เบตาเลนและคุณค่าทางโภชนาการ
แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีสีสันสดใสและเป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชีย สารสีแดงที่พบในแก้วมังกรคือเบตาเลน (betalain) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เบตาเลนช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดจากออกซิเดชัน และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ สารนี้ยังมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ ทำให้แก้วมังกรไม่เพียงแต่เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย แต่ยังเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เบตาเลน เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน โดยจัดอยู่ในกลุ่มอินโดล ( Indole ) มีลักษณะเป็นสารสีแดง-เหลือง สามารถละลายในน้ำได้จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น และนอกจากนี้เบตาเลนยังมีความเชื่อว่าน่าจะมีความเกี่ยวพันกับสารให้สีชนิดอื่นๆ อีกด้วย เพราะเบตาเลนสามารถให้สีกับพืชได้นั่นเอง
ประโยชน์ต่อสุขภาพของเบตาเลน
- สำหรับประโยชน์และคุณสมบัติของเบตาเลน ( Betalain ) ในแก้วมังกรพบว่า
มีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดีและสามารถต้านการอักเสบได้อีกด้วย - ควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการทานแก้วมังกรจึงสามารถลดน้ำหนักได้นั่นเอง
- มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันไม่ดีในเลือด จึงสามารถลดความเสี่ยงไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้ดี และสามารถป้องกันภาวะดื้ออินซูนลินได้อีกด้วย
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้และยับยั้งการอักเสบ ติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
- ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น พร้อมกับลดการอักเสบในลำไส้
สีของเบตาเลนและคุณสมบัติ
โดยจากความเชื่อดังกล่าวก็ได้มีการศึกษาและพบว่าจริงๆ แล้วเบตาเลนมีโครงสร้างที่แตกต่างจากสารให้สีชนิดอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง โดยจะมีความคล้ายกับโปรตีนมากกว่าสารให้สี เพราะมีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการให้สีของเบตาเลนและคุณสมบัติที่พบ ซึ่งได้แก่
1. เบต้าไซยานิน ( Betacyanin ) สารชนิดนี้จะเป็นสารที่ให้สีแดง-ม่วง และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งจะช่วยในการต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย พร้อมกับป้องกันการเสื่อมของเซลล์ได้ดี โดยสารในกลุ่มนี้ที่พบได้บ่อยๆ เช่น เบตานิน ( Betanin ) นีโอเบตานิน ( Neobetanin ) และสามารถพบได้มากในบีทรูท แครนเบอรี่ ทับทิม เป็นต้น
2. เบต้าแซนทิน ( Betaxanthin ) สารชนิดนี้จะให้สีแดง – เหลือง ได้แก่ ไมร่าแซนทิน ( Miraxanthin ) โวลก้าแซนทิน ( Vulgaxanthin ) เป็นต้น และสามารถพบได้มากในผลแคคตัส และบีทรูท เป็นต้น
กินแก้วมังกรแล้วปัสสาวะเป็นสีแดง ผิดปกติไหม?
ในบางคนที่เคยกินแก้วมังกรแล้วปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงก็อาจเกิดความสงสัยว่าเป็นเพราะอะไรและผิดปกติไหม ซึ่งสรุปได้ว่าอาการดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ ไม่อันตรายและไม่ต้องกังวลใดๆ เพราะในแก้วมังกรมีเบตานินสูงมากและเนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยสารสีดังกล่าวได้ จึงต้องขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ เป็นผลให้ปัสสาวะมีสีแดงนั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงวางใจได้เลยว่าไม่ใช่อาการผิดปกติใดๆ แน่นอน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.