ดวงตา คือ
ดวงตา ช่วยทำให้เราได้มองเห็น และช่วยทำให้เราได้รับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ดวงตาเป็นจุดเริ่มต้นของการทำกิจกรรมต่างๆเกือบทุกอย่าง เช่น การกินก็ต้องอาศัยดวงตาในการตักอาหารเข้าปาก การเดินก็ต้องอาศัยตาในการนำทาง การทำงานก็ต้องอาศัยดวงตามองเห็นเพื่อให้ทำงานต่างๆที่ได้รับมอบหมายได้ และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องใช้ดวง ตาเป็นองค์ประกอบ เพราะฉะนั้นดวงตาจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของร่างกาย แต่ดวงตาก็เป็นอวัยวะที่ค่อนข้างบอบบางและได้รับการกระทบกระเทือนค่อนข้างง่าย ดังนั้นเพื่อไม่ให้ดวงตาต้องเสื่อมก่อนเวลาอันควร หรือมีปัญหาเกิดขึ้น จึงควรหาวิธีในการดูแลและบำรุงดวงตาให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงเสมอ โดยวิธีการบำรุงรักษาดวงตามีมากมายหลายวิธี ทั้งใช้ยาหยอดตา การบริหารดวงตา การทานอาหารบำรุงสายตา และยังรวมถึงการใช้แสงแดดบำรุงสายตาอีกด้วย
โครงสร้างและองค์ประกอบของดวงตา
นอกจากดวงตากลมๆ สีดำขาว 2 ข้าง ที่เราสามารถมองเห็นทางกายภาพจากภายนอกแล้ว ภายในดวงตายังมีโครงสร้างและองค์ประกอบอื่นๆที่สำคัญอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- เปลือกตา ทำหน้าที่เปิดปิดตา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา ภายในเปลือกตาจะมีต่อมคอยสร้างส่วนประกอบของน้ำตา และกระจายน้ำตาไปยังกระจกตา ช่วยปกป้องเยื่อบุตาและกระจกตาดำไม่ให้แห้ง และช่วยลดอาการระคายเคือง
- ขนตา ทำหน้าที่คอยกั้นไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอม เช่นฝุ่นละออง สารพิษต่างๆ ตกเข้ามาใส่ดวงตา
- เยื่อตาขาว ทำหน้าที่เป็น เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มลูกตาเอาไว้เกือบทั้งหมด ยกเว้นช่วงตรงกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของกระจกตา มีสีขาวทึบหนา ยืดหยุ่นได้เล็กน้อย ทางด้านหน้าจะมีเยื่อบุตาบาง ๆ สีขาวใสคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง โดยในเยื่อตาขาว ยังมีเซลล์ทำหน้าที่สร้างส่วนประกอบของน้ำตาชั้นเมือก พบได้มากทางด้านล่างและหัวตา
- น้ำตา มีลักษณะเป็นของเหลวหรือน้ำ ทำหน้าที่ คอยให้ออกซิเจนและอาหารกับกระจกตา ชะล้างสิ่งแปลกปลอมจากเยื่อบุตาและกระจกตา และช่วยทำให้ผิวกระจกตาเรียบเพื่อเป็นทางเดินของแสงในการมองเห็นภาพมี 3 ชั้นด้วยกันคือ
ชั้นที่ 1 เป็นชั้นไขมันที่อยู่นอกสุด ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำตา
ชั้นที่ 2 เป็นชั้นกลาง ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับดวงตา โดยการลำเรียง น้ำ สารอาหาร และออกซิเจน ส่งให้ดวงตา และคอยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับดวงตาด้วย
ชั้นที่ 3 อยู่ชั้นในสุด เป็นชั้นของน้ำเมือก ช่วยทำให้น้ำตากระจายตัวสม่ำเสมอทั่วกระจกตา
– กระจกตา มีลักษณะโปร่งใสอยู่ด้านหน้าของตา มีความไวต่อความรู้สึก ประกอบไปด้วยน้ำ 80% คอลลาเจน 15% และโปรตีน 5% มีหน้าที่ หักเหแสงให้ตกลงบนเรตินา โดยแสงจะส่องผ่านรูม่านตา ( Pupil ) ซึ่งจะรับแสงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบีบรัดตัวของม่านตา ( Iris ) ในชั้นกระจกตา มี 5 ชั้น ประกอบด้วยสารคอลลาเจนทั้งที่เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ แต่ส่วนใหญ่ 90% เรียงตัวเป็นระเบียบ มีเซลล์ที่คอยสร้างคอลลาเจนและโปรตีนต่างๆ เป็นชั้นที่ทนต่อการติดเชื้อ ทนต่อการเสียหายต่างๆ เพราะเป็นชั้นที่มองเห็นภาพโดยตรงในชั้นเยื่อบุโพรงกระจกตา เป็นชั้นล่างสุดของกระจกตาทำหน้าที่สูบน้ำออกจากกระจกตา ทำให้กระจกตาใสและแห้ง
- แก้วตา ( Lens ) มีลักษณะเป็นสีใสๆอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่โฟกัสหักเหแสงเพิ่มขึ้นต่อจากกระจกตา เพื่อให้แสงตกกระทบบนจุดรับภาพของจอประสาทตา
- วุ้นตา ( Vitreous Humor ) มีลักษณะคล้ายวุ้นใส แต่มีความหนืดกว่าน้ำ 2 เท่า อยู่ในช่องด้านหลังของลูกตา เป็นแหล่งอาหารของแก้วตา เนื้อเยื่อและจอตา ( Retina ) ประกอบด้วยน้ำ 98% ที่เหลือเป็นสารหลายชนิดเช่น คอลลาเจน ไฮยาลูโรแนน ( Hyaluronan ) และโปรตีน ทำหน้าที่ช่วยให้ลูกตามีรูปร่างคงที่
- จอตา ( Retina ) มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่ออยู่ด้านในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลล์ที่รับแสงและเซลล์ประสาท มีความไวต่อแสงมาก ทำหน้าที่รับภาพเหมือนฟิล์มถ่ายรูป ( ภาพกลับหัว ) ตรงกลางเรียกว่ามาคูลา ( Macular ) มีเส้นเลือดดำและแดงมาหล่อเลี้ยง
- เส้นประสาทตา ( Optic ) เป็นส่วนเชื่อมต่อกันระหว่างลูกตา และเรตินา ทำหน้าที่นำข่าวสาร ( กระแสประสาท ) จากจอตาไปสู่สมอง
วิธีดูบำรุงรักษาดวงตา
ในแต่ละวันเราใช้งานดวงตาตลอดตั้งแต่ ตื่นนอน จนถึงนอนหลับไป ดังนั้น จึงต้องมีวิธีในการดูแลดวงตา เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1. การใช้ยาหยอดตาจากธรรมชาติ การใช้ยาหยอดตา เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการช่วยบำรุงรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีขึ้น เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย ไม่ลำบากต่อผู้ใช้ โดยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์หลายอย่างจากธรรมชาติ มาใช้บำรุงดวงตา ดังนี้
- น้ำนมจากมารดา นอกจากจะมากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และใช้เป็นอาหารสำหรับลูกน้อยที่เกิดมากแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นยาหยอดเพื่อบำรุงสุขภาพดวงตาได้อีกด้วย โดยเมื่อนำไปใช้ในการหยอดตาจะมีอาการพร่ามัวในช่วงแรก แล้วจะค่อยๆใสขึ้นเองในระยะเวลาต่อมา โดยส่วนมากจะใช้กับเด็กที่มีอาการตาแฉะ หรือตาแดง แต่หากมีอาการละคายเคียงให้หยุดและไปพบแพทย์จะดีกว่า
- น้ำผึ้ง เป็นอาหารจากธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน ที่มีประโยชน์มากมายหลายชนิด และยังประกอบไปด้วยเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอนไซม์พอลเลน ( pollen )และไลโซไซม์ ( lysozyme ) ทำให้น้ำผึ้งมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงรักษาดวงตาได้ดี โดยน้ำผึ้งที่ควรนำมาใช้ให้เลือกเป็นน้ำผึ้งมิ้ม ซึ่งเป็นผึ้งขนาดเล็กจะดีที่สุด
- น้ำมะพร้าว น้ำมะพร้าวสามารถนำมาใช้เป็นยาหยอดเพื่อบำรุงรักษาดวงตาได้เช่นกัน เนื่องจากในน้ำมะพร้าว ล้วนมากไปด้วยสิ่งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น วิตามินต่างๆ เกลือแร่ แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง เหล็ก แคลเซียม เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโกรธฮอร์โมน เอสโตรเจนฮอร์โมน กรดอะมิโน
- น้ำเปล่า เป็นยาธรรมชาติที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยทำให้ดวงตามีความสะอาด และช่วยล้างฝุ่นละอองออกจากดวงตา
2. การบริหารดวงตา เป็นการบริหารดวงตา เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับดวงตาที่อาจเกิดจากการทำงานที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานานๆติดต่อกัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี โดยเน้นการเคลื่อนไหวของลูกตาไปมา
3. อาหารบำรุงดวงตา อาหารบางชนิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา ช่วยบำรุงสุขภาพตาให้แข็งได้และดียิ่งขึ้น เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด เพราในผักใบเขียวจะมีคลอโรฟิลล์ ที่ช่วยบำรุงสายตาเป็นส่วนประกอบ และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาเสื่อมด้วย
ตัวอย่างอาหารบำรุงสายตา เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ตำลึง ปลาทะเล มะม่วงสุก มะละกอ เป็นต้น
4. การมองเพื่อพักสายตา ในบางกิจกรรมที่ต้องใช้การเพ่งสายตามากๆเป็นเวลา ควรจะใช้วิธีการมองไปไกลๆ เช่น มองดูสีเขียวต้นไม้ มองท้องฟ้า เพื่อให้สายตาได้พักและผ่อนคลายบ้าง
5. ใช้แสงแดดบำรุงสายตา นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว แสงแดดยังสามารถช่วยบำรุงสายตาได้ด้วยเช่นกัน
แสงแดดรักษาตาได้อย่างไร?
ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสงสูงมาก สามารถรับแสงได้ทุกชนิดตั้งแต่แสงที่มีระดับต่ำ จนถึงแสงที่มีระดับสูง ดวงตาจึงเป็นจุดรับแสงที่สำคัญขอร่างกาย ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยผลิตวิตามินดีให้ร่างกายแล้ว หากได้รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม แสงแดดยังมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย ดังต่อไปนี้
1. แสงแดดเป็นพลังงานที่มีประจุไฟฟ้าอิเล็กตรอน ช่วยขจัดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ตาเสื่อม
2. แสงแดดช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์และฟาโกไซโทซิส ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันสำหรับร่างกาย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันดวงตา จากสิ่งแปลกปลอมและสารพิษที่จะเข้ามา ส่งผลให้สุขภาพของดวงตามีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
3. แสงแดดช่วยทำให้กล้ามเนื้อภายในตามีความแข็งแรงมากขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตาให้ดีขึ้น ทำให้การทำงานของทุกอวัยวะย่อยภายในดวงตามีความสมดุลกัน
4. แสงแดดช่วยเพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังทำสารเฮโมโกลบินสามารถจับตัวรวมกับออกซิเจนได้ดีขึ้นด้วย ส่งผลให้กระจกตาได้รับปริมาณออกซิเจนที่มากขึ้น จึงทำให้ดวงตาแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ
5. วิตามินดี ที่ได้จากแสงแดด เป็นวิตามินที่สำคัญสำหรับชั้นของน้ำตา เพื่อนำไปสร้างคลอลาเจนที่เป็นตัวช่วยทำให้ตามีสุขภาพดีและสมบรูณ์ ดังนั้นหากตาขาดคลอลาเจน จะส่งผลกระทบทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพในการมองเห็น
6. แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา หรือแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจสร้างผลเสียกับดวงตาได้ เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่อยู่ภายนอกร่างกาย ต้องสัมผัสสิ่งแวดล้อมภายนอกอยู่ตลอดเวลา แสงแดดจึงช่วยลดการติดเชื้อ หรือการอักเสบ และโรคเกี่ยวกับดวงตาได้มากเลยทีเดียว
วิธีการรับแสงแดดเพื่อสุขภาพตาที่ดี
ในการให้ดวงตาได้รับแสงแดด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับแสงแดดคือ ช่วงเช้าก่อน 07.00 น. และ ช่วงบ่ายหลังเวลา 17.00 น.ไปแล้ว เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม แสงแดดจะไม่ร้อนเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพตา โดยการรับแสงแดดให้กับดวงตามีวิธีดังต่อไปนี้
1. ใช้นิ้วมือประสานเข้าด้วยกัน ให้นิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งจรดกับนิ้วหัวแม่มือของมืออีกข้างหนึ่ง เป็นการรับพลังแสงอาทิตย์เข้าหาตัว
2. ทำสมาธิสัก 2-5 นาที ด้วยการหลับตาและลืมตาก็ได้ ให้จิตนิ่งๆเอาจิตไปรับรู้ความรู้สึกของดวงตา
3. เพ่งมองไปที่ดวงอาทิตย์ตรงๆแบบตาไม่กระพริบ ถ้าเคืองตาจนทนไม่ไหวก็กระพริบ พอให้ผ่อนคลาย โดยและสมาธิจิตยังอยู่ที่ดวงตา
4. ในการทำครั้งแรกนั้น ใช้เวลาเพียง 2-5 นาทีต่อวัน ให้ติดต่อกันประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นค่อยๆเวลาให้นานขึ้น ตามความเหมาะสมของร่างกายและสภาพของแสงแดด
โรคที่เกี่ยวกับดวงตา
หากดวงตามีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงแล้ว ก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆกับตาได้ ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับดวงตา ที่สามารถพบได้บ่อยๆ เช่น
- ความผิดปกติจากการอักเสบในชั้นลึกที่หนังตา และตุ่มอักเสบต่างๆที่หนังตา เช่น โรคตากุ้งยิง หรือตาเป็นต้อ
- ความผิดปกติที่ส่วนหนังตา เช่น หนังตาหย่อน หนังตาตก หนังตาดึงรั้ง หรือสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อตา
- ความผิดปกติส่วนหน้าของตา เช่น ต้อเนื้อ เยื่อตาเสื่อม เลือดออกที่ส่วนหน้าของตา
- ความผิดปกติ หรือการอักเสบที่เกิดในดวงตา เช่น กระจกตาอักเสบ เยื่อตาอักเสบ กระจกตาเสื่อม กระจกตาบวม ตาขาวอักเสบ จอตาอักเสบ โรคตาแดง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าความสำคัญของดวงตา ไม่ได้ยิ่งหย่อยไปกว่าอวัยวะอื่นๆในร่างกายเลย หากดวงตาเสื่อมหรือเสียไปก็คงทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบากมากขึ้น ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของดวงตาให้ดีอยู่เสมอ โดยมีวิธีการดูแลและบำรุงสุขภาพของดวงตาให้ดีได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา การบริหารดวงตา การกินการบำรุงสายตา และยังมีวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่มากไปด้วยประโยชน์ต่อดวงตามากมายอย่างการใช้แสงแดดบำรุงสายตาอีกด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.