หินเกลือดำ
หินเกลือดำ ( Volcanic Rock Salt ) คือ แร่ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่พ่นเถ้าถ่านและหินร้อนออกมาจำนวนมากออกมาจนเกิดเป็นหินเกลือดำ หรือเกลือหิมาลัยสีดำ ซึ่งชาวอินเดียเรียกว่า กาลานามัค พบได้ตามแถบที่เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อนพบมากบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งหินเกลือดำมีลักษณะเป็นก้อนสีดำเกิดจากเถ้าหินลาวาจากภูเขาไฟปกคลุม มีรสเค็มของโซเดียมคลอไรด์กลิ่นฉุนของกำมะถัน ( Sulfur ) เกลือที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยแร่ธาตุธรรมชาติ 84 ชนิด ร่างกายสามารถดูดซึมไปยังเซลล์ได้เร็วโดยไม่ต้องผ่านระบบย่อย ซึ่งกำมะถันมีความสำคัญต่อร่างกายสำหรับทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย นิยมใช้เกลือกาลานามัคช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ปวดท้อง กรดไหลย้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องร่วง ช่วยล้างสารพิษ บำรุงผิว ผม และเล็บ เป็นต้น
หินเกลือดำต่างกับเกลือแกงทั่วไปอย่างไร
แร่ธาตุที่พบ | เกลือแกง | หินเกลือดำ |
โซเดียม | 38.7 – 39.1% | 36.8 – 38.79% |
โพแทสเซียม | 0.09% | 0.28% |
แคลเซียม | 0.03% | 0.16% |
แมกนีเซียม | น้อยกว่า 0.01% | 0.1% |
เกลือที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยแร่ธาตุธรรมชาติ 84 ชนิด ร่างกายสามารถดูดซึมไปยังเซลล์ได้เร็วโดยไม่ต้องผ่านระบบย่อย
สรรพคุณของหินเกลือดำ
- ช่วยลดอาการปวดท้อง ที่เกิดจากกรดไหลย้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องผูกและท้องร่วง
- ช่วยขับสารพิษ โลหะหนัก และสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย
- มีไอโอดีนชนิดโมเลกุลเล็ก ช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร
- ช่วยปรับค่าความเป็นกรด – ด่าง ของร่างกายให้สมดุล
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง และโรคความดันโลหิตต่ำ
- ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบ
- ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย
- ช่วยฟื้นฟูพละกำลังให้ร่างกายสดชื่น สดใส
- ช่วยบำรุงเส้นผม รักษาผมแตกปลาย
- ช่วยบำรุงเล็บ ป้องกันเล็กฉีกขาดง่าย
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้แลดูอ่อนเยาว์
- ช่วยให้ระบบเลือดหมุนเวียนดีขึ้น
- เพิ่มความกระชุ่มกระชวยได้ดี
- ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยเพิ่มระดับฮีโมโกลบิน
- ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดง
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
- ช่วยป้องกันโลหิตจาง
- ช่วยลดการเกิดตะคริว
ข้อควรระวังในการบริโภคหินเกลือดำ
การใช้เกลือสีดำควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้
Kala Namak (Black Salt) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : Benefits & Side Effects https://www.ayurtimes.com [1 เมษายน 2563].
Is Black Salt Better Than Regular Salt? Benefits and Uses (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [2 เมษายน 2563].
Black salt and its health hazard (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.thedailystar.net [3 เมษายน 2563].