิน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [03 เม.ย. 2014].
นิตยสารขวัญเรือน. “ทานตะวัน..สารพันสารพัดประโยชน์”.
ทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียน, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. “ทานตะวัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.wattano.ac.th. [03 เม.ย. 2014].
กรมส่งเสริมการเกษตร. “ทานตะวัน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ssnet.doae.go.th/ssnet2/Library/plant/sun.htm. [03 เม.ย. 2014].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com